วิธีการ รับมือเมื่อรู้สึกว่าไม่มีใครใส่ใจ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

บางทีก็ห้ามความรู้สึกไม่ได้ ว่าเหมือนอยู่ตัวคนเดียวในโลกนี้ ไม่มีใครแคร์ กระทั่งคนดังหรือดาราก็ยังมีสงสัยบ้าง ว่าคนที่มาห้อมล้อมรอบตัวน่ะจริงใจห่วงใยกันบ้างหรือเปล่า คุณเอาชนะความน้อยอกน้อยใจนี้ได้ แล้วเรียนรู้คุณค่าของตัวเองอย่างที่เป็น ถ้าคุณรู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีใครรักไม่มีใครสนใจบ่อยๆ ลองทำตามคำแนะนำข้างล่างดู แล้วจะรู้ว่าชีวิตดีได้ก็เพราะตัวเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หากำลังใจและคุณค่าในตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สู้กับความรู้สึกไร้ค่า.
    ถ้าไม่รักหรือเห็นค่าในตัวเอง ก็มักเข้าใจว่าคนอื่นคงไม่แคร์คุณเหมือนกัน ต้องเริ่มจากตัวเองโดยเป็นฝ่ายเห็นค่าตัวเองซะก่อน ไม่ว่าจริงๆ แล้วคุณจะรู้สึกยังไง หรือใครจะว่ายังไง รู้ตัวว่าคิดลบเมื่อไหร่ให้รีบต้าน ถึงมันจะยากก็เถอะ[1]
    • ลองคิดดูว่าเวลาคนให้กำลังใจคุณ คุณตอบกลับยังไง เคยพยายามเถียงไหม ว่าไม่จริงหรอก ฉันไม่ได้ดีหรือเก่งขนาดนั้น ความคิดแบบนี้แหละที่จะทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม คนที่เคยมาปลอบใจก็จะหายหน้าไป เพราะฉะนั้นต้องเริ่มจากตัวคุณ ใครให้กำลังใจก็ตอบกลับไปว่า "ขอบคุณ" เถอะ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กลับไปหาเพื่อนเก่าและคนรู้จัก.
    ถ้า ณ ตอนนั้นไม่มีครอบครัวหรือเพื่อนสนิทอยู่ใกล้ๆ ลองกลับไปพูดคุยกับเพื่อนเก่าดู พยายามหาทางติดต่อเขา คนเรามักรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้เปิดอกพูดคุยกับพ่อแม่พี่น้อง เพื่อนฝูง ครูอาจารย์ และคนรู้จักที่ไว้ใจ
    • ถ้าได้โทรหาหรือคุยกันต่อหน้า จะดีกว่าส่งข้อความหรือแชทกัน[2]
  3. Step 3 แบบไหนที่เรียกว่า "ไม่แคร์".
    เวลาคุณซึมเศร้าจัดๆ มักพาลคิดไปว่าทุกคนช่างใจร้าย ไม่รักและเห็นใจคุณบ้างเลย ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วทุกคนเขาก็แค่มีเรื่องในชีวิตให้ต้องคิดเหมือนกัน ไม่ได้แปลว่าเขาไม่แคร์คุณสักหน่อย ถึงคุณจะไม่ชอบให้ใครมาปลอบใจด้วยคำอย่าง "เดี๋ยวมันก็ดีเอง" หรือ "อย่าไปใส่ใจเลย" แต่จริงๆ แล้วบางคนเขาก็พูดไปแบบไม่ได้คิดอะไร นึกว่านั่นเป็นการให้กำลังใจคุณ ใจเย็นๆ ต่างคนก็ต่างความคิด เขาอาจช่วยเหลือคุณได้ด้วยวิธีอื่นแทน ยังไงถ้าหดหู่ใจมากๆ อย่าเพิ่งไปคุยกับเขาเลย จะได้สบายใจทั้ง 2 ฝ่าย[3]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หางานอดิเรกหรือเพื่อนกลุ่มใหม่.
    ถ้าคุณเป็นคนเพื่อนน้อยหรือคบแต่กับคนในครอบครัว พอทะเลาะกันขึ้นมาก็ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร ยังไงลองหากิจกรรมใหม่ๆ ทำดู จะได้เจอคนใหม่ๆ ด้วย เผลอๆ จะถูกคอกันจนได้ที่ปรึกษาคนใหม่ขึ้นมา
    • ไปเป็นจิตอาสา เพราะการช่วยเหลือคนอื่นจะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองก็มีค่ามีประโยชน์
    • เข้าร่วมกลุ่ม ชมรม สมาคมอะไรก็แล้วแต่ ไม่ก็ลงเรียนคอร์สสั้นๆ ซะเลย
    • หัดคุยกับคนแปลกหน้าบ้าง นานๆ ไปอาจได้เพื่อนที่คุยกันถูกคอ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หากำลังใจออนไลน์.
    ถ้าไม่มีใครให้หันหน้าคุยจริงๆ ลองแชทกับกลุ่มคนที่เขายินดีรับฟังให้คำปรึกษา เช่น Blah Therapy หรือ 7 cups ถ้าของไทยก็อาจใช้สายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต ไม่ก็เข้าห้องแชทหรือเว็บบอร์ดต่างๆ แต่พยายามอย่าเปิดเผยตัวตนหรือข้อมูลส่วนตัว
    • ถ้าซึมเศร้าหนักจนคิดสั้น ให้ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ 02-354-8152 สายด่วนสุขภาพจิต โรงพยาบาลราชวิถี ไม่ก็หาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เก็บความทรงจำดีๆ.
    เวลาซึมเศร้าหรือหดหู่ใจมากเข้า ก็ยากที่จะสังเกตเห็นถึงเรื่องดีๆ รอบตัว กระทั่งการกอดหรือคำพูดให้กำลังใจก็เข้าไปไม่ถึงคุณ หรือดีขึ้นแล้วก็แย่ลงในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา[4] แต่ถ้ารู้สึกดีขึ้นเมื่อไหร่ ให้รีบบันทึกความทรงจำดีๆ ไว้ให้มากที่สุด จะจดในสมุดบันทึกหรือเก็บเป็นของที่ระลึกในกล่องกระดาษก็ได้ เวลาใครส่งการ์ด ข้อความ หรือพูดอะไรดีๆ กับคุณก็รวบรวมไว้ในที่เดียว คราวหน้าถ้าจิตตกเมื่อไหร่ให้รีบเปิดอ่านเปิดดู จะได้รู้ว่ายังมีคนคิดถึงคุณอยู่
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เล่นกับหมาแมว.
    สัตว์เลี้ยงจะอยู่เคียงข้างคุณเสมอไม่ว่าช่วงเวลาดีหรือร้าย โดยเฉพาะน้องหมา ถ้าคุณไม่มีสัตว์เลี้ยง ลองถามเพื่อนหรือเพื่อนบ้านดูก็ได้ ว่าขอพาหมาเขาไปเดินเล่น หรือขอเล่นกับน้องแมวหน่อยได้ไหม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รักษาอาการซึมเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้ทันและเข้าใจอาการของตัวเอง.
    ถ้าคุณรู้สึกสิ้นหวังหรือไร้ค่าบ่อยๆ นั่นแหละอาการซึมเศร้า ถือเป็นโรคชนิดหนึ่งที่ต้องรีบรับการรักษาก่อนร้ายแรง ยิ่งคุณยอมรับและเข้าใจเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้รับความช่วยเหลือให้อาการดีขึ้นได้ทันท่วงที
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เข้าร่วมกลุ่มบำบัดโรคซึมเศร้า.
    เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้กำลังใจ และคำแนะนำกัน[5] คุณจะแปลกใจถ้าได้รู้ว่ามีคนเข้าใจความรู้สึกของคุณมากกว่าที่คิดซะอีก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เขียนไดอารี่.
    สละเวลาสัก 2 - 3 นาทีในแต่ละวันมาระบายความรู้สึกนึกคิดลงกระดาษ หลายคนเขาว่าทำให้รู้สึกดีขึ้น เพราะเหมือนได้ "แชร์" เรื่องส่วนตัวกับใครสักคน แถมอีกหน่อยยังใช้หาสาเหตุที่ทำให้คุณซึมเศร้า รวมถึงทางแก้ที่ได้ผลและไม่ได้ผลด้วย[6]
    • ปิดท้ายแต่ละวันโดยเขียนถึงเรื่องที่คุณรู้สึกซาบซึ้งใจ จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ เช่น กาแฟดีๆ สักแก้ว หรือคนแปลกหน้าที่ส่งยิ้มให้กัน ขอแค่ทำให้คุณชุ่มชื่นหัวใจ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต.
    ถ้าชีวิตมีแนวทาง มีตารางสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน ก็ทำให้ไม่จมปลักอยู่กับความเศร้าซึม แต่อย่าใจร้อน ให้เวลาตัวเองได้ปรับตัวสัก 2 - 3 อาทิตย์ พยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน ตื่นมาแต่งตัวสวยงามสะอาดสะอ้านทุกเช้า แล้วออกจากบ้านไปเดินเล่นหรือทำอะไรที่ชอบ กินอาหารดีๆ มีประโยชน์ และออกกำลังกายให้ร่างกายและจิตใจแจ่มใสแข็งแรง[7]
    • เลิกเหล้า บุหรี่ และยาเสพติด พวกนี้ทำให้คุณรู้สึกดีแค่ผิวเผินและชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น สุดท้ายคุณจะรับมือกับโรคซึมเศร้าได้ยากกว่าเดิม ถ้าเกินความสามารถของคุณจริงๆ ก็ต้องพิจารณาเข้ารับการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาคุณหมอประจำตัว.
    ว่าคุณท่าทางจะเป็นโรคซึมเศร้า คุณหมอจะแนะนำคุณได้ ว่าคุณเป็นอะไร และต้องทำอะไรต่อไป
    • ถ้าคุณหมอคนแรกคิดว่าคุณปกติดี แต่คุณไม่รู้สึกแบบนั้น จะลองไปหาคุณหมออีกคนให้แน่ใจก็ได้ อย่างตามบางบริษัทก็มีผู้เชี่ยวชาญประจำ หรือคนที่อาจแนะนำนักบำบัดเฉพาะทางให้คุณได้[8]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พบนักบำบัด.
    ถือว่าเป็นการรักษาโรคซึมเศร้าได้ตรงจุดที่สุด ทั้งบริษัทและคุณหมอโรคทั่วไปของคุณน่าจะแนะนำวิธีนี้[9] การพบปะพูดคุยหรือรับการบำบัดจากนักจิตบำบัดมืออาชีพเป็นประจำจะทำให้คุณรู้และเข้าใจอาการที่เป็นอยู่ เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ดีขึ้นต่อไป
    • อาจจะต้องตระเวนพบนักบำบัดหลายคนกว่าจะเจอคนที่ใช่
    • อย่าใจร้อน ส่วนใหญ่ต้องบำบัดกันทุกอาทิตย์ ต่อเนื่องยาวนาน 6 - 12 เดือนเป็นอย่างต่ำถึงจะเห็นผล[10]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 พิจารณาใช้ยาร่วมด้วย.
    จิตแพทย์อาจจ่ายยาต้านเศร้าให้คุณ ซึ่งก็มีมากมายหลายแบบ แล้วแต่อาการและความรุนแรง บางทีก็ต้องลองใช้หลายตัว กว่าจะเจอยาที่ใช่ ถ้าได้รับยา ต้องหมั่นปรึกษาคุณหมอ ว่ายาใหม่ได้ผลไหม มีอาการข้างเคียงอย่างไร
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ฝึกสมาธิหรือสวดมนต์.
    ถ้าซึมเศร้าหรือคับแค้นใจ ลองหาที่เงียบๆ เป็นส่วนตัว โดยเฉพาะมุมสงบเห็นวิวทิวทัศน์ตามธรรมชาติ จากนั้นนั่งลงแล้วเพ่งจิตลึกลงไปในตัว หายใจเข้าออกช้าๆ หลายคนอารมณ์ดีสบายใจขึ้นเวลาได้นั่งสมาธิหรือสวดมนต์
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คนเราจะมีคุณค่าได้ ไม่จำเป็นต้องให้ใครมายอมรับหรือเห็นพ้องต้องกัน ถ้าคุณทำอะไรแล้วสบายใจก็ทำไปเถอะ ชีวิตเป็นของคุณ
  • อย่าปล่อยให้ใครมาทำคุณเสียใจจนจิตตก แสดงให้เขาเห็นเลยว่าตัวตนที่แท้จริงของคุณเป็นยังไง ทำอะไรอย่างที่คุณต้องการ อย่าถอดใจหรือยอมแพ้แค่เพราะใครตำหนิติติง
  • อย่าหมกมุ่น ให้เล่นกีฬาหรือหาอะไรทำตามความชอบความสนใจ
  • ถ้าคนที่ไม่แคร์คุณคือพ่อแม่ผู้ปกครอง ก็หันไปปรึกษาครูบาอาจารย์แทน ผู้ใหญ่ที่คุณไว้ใจน่าจะมีคำแนะนำดีๆ ให้ หรือแนะนำคนอื่นที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะให้คุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • เราเข้าใจว่าบางทีก็จิตตกจนนึกถึงช่วงเวลาดีๆ เช่น ตอนมีความสุข ภูมิใจ หรือสงบสบายใจไม่ออก แต่อย่าเครียดไป เพราะคุณกำลังตกหล่มไง เดี๋ยวพอช่วงเวลาหนักหนามันผ่านไป เรื่องดีๆ จะพากันผุดขึ้นมาเอง
  • แต่ถ้าไม่หาย หรือเป็นหนักกว่าเดิมถึงขั้นคิดสั้น ให้รีบปรึกษาคนที่ไว้ใจ หรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ 02-354-8152 สายด่วนสุขภาพจิต โรงพยาบาลราชวิถี ดู
  • มีคนปลอบใจก็เป็นเรื่องดี แต่ถึงเวลา คุณเองก็ต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง คนที่เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องแย่ๆ ในชีวิตจะทำให้ซึมเศร้าไม่หาย คุยกับใครไปก็ไม่มีประโยชน์ หรือช่วยได้แค่ไม่นาน[13]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 83 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 33,685 ครั้ง

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบทางการแพทย์

เนื้อหาของบทความชิ้นนี้มิได้มีเจตนาที่จะใช้ทดแทนคำแนะนำ การตรวจ วินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือมืออาชีพทางการดูแลสุขภาพที่ได้รับอนุญาตเสมอ ก่อนที่จะทำการเริ่มต้น เปลี่ยนแปลง หรือหยุดการดูแลสุขภาพไม่ว่าประเภทใด

มีการเข้าถึงหน้านี้ 33,685 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา