วิธีการ หายจากอาการคลื่นไส้อย่างรวดเร็ว

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อาการคลื่นไส้คือความรู้สึกไม่ดีในช่องท้องที่นำไปสู่การอาเจียน ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายอย่าง เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด การเมาเรือ และการแพ้ท้อง การคลื่นไส้อาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงก็ได้ เช่น อาหารเป็นพิษ หรือไข้หวัดใหญ่ลงท้อง ดังนั้นหากอาการคลื่นไส้ไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงควรไปพบแพทย์ หากการคลื่นไส้มีสาเหตุมาจากอาการป่วยที่ไม่ร้ายแรง หรือมาจากความวิตกกังวลและความเครียด นี่คือวิธีที่สามารถลองทำได้เพื่อให้หายจากการคลื่นไส้ในทันที

สิ่งที่คุณควรรู้

  • หายจากอาการคลื่นไส้โดยไวด้วยการนอนในที่เงียบๆโดยยกหัวขึ้น สูดหายใจลึกๆ
  • ลองสวมสร้อยข้อมือกดจุดเพื่อลดอาการคลื่นไส้ ลองยืดเหยียดหรือโยคะเช่นท่าน้ำตก
  • จิบน้ำหรือน้ำซุปใสเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ ทานอาหารอย่างกล้วย ข้าว ซอสแอปเปิล หรือขนมปัง
ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ลงมือทำทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นั่งเฉยๆ ในที่เงียบๆ.
    อาการคลื่นไส้นั้นถูกกระตุ้นหรือทำให้แย่ลงได้ด้วยการเคลื่อนไหวไปมา ลองพักด้วยการนั่งในที่เงียบๆ หรือนั่งบนเตียงหรือพรมในห้อง หากยังรู้สึกคลื่นไส้ ค่อยๆ เอนตัวลงนอนราบแต่ยกหัวขึ้นด้วยอะไรก็ได้ แต่แนะนำให้เป็นหมอน (ซึ่งจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายกว่าและสบายกว่า)[1]
    • หากสามารถผ่อนคลายเพียงพอ การงีบก็สามารถทำให้หายคลื่นไส้ได้ เราจะรู้สึกดีขึ้นตอนที่ตื่น
    • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ ที่ไม่รัดช่วงเอวหรือท้อง[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หายใจลึกๆ .
    การหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปจะช่วยล้างปอด ลดความวิตกกังวล และช่วยให้ท้องรู้สึกดีขึ้น[3]
    • นั่งในที่เงียบๆ และหลับตาลง พยายามคิดถึงเรื่องอื่นนอกจากอาการคลื่นไส้ของเรา (เพื่อให้เลิกคิดถึงความรู้สึกคลื่นไส้)
    • การปวดหัวสามารถเกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์นานเกินไป จึงควรพยายามพักโดยไม่ดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือ[4]ะเราคงไม่ต้องการเพิ่มอาการปวดหัวเข้ากับอาการคลื่นไส้อีกจริงไหม
    • หายใจเข้าลึกๆ ผ่านทางจมูกและกลั้นเอาไว้ก่อน จากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกจากทางปากช้าๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 วางแผ่นประคบเย็นที่หลังคอ.
    อาการคลื่นไส้อาจมีสาเหตุจากไข้ แต่ถึงจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ตาม อุณหภูมิร่างกายอาจจะสูงขึ้นจากปกติเป็นผลจากการคลื่นไส้ อุณหภูมิที่เย็นจะช่วยให้อุณหภูมิร่างกายคงที่[5]
    • ใช้ผ้าขนหนูสะอาดจุ่มน้ำเย็น ประคบรองใต้คอหากนอนหงายอยู่ หากกำลังนั่ง ให้พาดรอบคอ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เลิกคิดถึงอาการคลื่นไส้.
    ดูหนัง โทรหาเพื่อน หรือทำกิจกรรมเบาๆ อย่างอื่นที่จะป้องกันไม่ให้เราคิดถึงแต่อาการคลื่นไส้[6]
    • อาการคลื่นไส้บางอย่างอาจถูกกระตุ้นหรือแย่ลงได้ด้วยความวิตกกังวล การเลิกคิดเรื่องที่กังวลอื่นๆ จะช่วยให้หายจากอาการคลื่นไส้ได้
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิสูง ยกตัวอย่างเช่น การอ่านหรือการเขียนที่ต้องใช้สายตาโฟกัสบนเนื้อหาเป็นเวลานาน อาจทำให้ปวดตาได้ ในเวลาปกติการปวดตานี้อาจจะไม่มีผลอะไร แต่เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ อาการปวดหรือตึงใดๆ ก็อาจทำให้อาการแย่ลง
    • เลื่อนกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายหนักๆ ออกไปก่อน ในขณะที่การขยับเบาๆ จะช่วยอาการคลื่นไส้ แต่กิจกรรมทางกายจะทำให้เกิดแรงกดกับท้องซึ่งจะทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุน.
    ต่อมรับกลิ่นของเรานั้นติดต่อกับระบบย่อยอาหาร ดังนั้นกลิ่นฉุนๆ สามารถส่งผลให้กระเพาะของเราขยักขย้อนและทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง (หลีกเลี่ยงพวกกลิ่นสีอย่างเด็ดขาด)[7]
    • อย่าทำอาหาร สูบบุหรี่ หรือใช้น้ำหอม ที่จริงแล้วหากเป็นไปได้ ควรหนีจากบริเวณที่มีคนกำลังทำอาหาร สูบบุหรี่ หรือใส่น้ำหอมฉุนๆ ไปเลย
    • ในทางตรงข้าม ลองใช้กลิ่นมาบำบัดอาการคลื่นไส้ กลิ่นสบายจมูกอย่างคาโมไมล์ ขิง ส้ม เลม่อน หรือเปปเปอร์มินต์[8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ใช้การกดจุดและการยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กดจุดด้วยนิ้วมือ.
    ใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้โค้งเป็นรูปตัวซี (C) แล้วกดลงแน่นๆ บนร่องระหว่างเส้นเลือดใหญ่สองเส้นบนข้อมือด้านในที่เป็นบริเวณล่างฝ่ามือ (จุดกด P6) กดทิ้งไว้ 30 วินาทีถึง 1 นาที แล้วจึงปล่อยนิ้วจากข้อมือ ควรรู้สึกว่าอาการคลื่นไส้ดีขึ้นหรือหายไปหรือยัง[9]
    • การกดจุดคือศาสตร์โบราณของจีนที่จะใช้แรงกดลงบนพื้นที่บนร่างกาย โดยใช้นิ้วมือ การกดจุดเหมือนกับการฝังเข็มคือรักษาโดยไปเปลี่ยนแปลงสัญญาณความเจ็บปวดที่เส้นประสาทส่งไปยังสมอง[10]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้สร้อยข้อมือกดจุด.
    หากต้องการให้มือว่าง ก็สามารถกดจุดได้ด้วยการใช้สร้อยข้อมือสำหรับกดจุดหรือสำหรับแก้เมา สร้อยนี้จะมีปุ่มที่กดลงบนจุดบนข้อมือเราอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นในระหว่างวัน[11]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เล่นโยคะเพื่อผ่อนคลายหลังและคอ.
    การยืดกล้ามเนื้อเบาๆ จะช่วยให้ความปวดที่หลังและคอดีขึ้นและช่วยให้หายจากอาการคลื่นไส้[12]
    • ในการคลายกล้ามเนื้อหลังด้านบน ทำท่าขัดสมาธิหน้าคว่ำ นั่งขัดสมาธิบนพื้นและเอนตัวไปข้างหน้า หยุดเอนตัวไปข้างหน้าเมื่อตัวเราทำมุม 45 องศากับขา วางแขนบนเก้าอี้ข้างหน้าเรา หากมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ก็สามารถเอนตัวไปข้างหน้าจนหน้าผากแตะพื้นและแขนยืดไปข้างหน้าได้
    • ในการคลายกล้ามเนื้อคอ นั่งบนเก้าอี้ ผ่อนคลายไหล่และวางมือบนต้นขา เอียงคอไปหาไหล่ค้างไว้ 15 ถึง 30 วินาที ให้ไหล่อีกค้างลู่ลง หายใจเข้าลึกๆ และตั้งหัวขึ้นเหมือนเดิม ทำซ้ำ 2 ถึง 4 ครั้งต่อข้าง
    • ท่าโยคะอีกท่าที่ดีต่ออาการคลื่นไส้อีกท่าคือ ท่าขาพิงบนผนัง นอนลงบนเสื่อโยคะหรือพรมติดกับผนัง ให้ก้นกบและก้นชิดกับผนังและยืดขาขึ้นพิงผนัง ทำท่านี้ค้างไว้อย่างน้อย 5 นาที หรือ หายใจ 40 – 50 ครั้ง ท่านี้จะช่วยลดความรู้สึกคลื่นไส้และลดความตึงเครียดของร่างกาย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินอาหารในปริมาณน้อย ในระหว่างวัน.
    เมื่อท้องไส้รู้สึกไม่ดีเนื้อจากากรคลื่นไส้ ต้องกินอาหารทีละน้อยๆ และจิบเครื่องดื่มทีละนิดอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้กระเพาะทำงานหนัก[13]
    • เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกินและดื่มถึงแม้ว่าจะรู้สึกคลื่นไส้ก็ตาม ความหิวและการขาดน้ำจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้หรือทำให้อาการแย่ลงอีก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินอาหารอ่อนและอาหารที่มีน้ำ.
    ถึงแม้ว่าการกินจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำ ท้องว่างๆ จะทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ท้องรู้สึกแย่ลง ลองกินอาหารที่ย่อยง่าย[14]
    • ตัวอย่างอาหารที่ย่อยง่ายได้แก่ ขนมปังกรอบ ขนมปังปิ้ง มันฝรั่ง ก๋วยเตี๋ยว ข้าว และ โจ๊ก (โภชนาการแบบ BRAT)[15] หรือลองแครกเกอร์ มันฝรั่ง บะหมี่ และมัฟฟิน หากการคลื่นไส้ไม่รุนแรง ก็สามารถลองไก่หรือปลาอบหรือต้มก็ได้
    • ตัวอย่างอาหารที่เพิ่มน้ำในร่างกายได้ดีเช่น ไอติม น้ำซุปใส และวุ้น
    • หลีกเลี่ยงอาหารมัน เค็ม หรือเผ็ด เช่น ไส้กรอก อาหารขยะ อาหารทอด และมันฝรั่งทอดเป็นศัตรูของเราเวลาที่รู้สึกคลื่นไส้ อาหารเหล่านี้หนักเกินไปสำหรับกระเพาะของเราเวลาที่มันอ่อนแอ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พยายามอย่ากินอาหารร้อนกับเย็นผสมกัน.
    ความแตกต่างของอุณหภูมิสามารถทำให้รู้สึกมวนท้อง ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่เราต้องการระหว่างมีอาการคลื่นไส้[16]
    • ในข้อแนะนำทั่วไป อาหารเย็นๆ จะอ่อนโยนต่อกระเพาะมากกว่าและพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพแก้คลื่นไส้ได้ดีกว่าอาหารร้อนๆ อาหารที่ร้อนนั้นอาจมีกลิ่นฉุนซึ่งทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง[17]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จิบเครื่องดื่มใสๆ เย็นๆ ในระหว่างวัน.
    น้ำในร่างกายสำคัญมากในระหว่างมีอาการคลื่นไส้ การดื่มน้ำเปล่าและน้ำผลไม้เป็นปริมาณน้อยๆ ระหว่างวันจะช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้[18]
    • น้ำเปล่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่น้ำผลไม้อย่างน้ำแอปเปิ้ลก็ได้ผลเหมือนกัน น้ำโซดา โดยเฉพาะน้ำขิงโซดาที่หายซ่าแล้วจะช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้
    • หากอาเจียนไปแล้ว ให้ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีกลูโคส เกลือ และโพแทสเซียม เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่เสียไป
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อย่านอนทันทีหลังกิน.
    การทำแบบนี้จะทำให้ระบบย่อยอาการทำงานช้าลงและนำไปสู่การปวดท้อง นอกเหนือไปจากอาการคลื่นไส้อีก รออย่างน้อยครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงก่อนจะนอนหลังจากมื้ออาหาร เพื่อให้กระเพาะได้มีเวลาย่อยอาหารก่อน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

รักษาแบบธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินขิง.
    ชาขิง ขิงสด และขิงเชื่อม ทั้งหมดนี้สามารถใช้เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ รากขิงนั้นกระตุ้นให้หลั่งน้ำย่อยหลายชนิดรวมถึงเอ็นไซม์ที่ช่วยลดกรดในกระเพาะ กรดฟีนอลในขิงสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อท้อง ซึ่งจะลดภาระของกระเพาะอาหารในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ลำไส้กำจัดของเสียได้เร็วขึ้น[20]
    • ทำชาขิงได้ด้วยรากขิงยาวประมาณ 2 นิ้ว ล้างรากขิงและปวกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือบี้ให้แหลกต้มน้ำ 2 – 3 ถ้วยด้วยไฟปานกลาง แล้วจึงใส่ขิงลงไปแล้วทิ้งให้เดือดสัก 3 – 5 นาที ยกออกจากเตาและกรองชาหากไม่ต้องการให้มีเศษเล็กๆ อยู่ในน้ำชา แล้วจึงเทลงในถ้วยและเติมน้ำผึ้งลงไปหากชอบ จิบช้าๆ
    • ลองจิงเจอร์เอล ลูกกวาดขิง หรืออาหารเครื่องดื่มที่ทำจากขิง[21]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้เปปเปอร์มินต์.
    ชาเปปเปอร์มินต์หรือลูกอมเปปเปอร์มินต์มีผลช่วยอาการคลื่นไส้คล้ายกับขิง[22] ลองหยดน้ำมันเปปเปอร์มินต์ชนิดไม่เป็นอันตรายต่ออาหารสัก 2-3 หยดลงในน้ำ 20 มิลลิลิตร[23]
    • กลิ่นของเป๊ปเปอร์มิ้นท์ยังสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ หยดน้ำมันเป๊ปเปอร์มิ้นท์ที่ปลอดภัยกับอาหารบนข้อมือด้านในของเราหรือบนหมากฝรั่ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดูดมะนาว.
    มะนาวแช่เย็นหรือแช่แข็งจะได้ผลดีที่สุด กลิ่นและรสชาติของซิตรัสสามารถช่วยลดการคลื่นไส้ได้[24]
    • หั่นครึ่งมะนาวและวางไว้ใกล้ๆ พอได้กลิ่นโดยที่ไม่ฉุนเกินไป
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ใช้ยารักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้ยาที่หาได้ตามร้านขายยาทั่วไป.
    หากสามารถออกไปร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาเก็ตได้ ให้ซื้อยาสำหรับแก้อาการคลื่นไส้
    • ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth subsalicylate) เป็นยาที่หาได้ตามร้านขายยาทั่วไปซึ่งใช้ในการรักษาอาการของระบบย่อยอาหารรวมถึงการคลื่นไส้ด้วย ควรหายได้อย่างรวดเร็วหลังจากกินยา[25]
    • ยาน้ำแก้คลื่นไส้นั้นสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ยาแบบนี้มักมีส่วนผสมของ dextrose fructose และ phosphoric acid
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หลีกเลี่ยงยาที่มีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้.
    เช่น ยาแก้ปวดหลายชนิดสามารถกระตุ้นหรือทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง[26]
    • วิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่จะดูว่ายานั้นทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลงหรือไม่คือการตรวจดูผลข้างเคียงของมัน หาก “คลื่นไส้” ถูกระบุไว้ในผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แปลว่ายานั้นอาจเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ของเรา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พบแพทย์ทันทีหากอาเจียนสามครั้งหรือมากกว่าในหนึ่งวัน....
    พบแพทย์ทันทีหากอาเจียนสามครั้งหรือมากกว่าในหนึ่งวัน. อีกทั้งควรพบแพทย์หากไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้ หรือรู้สึกคลื่นไส้นานเกิน 48 ชั่วโมง[27]
    • ควรพบแพทย์เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย มีไข้ ปวดท้อง หรือไม่สามารถปัสสาวะเป็นเวลา 8 ชั่วโมงหรือมากกว่า
    • หากมีเลือดปนในอาเจียน มีสีแดงสดหรือน้ำตาลเข้มปรากฏอยู่ และหากรู้สึกปวดหัวมาก หรือปวดคอ หรือปวดท้องมาก ควรรีบพบแพทย์
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พาลูกไปพบแพทย์หากมีอาการอาเจียนเกินสองสามชั่วโมง หรือมีไข้....
    พาลูกไปพบแพทย์หากมีอาการอาเจียนเกินสองสามชั่วโมง หรือมีไข้. และควรพาไปพบแพทบ์หากลูกไม่ได้ปัสสาวะเกิน 4 – 6 ชั่วโมง มีอาการขาดน้ำ และท้องเสีย[28]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาแก้อาการคลื่นไส้.
    มียาหลากหลายชนิดที่มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ภายใน 30 ถึง 60 นาที[29] ยาแก้อาการคลื่นไส้ทั่วไปได้แก่:[30]
    • โปรเมทาซีน (Promethazine)
    • คลอโปรมาซีน (Chlorpromazine)
    • โปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine)
    • ไทรเมโธ เบนซาไมด์ (Trimetho-benzamide)
    • เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide)
    • สโคโปลามีน (scopolamine)
    • ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
    โฆษณา
  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002117.htm
  2. https://medlineplus.gov/ency/article/002117.htm
  3. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17944760/
  4. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000122.htm
  5. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000122.htm
  6. https://health.clevelandclinic.org/the-best-foods-to-eat-when-youre-sick/
  7. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/coping/physically/sickness/treatment/other-ways-of-controlling-sickness
  8. https://health.clevelandclinic.org/the-best-foods-to-eat-when-youre-sick/
  9. https://www.albertahealthservices.ca/assets/info/cca/if-cca-managing-your-nausea-vomiting.pdf
  10. https://health.clevelandclinic.org/morning-sickness-10-tips-to-tame-your-turbulent-tummy-day-or-night/
  11. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/ginger-benefits
  12. https://health.clevelandclinic.org/the-best-foods-to-eat-when-youre-sick/
  13. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/coping/physically/sickness/treatment/other-ways-of-controlling-sickness
  14. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7605047/
  15. https://health.clevelandclinic.org/morning-sickness-10-tips-to-tame-your-turbulent-tummy-day-or-night/
  16. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a607040.html
  17. https://myhealth.alberta.ca/Health/Pages/conditions.aspx?hwid=sig56596
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  19. https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/8106-nausea--vomiting
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  21. https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2004/0301/p1169.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Roy Nattiv, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์ระบบทางเดินอาหารที่มีใบรับรองจากคณะกรรมการ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Roy Nattiv, MD. ดร. รอย แน็ตทิฟ เป็นกุมารแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหารในลอสแองเจลิส เขาเชี่ยวชาญเรื่องโรคระบบทางเดินอาหารและโรคทางโภชนาการที่หลากหลายในเด็ก เช่น อาการท้องผูก ท้องร่วง กรดไหลย้อน แพ้อาหาร น้ำหนักขึ้นน้อย SIBO IBD และ IBS ดร. แน็ตทิฟสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต(MD) จาก Sackler School of Medicine ในเมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล จากนั้นเขาก็สำเร็จหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ที่โรงพยาบาลเด็กที่มอนเตฟิโอเร วิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ดร. แน็ตทิฟศึกษาต่อจนสำเร็จทุนและฝึกอบรมด้านระบบทางเดินอาหาร ตับวิทยา และโภชนาการในเด็กจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (UCSF) เขาฝึกหัดเพื่อเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอดที่ California Institute of Regenerative Medicine (CIRM) และได้รับรางวัล North American Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition (NASPGHAN) Fellow to Faculty Award in Pediatric IBD Research บทความนี้ถูกเข้าชม 399,537 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 399,537 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา