วิธีการ รับประทานกลูตามีนเสริม

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

กลูตามีนเป็นกรดอะมิโนที่ใช้ในการสร้างโปรตีน มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอึด และการฟื้นฟู แม้ว่าร่างกายจะสร้างกลูตามีนได้เองและกลูตามีนก็มีอยู่แล้วในแหล่งอาหาร แต่เวลาที่ร่างกายของเราเครียด เซลล์บางอย่างเช่นเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอาจต้องการกลูตามีนในระดับที่สูงขึ้นเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป[1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เข้าใจกลูตามีน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ศึกษาเกี่ยวกับกลูตามีน.
    กลูตามีนเป็นกรดอะมิโนที่ผลิตในร่างกาย ซึ่งกรดอะมิโนก็คือหน่วยย่อยของโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์[2] กลูตามีนช่วยกำจัดของเสียที่รู้จักกันในชื่อแอมโอเนียออกจากร่างกายโดยเฉพาะ และยังช่วยในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันและระบบย่อยอาหารอีกด้วย
    • กลูตามีนสะสมอยู่ในร่างกายที่กล้ามเนื้อและปอด[3]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาแหล่งกลูตามีนธรรมชาติ.
    ตามปกติแล้วร่างกายของคุณจะได้รับกลูตามีนเป็นส่วนใหญ่จากการผลิตด้วยตนเองหรือจากอาหารที่คุณบริโภคเข้าไปในแต่ละวัน แต่เมื่อร่างกายของคุณอยู่ในภาวะเครียด คุณมีอาการบาดเจ็บ หรือติดเชื้อ ร่างกายของคุณก็อาจจะไม่สามารถผลิตกลูตามีนได้อย่างเพียงพอ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะแบบนี้ขึ้น วิธีที่จะได้รับกลูตามีนเพิ่มเติมก็มี 2 วิธีด้วยกันคือ จากอาหารหรืออาหารเสริม
    • คุณรับกลูตามีนตามธรรมชาติได้จากการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกลูตามีนเพิ่มเติม กลูตามีนพบได้ตามธรรมชาติในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ผลิตภัณฑ์นม ปลา เนื้อสัตว์ ถั่ว[4] นอกจากนี้ยังพบในผักอย่างผักปวยเล้ง กะหล่ำปลี และพาสลีย์ด้วย[5] แต่แม้ว่าอาหารเหล่านี้จะให้กลูตามีน แต่ก็ไม่ได้ให้มากเท่ากับกลูตามีนเสริม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับกลูตามีนเสริม.
    ถ้าคุณได้รับกลูตามีนจากอาหารไม่เพียงพอ หรือถ้าคุณต้องได้รับกลูตามีนเสริมเนื่องจากความเครียดในร่างกายที่สูงขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์เรื่องกลูตามีนเสริม ปริมาณและชนิดของกลูตามีนเสริมนั้นจะแตกต่างกันอย่างมากตามอาการที่คุณกำลังรักษา แพทย์สามารถบอกได้ว่าวิธีการรักษาแบบนี้คุ้มค่าไหมและสามารถให้คำแนะนำได้ว่าคุณควรรับประทานกลูตามีนเสริมในปริมาณเท่าไหร่
    • โดยทั่วไปปริมาณกลูตามีนเสริมนั้นจะอยู่ที่ 5 – 10 กรัมต่อวัน โดยมักจะแบ่งเป็น 3 ครั้งต่อวัน[6] แต่แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานไม่เกิน 14 กรัม
    • คนที่มีปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการขับกลูตามีน เช่น คนที่เป็นโรคไตหรือโรคตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานกลูตามีนเสริม
    • กลูตามีนเสริมใช้เพื่อการบรรเทาอาการต่างๆ แต่ไม่ใช่ทุกอาการที่มีงานวิจัยที่หนักแน่นยืนยัน[7]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พิจารณากลูตามีนเสริมรูปแบบต่างๆ.
    แม้ว่าคุณควรจะปรึกษาแพทย์เรื่องกลูตามีนเสริม แต่กลูตามีนเสริมก็มีขายตามร้านขายยาหรือร้านสุขภาพทั่วไป ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของแอล-กลูตามีนและอาจเป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนเสริม ที่ผลิตภัณฑ์กลูตามีนเสริมเองก็ควรบอกด้วยว่าเป็นกลูตามีนที่มาจากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ กลูตามีนเสริมหลายอย่างน่าจะได้จากแหล่งพืชเพราะฉะนั้นจึงเป็นแหล่งมังสวิรัติ แต่คุณก็ควรเช็กฉลากก่อนเสมอ
    • กลูตามีนเสริมมีอยู่ในรูปของแคปซูล แป้ง น้ำ และยาเม็ด ชนิดที่เป็นแป้งและน้ำอาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืนหรือใช้กลูตามีนเสริมเพื่อรักษาปากอักเสบ[8]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รับประทานกลูตามีนเสริมอย่างเหมาะสม.
    มีกฎบางอย่างที่คุณต้องปฏิบัติตามขณะรับประทานกลูตามีนเสริม กลูตามีนเสริมสามารถรับประทานพร้อมหรือไม่พร้อมอาหารก็ได้ แต่คุณห้ามรับประทานกับอาหารหรือเครื่องดื่มร้อน เพราะอุณหภูมินั้นมีผลต่อกรดอะมิโนอย่างกลูตามีน คุณควรรับประทานกลูตามีนเสริมกับของเหลวที่เย็นหรือในอุณหภูมิห้องเท่านั้น[9]
    • กลูตามีนเสริมในรูปของแป้งหรือน้ำสามารถผสมกับน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ที่มีระดับความเป็นกรดต่ำอย่างน้ำแอปเปิลหรือน้ำแคร์รอตได้ การรับประทานกลูตามีนเสริมกับน้ำผลไม้ที่เป็นกรด (เช่น น้ำส้มหรือน้ำเกรปฟรุต) หรือของเหลวร้อนจะลดคุณค่าของกลูตามีนและทำให้ได้ประโยชน์น้อยลง[10]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 รู้ผลข้างเคียงและคำเตือน.
    เนื่องจากกลูตามีนเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นตามธรรมชาติ จึงมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ แต่ก็ไม่ควรบริโภคกลูตามีนมากเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน นอกจากนี้คุณก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานกลูตามีนเสริมถ้าคุณเป็นโรคตับหรือโรคไต หรือถ้าคุณตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร คุณอาจจะต้องลดปริมาณหรือเลิกรับประทานกลูตามีนเสริมไปเลย
    • โดยทั่วไปแล้วคุณไม่ควรรับประทานอาหารเสริมในปริมาณที่สูงมากๆ รวมทั้งกลูตามีนเสริมด้วย ยกเว้นว่าแพทย์เป็นผู้สั่งเพื่อรักษาอาการเฉพาะ
    • รู้ไว้ว่ากลูตามีนนั้นต่างจากกลูตาเมต กรดกลูตามิค โมโนโซเดียมกลูตาเมต และกลูเตนโดยสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นคนที่ร่างกายไม่รับกลูเตนก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ของกลูตามีน
    • แต่ในกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนักก็คือ กลูตามีนจะฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ในบางคน โดยจะมีอาการคือปวดท้อง อาเจียน ปวดหัว เหงื่อแตก และปวดตามข้อ ถ้าเป็นกรณีเหล่านี้ ให้หยุดรับประทานกลูตามีนเสริมทันทีและปรึกษาแพทย์[11]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ใช้กลูตามีนเสริมเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้กลูตามีนรักษาแผล.
    กลูตามีนเสริมมักใช้เพื่อบรรเทาอาการของผู้ที่ร่างกายเกิดความเครียดจากบาดแผล คอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายปล่อยออกมาเมื่อเกิดความเครียดจากการบาดเจ็บ แผลไฟไหม้ และการติดเชื้อทำให้กลูตามีนลดลง งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่า กลูตามีนเสริมช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยให้คุณต่อสู้กับผลที่ไม่พึงประสงค์จากบาดแผลได้[12][13]
    • นอกจากนี้กลูตามีนยังช่วยลดการติดเชื้อ คุณสมบัติฟื้นฟูกล้ามเนื้อตามธรรมชาติของกลูตามีนยังใช้บรรเทาอาการของผู้ป่วยที่ทรมานจากแผลไหม้หรือเข้ารับการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ ด้วย[14]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้กลูตามีนสร้างกล้ามเนื้อ.
    กลูตามีนเป็นอาหารเสริมสำหรับการสร้างกล้ามเนื้อที่โด่งดัง ร่างกายของคุณจะผ่านช่วงความเครียดขณะสร้างกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับที่ร่างกายเกิดความเครียดเวลาเจ็บปวด การแตกตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ กลูตามีนและกรดอะมิโนอื่นๆ ก็คือหน่วยย่อยของกล้ามเนื้อใหม่ที่จะถูกสร้างขึ้นมาหลังการออกกำลังกาย แนวคิดทั่วไปก็คือกลูตามีนช่วยชาร์ตพลังและสร้างความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานหนักเกินไปจากการออกกำลังกายอย่างหักโหม[15]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เพิ่มระดับกลูตามีนที่ต่ำในผู้ป่วยโรคมะเร็ง....
    เพิ่มระดับกลูตามีนที่ต่ำในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. ผู้ป่วยโรคมะเร็งมักจะมีระดับกลูตามีน สารอาหารหลัก และสารอาหารรองต่ำ ภาวะพร่องในส่วนนี้ทำให้มีงานวิจัยที่กำลังศึกษาว่า การเสริมกลูตามีนอาจช่วยผู้ป่วยมะเร็งได้ ปัจจุบันมีการใช้กลูตามีนในผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารที่กำลังเข้ารับการรักษา รวมทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วย
    • งานวิจัยบางชิ้นชี้ว่าการเสริมกลูตามีนอาจช่วยบรรเทาปากอักเสบซึ่งเป็นการอักเสบของเยื่อบุในปาก และบรรเทาอาการท้องเสียที่เกิดจากเคมีบำบัด[17]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รักษาอาการอื่นๆ.
    มีอาการอื่นๆ ที่นักวิจัยเชื่อว่าสามารถใช้กลูตามีนบรรเทาได้ กลูตามีนเสริมอาจช่วยบรรเทาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) ซึ่งได้แก่โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังและโรคโครห์น[18][19] เพราะกลูตามีนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องเยื่อบุของระบบทางเดินอาหาร[20] รับประทานกลูตามีนเสริมชนิดเม็ด 5 กรัม 6 ครั้งต่อวันเป็นเวลาไม่เกิน 16 สัปดาห์ ที่ต้องจำกัดช่วงเวลาการรับประทานกลูตามีนเสริมในปริมาณเท่านี้ก็เพราะว่าเป็นปริมาณที่สูงกว่าปกติมากอยู่แล้ว
    • แม้ว่าจะมีหลักฐานบางอย่างที่ชี้ว่า กลูตามีนช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและการอักเสบของเยื่อบุใกล้ปาก แต่งานวิจัยก็ยังไม่ได้ชี้ว่ากลูตามีนสามารถช่วยบรรเทาอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารอื่นๆ เช่น โรคโครห์นได้[21][22][23]
    • นอกจากนี้กลูตามีนยังอาจช่วยเพิ่มน้ำหนักในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เป็นโรคเอดส์ด้วย งานวิจัย 2 – 3 ชิ้นชี้ว่า กลูตามีนร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ อาจเพิ่มน้ำหนักและมวลกล้ามเนื้อได้ ซึ่งช่วยได้มากเพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เป็นโรคเอดส์มักจะน้ำหนักลดลงอย่างมากและสูญเสียกล้ามเนื้อ นอกจากนี้กลูตามีนยังอาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้ดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับผู้ที่มีภาวะสุขภาพเช่นนี้[24]
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Newsholme P. Why is L-glutamine metabolism important to cells of the immune system in health, postinjury, surgery or infection? J Nutr. 2001 Sep;131(9 Suppl):2515S-22S; discussion 2523S-4S.
  2. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/glutamine-oral-route/description/drg-20064099
  3. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/glutamine
  4. http://www.clevelandclinicwellness.com/Features/Pages/glutamine-pro-con.aspx#
  5. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/glutamine
  6. Gleeson M. Dosing and efficacy of glutamine supplementation in human exercise and sport training. J Nutr. 2008 Oct;138(10):2045S-2049S.
  7. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/glutamine
  8. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/glutamine
  9. http://www.clevelandclinicwellness.com/Features/Pages/glutamine-pro-con.aspx#

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Mark Ziats, MD, PhD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Mark Ziats, MD, PhD. ดร.เซียตส์เป็นแพทย์ภายใน นักวิจัย และนักลงทุนทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เขาสำเร็จปริญญาเอกด้านพันธุกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 2014 และปริญญาโทแพทยศาสตร์ไม่นานจากนั้นที่มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ในปี 2015 บทความนี้ถูกเข้าชม 22,969 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 22,969 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา