ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

นิ้วหัก คือการที่กระดูกในนิ้วไหนก็ตามเกิดหักขึ้นมา นิ้วโป้งจะมีกระดูก 2 ท่อน ในขณะที่นิ้วอื่นๆ มี 3 ท่อน นิ้วมือหักนั้นเป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อย เกิดได้ทั้งตอนเล่นกีฬา ประตูรถหนีบ หรือเพราะอุบัติเหตุอื่นๆ การดูแลนิ้วมือที่หักนั้นต้องรู้ซะก่อนว่าอาการบาดเจ็บมันรุนแรงแค่ไหน จะได้ปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้นก่อน แล้วค่อยไปหาหมอที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด[1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ประเมินอาการบาดเจ็บว่ารุนแรงแค่ไหน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตอาการบวมหรือฟกช้ำที่นิ้ว.
    อาการบวมฟกช้ำมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดฝอยในนิ้วของคุณแตก ถ้าปลายนิ้วคุณหัก ใต้เล็บก็จะห้อเลือด ส่วนปลายนิ้วก็จะม่วงช้ำเหมือนกัน[2]
    • เวลาแตะโดนนิ้วที่หัก ก็จะปวดแปลบขึ้นมา นั่นแหละอาการสำคัญ บางคนอาจจะยังขยับนิ้วได้อยู่ทั้งที่หัก เพราะอาจจะชาหรือแค่ปวดตื้อๆ แต่ทั้งหมดก็เป็นสัญญาณบอกอาการนิ้วหักทั้งนั้น ซึ่งต้องรักษาโดยด่วน [3]
    • ตรวจหาอาการชาหรือเจ็บหนึบๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากาจเป็นอาการของเส้นประสาทถูกทำลายที่เกิดจากกระดูกหักเลือดไม่ไหลเวียนที่ส่วนปลาย. ถ้า Capillary refill ปกติ เวลากดหรือบีบนิ้วไว้ พอปล่อย เลือดจะต้องไหลกลับคืนมา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตรวจหาความเสียหายของเส้นเลือดฝอย.
    ตรวจการเติมกลับของเลือดในเส้นเลือดฝอยโดยการบีบเบาๆ ตรงบริเวณนั้น การเติมกลับของเลือดในเส้นเลือดฝอยคือการไหลเวียนกลับของเลือดไปที่นิ้วหลังจากเกิดแรงกด คุณสามารถตรวจโดยกดเบาๆ ตรงเนื้อยื่อใกล้แผลจนมันขาวซีด หากมันไม่กลับคืนเปนสีปกติในชั่วไม่กี่วินาที แสดงว่าเลือดมีการไหลเวียนผิดปกติในบริเวณนั้น[4]
    • ถ้าคุณมองความแตกต่างระหว่างสีผิวตอนบีบไม่ออก ให้ลองที่ตรงเล็บ กดค่อยๆ ตรงเล็บ แล้วดูว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงกลับมาเป็นสีชมพูอีกครั้ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตรวจนิ้วหาแผลเปิดหรือกระดูกที่แทงทะลุออกมา....
    ตรวจนิ้วหาแผลเปิดหรือกระดูกที่แทงทะลุออกมา. นิ้วคุณอาจมีแผลเปิดขนาดใหญ่ หรือชิ้นส่วนกระดูกแทงทะลุเนื้อออกมา นั่นบอกได้ชัดเจนว่ากระดูกคุณหักอย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่ากระดูกหักแบบเปิด (compound fracture) ถ้าอาการคุณเป็นแบบนี้ ต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน[5]
    • รวมถึงถ้ามีเลือดไหลทะลักออกมาจากแผลเปิดที่นิ้ว ก็ต้องรีบไปหาหมอเช่นกัน[6]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นิ้วคุณบิดเบี้ยวผิดรูปหรือเปล่า.
    ถ้าส่วนไหนของนิ้วชี้ไปผิดทิศผิดทาง แปลว่ากระดูกคงหักหรือเคลื่อนเข้าแล้ว ข้อนิ้วเคลื่อนคือกระดูกเคลื่อนจากที่ ทำให้ข้อนิ้วบิดเบี้ยวผิดรูป อย่างตรงมะเหงก ถึงข้อเคลื่อน ไม่หัก ก็ต้องรีบไปหาหมอเหมือนกัน
    • แต่ละนิ้วของคุณจะมีกระดูก 3 ท่อน และเรียงต่อแบบเดียวกัน ข้อแรกคือกระดูกนิ้วมือท่อนต้น (proximal phalanx) ข้อที่ 2 คือกระดูกนิ้วมือท่อนกลาง (middle phalanx) ส่วนท่อนที่อยู่ไกลจากฝ่ามือที่สุด เรียกว่ากระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx) แต่นิ้วโป้งนั้นสั้นกว่านิ้วอื่นๆ เลยไม่มีกระดูกนิ้วมือท่อนกลาง ส่วนที่เราเรียกกันว่ามะเหงก (knuckles) นั้นเป็นข้อที่เกิดจากกระดูกท่อนต่างๆ ในนิ้วคุณ เรามักกระดูกนิ้วหักตรงมะเหงก หรือข้อนี่เอง[7]
    • ถ้านิ้วหักแถวกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx) จะรักษาง่ายกว่าเวลาข้อหรือมะเหงกหัก[8]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อาการปวดบวมดีขึ้นหลังผ่านไป 1 -...
    อาการปวดบวมดีขึ้นหลังผ่านไป 1 - 2 ชั่วโมงหรือเปล่า. ถ้านิ้วคุณไม่บิดผิดรูปหรือบวมช้ำ ส่วนอาการปวดบวมก็ดีขึ้น แสดงว่าแค่นิ้วเคล็ดไม่ได้หัก สาเหตุคือเอ็นคุณตึงเกินไป เอ็นที่ว่าก็คือแผ่นเนื้อเยื่อที่ยึดกระดูกในนิ้วของคุณเข้าไว้ด้วยกันตรงข้อนั่นเอง[9]
    • ถ้าคุณคิดว่าตัวเองนิ้วเคล็ด ก็งดการใช้งานไปก่อน รอจนอาการปวดบวมดีขึ้นภายใน 1 - 2 วัน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปให้คุณหมอตรวจ จะได้รู้แน่ชัดว่าตกลงนิ้วแค่เคล็ดหรือเกิดหักขึ้นมา การตรวจร่างกายควบคู่ไปกับการเอ็กซเรย์จะบอกได้เอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ปฐมพยาบาลนิ้วที่หักก่อนไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ประคบเย็นที่นิ้ว.
    เอาน้ำแข็งห่อด้วยผ้าขนหนู แล้วเอาไปประคบที่นิ้วระหว่างเดินทางไปแผนกฉุกเฉิน จะได้ลดปวดบวมฟกช้ำ แต่ห้ามประคบน้ำแข็งที่ผิวโดยตรงเด็ดขาด[10]
    • ยกนิ้วสูงไว้ตอนประคบเย็น เอาให้เหนือหัวใจ แรงโน้มถ่วงจะช่วยลดบวมและห้ามเลือดตามธรรมชาติเอง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำเฝือกดามชั่วคราว.
    ดามนิ้วไว้ นิ้วจะได้อยู่สูงและไม่ขยับเขยื้อน คุณดามนิ้วเองได้ง่ายๆ โดย
    • หาอะไรยาวๆ บางๆ ในขนาดเท่าๆ กับนิ้วของคุณมาใช้ดาม เช่น ไม้ไอติม หรือปากกา
    • เอามาแนบข้างนิ้วที่หัก จะดามเองหรือให้เพื่อน/ครอบครัวช่วยจับไว้ให้ก็ได้
    • ใช้ผ้าพันแผลหรือเทปพันแผลพันให้รอบ ยึดไม้ไอติมหรือปากกานั้นไว้กับนิ้วของคุณ พันให้กระชับแต่อย่าคับแน่นเกินไป พันแล้วต้องไม่รัดนิ้วจนเจ็บไปกว่าเดิม ถ้าพันแน่นไปละก็ อาจทำให้บวมเป่ง เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงนิ้วที่บาดเจ็บ[11]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เอาแหวนหรือเครื่องประดับออกก่อน.
    ถ้าเป็นไปได้ พยายามถอดแหวนที่นิ้วออกมาก่อนนิ้วจะบวมจนเอาออกไม่ได้ เพราะถ้าทิ้งไว้จนนิ้วบวมเจ็บจะเอาแหวนออกมาแทบไม่ได้เลย[12]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (ไทลีนอล) แก้ปวด.
    ถ้ามีอาการปวดมาก ใช้ยาที่มีตัวยาอะเซตามิโนเฟน เช่น ไทลีนอลหรือพาราเซตามอล อย่าใช้ยากลุ่ม NSAIDs (ยาแก้อักเสบแบบไร้สเตียรอยด์) เช่น ไอบูโปรเฟน จนกว่าคุณจะได้พบแพทย์และแพทย์เป็นผู้สั่งยาให้[13]
    • การศึกษาบางตัวแสดงให้เห็นว่ายากลุ่ม NSAIDs สามารถทำให้การฟื้นฟูหากเกิดกระดูกหักนั้นล่าช้าลง แพทย์จึงมักแนะนำให้หลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้ถ้ามีกระดูกหัก[14]
    • การประคบเย็นที่นิ้วยังช่วยให้รู้สึกชาและลดอาการบวม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ได้เวลารักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตรวจร่างกายกับคุณหมอ.
    คุณหมอจะสอบถามประวัติการรักษาของคุณ จากนั้นก็ตรวจร่างกายเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และหาสาเหตุว่าคุณบาดเจ็บได้ยังไง คุณหมอจะดูว่านิ้วผิดรูปหรือเปล่า ระบบประสาทและหลอดเลือดทำงานปกติหรือเปล่า นิ้วหมุนผิดปกติหรือเปล่า รวมถึงแผลหรืออาการบาดเจ็บที่ผิวหนังด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้คุณหมอเอ็กซเรย์นิ้ว.
    คุณหมอจะได้ฟันธงว่านิ้วคุณหักจริงหรือเปล่า กระดูกหักจะมี 2 แบบด้วยกัน คือแบบปกติ (simple) กับแบบซับซ้อน (complex) ซึ่งคุณหมอต้องระบุข้อนี้ให้ได้ก่อน ถึงจะแนะนำวิธีการรักษาต่อไป[15]
    • ถ้าเป็นแบบ Simple จะเป็นกระดูกหักหรือร้าวแบบไม่ทะลุผิวหนังออกมา
    • ส่วนแบบ Complex จะเป็นกระดูกหักแบบที่กระดูกแทงทะลุผิวหนัง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถ้าเป็นแบบ simple คุณหมอจะดามนิ้วให้.
    กระดูกหักแบบปกติ คือนิ้วไม่ผิดรูปเสียหาย และไม่มีแผลเปิดหรือมีกระดูกแทงทะลุผิวหนังที่นิ้วออกมา อาการจะไม่หนักไปกว่าเดิมหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน พออาการดีขึ้นเดี๋ยวก็ขยับนิ้วได้[16]
    • ในบางเคส คุณหมออาจพันนิ้วที่หักไว้กับนิ้วที่อยู่ติดกัน วิธีนี้เรียกว่า buddy taping เพื่อไม่ให้นิ้วที่หักขยับเขยื้อนจนกระทบกระเทือนระหว่างฟื้นตัว[17]
    • คุณหมออาจจัดกระดูกกลับเข้าที่ให้ด้วย หรือที่เรียกว่า reduction โดยจะใช้ยาชาเฉพาะที่บริเวณนั้น แล้วค่อยจัดเรียงกระดูกซะใหม่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรึกษาคุณหมอเรื่องยาแก้ปวด.
    คุณจะกินยาแก้ปวดตามร้านขายยาก็ได้ เพื่อลดอาการปวดบวม แต่จริงๆ ก็ปรึกษาคุณหมอเถอะ ว่ายาตัวไหนที่เหมาะกับคุณ และปริมาณที่แนะนำต่อวันคือเท่าไหร่[18]
    • คุณหมออาจจ่ายยาแก้ปวดร่วมด้วย เพื่อลดอาการปวดที่นิ้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บของคุณว่ารุนแรงแค่ไหน
    • ถ้านิ้วคุณมีแผลเปิด คงต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ปนเปื้อนเข้าไปในแผล
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ถ้ากระดูกหักแบบซับซ้อนหรือรุนแรง อาจต้องพิจารณาผ่าตัด....
    ถ้ากระดูกหักแบบซับซ้อนหรือรุนแรง อาจต้องพิจารณาผ่าตัด. ถ้ากระดูกหักแบบรุนแรง คุณอาจต้องยอมผ่าตัดเพื่อรักษากระดูกนิ้วที่หัก
    • คุณหมออาจแนะนำให้ผ่าตัดจัดกระดูก (open reduction surgery). ศัลยแพทย์จะผ่าเปิดแผลเล็กๆ ที่นิ้ว พอให้เห็นกระดูกที่หัก เพื่อให้จัดกระดูกได้ ในบางเคส ศัลยแพทย์อาจต้องใช้ลวดหรือแผ่นโลหะกับสกรู (plates and screws) ยึดกระดูกไว้กับที่ จะได้ฟื้นตัวเร็ว
    • หมุดพวกนี้จะถูกถอดออกไปหลังนิ้วคุณหายดีแล้ว
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ขอโอนเคสไปที่ศัลยแพทย์กระดูกหรือศัลยแพทย์มือ....
    ขอโอนเคสไปที่ศัลยแพทย์กระดูกหรือศัลยแพทย์มือ. ถ้าคุณกระดูกหักแบบเปิด อาการรุนแรง เส้นประสาทเสียหาย หรือหลอดเลือดอุดตัน คุณหมออาจโอนเคสคุณไปยังศัลยแพทย์กระดูก (ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ) หรือศัลยแพทย์มือ[19]
    • ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะตรวจอาการบาดเจ็บของคุณแล้ววินิจฉัยว่ารุนแรงถึงขั้นต้องผ่าตัดหรือเปล่า
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ดูแลหลังการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดามนิ้วแล้วต้องคอยรักษาความสะอาด อย่าให้เปียกหรืออับชื้น และต้องยกสูงด้วย....
    ดามนิ้วแล้วต้องคอยรักษาความสะอาด อย่าให้เปียกหรืออับชื้น และต้องยกสูงด้วย. จะได้ป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีแผลเปิดหรือรอยแทงทะลุที่นิ้ว คอยยกนิ้วให้สูงไว้จะได้ไม่กระทบกระเทือน ทำให้หายเร็ว[20]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 งดใช้นิ้วหรือมือจนกว่าจะติดตามผลการรักษากับคุณหมอแล้ว....
    งดใช้นิ้วหรือมือจนกว่าจะติดตามผลการรักษากับคุณหมอแล้ว. ให้ใช้มือข้างที่ปกติทำกิจวัตรประจำวันไปก่อน อย่างการกิน อาบน้ำ หรือหยิบจับของต่างๆ สำคัญมากว่าคุณต้องให้เวลานิ้วได้พักฟื้นโดยไม่ต้องขยับเขยื้อนหรือมีอะไรไปกระทบกระเทือนนิ้วที่ดามไว้[21]
    • การนัดตรวจติดตามผลกับคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านมือ ปกติจะผ่านไป 1 อาทิตย์หลังการตรวจรักษาครั้งแรก ตอนไปตรวจติดตามผล คุณหมอจะตรวจดูว่ากระดูกแต่ละชิ้นเรียงตัวกันดีไหม และฟื้นตัวดีหรือเปล่า[22]
    • ปกติเวลากระดูกหักนิ้วหัก คุณอาจต้องพักฟื้นประมาณ 6 อาทิตย์ถึงจะกลับไปเล่นกีฬาหรือทำงานต่อได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ขยับนิ้วหน่อยหลังเอาที่ดามออก.
    พอคุณหมอยืนยันแน่แล้วว่านิ้วคุณหายสนิท ไม่ต้องดามแล้ว ก็ถึงเวลาต้องบริหารนิ้วกันแล้ว ถ้าดามนิ้วนานเกินไป หรือเลิกดามแล้วยังไม่ยอมกลับมาใช้นิ้วละก็ ข้ออาจจะแข็งหรือยึดจนนิ้วคุณขยับหรือใช้งานไม่ค่อยได้[23]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถ้าอาการบาดเจ็บรุนแรงควรทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย....
    ถ้าอาการบาดเจ็บรุนแรงควรทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย. นักกายภาพบำบัดสามารถแนะนำคุณได้ ว่าต้องทำอะไรบ้างถึงจะกลับไปใช้นิ้วได้ตามเดิม อาจเป็นการบริหารนิ้วและมือแบบไม่หนักมาก นิ้วจะได้ขยับเขยื้อนบ้าง และกลับเป็นปกติในที่สุด[24]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Luba Lee, FNP-BC, MS
ร่วมเขียน โดย:
กรรมการพิจารณายา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Luba Lee, FNP-BC, MS. ลูบา ลีเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีประกาศนียบัตรในเทนเนสซี่ เธอได้รับปริญญาด้านพยาบาลศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ในปี 2006 บทความนี้ถูกเข้าชม 102,327 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 102,327 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา