วิธีการ รักษากระดูกซี่โครงหัก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

งานวิจัยกล่าวว่า กระดูกซี่โครงที่หักสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 เดือน แต่โดยทั่วไปหากซี่โครงหักเป็นปลายแหลม คุณจะต้องเข้ารับการรักษาทันที[1] ส่วนใหญ่แล้วกระดูกซี่โครงสามารถหักได้จากการถูกกระแทกเข้าที่หน้าอกหรือลำตัวโดยตรงหลังการเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม หรือปะทะอย่างรุนแรงขณะเล่นกีฬา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคุณสามารถรักษาอาการบาดเจ็บเล็กน้อยที่ซี่โครงได้ด้วยการพักผ่อน ใช้น้ำเข็งประคบ และรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป[2] แต่คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการบาดเจ็บของคุณไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจริงๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ยืนยันการบาดเจ็บที่ซี่โครง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปห้องฉุกเฉินเพื่อเข้ารับการรักษา.
    ถ้าคุณมีอาการบาดเจ็บที่หน้าอกหรือลำตัวที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาหายใจลึกๆ ก็เป็นไปได้ว่าซี่โครงอาจจะหัก 1 หรือ 2 ซี่ ซึ่งก็อาจจะเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บที่รุนแรงด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นคุณจะต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ เมื่อซี่โครงหักบางครั้งคุณก็อาจจะได้ยินหรือรู้สึกว่ามีเสียงดัง "ก๊อก" แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นอย่างนี้เสมอไป โดยเฉพาะถ้ามันหักตรงปลายซี่โครงที่เป็นกระดูกอ่อนที่เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอก (กระดูกสันอก)
    • คุณจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์หลังจากเกิดการบาดเจ็บที่ซี่โครงอย่างรุนแรง เพราะถ้าซี่โครงหักปลายแหลม (ไม่ใช่แค่กระดูกร้าว) ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ไต ตับ ม้ามบาดเจ็บไปด้วย[3] แพทย์จะตรวจว่าเป็นการหักแบบไหนและให้คำแนะนำตามนั้น
    • เอกซเรย์หน้าอก ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ และอัลตราซาวน์เพื่อการวินิจฉัยเป็นอุปกรณ์ที่แพทย์อาจจะใช้ในการตรวจเพื่อให้เห็นอาการบาดเจ็บที่ซี่โครงชัดเจนขึ้น
    • แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดอย่างแรงหรือยาแก้อักเสบให้ถ้าอาการปวดรุนแรงมาก หรือแนะนำให้คุณซื้อยาจากร้านขายยากลับไปรับประทานเองที่บ้านหากอาการปวดยังพอทนได้
    • อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากซี่โครงหักอย่างรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้และเป็นอันตรายถึงชีวิตก็คือ ปอดทะลุหรือปอดแตก (ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด) และยังอาจทำให้เป็นโรคปอดอักเสบได้ด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์....
    ปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์. ถ้าอาการซี่โครงหักค่อนข้างทรงตัวแต่ก็ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวปานกลางไปจนถึงรุนแรง แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากระดูกอ่อนฉีกขาดด้วย การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ใกล้กับบริเวณที่บาดเจ็บจะลดการอักเสบและอาการปวดอย่างรวดเร็ว ทำให้หายใจสะดวกขึ้นและสามารถเคลื่อนไหวร่างกายท่อนบนได้มากขึ้นด้วย[4]
    • อาการแทรกซ้อนจากการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่อาจเกิดขึ้นได้ได้แก่ การติดเชื้อ มีเลือดออก กล้ามเนื้อบริเวณนั้น/เส้นเอ็นลีบ ความเสียหายต่อระบบประสาท และภูมิคุ้มกันลดลง
    • นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะฉีดยาระงับความรู้สึกที่เส้นประสาทระหว่างซี่โครงให้ ยาตัวนี้จะทำให้เส้นประสาทที่อยู่รอบๆ ชาและทำให้หายปวดได้ประมาณ 6 ชั่วโมง[5]
    • คนที่ซี่โครงหักส่วนมากไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด พวกเขาฟื้นตัวเองได้ค่อนข้างดีเมื่อได้รับการดูแลแบบเยียวยา (ไม่ผ่าตัด) ที่บ้าน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รักษาอาการซี่โครงหักที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อย่าเอาผ้ามาพันซี่โครง.
    ในอดีตตามปกติแพทย์จะใช้ผ้ายืดช่วยยึดและไม่ให้บริเวณที่ซี่โครงหักขยับเขยื้อน แต่แล้ววิธีนี้ก็เสื่อมความนิยมไปเพราะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ปอดติดเชื้อหรือปอดอักเสบได้ เพราะฉะนั้นอย่านำผ้ามาห่อหรือพันตรงซี่โครง[6]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้นำแข็งประคบซี่โครงที่หัก.
    ช่วงสองวันแรกให้นำถุงน้ำแข็ง ถุงเจลเย็นแช่แข็ง หรือถุงถั่วลันเตาแช่ในช่องฟรีซประคบลงบนซี่โครงที่บาดเจ็บประมาณ 20 นาทีทุกชั่วโมงตลอดช่วงที่คุณตื่น จากนั้นก็ลดเหลือวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 10-20 นาทีตามต้องการเพื่อลดความเจ็บและอาการบวม[7] น้ำแข็งจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและช่วยทำให้เส้นประสาทที่อยู่ในบริเวณนั้นชา การประคบเย็นเหมาะกับการรักษาอาการซี่โครงหักและจำเป็นต่ออาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและกระดูกทุกประเภท
    • นำผ้าบางๆ มาพันรอบถุงน้ำแข็งอีกทีก่อนประคบลงบนบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อลดความเสี่ยงที่ผิวหนังจะเป็นแผลหรือถูกทำลายจากความเย็นจัด
    • นอกจากความรู้สึกเจ็บแปลบเวลาหายใจแล้ว คุณก็อาจจะมีอาการกดเจ็บปานกลางและอาการบวมตรงบริเวณที่ซี่โครงหัก และอาจมีรอยฟกช้ำตรงผิวหนังบริเวณรอบๆ ด้วย ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่ามีการบาดเจ็บที่หลอดเลือดภายใน[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รับประทานยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป.
    ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เอ็นเสด) ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟน (แอดวิล) นาพรอกเซน (อัลลีฟ) หรือแอสไพรินเป็นยาที่ออกฤทธิ์ระยะสั้นที่ช่วยต่อสู้กับอาการปวดและการอักเสบที่เกิดจากซี่โครงหัก[9] โดยตัวยาแล้วเอ็นเสดไม่ได้กระตุ้นการรักษาหรือเร่งอัตราการฟื้นตัว แต่มันทำให้คุณรู้สึกสบายตัวและสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันขั้นพื้นฐานหรือแม้แต่กลับไปทำงานได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ถ้างานของคุณเป็นงานนั่งโต๊ะเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จำไว้ว่าเอ็นเสดอาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน (กระเพาะ ตับ) ได้ เพราะฉะนั้นพยายามอย่ารับประทานติดต่อกันทุกวันนานกว่า 2 สัปดาห์ รับประทานตามวิธีใช้ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้รู้ว่าต้องรับประทานยาในปริมาณเท่าไหร่
    • เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรรับประทานแอสไพรินเด็ดขาด เพราะมีส่วนที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการเรย์
    • นอกจากนี้คุณก็สามารถรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อะเซตามีโนเฟน (ไทลีนอล) แทนได้เช่นกัน แต่มันจะไม่ได้ช่วยลดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อตับมากกว่า
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าเคลื่อนไหวร่างกายบริเวณลำตัว.
    ถ้าเป็นอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและกระดูกส่วนใหญ่แล้วคุณควรออกกำลังกายเบาๆ เพราะการเคลื่อนไหวจะกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและการรักษา แต่ถ้าเป็นในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก คุณควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจก่อน เพราะมันอาจจะทำให้ซี่โครงที่หักระคายเคืองและอักเสบได้ นอกจากนี้ก็ให้ลดการพลิกตัว (บิดตัว) และการเอียงลำตัวไปด้านข้างในระหว่างที่ซี่โครงกำลังฟื้นตัว[10] การเดิน ขับรถ และทำงานคอมพิวเตอร์ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่อย่าทำงานบ้านที่ต้องออกแรงมาก วิ่งจ๊อกกิ้ง ยกเวต และเล่นกีฬาจนกว่าคุณจะหายใจเข้าลึกๆ ได้โดยแทบไม่เจ็บหรือไม่เจ็บแล้ว
    • ลางาน 1 หรือ 2 สัปดาห์ถ้าจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้างานของคุณต้องใช้แรงงานหรือต้องมีการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนมาก
    • ขอให้คนในครอบครัวและเพื่อนๆ มาช่วยจัดการงานในบ้านและสนามหญ้าในช่วงที่คุณกำลังรักษาตัว อย่ายกของและสอบถามแพทย์ก่อนว่าคุณขับรถได้ไหม
    • หลังจากที่ซี่โครงหัก มันก็อาจจะมีจังหวะที่คุณต้องไอหรือจามออกมาบ้าง ให้เอาหมอนนุ่มๆ มาวางทับหน้าอกเพื่อลดแรงกระแทกและความเจ็บปวด
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เปลี่ยนท่านอน.
    ซี่โครงหักจะมีปัญหามากเป็นพิเศษในช่วงที่คุณนอนหลับตอนกลางคืน โดยเฉพาะถ้าคุณนอนคว่ำ นอนตะแคง หรือนอนพลิกไปพลิกมาบ่อยๆ เวลาที่ซี่โครงหักท่านอนที่ดีที่สุดก็อาจจะเป็นท่านอนหงายเพราะเป็นท่าที่ซี่โครงรับแรงกดทับน้อยที่สุด และที่จริงแล้วการนอนกึ่งนั่งบนเก้าอี้โยกสบายๆ ในช่วง 2-3 คืนแรกจนกว่าการอักเสบและความเจ็บจะลดลงแล้วก็เป็นความคิดที่ดีเช่นกัน[11] นอกจากนี้ถ้าคุณนอนเตียงคุณอาจจะเอาหมอนอิงมาหนุนหลังและศีรษะเพื่อยันตัวไว้ด้วยก็ได้
    • ถ้าคุณจำเป็นต้องหลับท่านั่งในช่วง 2-3 คืนแรกหรือนานกว่านั้น อย่าลืมดูแลหลังช่วงล่างด้วย การวางหมอนไว้ใต้ข้อพับเข่าจะช่วยลดแรงกดตรงกระดูกสันหลังบริเวณเอว และช่วยป้องกันไม่ให้ปวดหลังช่วงล่างด้วย
    • วางหมอนข้างขนาบไว้ทั้งสองข้างเพื่อไม่ให้เผลอพลิกตัวไปมาตอนกลางคืน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 รับประทานอาหารและอาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพ.
    กระดูกหักต้องการสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นการรับประทานอาหารที่สมดุลและอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินนั้นถือเป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ดี[12] เน้นรับประทานพืชผักสดๆ ธัญพืชเต็มเมล็ด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผลิตภัณฑ์นม และน้ำบริสุทธิ์ให้มากๆ นอกจากนี้การเสริมด้วยสารอาหารเพิ่มเติมก็อาจจะช่วยเร่งให้ซี่โครงที่หักฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นคุณอาจจะรับประทานแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินดี และวิตามินเคเสริมด้วย
    • แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุได้แก่ ชีส โยเกิร์ต เต้าหู้ ถั่วฝัก บร็อกโคลี ถั่วเปลือกแข็งและธัญพืช ปลาซาร์ดิน และปลาแซลมอน
    • ในทางตรงกันข้ามให้งดบริโภคสิ่งที่อาจไปชะลอการฟื้นตัวของกระดูก เช่น แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม อาหารขยะ และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็ทำให้กระดูกที่หักและอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและกระดูกหายช้าลงด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเป็นส่วนสำคัญของการรักษากระดูกให้แข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกหักง่าย พยายามให้ร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารและอาหารเสริมอย่างน้อยวันละ 1,200 มก. และถ้ากระดูกหักคุณก็ต้องได้รับแคลเซียมต่อวันมากกว่านี้
โฆษณา

คำเตือน

  • ติดต่อแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง มีไข้ หนาวสั่น หายใจหอบ มีรอยฟกช้ำเป็นวงกว้าง และ/หรือไอเป็นเลือด[13]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jonas DeMuro, MD
ร่วมเขียน โดย:
ศัลยแพทย์ดูแลผู้ป่วยขั้นวิกฤติ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jonas DeMuro, MD. ดร.เดอมูโรเป็นศัลยแพทย์ดูแลผู้ป่วยขั้นวิกฤติที่ได้รับใบรับรองในนิวยอร์ก เขาสำเร็จปริญญาโทแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสโตนีบรูคในปี 1996 บทความนี้ถูกเข้าชม 155,009 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 155,009 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา