วิธีการ เพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน)

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

Estrogen หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้น คนไทยเรียกกันว่า "ฮอร์โมนเพศหญิง" แต่จริงๆ แล้วเป็นฮอร์โมนตามธรรมชาติที่พบได้ทั้งในชายและหญิง และควรคงไว้ในระดับที่เหมาะสม เพียงแต่การทำงานของร่างกายผู้หญิงต้องใช้เอสโตรเจนมากกว่า เช่น การมีลูก เป็นต้น ผู้หญิงวัยทอง (หมดเมนส์) ระดับเอสโตรเจนจะลดลงฮวบฮาบ แต่บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำคุณเอง ว่าจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาหารการกินยังไงให้เพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปรึกษาแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตอาการ.
    ถ้าคุณมีอาการต่อไปนี้ เป็นไปได้ว่าฮอร์โมนของคุณไม่สมดุล หรือถ้าอาการหนักจนใช้ชีวิตตามปกติไม่สะดวก ให้รีบพบแพทย์ด่วน ถึงฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงได้ตามวัย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ถ้าคุณยังไม่ถึงวัย หรืออาการหนักเป็นพิเศษ ให้ปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด อาการที่ว่าก็เช่น[1]
    • ร้อนวูบวาบ หรือนอนไม่ค่อยหลับ
    • อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ หรือหงุดหงิดง่าย
    • ไม่ค่อยมีอารมณ์ทางเพศ หรือประจำเดือนมาน้อยลง
    • ระดับคอเลสเตอรอลเปลี่ยนแปลง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พบแพทย์.
    ก่อนจะทำวิธีไหนเพื่อเพิ่มเอสโตรเจน ควรปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อน เพื่อรับทราบผลกระทบของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อาจเกิดกับร่างกายของคุณ ถึงร่างกายขาดเอสโตรเจนจะเป็นปัญหา แต่ถ้าสูงไป (หรือได้รับผิดเวลา) ก็อาจทำให้เมนส์มาผิดปกติ เกิดซีสต์หรือถุงน้ำในรังไข่ กระทั่งมะเร็งเต้านมได้[2]
    • มีหลายโรคที่อาจทำคุณร้อนวูบวาบ ลดความต้องการทางเพศ หรือมีอาการคล้ายคนเอสโตรเจนต่ำ แต่ก็อย่าเดาสุ่มไปผิดๆ ให้ปรึกษาและตรวจร่างกายโดยละเอียดกับคุณหมอก่อนจะดีที่สุด อย่าชิงรักษาตัวเองโดยเฉพาะการใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 วัดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน.
    ทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ตรวจเลือดหา FSH (Follicle-Stimulating Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน หรือก็คือฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่นั่นเอง[3]
    • ก่อนจะตรวจสุขภาพหรือตรวจเลือด ต้องแจ้งคุณหมอก่อนว่าคุณกินยา วิตามิน หรืออาหารเสริมใดอยู่บ้าง รวมถึงยาคุมที่ใช้อยู่ด้วย เพราะอาจทำให้ผลการทดสอบออกมาไม่ตรงตามความจริง โรคประจำตัวก็มีผล เช่น โรคไทรอยด์ เนื้องอกฮอร์โมนเพศ ซีสต์ในรังไข่ และภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก[4]
    • การทดสอบหา FSH มักทำหลังคุณมีประจำเดือนได้ 2 - 3 วัน
    • เอสโตรเจนมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ estrone, estradiol แล้วก็ estriol[5] estradiol เป็นประเภทที่ทดสอบวัดระดับได้ตามปกติ โดยทั่วไปผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือนจะอยู่ที่ 30 - 400 pg/mL (แล้วแต่ว่าอยู่ระยะไหนของรอบเดือน) และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะอยู่ที่ 0 - 30 pg/mL[6] ถ้าต่ำกว่า 20 pg/mL อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติเพราะระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ร้อนวูบวาบ เป็นต้น
    • แต่ก็มีหลายคนไม่มั่นใจเรื่องความแม่นยำของการตรวจวัดระดับเอสโตรเจน เพราะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดวัน แต่อย่างน้อยก็มีประโยชน์เมื่อควบคู่ไปกับการตรวจร่างกายและการทดสอบอื่นๆ รวมถึงประวัติการรักษาของคุณ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลองบำบัดด้วยการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน.
    ทำได้หลายแบบ ทั้งกินยา ใช้แผ่นแปะ หรือทาเจล/ครีม รวมถึงยาเหน็บ ห่วงสอด และครีมทาช่องคลอดด้วย[7] ก่อนใช้ให้ปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีที่สุด
    • แต่ถ้าคุณยังมีมดลูกปกติดี ก็อย่าเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนมากไป ถ้าเพิ่มแต่เอสโตรเจน ไม่เพิ่มโปรเจสเตอโรน ระวังจะเป็นมะเร็งมดลูกได้
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลิกสูบบุหรี่.
    เพราะอาจเป็นอันตรายต่อระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายไม่ค่อยผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนตามปกติ[8] ผู้หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือนแล้วสูบบุหรี่อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือไข่ไม่ตกได้ รวมถึงอาจหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร[8]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกกำลังกายปานกลาง.
    ออกกำลังกายแล้วทำให้ระดับเอสโตรเจนต่ำลง เพราะงั้นอย่าออกหนักเกินไป ให้ออกปานกลางแต่สม่ำเสมอ จะได้สุขภาพดีแถมลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม อายุก็ยืนยาวขึ้นด้วย[9]
    • นักกีฬาทั้งหลายมักประสบปัญหาระดับเอสโตรเจนต่ำ เพราะผู้หญิงที่ร่างกายมีไขมันน้อยจะผลิตเอสโตรเจนน้อยลง ถ้าคุณเป็นนักกีฬาหรือไขมันในร่างกายต่ำ ให้ปรึกษาคุณหมอว่าจะเพิ่มเอสโตรเจนได้ยังไง[10]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินอาหารครบหมู่.
    ระบบต่อมไร้ท่อจะทำงานได้ดีและหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับปกติถ้าร่างกายแข็งแรง ผู้หญิงเพิ่มเอสโตรเจนผ่านอาหารไม่ได้ แต่ถ้ากินอาหารสดใหม่จะทำให้ระบบแข็งแรง เลยผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับที่เหมาะสมนั่นเอง[11]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เน้นถั่วเหลืองและนมถั่วเหลือง.
    อาหารต่างๆ ที่ทำจากถั่วเหลือง โดยเฉพาะเต้าหู้ จะมี genistein หรือก็คือสารจากพืชที่ออกฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน ถ้ากินเข้าไปปริมาณมาก อาจช่วยบรรเทาอาการของคนวัยหมดประจำเดือนได้ แต่ไม่ถึงขนาดปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุล[12] เมนูถั่วเหลืองที่น่าสนใจก็เช่น[13]
    • ถั่วแระญี่ปุ่น
    • เต้าเจี้ยว (ไม่ต้องมาก)
    • ถั่วเหลืองอบ
    • ถั่วเหลืองหมัก (Tempeh)
    • โปรตีนเกษตร หรืออาหารที่ทำจากโปรตีนเกษตร
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลดน้ำตาล.
    กินน้ำตาลมากๆ ฮอร์โมนในร่างกายอาจไม่สมดุล[14] ให้เปลี่ยนไปกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ รวมถึงธัญพืชโฮลเกรน
    • เช่น แทนที่จะใช้แป้งสาลี ก็เปลี่ยนไปใช้แป้งโฮลเกรน หรือเลือกเมนูอย่างพาสต้าเส้นโฮลเกรนและข้าวกล้องแทนแป้งหรือข้าวขัดสี
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ดื่มกาแฟ.
    ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้วต่อวัน (คาเฟอีน 200 มก.) จะมีเอสโตรเจนสูงกว่าคนที่ไม่ดื่มเลย แต่ถึงจะช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ แต่คาเฟอีนก็ไม่ได้ช่วยให้มีลูกง่ายขึ้นแต่อย่างใด ถ้าอยากเพิ่มเอสโตรเจนให้ไข่ตก กาแฟและคาเฟอีนคงไม่ช่วยเท่าไหร่[15]
    • ดื่มกาแฟออร์แกนิกดีกว่า เพราะกาแฟส่วนใหญ่อาจมียาฆ่าแมลงตกค้าง ถ้าดื่มกาแฟออร์แกนิกก็ลดความเสี่ยงที่จะเจอยาฆ่าวัชพืช ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีต่างๆ ที่ตกค้าง นอกจากนี้ให้เลือกกรวยกรองกาแฟที่ไม่ฟอกสี จะได้ไม่เจอสารฟอกขาวตกค้าง ปลอดภัยกว่าเยอะ
    • ดื่มกาแฟและเครื่องดื่มคาเฟอีนอื่นๆ แต่พอดี อย่าให้คาเฟอีนเกิน 400 มก. ต่อวัน ยิ่งคนดื่มเป็นประจำยิ่งต้องน้อยกว่านั้น[16]
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินอาหารเสริม chasteberry.
    เป็นสมุนไพรในรูปของแคปซูล มีขายตามร้านขายยาทั่วไปและในเน็ต ให้ศึกษาปริมาณที่แนะนำที่ฉลากข้างขวดก่อน เขาว่า chasteberry ช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนได้ แต่ยังไม่ค่อยมีผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์มารองรับเท่าไหร่[17] แต่ใช้แก้อาการหมดประจำเดือน เพิ่มน้ำนม หรือช่วยเรื่องการตกไข่ไม่ได้แน่นอน[18]
    • chasteberry นั้นมีผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน[19] แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าออกฤทธิ์ยังไง และมีผลมากน้อยแค่ไหน[20]
    • ระวังอย่าใช้ chasteberry ถ้าคุณกินยาคุม ยารักษาอาการทางจิต ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยา Metoclopramide หรือ dopamine อยู่
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลือกกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogens) สูง.
    เพราะจะไปทดแทนเอสโตรเจนในร่างกาย มักพบตามธรรมชาติในพืชและสมุนไพรต่างๆ ไฟโตเอสโตรเจนเหมาะกับคนที่อยากบรรเทาอาการอันเกิดจากระดับเอสโตรเจนต่ำ หรืออาการหมดประจำเดือน แต่ก็ต้องใช้แต่พอดี และควรหลีกเลี่ยงหากกำลังวางแผนจะมีลูก ไฟโตเอสโตรเจนอาจทำให้ไข่ไม่ตกรวมถึงส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ถ้าอยากเพิ่มไฟโตเอสโตรเจน ก็ต้องกินอาหารบางชนิดในปริมาณมาก[21] อาหารและสมุนไพรที่ว่าก็เช่น[22][23]
    • ถั่วต่างๆ: ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วบราซิล และถั่วลิมา เป็นต้น
    • ผลไม้: พวกแครนเบอร์รี่ ลูกพรุน และแอพริคอต
    • สมุนไพร: ออริกาโน โหระพา และชะเอมเทศ
    • ธัญพืชโฮลเกรน
    • แฟล็กซีด
    • ผัก: บร็อคโคลี่ และกะหล่ำดอก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มชาสมุนไพร.
    ชาและน้ำสมุนไพรบางทีก็ช่วยเพิ่มเอสโตรเจน บางทีก็บรรเทาอาการหมดประจำเดือนหรืออาการก่อนมีประจำเดือนโดยไม่ส่งผลต่อระดับเอสโตรเจนแต่อย่างใด ให้แช่ถุงชาในถ้วยใส่น้ำร้อนประมาณ 5 นาที[24]
    • ชาดำและชาเขียวจะมีไฟโตเอสโตรเจน[25]
    • ตังกุย (Angelica sinensis) มักพบในยาจีน ว่ากันว่า ช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน แต่ถ้าใช้ยาเจือจางเลือดอย่าง warfarin อยู่ก็ห้ามดื่มเด็ดขาด [26]
    • Red clover มีสาร isoflavones ช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนหรืออาการก่อนมีประจำเดือนได้[27]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กินแฟล็กซีด.
    flax seed / flaxseed มีไฟโตเอสโตรเจนเข้มข้นมาก ให้กินไม่เกิน 1/2 ถ้วยตวงจะได้ผลดีที่สุด แถมแฟล็กซีดยังมีกรดไขมันโอเมกา-3 เยอะ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ มะเร็ง เส้นเลือดในสมองตีบ และเบาหวานอีกด้วย[28]
    • ง่ายที่สุดคือผสมแฟล็กซีดในซีเรียลหรือในสมูธตี้ผลไม้

เคล็ดลับ

  • บางทีอาการร้อนวูบวาบหรือความต้องการทางเพศลดลงอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ยังไงไปตรวจร่างกายกับคุณหมอให้แน่ใจดีกว่า

คำเตือน

  • ถ้ากินแฟล็กซีดมากเกินปริมาณที่แนะนำ อาจไปลดประสิทธิภาพของยาบางชนิดได้
  • อย่าเริ่มกินอาหารเสริมก่อนปรึกษาแพทย์
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงตั้งครรภ์อาจพุ่งสูงกว่าปกติได้มากถึง 100 เท่าเลยทีเดียว[29] เพราะฉะนั้นถ้าคุณท้องอยู่ ห้ามไปกินยา อาหารเสริม หรือใช้วิธีอื่นเพิ่มเอสโตรเจนอีกเด็ดขาด มีอาการอะไรให้ปรึกษาคุณหมออย่างเดียว
  1. http://www.webmd.com/women/guide/normal-testosterone-and-estrogen-levels-in-women#4
  2. http://www.healthline.com/health/menopause/diet-hormones
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1480510/
  4. http://www.ucsfhealth.org/education/a_guide_to_foods_rich_in_soy/index.html
  5. http://www.sciencedaily.com/releases/2007/11/071109171610.htm
  6. http://www.nih.gov/news/health/jan2012/nichd-26.htm
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/caffeine/art-20045678
  8. http://www.aafp.org/afp/2005/0901/p821.html
  9. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-968-chasteberry.aspx?activeingredientid=968&activeingredientname=chasteberry
  10. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25878948
  11. https://www.mskcc.org/cancer-care/integrative-medicine/herbs/chasteberry
  12. http://e.hormone.tulane.edu/learning/phytoestrogens.html# health_risks
  13. http://academicsreview.org/reviewed-content/genetic-roulette/section-6/6-3-endocrine-disruptors/
  14. http://www.newhealthguide.org/Normal-Estrogen-Levels.html
  15. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/menopause
  16. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-997-herbs%20with%20estrogenic%20activity%20(black%20tea).aspx?activeingredientid=997&activeingredientname=herbs%20with%20estrogenic%20activity%20(black%20tea)
  17. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/dong-quai
  18. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/red-clover
  19. http://www.webmd.com/diet/features/benefits-of-flaxseed
  20. http://www.newhealthguide.org/Normal-Estrogen-Levels-In-Women.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Lacy Windham, MD
ร่วมเขียน โดย:
สูตินรีแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Lacy Windham, MD. ดร.วินดั้มเป็นสูตินรีแพทย์ที่มีใบรับรองในเทนเนสซี่ เธอผ่านการฝึกงานจากคณะแพทยศาสตร์อีสเทิร์นเวอร์จิเนียในปี 2010 ที่ซึ่งเธอได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 127,727 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 127,727 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม