ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อารมณ์มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของคนเรา ดังนั้นการเข้าใจอารมณ์ของตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่การเชื่อมโยงกับตัวเองในระดับที่ลึกขึ้นและการตระหนักรู้มากขึ้นในภาพรวม แต่เมื่อใดก็ตามที่อารมณ์อยู่เหนือคุณ มันก็จะส่งผลอย่างมากต่อความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ รวมไปถึงการคิดให้กระจ่างในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานด้วย ถึงคุณจะไม่สามารถกำจัดอารมณ์ต่างๆ ออกไปได้ทั้งหมด แต่คุณสามารถควบคุมไม่ให้อารมณ์มาบงการชีวิตคุณได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 14:

หายใจลึกๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เมื่อรู้สึกได้ว่าอารมณ์กำลังรุนแรง ให้หยุดสักครู่....
    เมื่อรู้สึกได้ว่าอารมณ์กำลังรุนแรง ให้หยุดสักครู่. หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก จากนั้นก็หายใจออกทางปาก ทำอย่างนี้ 5-10 ครั้งจนกว่าคุณจะรู้สึกได้ว่าหัวใจเต้นช้าลงและสามารถควบคุมการหายใจได้[1]
    • วิธีนี้ยังช่วยควบคุมความวิตกกังวลได้อีกด้วย
    • การหายใจลึกๆ ยังเป็นวิธีควบคุมอารมณ์ที่แนบเนียนอีกด้วย เช่น สมมุติว่าคุณบังเอิญไปเจอแฟนเก่า คุณคงไม่มีเวลาถอยหลังกลับมาควบคุมอารมณ์ด้วยตัวเอง แต่คุณสามารถแอบหายใจลึกๆ ได้แม้จะกำลังคุยกับอีกฝ่ายอยู่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 14:

จดจ่ออยู่กับร่างกาย ไม่ใช่จิตใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลุกขึ้นเดินไปรอบๆ หรือไม่ก็ยืดเหยียด.
    ตอนนี้ร่างกายของคุณรู้สึกอย่างไร จดจ่ออยู่กับความรู้สึกของผิวหนังที่สัมผัสกับเสื้อผ้า และพยายามอย่าไปสนใจความคิดที่ผุดขึ้นมา วิธีนี้ช่วยให้คุณได้ตั้งสติและควบคุมอารมณ์ที่ปะทุออกมาในช่วงเวลานั้นได้[2]
    • การออกไปเดินท่ามกลางธรรมชาติก็เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณตั้งสติได้เช่นกัน
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะนวดไหล่ตัวเองแล้วจดจ่อไปกับความรู้สึกของการสัมผัส
    • หรือถ้ามีเวลา ลองฝึกโยคะสัก 2-3 ท่าเพื่อเชื่อมโยงกับร่างกายของตัวเอง
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 14:

ส่องกระจก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วิธีนี้ช่วยให้คุณได้กลับมาเชื่อมโยงกับร่างกายและจิตใจอีกครั้ง....
    วิธีนี้ช่วยให้คุณได้กลับมาเชื่อมโยงกับร่างกายและจิตใจอีกครั้ง. ถ้าคุณรู้สึกได้ว่าตัวเองกำลังจะเสียใจหรือโกรธ เข้าห้องน้ำแล้วส่องกระจกสักครู่ ระหว่างนี้ให้จดจ่อไปที่การหายใจลึกๆ และปลอบโยนตัวเองให้มากขึ้น[3]
    • ผ่านไป 2-3 นาทีคุณอาจจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นช้าลงและลมหายใจก็สม่ำเสมอมากขึ้นเล็กน้อย
    • การเข้าห้องน้ำยังช่วยให้คุณได้หยุดพักแล้วมาควบคุมอารมณ์ด้วยตัวเอง วิธีนี้เหมาะใช้กับที่ทำงานหรือในที่สาธารณะเมื่อสิ่งต่างๆ เริ่มเกินจะรับไหว
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 14:

พูดประโยคซ้ำๆ กับตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ประโยคง่ายๆ ช่วยให้คุณใจเย็นลงได้.
    เมื่อคุณรู้สึกได้ว่าอารมณ์กำลังพลุ่งพล่าน หายใจลึกๆ และพูดประโยคซ้ำๆ ในหัว คุณจะเลือกประโยคไหนก็ได้ตามชอบ แต่ที่คนใช้กันบ่อยๆ ก็เช่น:[4]
    • “เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับฉัน”
    • “ไม่ต้องไปสนใจ”
    • “เดี๋ยวมันก็ผ่านไป”
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 14:

เบี่ยงเบนความสนใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาอะไรทำยุ่งๆ เพื่อไม่ให้จิตใจจมอยู่กับอารมณ์....
    หาอะไรทำยุ่งๆ เพื่อไม่ให้จิตใจจมอยู่กับอารมณ์. พยายามเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเยอะๆ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ อ่านหนังสือเล่มใหม่ เล่นเกมหาคำในตาราง หรือทำงานศิลปะ ยิ่งคุณไม่เอาใจไปจับกับสิ่งต่างๆ มากเท่าไหร่ ใจคุณก็ไม่จมจ่อมกับอารมณ์มากเท่านั้น[5]
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่ต้องจดจ่อ เช่น ดูทีวีหรือไถโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้คุณจดจ่อมากนัก จึงไม่สามารถเบี่ยงเบนความสนใจของคุณได้
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 14:

หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บางอย่างทำให้เราโมโหได้เสมอไม่ว่าเราจะทำอะไร....
    บางอย่างทำให้เราโมโหได้เสมอไม่ว่าเราจะทำอะไร. ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองจะเครียดหรือโมโหเวลาที่ไปสาย ให้วางแผนออกจากบ้านเร็วขึ้น 10 นาที ถ้ามีคนรู้จักที่คุณรำคาญเขามากเป็นพิเศษ ก็อย่าไปตรงจุดที่เขามักจะป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น[6]
    • แม้ว่าคุณจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอารมณ์ได้ตลอดเวลา แต่คุณสามารถกำจัดสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ในชีวิตประจำวันได้
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 14:

ท้าทายความคิดเชิงลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ความคิดเชิงลบสามารถเปลี่ยนการรับรู้ของคุณได้แบบกะทันหัน....
    ความคิดเชิงลบสามารถเปลี่ยนการรับรู้ของคุณได้แบบกะทันหัน. คุณอาจจะถามตัวเองว่า “มันจริงหรือเปล่า” หรือ “ฉันมีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนความคิดนี้” เพื่อคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลแทนที่จะใช้อารมณ์ ผ่านไปสักระยะคุณอาจจะหยุดความคิดเชิงลบได้ชะงัด[7]
    • เช่น ถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองกำลังคิดว่า “ฉันไม่มีเพื่อนเลย” ให้ถามตัวเองว่า “จริงเหรอ เสาร์อาทิตย์ที่แล้วฉันยังขลุกอยู่กับเพื่อนอยู่เลยไม่ใช่เหรอ”
    • หรือถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองกำลังคิดว่า “ฉันต้องทำโปรเจกต์นี้พังแน่” ให้ถามตัวเองว่า “ฉันมีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนความคิดนี้ ฉันไม่เห็นอนาคตสักหน่อย”
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 14:

เปลี่ยนมุมมองที่มีต่ออารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บ่อยครั้งที่เรามองอารมณ์ในแง่ลบ.
    ลองพยายามเปลี่ยนไปมองว่าอารมณ์คือเครื่องมือที่มีประโยชน์แทน ถ้าคุณกังวลมากๆ ก่อนเข้าไปสัมภาษณ์งานและรู้สึกได้ว่าตัวสั่นหรือเหงื่อแตก ลองปรับเปลี่ยนอารมณ์ด้วยการพูดว่า “โอ้โห สัมภาษณ์ครั้งนี้ฉันมีพลังเหลือเฟือเลย!” ตอนนี้อารมณ์ก็จะกลายเป็นสิ่งดีๆ แทนที่จะเป็นอุปสรรค[8]
    • ถ้าคุณโกรธหรือหงุดหงิดเพื่อนร่วมงาน เตือนตัวเองว่าคุณแค่รักงานที่ทำและอยากให้งานออกมาดี
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังเศร้าเพราะว่าต้องไปเจอแฟนเก่า บอกตัวเองว่าการที่คุณเศร้าแปลว่าคุณจะต้องมีความรักมากมายมหาศาลไว้ให้คนรักคนถัดไปแน่นอน
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 14:

กังวลแต่ปัญหาของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 การแบกปัญหาของคนอื่นไว้อาจทำให้คุณเหนื่อยล้า....
    การแบกปัญหาของคนอื่นไว้อาจทำให้คุณเหนื่อยล้า. ถ้าคุณเป็นคนเข้าอกเข้าใจคนอื่น การรับฟังเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัวระบายปัญหาของพวกเขาให้ฟังอาจส่งผลที่ไม่ดีกับตัวคุณเอง การเอาใจใส่คนอื่นนั้นเป็นเรื่องดี แต่คุณก็สามารถกำหนดขอบเขตขึ้นมาได้หากคุณต้องการเวลาสำหรับตัวเองบ้าง[9]
    • เช่น ถ้าเพื่อนอยากโทรมาเล่าเรื่องแฟนห่วยๆ ของเธอให้ฟัง คุณก็อาจจะบอกว่า “ฉันก็อยากคุยกับเธอนะ แต่ตอนนี้ฉันยังไม่อยู่ในโหมดให้คำแนะนำกับใคร ไว้เราคุยกันอาทิตย์หน้าแทนได้มั้ย”
    • หรือคุณอาจจะบอกว่า “ต่อไปถ้าเธอจะโทรมาระบาย เธอช่วยบอกฉันก่อนได้มั้ย ฉันอยากคุยกับเธอนะ แต่บางครั้งฉันอาจจะอารมณ์ไม่ดีและให้คำแนะนำดีๆ กับเธอไม่ได้”
    โฆษณา
วิธีการ 10
วิธีการ 10 ของ 14:

เจริญสติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 การเจริญสติสามารถช่วยควบคุมอารมณ์ที่ปะทุขึ้นมาได้....
    การเจริญสติสามารถช่วยควบคุมอารมณ์ที่ปะทุขึ้นมาได้. แทนที่จะไปมัวคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ให้จดจ่ออยู่กับช่วงเวลานี้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นบ้าง การจดจ่อกับประสาทสัมผัสก็ช่วยได้ เช่น พูดชื่อสิ่งที่คุณเห็น ได้กลิ่น รับรส สัมผัส และได้ยินในตอนนี้[10]
    • นอกจากนี้โดยทั่วไปการเจริญสติยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วย โดยเฉพาะหากคุณมีปัญหากับความวิตกกังวล
วิธีการ 11
วิธีการ 11 ของ 14:

คิดถึงตัวเองก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อย่าให้อารมณ์ของคนอื่นมีผลต่อชีวิตของคุณ.
    เปลี่ยนมาสนใจตัวเองและเป้าหมายในอนาคตของตัวเองแทน ในช่วงแรกๆ มันอาจจะยาก แต่การให้ความสำคัญกับตัวเองมากกว่าคนอื่นๆ จะช่วยให้คุณมีความสุขขึ้นและดีต่อตนเองมากขึ้นในระยะยาว[11]
    • วิธีที่ว่านี้อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ เช่น การปฏิเสธเวลาคนอื่นขอร้องให้ช่วยเพราะว่าคุณยุ่งเหลือเกิน ให้ความสำคัญกับระดับความเครียดของตัวเองเพื่อเอาตัวเองให้รอดก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 12
วิธีการ 12 ของ 14:

เขียนบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จัดการกับอารมณ์ของตัวเองอย่างเหมาะสม.
    หาเวลาสัก 5-10 นาทีทุกคืนเขียนบันทึกว่าวันนั้นตัวเองทำอะไรและรู้สึกอย่างไร ถ้าคุณประสบอารมณ์ที่รุนแรง ให้เขียนว่าเกิดอะไรขึ้นและคุณรับมือกับมันอย่างไร การปลดปล่อยอารมณ์ออกมาจะช่วยให้คุณไม่เก็บกดมันไว้และมันก็จะไม่ระเบิด[12]
    • เก็บสมุดบันทึกไว้ในที่ส่วนตัวเพื่อไม่ให้ใครเอาไปอ่าน
วิธีการ 13
วิธีการ 13 ของ 14:

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 งานวิจัยกล่าวว่า การอดนอนอาจทำให้อารมณ์ปะทุขึ้นมา....
    งานวิจัยกล่าวว่า การอดนอนอาจทำให้อารมณ์ปะทุขึ้นมา. คุณต้องนอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงทุกคืน ตื่นเช้ามาคุณจะได้รู้สึกว่าตัวเองพักผ่อนเต็มที่และพร้อมที่จะเผชิญกับวันใหม่ การนอนสำคัญต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก และการนอนหลับให้เพียงพอก็ส่งผลดีต่อชีวิตในทุกมิติ[13]
    • เวลาที่คุณพักผ่อนอย่างเพียงพอ คุณจะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลและมีสติมากขึ้น แทนที่จะใช้อารมณ์เป็นส่วนใหญ่
    โฆษณา
วิธีการ 14
วิธีการ 14 ของ 14:

อย่าใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์กลบเกลื่อนอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มันอาจทำให้ปัญหายิ่งแย่ลง.
    การใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์กลบเกลื่อนสิ่งที่คุณรู้สึกไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีในระยะยาว และอารมณ์ของคุณก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะจัดการกับมัน การใช้ยาเสพติดไม่เคยเป็นทางออกที่ดี และอาจทำให้คุณยิ่งตกอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่กว่าในตอนต้น[14]
    • อาหารเองก็เป็นวิธีที่เราใช้กลบเกลื่อนอารมณ์ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ตาม พยายามรับประทานอาหารตามปกติระหว่างที่จัดการกับอารมณ์ของตัวเอง

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณมีปัญหากับอารมณ์ที่ระเบิดออกมาบ่อยๆ การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตก็อาจช่วยได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Sarah Schewitz, PsyD
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาด้านความรักและความสัมพันธ์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Sarah Schewitz, PsyD. ซาราห์ เชวิตซ์เป็นนักจิตวิทยาด้านความรักและความสัมพันธ์ระดับปริญญาเอกที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปีในการช่วยเหลือคู่รักให้พัฒนาและเปลี่ยนรูปแบบจำเจของความรักและความสัมพันธ์ เธอเป็นผู้ก่อตั้ง Couples Learn บริการฝึกจิตวิทยาออนไลน์ บทความนี้ถูกเข้าชม 127,523 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 127,523 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา