ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ความรู้สึกเศร้าหมองหรือหดหู่ นับเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต อาจมีบางคนทำให้คุณรู้สึกแย่ อาจมีบางเรื่องไม่เป็นไปตามที่คุณคาด และย่อมมีบางเวลาที่คุณสูญเสียคนรัก หรือสูญสิ้นความหวัง ซึ่งหากความรู้สึกเหล่านั้นกินเวลาเป็นเดือนหรือหลายสัปดาห์ บ่อยมากกระทั่งทำให้คุณรู้สึกไม่อยากพบปะผู้คน จนส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน หรือหาความเบิกบานในชีวิตไม่ได้แล้วล่ะก็ ถือว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้าเข้าให้แล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณพอมีแหล่งข้อมูลให้ศึกษา หรือมีโอกาสเข้าหาจิตแพทย์ รวมถึงพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการช่วยเหลือด้านนี้ ต่อให้คุณมีอาการซึมเศร้ามากแค่ไหน ก็รักษาหายได้ไม่ยาก[1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การวินิจฉัยและรักษาอาการซึมเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มองหาสัญญาณบอกเหตุ.
    หากคุณยังไม่ได้มองหาตัวช่วยไว้รับมืออาการซึมเศร้าของตัวเองแล้วล่ะก็ ควรจะเริ่มลงมือเดี๋ยวนี้ อย่าฝืนใจเก็บไว้คนเดียวเด็ดขาด สัญญาณบอกเหตุล่วงหน้านั้นมีหลายอย่าง หากคุณพบว่าตนเองตรงกับข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ:[2][3]
    • หมดอาลัยตายอยาก ปล่อยชีวิตผ่านไปโดยไม่สนใจแม้แต่กิจวัตรประจำวัน
    • เบื่อกับกิจกรรมบางอย่าง เช่น การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ฯลฯ ทั้งๆ ที่เคยสนุกกับมัน
    • ง่วงเพลียและอ่อนล้า รู้สึกว่าการทำเรื่องทั่วๆ ไปมันยากกว่าปกติ
    • จมอยู่กับความเศร้า ร้องไห้ง่ายและบ่อยขึ้น มักเกิดความกังวลและรู้สึกว่างเปล่า
    • รู้สึกท้อแท้และเศร้าหมอง ความรู้สึกโดยรวมเป็นลบ และอยู่ในภาวะเช่นนี้มาแล้วมากกว่าสองสัปดาห์
    • รู้สึกไร้ค่า ชอบโทษตัวเอง ขาดความนับถือตัวเอง
    • นอนมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ หรือมีปัญหาในการนอนหลับ
    • บางรายอาจทานอาหารมากขึ้น บางรายอาจทานได้น้อยลง กระทั่งน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
    • ความคิดฟุ้งซ่าน รวบรวมสมาธิยากขึ้น มักหลงลืม และตัดสินใจไม่เด็ดขาดเหมือนเคย
    • มองโลกแง่ร้าย รู้สึกสิ้นหวัง ไร้จุดหมาย เห็นชีวิตเป็นเรื่องไร้สาระ และอาจปล่อยจิตใจให้ด้านชาโดยไม่รู้ตัว
    • ปวดเมื่อยเนื้อตัวหรือเป็นตะคริว มีปัญหาในระบบการย่อยอาหาร ปวดศีรษะหรืออวัยวะอื่นๆ ซึ่งเมื่อทานยาหรือรักษาตามปกติแล้วอาการก็ยังคงอยู่
    • มักรู้สึกหงุดหงิดหรือกระวนกระวายตลอดเวลา
    • เกิดความคิด หรืออาจถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย ชอบคิดเรื่องเกี่ยวกับความตาย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้แพทย์ลองหาสาเหตุที่อาจเกิดจากการใช้ยา.
    ภาวะซึมเศร้าบางอย่างอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือจากการรักษาโรคอื่นๆ ที่กำลังเป็นอยู่ โดยการรักษาหรือตัวยาเหล่านั้นส่งผลให้เกิดอาการเดียวกับภาวะซึมเศร้า [4] จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจค้นหาเพื่อทำการแก้ไข โดยสาเหตุในลักษณะดังกล่าว มักจะได้แก่:
    • การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุ โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องควบคุมอาหาร เนื่องจากวิตามินบีมีความเกี่ยวเนื่องกับอาการซึมเศร้า[5] แม้การแพทย์จะยังไม่สามารถชี้ชัดว่าระดับวิตามินบี (โดยเฉพาะบี12) ที่ลดลงในร่างกาย เป็นเหตุหรือเป็นผล ของภาวะซึมเศร้ากันแน่ [6] นอกจากนี้ ผลการวิจัยจำนวนมากยังกล่าวถึงความสำคัญของวิตามินดี ซึ่งมีความสำคัญต่อภาวะสมดุลทางใจของเราด้วย [7] ไม่ว่าจะเกิดจากวิตามินหรือแร่ธาตุตัวใด การเสริมสร้างส่วนที่ขาดหาย ก็ถือเป็นก้าวแรกในการดูแลตัวเองที่ดีแล้ว
    • ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ ฮอร์โมนไม่สมดุล (รวมถึงช่วงก่อนมีประจำเดือน) หรือโรคบางอย่าง [8]
    • เกิดจากตัวยา ยาบางอย่างทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการซึมเศร้า ลองอ่านฉลากให้ละเอียดหรือปรึกษาแพทย์ หากคุณสงสัยว่านั่นอาจเป็นสาเหตุ [9]
    • เกิดจากโรคข้างเคียง ภาวะซึมเศร้ามักมาพร้อมกับโรคอันเกิดจากความกังวลบางชนิด (เช่น ภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวสังคม ฯลฯ) อาการติดเหล้าหรือสารเสพติด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคเบาหวาน และโรคพาร์คินสัน[10] โรคเหล่านี้มักเกิดขึ้นก่อน หรืออาจเกิดตามหลังอาการซึมเศร้า
    • อาการบางอย่างในสุภาพสตรี เช่น ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Baby Blues) ภาวะร่างกายและอารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน (PMS) หรือภาวะร่างกายและอารมณ์แปรปรวนขั้นรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (PMDD) [11]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้จักกับภาวะซึมเศร้าให้ถ่องแท้.
    การหาข้อมูลหรือพยายามหาความรู้ด้วยตนเองเท่าที่จะทำได้ จะช่วยให้คุณเอาชนะมัน นอกจากนี้ ยังเป็นการทำให้คุณตระหนักถึงการมีอยู่ของมันด้วย ส่งผลให้คุณเริ่มรักษามันอย่างจริงจัง และพบว่ามีทางรักษาได้มากมาย ช่วยให้ความกลัวและความกังวลใจลดลง รวมถึงทำให้คุณสามารถเลือกวิธีที่อยากจะทดสอบการรักษาด้วยตนเอง
    • แวะห้องสมุดหรือร้านหนังสือแถวบ้าน มองหาหนังสือเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ความกังวล และความสุข ซึ่งอยู่ในหมวดจิตวิทยา พัฒนาตนเอง รวมถึงหมวดการแพทย์และบำบัด โดยหากคุณเป็นวัยรุ่นหรือวัยเรียน ให้หาหนังสือประเภทดังกล่าวสำหรับวัยของคุณ หากต้องการซื้อในราคาย่อมเยา ก็อาจจะลองซื้อผ่านเว็บหรือร้านหนังสือมือสองต่างๆดู
    • เข้าชมเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งมีบทความหรือแนวทางการรักษาภาวะซึมเศร้าให้อ่านกันฟรีๆ โดยเฉพาะเว็บของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หากเป็นของประเทศไทย ก็สามารถไปที่เว็บของกรมสุขภาพจิต;[12] หรือที่เว็บศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า [13] นอกจากนี้ ก็ยังมีลิงค์เชื่อมต่อไปอีกมากมายหลายเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ด้วย
    • การรักษาตนเองด้วยการอ่าน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "บรรณบำบัด" ซึ่งหากคุณเป็นคนประเภทที่ชอบพัฒนา หรือหาความรู้และคำตอบด้วยตนเอง วิธีนี้ก็นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก[14]
    • ลองเอาความรู้ที่คุณศึกษามา ไปอธิบายให้คนรอบข้างเห็นภาพกว้างๆ เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เพื่อที่พวกเขาจะได้เข้าใจ และไม่พูดจากระทบหรือทำร้ายจิตใจคุณ จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พูดคุยกับนักบำบัด.
    วิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการพูดคุยกับนักจิตบำบัด ซึ่งเชี่ยวชาญในการบำบัดด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยแต่ละท่านมักจะมีสไตล์การบำบัดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย คุณจะมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับการบำบัดให้หายดี หากได้พบนักจิตบำบัดที่คุณคุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ ดังนั้นคุณควรหาข้อมูลไว้หลายๆแห่งก่อนที่จะตัดสินใจเลือก โดยทั่วไปแล้วการรักษาตามแนวทางจิตบำบัดที่ได้ผลดีที่สุดมี 3 วิธีต่อไปนี้:[15]
    • ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive behavioral therapy) เป็นการบำบัดร่วมกันระหว่างผู้ถูกบำบัดและนักบำบัด เพื่อค้นหาต้นตอและปรับเปลี่ยนความคิดด้านลบ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีไม่แพ้วิธีบำบัดแบบเฉียบพลัน (ที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้ารุนแรง แบบไม่เรื้อรัง) ดีกว่าการรักษาด้วยยาต้านอารมณ์ซึมเศร้า และยังรับประกันด้วยว่าอาการเดิมจะไม่กลับมาอีก[16]
    • พฤติกรรมวิภาษบำบัด (Dialectical behavior therapy) เป็นแขนงหนึ่งของความคิดและพฤติกรรมบำบัดนั่นเอง โดยจะเน้นไปที่การมองหาพฤติกรรมวู่วาม อันก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตของผู้ถูกบำบัด ซึ่งมักจะเกิดจากความตึงเครียด จากนั้นนักบำบัดจึงจะแนะนำทักษะการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวหากเกิดขึ้นอีกในอนาคต วิธีการบำบัดเช่นนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยา [17]
    • จิตบำบัดด้านปฏิสัมพันธ์ (Interpersonal psychotherapy) ซึ่งเป็นการรักษาอาการผิดปกติทางอารมณ์ตามสถานการณ์จริง แบบกำหนดช่วงเวลา โดยเน้นมองหาผลกระทบที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์กับผู้อื่น อันเกิดจากอาการซึมเศร้าของผู้ถูกบำบัด วิธีดังกล่าวนี้เหมาะกับในรายที่มีอาการซึมเศร้าค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง [18]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พิจารณาการทานยาร่วมด้วย.
    แพทย์หลายๆ คนมักจ่ายยาให้กับผู้ที่ไปรักษา คุณควรซักถามเกี่ยวกับตัวยาดังกล่าว ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและผลข้างเคียง โดยควรบอกให้แพทย์ของคุณทราบทุกครั้งที่เกิดอาการผิดปกติหลังรับประทานยา ซึ่งแพทย์อาจจะปรับขนาดรับประทานหรือเปลี่ยนยาตัวใหม่ให้ แล้วแต่กรณี[19][20]
    • หากคุณไม่อยากรับประทานยา ก็ควรจะบอกให้แพทย์ของคุณทราบไปเลย โดยลองหาข้อมูลดูก่อนไปพบแพทย์ว่า มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการทานยาบ้าง เพื่อให้แพทย์มั่นใจได้ว่าคุณพร้อมและตั้งใจในการรักษาด้วยวิธีอื่น ที่ปราศจากการใช้ยาต้านอารมณ์ซึมเศร้า[21]
    • หากคุณไม่ชอบยาแผนปัจจุบัน คุณอาจลองศึกษายาทางเลือกตัวอื่นๆ ดู สมุนไพรที่สกัดจากต้นเซนต์จอห์นส เวิร์ท (St John's wort) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีชื่อส่วนผสมหรือชื่อทางการแพทย์ว่า Hypericum perforatum ซึ่งช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าแบบเล็กน้อย [22] แต่ไม่ควรรับประทานเซนต์จอห์นส เวิร์ท ร่วมกับยาต้านอารมณ์ซึมเศร้าตัวอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางกลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome) [23] ตัวอย่างของกลุ่มอาการเซโรโทนิน ได้แก่ อาการตัวสั่น สับสน เป็นลมชัก และ/หรืออาจมีไข้สูง ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้น หากคุณสงสัยว่าตัวเองกำลังมีอาการข้างเคียงในกลุ่มเซโรโทนินดังกล่าว ขอให้รีบติดต่อหรือไปพบแพทย์ทันที[24]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ลองรักษาด้วยทางเลือกอื่น.
    โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการบำบัดที่มีความเป็นไปได้ เช่น ศิลปะบำบัด และการฝังเข็ม เป็นต้น เพราะทางเลือกเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมความสมดุลทางอารมณ์ ควบคู่ไปกับการรักษาแบบปกติ แต่คุณควรจะเลือกเฟ้นผู้ให้บริการบำบัดทางเลือกที่เชื่อถือได้ และไม่ต้องแปลกใจหากมีแพทย์สมัยใหม่บางท่าน ไม่แนะนำให้คุณไปใช้การบำบัดทางเลือกอื่นๆ
    • การฟังดนตรีเป็นการบำบัดตนเองแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยปรับอารมณ์ของคุณได้[25] คุณควรเลือกเพลงให้เหมาะสมด้วย หากคุณชอบเพลงเศร้าๆ ก็ลองฟังไปสัก 2-3 เพลง ก่อนที่จะสลับไปฟังเพลงที่ครึกครื้นขึ้น
    • ศิลปะบำบัด ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรับมือกับอาการซึมเศร้า[26] ทั้งการวาดภาพ ระบายสี รวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ลงบนกระดาษหรือผืนผ้า กิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำแก่คุณได้
    • สัตว์เลี้ยงบำบัด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยกำจัดความรู้สึกอ้างว้างออกไปจากจิตใจของคุณได้ พวกมันมีข้อดีตรงที่ไม่คอยตัดสินคุณ มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า สัตว์เลี้ยงสามารถช่วยให้ผู้มีอาการซึมเศร้ารู้สึกดีขึ้นได้[27] หากคุณไม่มีสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ก็อาจลองแวะไปเล่นหรือคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงของคนที่คุณรู้จักอย่างสม่ำเสมอ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นอนให้เต็มอิ่ม.
    การนอนหลับมีส่วนสำคัญมากต่อสุขภาพที่ดีและสมดุล การอดนอนก่อให้เกิดความคิดในแง่ลบได้ง่าย และกลายเป็นวงจรหมุนเวียน ทำให้คุณหลับยากยิ่งขึ้นไปอีก ทำให้คุณนอนหลับไม่สนิทและไม่เพียงพอ ผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า มักบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าตนเองมีอาการเหนื่อยล้า ไม่สดชื่นหลังตื่นนอน ต่อให้นอนมากเกินกว่าปกติก็ตาม [28]
    • การจะทำลายวงจรด้านลบของการนอนหลับ จำเป็นต้องอาศัยระเบียบวินัยในการกำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอน ให้สม่ำเสมอทุกๆ วัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน อย่าออกกำลังกายภายใน 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เอาสิ่งรบกวนใจออกไปจากห้องนอนให้หมด และรักษาอุณหภูมิของห้องนอนให้เหมาะสม
    • พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับ เพราะการทำลายวงจรด้านลบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และอาการนอนไม่หลับยังสามารถวนกลับมาเป็นใหม่ได้เสมอ ดังนั้นคุณควรพร้อมรับมือและรักษาระเบียบวินัยให้มั่น อย่าลืมให้อภัยตัวเองเวลาที่นอนไม่หลับด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกกำลังกาย.
    การวิจัยล่าสุดพบว่า การออกกำลังกาย ส่งผลดีและมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการซึมเศร้าเทียบเท่ากับการใช้ยาซูลอฟท์ (Zoloft) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเซโรโทนินแบบคัดสรร (SSRI) เลยทีเดียว [29] เนื่องจากร่างกายของคนเราจะหลั่งสารต้านอารมณ์ซึมเศร้าตามธรรมชาติออกมาในช่วงที่ออกกำลังกาย ซึ่งคุณอาจเริ่มจากการเดิน โดยอาจเพียงแค่เดินไปจ่ายตลาด หรือเดินเล่นในสวนสาธารณะ จากนั้นค่อยๆ สอดแทรกการออกกำลังกายเข้าไปในกิจวัตรประจำวันให้สม่ำเสมอมากขึ้น กระทั่งรู้สึกสนุกกับมัน
    • การมีเพื่อนหรือคู่หูไว้ออกกำลังกายด้วยกัน จะทำให้คุณรู้สึกกระตือรือล้นมากขึ้น และคุณยังอาจลองฝึกออกกำลังกายประเภทที่ช่วยระบายอารมณ์ด้านลบได้ด้วย อย่างเช่น มวยไทย เป็นต้น
    • การเล่นกีฬาเป็นวิธีหนึ่งในการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และทำให้คุณแน่วแน่ในการพัฒนาตนเอง รวมถึงได้มีโอกาสพบปะเพื่อนใหม่ด้วย การวิจัยยังพบว่า ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา มักมีอาการของโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนทั่วไปด้วย[30] พยายามเลือกกีฬาประเภทที่ทำให้เหนื่อยมากหน่อย เพราะจะช่วยให้สมองคุณโล่งและรู้สึกปลอดโปร่ง ขอเพียงอย่าโหมเล่นหนักเกินไป การเข้าร่วมทีมหรือกลุ่มที่เล่นกีฬาประเภทเดียวกัน ยังจะช่วยให้คุณไปร่วมเล่นอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้บางวันอาจรู้สึกไม่อยากไปก็ตาม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินอาหารที่มีประโยชน์.
    พยายามลดอาหารประเภทน้ำตาล หรือน้ำเชื่อมฟรุคโตส อาหารจานด่วน หรืออาหารแปรรูปต่างๆ และหันมาทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ทานให้ครบหมู่ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รวมถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพกายและใจ เพราะนอกจากอาหารจะมีประสิทธิภาพในการปรับสภาวะอารมณ์แล้ว การใส่ใจในเรื่องอาหารยังช่วยให้คุณมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทำตลอดเวลา [31]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เสริมหล่อเติมสวยกันหน่อย.
    ช่วงที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า คนเรามักจะปล่อยเนื้อปล่อยตัว ทั้งในเรื่องของภาพลักษณ์และการแต่งกาย การหันกลับมาใส่ใจในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง จะช่วยให้คุณอารมณ์ดีและรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น คุณอาจลองตัดผมทรงใหม่หรือหาเสื้อผ้าชุดใหม่ๆ มาใส่เพื่อให้กำลังใจตัวเอง และพยายามมองไปที่ส่วนดีของรูปร่างหน้าตา อย่าไปกังวลกับส่วนที่ไม่ชอบมากนัก [32]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ประคองความสัมพันธ์กับคนที่ช่วยเหลือคุณ.
    การให้กำลังใจจากคนที่คุณรักและใส่ใจ มีส่วนสำคัญมากในกระบวนการฟื้นฟูตัวเองจากภาวะซึมเศร้า[33] บอกพวกเขาไปเลยว่า คุณกำลังอยู่ในช่วงภาวะซึมเศร้าและจะดีมากหากพวกเขาเข้าใจและเห็นใจ หากคุณไม่บอกกล่าว หรือเอาแต่ทำตัวแปลกๆ ก็เป็นเรื่องยากที่ผู้อื่นจะหยิบยื่นความเห็นใจให้ การบอกให้พวกเขารู้ จะทำให้พวกเขามีแนวโน้มในการให้ความช่วยเหลือคุณได้มากกว่า
    • พยายามพูดกับคนรอบข้างคุณแบบตรงไปตรงมา เกี่ยวกับพฤติกรรมบางอย่างของคุณที่อาจดูแปลกแยกหรือรบกวนใจพวกเขา อธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่า คุณไม่ได้มีปัญหากับใครเป็นการเฉพาะ เพียงแต่คุณกำลังอยู่ในช่วงที่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากหน่อย
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใช้เวลาร่วมกับผู้ที่มองโลกแง่บวก.
    [34] พูดคุยกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่ทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเอง ใช้เวลาร่วมกับคนที่มองโลกแง่บวกเพื่อที่จะเรียนรู้ทัศนคติ และแนวคิดของพวกเขาที่มีต่อชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คนที่มองโลกในแง่ดี มักจะยินดีแบ่งปันในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว
    • คนที่อมทุกข์มักเข้าหากัน ดังนั้น จงหลีกเลี่ยงให้ดี ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะคลุกคลีกับคนที่มองโลกด้านลบ เพียงเพื่อที่จะส่งเสริมความคิดในแง่ร้ายของกันและกัน
    โฆษณา


ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หากิจกรรมทำ.
    พยายามทำตัวให้ยุ่งตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดความคิดด้านลบ สำหรับผู้ที่กำลังซึมเศร้านั้น การปรับเปลี่ยนในช่วงแรกมักจะยากที่สุด แต่มันจะสร้างความแตกต่างอย่างใหญ่หลวง รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับชีวิตคุณเอง [35]
    • หางานอดิเรกที่ชอบหรืออาจจะชอบ ลองดูไว้ไม่เสียหาย และไม่จำเป็นต้องเลือกงานอดิเรกที่มีค่าใช้จ่ายแพงๆ ขอแค่ทำให้คุณสนุกเพลิดเพลินและเป็นประโยชน์ทางใจก็พอ
    • ดูแลสัตว์เลี้ยง การให้อาหาร ทำความสะอาด หรือเล่นกับกับสัตว์เลี้ยง สามารถสร้างความพึงพอใจอย่างมากให้แก่ผู้ที่ซึมเศร้า เพราะพวกมันจะไม่ตัดสินพฤติกรรมของคุณ และยังรู้จักแสดงความรักตอบด้วย
    • นำระเบียบมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จัดตารางเวลาของสิ่งที่จะทำในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดูเล็กน้อยหรือธรรมดาเพียงใด ค่อยๆ เพิ่มลิสต์รายการเข้าไป และไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะเรื่องหน้าที่การงานเท่านั้น เพราะการจัดตารางกิจกรรมในแต่ละวันลักษณะนี้ ทำเพื่อให้คุณรู้สึกมีเป้าหมายในชีวิต แทนที่จะรู้สึกว่างเปล่าหรือไร้จุดหมาย [36]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำเรื่องสนุกๆ และหมั่นเอาใจตัวเอง.
    ความหดหู่เป็นเสมือนหลุมทรายที่สามารถดูดคุณลงต่ำไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่มีสิทธิหาความสุขใส่ตัวบ้าง ทางแก้แบบง่ายๆ ก็คือ ลองกลับไปทำเรื่องที่คุณเคยสนุกกับมัน หรือเรื่องที่เคยมีความสุขร่วมกับคนรอบข้าง — "แค่รู้จักหาความสนุก ความทุกข์ก็หลีกหนีไปชั่วขณะแล้ว"
    • เหมือนดังเช่นเรื่องทั่วไป การทำเรื่องสนุกๆ ต้องค่อยเป็นค่อยไป การดูรายการตลก หรืออ่านหนังสือประเภทขบขันในแต่ละวัน เป็นกิจกรรมที่ทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาหนึ่ง
    • จัดสรรเวลาสำหรับเรื่องรื่นรมย์ เช่น การไปทานอาหารค่ำนอกบ้าน ไปดูหนัง หรือพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ
    • เริ่มทีละนิด หากคุณชอบจัดสวน ลองหาต้นอะไรปลูกดูสักต้นก่อน หากชอบเดินเล่นเป็นระยะทางไกลๆ ก็ลองย่อให้เหลือสั้นๆ ไว้ก่อน การค่อยๆ เพิ่มปริมาณกิจกรรม จะช่วยให้คุณรู้สึกเพลิดเพลินมากกว่า
  3. How.com.vn ไท: Step 3 จดบันทึกไดอารี่เกี่ยวกับประสบการณ์ของคุณ.
    ในช่องทางหรือรูปแบบที่เป็นส่วนตัว เพื่อให้คุณสามารถระบายด้านลบทุกอย่างออกมา โดยไม่ต้องปิดบัง เพราะไม่มีใครที่จะมาตัดสินคุณ การจดบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์การเผชิญหน้ากับภาวะซึมเศร้า รวมถึงการรับมือกับมัน อย่างน้อยจะเป็นประโยชน์ในแง่ที่ทำให้คุณเห็นภาพชัดเจนว่า สิ่งไหนช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้น และสิ่งไหนทำให้แย่ลง [37] หากเป็นไปได้ ให้จดบันทึกทุกวัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ช่วยเหลือผู้อื่น.
    [38] การช่วยผู้อื่นมักเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูอารมณ์ตัวเอง ในช่วงที่อาการคุณเริ่มดีขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว หรือในช่วงที่อาการด้านลบกลับมาเป็นอีก เพราะการช่วยเหลือผู้อื่นจากความทุกข์ยากบางอย่าง จะช่วยให้คุณมองออกมานอกตัว และไม่หมกมุ่นกับอารมณ์ของตัวเองมากเกินไป
    • ช่วยแต่พอดี หากคุณเสนอตัวเข้าช่วยเหลือผู้อื่นหรือสังคม จนกระทั่งตัวเองเหนื่อยหรือรู้สึกเป็นภาระแล้วล่ะก็ นั่นคือสัญญาณที่บอกว่าคุณอาจกำลังทำอะไรเกินตัว หรืออาจจะยังไม่พร้อมก็เป็นได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีความสามารถเพียงพอ เพียงแต่ตอนนี้คุณต้องดูแลตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
    โฆษณา


ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดด้านลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มองมันเหมือนกับการเดินทางเข้าหาความสุข บางครั้งอาจดูเหมือนภาวะซึมเศร้าจะอยู่กับเราตลอดไป เราจึงควรมองมันเป็นเช่นการเดินทางอย่างหนึ่งที่ค่อยๆ...
    มองมันเหมือนกับการเดินทางเข้าหาความสุข บางครั้งอาจดูเหมือนภาวะซึมเศร้าจะอยู่กับเราตลอดไป เราจึงควรมองมันเป็นเช่นการเดินทางอย่างหนึ่งที่ค่อยๆ เข้าใกล้เป้าหมายไปทีละนิด ดีกว่าคิดอยากจะถึงฝั่งฝันในทันใด และอาจมีช่วงเวลาที่คุณท้อแท้หรือเริ่มไม่แน่ใจในตัวเอง ซึ่งคุณต้องพยายามหลีกเลี่ยงสภาวะ “ผีซ้ำด้ามพลอย” เช่นนี้ให้ดีๆ โดยอาจลองวิธีต่อไปนี้ :
    • ตั้งชื่อให้ด้านลบ. ผู้มีชื่อเสียงบางคนเรียกภาวะซึมเศร้าของตนเองว่า “น้องหมาดำ” ซึ่งวิธีการเรียกชื่อมันเหมือนเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นนี้ ทำให้เขาเห็นอารมณ์อันดำมืดของตัวเอง เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยธรรมดาๆ ที่สามารถควบคุมได้ และไม่ปล่อยให้มันมาควบคุมตนเอง ในกรณีของคุณ เวลาเกิดอาการซึมเศร้า ก็อาจจะลองเอ่ยถึงมันให้เหมือนกับเวลาเจ้าของพูดถึงสัตว์เลี้ยงของตัวเอง เช่นว่า “วันนี้เจ้าดำมันมากวนใจอีกแล้ว” แทนที่จะตัดพ้อกับตัวเองว่า “ฉันรู้สึกเหมือนเป็นพวกสิ้นหวัง”[39]
    • หาไอดอลส่วนตัว. หากคุณคิดว่าตัวเองเป็นเพียงคนเดียวที่ต้องเจอภาวะซึมเศร้าล่ะก็ ลองแวะห้องสมุดหรือท่องอินเตอร์เน็ทดู จะรู้ว่าบุคคลผู้ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ต่างก็เคยผ่านภาวะดังกล่าวมาเหมือนกันทั้งนั้น ลองอ่านและศึกษาต่อไปว่า พวกเขาเอาชนะภาวะซึมเศร้าของตนได้อย่างไร บุคคลมีชื่อเสียงหลายๆ คนมักมีเรื่องราวทำนองนี้ให้หาอ่านได้ ลองอ่านและนำประสบการณ์ของพวกเขาไปปรับใช้ดู!
    • เมตตาตัวเอง. ชีวิตไม่ใช่การแข่งขัน ในความเป็นจริงแล้ว คุณเองก็มีความสำคัญและมีคุณค่า ซึ่งการกดดันตัวเองมากเกินไป ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำร้ายตัวเอง ดังนั้น พยายามอย่าหมกมุ่นกับอาการซึมเศร้าของตัวเอง หรือเอามันมาเป็นข้ออ้างในการหลบเลี่ยงปัญหาอื่นๆ ในชีวิต การตำหนิตัวเองที่กลายมาเป็นคนเศร้าหมอง จะทำให้คุณเกิดอาการจิตตก ซึ่งจะยิ่งทำให้ตนเองท้อแท้เข้าไปใหญ่ เมื่อเกิดอาการท้อแท้ ลองหันกลับไปใช้วิธีเอ่ยถึงมันเยี่ยงสัตว์เลี้ยงตัวหนึ่ง อย่าให้มันมากำหนดความเป็นตัวคุณ การเดินทางเข้าหาความสุข เป็นการเดินทางที่ต้องค่อยๆเริ่มทีละก้าว
    • จดเรื่องกวนใจ ที่นอกเหนือจากอาการซึมเศร้า.[40] ตัวอย่างเช่น ใบแจ้งหนี้หรือบิลค้างจ่ายต่างๆ งานที่น่าปวดหัว รวมถึงวันหยุดที่คุณไม่เคยมี ส่วนในแถวด้านขวา ก็ให้เขียนถึงวิธีการบางอย่าง ที่คุณพอจะทำได้ เพื่อขจัดเรื่องที่รบกวนใจเหล่านั้นออกไป เช่น ลองหาวิธีเคลียร์หนี้ไปทีละรายการ วางแผนท่องเที่ยว และมองหางานใหม่ที่น่าสนใจกว่า เป็นต้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดความคิดด้านลบ....
    ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดความคิดด้านลบ. นี่เป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว เพราะคนที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จะมีสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า “วิธีคิดแบบอคติ” โดยทั่วไป มันหมายถึงแนวโน้มในการเลือกเชื่อเอาแต่ความคิดด้านลบที่ตนเองต้องการ ซึ่งก็ยิ่งทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลงไปอีก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เปลี่ยนวิธีคิด.
    การจะผ่านพ้นภาวะนี้ไปได้ คุณต้องยอมรับและกำจัดความคิดด้านลบให้ได้เสียก่อน แนวทางพฤติกรรมและความคิดบำบัด หรือจิตบำบัด รวมถึงแนวทางอื่นๆนั้น จะได้ผลก็ต่อเมื่อคุณสามารถเปลี่ยนวิธีคิดด้านลบ ให้กลายเป็นบวกจนสำเร็จ เมื่อนั้นความนับถือตัวเองและความมั่นใจของคุณจะกลับมา ซึ่งแม้ว่าการทำเช่นนั้นอาจต้องอาศัยการศึกษาหาข้อมูลอย่างละเอียด หรือได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ แต่ประเด็นต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่คุณควรจะจำให้ขึ้นใจเอาไว้ก่อน
    • จงตระหนักว่า ไม่มีความรู้สึกใดยั่งยืน ซึ่งอาจจะยอมรับได้ยากสักหน่อยสำหรับผู้ที่กำลังซึมเศร้า แต่หากทำได้ มันจะช่วยให้ความรู้สึกสิ้นหวังจางหายไป [41]
    • เขียนข้อดีของชีวิตตัวเอง คนที่กำลังซึมเศร้า มักมองข้ามส่วนดีของตัวเอง จงนำมันมาระลึกไว้ ด้วยการลิสต์รายการสิ่งดีๆ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จใดๆ ในอดีต หรือความมุ่งหมายใดๆในอนาคต เขียนออกมาให้หมดทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ หากคุณเขียนไม่ค่อยถูก ลองให้คนใกล้ชิดช่วยเขียนดูก่อน ลิสต์รายการเหล่านี้ควรจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างที่คุณกำลังรักษาตัวเองจากภาวะซึมเศร้า เพราะความรู้สึกยอมรับตัวเองที่เกิดขึ้น จะมีความสำคัญในการฟื้นฟูจิตใจคุณเอง มันจะช่วยให้คุณเห็นว่าตัวเองก็มีเรื่องดีๆ กับคนอื่นเขาเหมือนกัน แม้ว่าจะมีเรื่องทุกข์เศร้าเข้ามาท้าทายบ้างก็ตาม และยังช่วยให้คุณเลิกกล่าวโทษตัวเองอย่างใจร้ายใจดำเสียที
    • ตัดสินใจให้เด็ดเดี่ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร จะใหญ่หรือเล็กแค่ไหนก็ตาม ซึ่งก็แน่นอนว่ามันอาจทำได้ยากในช่วงที่คุณกำลังหดหู่อยู่นี้ แต่มันจะช่วยกำจัดความรู้สึกที่ว่า ตัวเองเป็นคนไม่เอาไหน ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนที่กำลังซึมเศร้าให้จางหายไป[42] การลุกจากเตียงอย่างกระตือรือล้น โทรหาเพื่อนที่คุณอยากโทร หรือการลุกขึ้นมาทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ ต่างก็นับเป็นการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว ขอเพียงลงมือทำ นั่นก็ถือเป็นความสำเร็จแล้ว
    • ลองแทนที่ความคิดด้านลบ ด้วยการเผชิญหน้ามัน เมื่อเกิดความคิดลบ ลองถามตัวเองว่า: ฉันกำลังคิดลบสุดขั้วเกินไปหรือเปล่า ฉันกล่าวโทษตัวเองเพียงเพราะเจอแต่เรื่องแย่ๆ มาใช่ไหม ฉันเอาแต่สนใจจุดอ่อนของตัวเอง จนมองข้ามจุดแข็งไปใช่หรือไม่ [43] การเขียนความคิดด้านลบลงบนตารางด้านซ้าย และแบ่งด้านขวาไว้เขียนเหตุผลซักค้าน จะเป็นประโยชน์ในการท้าทายความคิดด้านลบอย่างมาก เช่น หากเขียนด้านซ้ายว่า “ฉันเป็นคนล้มเหลว” ทางด้านขวาก็อาจเขียนว่า “ฉันเคยทำพลาด แต่นั่นเป็นเพียงอดีตและตอนนี้ทุกอย่างก็ยังโอเค อย่าลืมว่าฉันก็ทำสำเร็จมาหลายเรื่องเหมือนกัน”
    • ฝึกฝนการยืนหยัดเพื่อตนเอง หลังจากที่คุณสามารถท้าทายและเผชิญหน้าความคิดด้านลบได้แล้ว การฝึกฝนจิตใจให้ยืนหยัดเพื่อตนเอง จะช่วยให้คุณอยู่เหนือความโกรธ ความกลัว และความรู้สึกสูญสิ้นพลังของตัวเอง การฝึกเช่นนี้จะเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ภาวะซึมเศร้ากลับมาทำร้ายคุณได้อีกในอนาคต
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มองหาส่วนดี.
    นั่งลง หลับตา และพยายามนึกถึงเรื่องดีๆ ในชีวิตของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรหรือด้านไหน ก็คุ้มค่าควรแก่การระลึกสิ้น ในตอนแรกๆ คุณอาจนึกได้แค่เพียงบางเรื่อง เช่น “บ้านของฉัน” หรือ “คนรักของฉัน” แต่ต่อไปจะมีเรื่องดีๆ แวบเข้ามาในหัวบ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากที่คุณค่อยๆ ก้าวผ่านภาวะซึมเศร้านี้ได้แล้ว
    • เลือกจำแต่เหตุการณ์ที่มีความสุข แทนที่จะคิดถึงเรื่องเศร้าๆ คุณสามารถเลือกคิดเลือกจำได้ตลอดเวลา ดังนั้น อย่าเสียเวลาไปจำเรื่องด้านลบ ให้ฝังกลบมันด้วยเรื่องราวด้านบวกดีกว่า
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรับเปลี่ยนลักษณะการพูด.
    การใช้ภาษาที่ต่างออกไป จะช่วยให้คุณรู้สึกต่อเรื่องบางอย่างด้วยความรู้สึกที่เป็นบวกได้ อย่างเช่นการเริ่มต้นประโยคด้วยคำว่า “อย่างน้อย….” เมื่อฟังดูก็จะรู้สึกได้ถึงอารมณ์แง่บวก หรือหากเมื่อเกิดเรื่องผิดหวังและรู้สึกล้มเหลว คุณก็สามารถเปลี่ยนมาถามตัวเองในทำนองว่า “ฉันได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง”
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ตระหนักว่า ภาวะซึมเศร้าเข้ามากล้ำกรายได้ทุกเมื่อ....
    ตระหนักว่า ภาวะซึมเศร้าเข้ามากล้ำกรายได้ทุกเมื่อ. เมื่อคุณอยู่ในภาวะซึมเศร้า สิ่งหนึ่งที่ตามมาก็คือ มันจะคอยหาทางเล่นงานคุณไปตลอด หากไม่คอยระวังที่ต้นเหตุ [44] พยายามตระหนักถึงสัญญาณเตือนถึงภาวะซึมเศร้าแต่เนิ่นๆ และตัดไฟแต่ต้นลม หรือหาทางป้องกันอย่างถูกวิธี ให้เกิดผลกระทบและกินระยะเวลาน้อยที่สุด
    • หากคุณสงสัยว่าภาวะซึมเศร้ากำลังกลับมา ให้รีบปรึกษาแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักบำบัดของคุณ เพื่อเริ่มรักษาให้ทันท่วงที
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • ทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้ หรือหมั่นทำเรื่องที่สร้างสรรค์ การนั่งเฉยๆ หรือเอาแต่คิดฟุ้งซ่านถึงเหตุการณ์ด้านลบ โดยไม่บอกกล่าวแก่ใครๆ จะมีแต่ทำให้อาการซึมเศร้าเลวร้ายลง
  • อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับใครๆ
  • ห้อมล้อมตัวเองด้วยสิ่งสวยงาม จัดการกับสิ่งที่ไม่น่ารื่นรมย์หรือรบกวนใจของคุณออกไป คุณอาจเริ่มด้วยเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น การเคลียร์ห้องที่รกรุงรังให้ดูเรียบร้อย ไปจนถึงเรื่องที่ยากขึ้นมาหน่อย อย่างการตกแต่งบ้านให้เหมือนใหม่ ทำที่พักให้ปลอดโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และเปิดรับแสงสว่างจากภายนอก ให้เข้ามาชำระล้างความหม่นหมองในใจ
  • หากผู้ให้คำปรึกษาที่คุณใช้บริการอยู่ ไม่ค่อยได้ผลเท่าไร ก็ลองเปลี่ยนดูบ้าง โดยปกติแล้วมักต้องใช้เวลาสักพัก กว่าที่คุณจะเจอคนที่รู้สึกถูกกับจริตของคุณ แต่อย่าลืมเลือกบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับปัญหาของคุณ
  • หากคุณรู้สึกอึดอัดกับการบำบัดกับคนภายนอก ลองหันไปหามิตรสหายหรือญาติผู้ใหญ่แต่ละท่านของคุณดู เลือกเอาคนที่คุณดูแล้วว่า น่าจะไม่ตัดสินหรือวิจารณ์คุณ แต่หากหาคนใกล้ชิดในลักษณะดังกล่าวไม่ได้จริงๆ การเลือกใช้บริการนักบำบัดที่เชื่อถือได้ ก็นับเป็นตัวแทนที่ดี และไม่มีการแพร่งพรายความลับของคุณแน่นอน
  • ลองเขียนเป้าหมายเรื่องที่คุณอยากทำให้ลุล่วงไปในวันนี้ และจดจ่อแน่แน่ว ทำมันให้สำเร็จไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อย่าลืมให้รางวัลหรือให้อภัยตัวเองตามผลลัพธ์
  • เปิดใจรับเพื่อนฝูงและคนในครอบครัว แรกๆ คุณอาจรู้สึกเขินหน่อย แต่การปิดกั้นตัวเอง จะทำให้คุณสูญเสียที่พึ่งพายามยากไปโดยอย่างน่าเสียดาย และคุณจะต้องแปลกใจ หากพบว่าคนเหล่านั้นแสดงความเข้าอกเข้าใจแก่คุณ เกินกว่าที่คุณคาดหวัง
  • หาสถานที่สงบๆ ไม่มีอะไรรบกวนใจ และสวดมนต์ตามแบบของคุณ ไม่ว่าจะเป็นที่โบสถ์ วัด สุเหร่า หรือที่ไหนก็ตาม
  • ปลูกและดูแลต้นไม้ที่คุณชอบ ลองดูสักต้นสองต้น และเฝ้าดูการเติบโตของมัน
  • หากคุณไม่มีอะไรทำจริงๆ พยายามยื่นมือช่วยเหลือผู้อื่น เช่น ครอบครัวหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียง ก็มีส่วนช่วยให้จิตใจคุณนิ่งสงบลงได้เช่นกัน
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลามองหาใครสักคนมาช่วยคุณบำบัด ให้เริ่มต้นจากคุณสมบัติที่รับรองได้ของพวกเขาก่อน และต้องเข้าใจลักษณะวิธีของการบำบัดที่ต่างกันไปในแต่ละราย ระหว่างที่ลองผิดลองถูก คุณอาจจะเปลี่ยนนักบำบัดหรือเปลี่ยนวิธีบำบัดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอที่ถูกใจหรือถูกจริตของคุณ
  • การปล่อยให้ภาวะซึมเศร้าหายเองนั้น เป็นทางเลือกที่ผิดที่สุด เพราะยิ่งปล่อยไว้ ก็รังแต่จะทำให้อาการแย่ลงเรื่อยๆ ด้วยความที่ภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่ มักจะเป็นปัญหารุนแรงขึ้นตามกาลเวลา ดังนั้น หากรู้ตัวว่ากำลังเกิดอาการซึมเศร้า รีบมองหาความช่วยเหลือให้ด่วนที่สุด
  • ภาวะซึมเศร้ามักนำไปสู่การฆ่าตัวตายหรือไม่ก็ทำร้ายตัวเอง อย่าลืมหันเข้าหาความช่วยเหลือขั้นต้นด้วยการพูดคุยกับใครบางคน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1324960/
  2. http://www.beyondblue.org.au/index.aspx?link_id=1.7# Women
  3. DMH, www.dmh.go.th/newdmh/
  4. http://www.thaidepression.com/www/
  5. http://www.racgp.org.au/afp/2013/april/bibliotherapy-for-depression/
  6. http://www.depressiontoolkit.org/treatmentoptions/psychotherapy/
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2933381/
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18277222
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1414693/
  10. http://www.takingcharge.csh.umn.edu/manage-health-conditions/anxiety-depression/what-about-prescription-medication-and-treatments-anxiet
  11. https://health.columbia.edu/system/files/content/healthpdfs/CPS/depression_medication.pdf
  12. Dr Sabina Dosani, Defeat Depression: Tips and Techniques for Healing a Troubled Mind (52 Brilliant Ideas), pp. 172-173, (2007), ISBN 978-1904902-72-0
  13. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/329.html
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/serotonin-syndrome/basics/causes/con-20028946
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/serotonin-syndrome/basics/symptoms/con-20028946
  16. http://bjp.rcpsych.org/content/199/2/92
  17. http://www.healthline.com/health/depression/expressive-therapy
  18. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/05/19/6-ways-pets-relieve-depression/
  19. https://sleepfoundation.org/sleep-disorders-problems/depression-and-sleep
  20. http://www.psychologytoday.com/blog/brain-bootcamp/201009/can-exercise-cure-depression
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0050547/
  22. http://psychcentral.com/blog/archives/2014/01/08/why-your-diet-can-make-or-break-depression-recovery/
  23. Dr Sabina Dosani, Defeat Depression: Tips and Techniques for Healing a Troubled Mind (52 Brilliant Ideas), p. 244, (2007), ISBN 978-1904902-72-0
  24. http://psychcentral.com/lib/social-support-is-critical-for-depression-recovery/
  25. https://www.utica.edu/student-blogs/how-to-live-a-happy-life-tip-1-surround-yourself-with-positive-people/
  26. https://www.k-state.edu/counseling/topics/life/blues.html
  27. Dr Pamela Stephenson Connolly, Head Case: Treat Yourself to Better Mental Health, p. 18, (2007), ISBN 978-0-7553-1721-9
  28. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4552
  29. http://consumer.healthday.com/mental-health-information-25/depression-news-176/with-depression-helping-others-may-in-turn-help-you-656391.html
  30. Dr Sabina Dosani, Defeat Depression: Tips and Techniques for Healing a Troubled Mind (52 Brilliant Ideas), p. 2, (2007), ISBN 978-1904902-72-0
  31. Dr Pamela Stephenson Connolly, Head Case: Treat Yourself to Better Mental Health, p. 16, (2007), ISBN 978-0-7553-1721-9
  32. Sarah Edelman, Change Your Thinking, p. 181, (2008), ISBN 978-0-7333-1832-0
  33. Sarah Edelman, Change Your Thinking, p. 181, (2008), ISBN 978-0-7333-1832-0
  34. Sarah Edelman, Change Your Thinking, p. 183, (2008), ISBN 978-0-7333-1832-0
  35. http://www.webmd.com/depression/second-time-12/depression-relapse

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Vernita Marsh, PhD
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต ผู้ให้คำปรึกษา และนักพูด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Vernita Marsh, PhD. ดร. เวอร์นิตา มาร์ชเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต CEO และผู้ก่อตั้ง Dr. Vernita Marsh & Associates และ The Marsh Clinics® เธอเชี่ยวชาญในการบำบัดความสัมพันธ์ การให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่อยู่ในความโศกเศร้า การบำบัดครอบครัว และการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ประสบกับการใช้ความรุนแรงของคู่สมรส โดยมีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาคลินิกมากกว่า 30 ปี ดร. มาร์ชให้คำปรึกษาแก่นักบำบัด โค้ช และผู้รับการฝึกอบรมทางด้านสุขภาพจิต ดร. มาร์ชได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน จบทั้งการฝึกอบรมหลังปริญญาเอกและการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เธอยังเชี่ยวชาญในด้านการให้คำปรึกษาทางไกลและได้รับประกาศนียบัตร Clinical Telehealth Health Provider จาก Evergreen บทความนี้ถูกเข้าชม 7,109 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,109 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา