ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

น้ำเกลือแร่ เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เกลือ และน้ำสะอาด น้ำเกลือแร่สามารถลดอาการขาดน้ำจากการอาเจียนหรือท้องร่วง จากการศึกษาพบว่า น้ำเกลือแร่นั้นมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการให้น้ำเกลือเพื่อรักษาอาการขาดน้ำได้[1] วิธีการทำน้ำเกลือแร่ สามารถทำได้จากซองผงเกลือแร่เอง เช่นยี่ห้อ Pedialyte®, Infalyte®, และ Naturalyte® หรือจะลองทำน้ำเกลือแร่ที่บ้านโดยมีส่วนประกอบคือ น้ำดื่มสะอาด เกลือ และน้ำตาล

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

วิธีทำน้ำเกลือด้วยตัวคุณเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างมือให้สะอาด.
    ล้างมือของคุณทุกซอกทุกมุมด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนปรุงน้ำเกลือแร่ และต้องมั่นใจว่ามีขวดหรืออ่างผสมที่สะอาดพร้อมใช้แล้ว[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาส่วนผสม.
    ในส่วนของการทำน้ำเกลือแร่ในแบบของคุณเอง คุณจะต้องมีส่วนผสมดังต่อไปนี้:
    • เกลือ (เช่น เกลือปรุงอาหาร, เกลือไอโอดีน หรือ เกลือทะเล)
    • น้ำสะอาด
    • น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลผง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกัน.
    ใส่เกลือครึ่งช้อนชา และน้ำตาลอีกสองช้อนชาลงในชามสะอาด จะใช้น้ำตาลแบบใดก็ได้
    • ถ้าไม่มีช้อนชาคอยวัดตวง, คุณสามารถกะเอาน้ำตาลหนึ่งกำมือ และเกลืออีกสามหยิบมือเล็กๆ แต่การกะเอาแบบนี้จะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่วัดตามที่กำหนด และเป็นทางที่เราไม่แนะนำให้ใช้ [3]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เติมน้ำดื่มเข้าไปหนึ่งลิตร.
    ถ้าไม่มีอุปกรณ์ตวงน้ำ ให้เติมน้ำเข้าไป 5 ถ้วย (1 ถ้วยจะมีความจุประมาณ 200 มิลลิลิตร) ใช้น้ำเปล่าสะอาดเท่านั้น น้ำสามารถใช้จากขวดได้เลย หรือจะเป็นน้ำต้มสุกและปล่อยให้เย็นก็ได้
    • ใช้แค่น้ำเปล่าเท่านั้น นม, ซุป, น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลมไม่สามารถใช้ได้ เพราะไม่อาจนำมาทำเป็นน้ำเกลือแร่ที่ให้ประสิทธิภาพได้[4] อย่าเพิ่มน้ำตาลลงไปในส่วนผสม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 คนให้เข้ากันแล้วดื่มได้.
    ใช้ช้อนหรือไม้คนเพื่อผสมส่วนผสมแห้งให้เข้ากับน้ำ หลังจากคนไปหนึ่งนาที หรือมั่นใจว่าส่วนผสมละลายเข้าหากันดีแล้ว ก็หมดขั้นตอนวิธีทำ และถึงขั้นตอนการดื่ม [5]
    • น้ำเกลือแร่สามารถแช่ตู้เย็นค้างได้ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ห้ามเก็บไว้นานกว่านี้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

มาทำความเข้าใจกับคุณสมบัติของน้ำเกลือแร่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ควรปรึกษาแพทย์หากคุณต้องดื่มน้ำเกลือแร่.
    ในกรณีที่คุณอยู่ในสภาวะท้องเสียหรืออาเจียน ร่างกายของคุณจะสูญเสียน้ำ และสามารถนำไปสู่สภาวะขาดน้ำ หรือถ้าคุณมีอาการกระหายน้ำ ปากแห้ง ง่วงซึม ปัสสาวะน้อยครั้งกว่าปกติ สีปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ปวดศีรษะ ผิวแห้ง และวิงเวียน ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาหมอ และคุณควรได้รับคำแนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ถ้าอาการดังกล่าวมีความรุนแรง
    • ถ้าหากไม่รักษาอาการขาดน้ำ อาการจะแย่ลง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปากและผิวหนังจะแห้งมาก ปัสสาวะจะมีสีเหลืองเข้มไปจนถึงน้ำตาล ผิวหนังจะดูเหี่ยวย่นไม่ยืดหยุ่น ชีพจรจะเต้นช้าลง ดวงตาบวม ชัก ร่างกายอ่อนแอลง และอาจจะแย่ถึงขนาดโคม่า ถ้าคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการดังกล่าว ควรหาความเชื่อเหลืออย่างเร็วที่สุด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สรรพคุณของน้ำเกลือแร่คือการลดอาการขาดน้ำ.
    น้ำเกลือแร่มีส่วนผสมที่สามารถทดแทนการขาดเกลือและช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำได้ดีขึ้น ควรดื่มน้ำเกลือแร่ตั้งแต่มีอาการแรกของสภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำเกลือแร่จะช่วยแค่เรื่องการขาดน้ำเท่านั้น และถ้าดื่มกันเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดอาการขาดน้ำได้ดีกว่าใช้น้ำเกลือแร่ในขั้นตอนการรักษา
    • อาการขาดน้ำที่รุนแรงนั้น ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือ แต่ถ้าเป็นอาการเริ่มต้น การเตรียมน้ำเกลือที่บ้านก็สามารถช่วยได้ในเบื้องต้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มน้ำเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสม.
    จิบน้ำเกลือแร่ตลอดวัน ดื่มพร้อมมื้ออาหารได้ แต่ถ้าอาเจียน ควรหยุดดื่มน้ำเกลือแร่เสียก่อนสักประมาณสิบนาที แล้วจึงเริ่มดื่มอีกครั้ง ในกรณีของเด็กทารก ควรให้นมควบคู่กับการให้น้ำเกลือแร่ สามารถดื่มน้ำเกลือแร่ได้จนกว่าสภาวะท้องเสียจะหยุดไป ปริมาณการให้น้ำเกลือแร่มีดังต่อไปนี้: [6]
    • ทารกและเด็กเล็ก: น้ำเกลือแร่ 0.5 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง
    • เด็กเล็ก (2 ถึง 9 ปี): น้ำเกลือแร่ 1 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง
    • เด็กโต (10 ปีขึ้นไป) และผู้ใหญ่: น้ำเกลือแร่ 3 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หากทนไม่ไหว ควรพบแพทย์.
    อาการท้องเสียควรหมดไปหลังจากดื่มน้ำเกลือแร่แล้วไม่กี่ชั่วโมง คุณควรเริ่มปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น และสีของปัสสาวะควรมีสีอ่อนถึงสีใส ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการดังต่อไปนี้ปรากฎ ควรเข้ารับการรักษาโดยด่วน:[7]
    • อุจจาระเหลว อุจจาระเป็นสีเข้มหรือมีเลือด
    • อาเจียนบ่อยครั้ง
    • มีไข้สูง
    • มีอาการขาดน้ำรุนแรง (วิงเวียน, เซื่องซึม, ตาบวม, ไม่ปัสสาวะติดกัน 12 ชั่วโมง)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อาการท้องเสียมักจะหยุดภายในสามถึงสี่วัน ความเสี่ยงในเด็กคือภาวะขาดน้ำและขาดสารอาหารที่มีความอันตรายมาก
  • ควรบอกให้เด็กหมั่นดื่มน้ำ
  • สามารถซื้อเกลือแร่แบบซองได้จากร้านขายยาทั่วไป ในทุกซองจะชงได้หนึ่งแก้ว และในหนึ่งซองจะมีแป้ง 22 กรัม ควรชงด้วยน้ำในปริมาณที่กำหนดไว้บนซอง
  • การคุมอาหารแบบ BRAT diet (กล้วย, ข้าว, แอปเปิ้ลซอส และขนมปังปิ้ง) สามารถทำให้อาการท้องเสียดีขึ้นได้ และในบางกรณีก็ทำให้อาการขาดน้ำทุเลาลง เพราะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย
  • ถ้ามีอาการท้องเสีย ลองทานซิงค์ 10 มิลลิกรัม ถึง 20 มิลลิกรัมต่อวัน 10–14 วันติดกันหลังมีอาการท้องเสีย[8] การเพิ่มซิงค์ในร่างกายจะช่วยต่อต้านอาการและเสริมความแข็งแรงให้ร่างกาย ซิงค์มักจะพบในอาหารทะเล เช่น หอยนางรมและปู เนื้อวัว อาหารเช้าซีเรียลที่เสริมวิตามิน และถั่วอบ[9] อาหารดังกล่าวมีส่วนช่วย แต่ควรตระเตรียมอาหารเสริมซิงค์เพื่อแก้ปัญหาการขาดซิงค์ในร่างกายในช่วงเวลาที่มีอาการป่วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ต้องตรวจให้มั่นใจว่าน้ำดื่มที่ใช้ไม่มีสารปนเปื้อน
  • ถ้าอาการท้องร่วงไม่ดีขึ้นในหนึ่งอาทิตย์ ควรติดต่อขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์
  • เด็กที่ป่วย มีอาการท้องร่วง ไม่ควรกินยาเม็ด หรือยาปฏิชีวนะ ยกเว้นเป็นยาที่สั่งจ่ายจากหมอหรือเภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://emedicine.medscape.com/article/906999-treatment
  2. http://rehydrate.org/ors/made-at-home.htm
  3. Wilcox WD, Miller JJ. Inaccuracy of three-finger pinch method of determining salt content in homemade sugar salt solutions. Wilderness Environ Med, 1996;7(2):122-126.
  4. te Loo DM, van der Graaf F, Ten WT. The effect of flavoring oral rehydration solution on its composition and palatability. J Pediatr Gastroenterol Nutr, 2004;39(5):545-548.
  5. http://rehydrate.org/ors/made-at-home.htm
  6. http://www.cdc.gov/cholera/pdf/posters/2013/ORS_SEAsia_508.pdf
  7. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/dehydration-adults
  8. http://whqlibdoc.who.int/hq/2004/WHO_FCH_CAH_04.7.pdf
  9. http://ods.od.nih.gov/factsheets/Zinc-HealthProfessional

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Claudia Carberry, RD, MS
ร่วมเขียน โดย:
นักโภชนาการขึ้นทะเบียน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Claudia Carberry, RD, MS. คลอเดีย คาร์เบอร์รี่เป็นนักโภชนาการผู้ป่วยนอกของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ เธอสำเร็จปริญญาโทด้านโภชนาการจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี่น็อกซ์วิลล์ในปี 2010 บทความนี้ถูกเข้าชม 50,036 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 50,036 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา