ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เครื่องหมายกรณฑ์ (√) เป็นเครื่องหมายซึ่งแทนรากที่สองของจำนวนหนึ่ง เราอาจพบเครื่องหมายกรณฑ์ในพีชคณิต ในเรขาคณิต หรือในการคำนวณหาขนาดหรือระยะห่างที่สัมพันธ์กันเพื่อนำมาใช้กับงานไม้หรืองานอื่นๆ เราสามารถนำจำนวนในเครื่องหมายกรณฑ์ที่มีดัชนีเดียวกัน (ระดับของราก) มาคูณกันได้เลย แต่ถ้าจำนวนติดกรณฑ์มีดัชนีไม่เท่ากัน เราต้องปรับดัชนีให้เท่ากันเสียก่อน จึงค่อยนำมาคูณกัน ถ้าอยากรู้ว่าจะนำจำนวนติดกรณฑ์ทั้งแบบไม่มีสัมประสิทธิ์และแบบมีสัมประสิทธิ์มาคูณกันได้อย่างไร ลองอ่านขั้นตอนที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

คูณจำนวนติดกรณฑ์แบบไม่มีสัมประสิทธิ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูสิว่าจำนวนติดกรณฑ์มีดัชนีเท่ากันไหม.
    จำนวนติดกรณฑ์ทั้งสองจำนวนต้องมีดัชนีเท่ากัน ถึงจะสามารถนำมาคูณกันได้ "ดัชนี" เป็นตัวเลขที่เล็กมากๆ วางอยู่ด้านซ้ายบนของเส้นเครื่องหมายกรณฑ์ แต่ถ้าหากไม่มีดัชนี แสดงว่าจำนวนนี้ติดรากที่สองอยู่ (มีค่าดัชนีเท่ากับ 2) และสามารถนำไปคูณกับจำนวนที่ติดรากที่สองจำนวนอื่นได้ ความจริงเราสามารถคูณจำนวนติดกรณฑ์ที่มีดัชนีต่างกันได้ แต่กรณีอย่างหลังเราจะอธิบายภายหลัง ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการคูณจำนวนติดกรณฑ์ที่มีดัชนีเท่ากัน
    • ตัวอย่างที่ 1: √(18) x √(2) = ?
    • ตัวอย่างที่ 2: √(10) x √(5) = ?
    • ตัวอย่างที่ 3: 3√(3) x 3√(9) = ?
  2. How.com.vn ไท: Step 2 นำตัวเลขในเครื่องหมายกรณฑ์มาคูณกัน.
    ต่อไปแค่นำตัวเลขในเครื่องหมายกรณฑ์หรือรากที่สองมาคู่กันโดยคงเครื่องหมายติดกรณฑ์ไว้ มาดูตัวอย่างกัน
    • ตัวอย่างที่ 1: √(18) x √(2) = √(36)
    • ตัวอย่างที่ 2: √(10) x √(5) = √(50)
    • ตัวอย่างที่ 3: 3√(3) x 3√(9) = 3√(27)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทำให้อยู่ในรูปอย่างง่าย.
    ถ้าเรานำจำนวนติดกรณฑ์มาคูณกันเรียบร้อยแล้ว ก็ทำให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์ กำลังสามสมบูรณ์ หรือสามารถทำให้เป็นรูปอย่างง่ายด้วยการหากำลังสองสมบูรณ์และแยกตัวประกอบของมันออกมา ลองมาดูตัวอย่างกัน
    • ตัวอย่างที่ 1: √(36) = 6. 36 คือกำลังสองสมบูรณ์เพราะเป็นผลลัพธ์จาก 6 x 6 รากที่สองของ 36 คือ 6
    • ตัวอย่างที่ 2: √(50) = √(25 x 2) = √([5 x 5] x 2) = 5√(2) ไม่ใช่กำลังสองสมบูรณ์ แต่ 25 เป็นตัวประกอบของ 50 (เพราะหารได้ลงตัว) และเป็นกำลังสองสมบูรณ์ เราจึงสามารถแยกตัวประกอบของ 25 ออกไปเป็น 5 x 5 และเอา 5 ออกจากเครื่องหมายรากที่สองเพื่อทำให้เป็นรูปอย่างง่าย
      • เราสามารถตรวจคำตอบได้ด้วยการนำ 5 กลับเข้าไปในเครื่องหมายกรณฑ์ นำมันมาคูณกับตัวของมันเอง ก็จะกลับเป็น 25 อีกครั้ง
    • ตัวอย่างที่ 3: 3√(27) = 3 เนื่องจาก 27 คือกำลังสามสมบูรณ์ เพราะตัวเลขนี้เกิดจาก 3 x 3 x 3 รากที่สามของ 27 คือ 3
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

คูณจำนวนติดกรณฑ์ที่มีสัมประสิทธิ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นำสัมประสิทธิ์มาคูณกัน.
    สัมประสิทธิ์คือตัวเลขที่อยู่นอกเครื่องหมายกรณฑ์ ถ้าไม่เห็นสัมประสิทธิ์อยู่หน้าเครื่องหมายกรณฑ์ แสดงว่าสัมประสิทธิ์ที่อยู่หน้าเครื่องหมายกรณฑ์นั้นคือ 1 นำสัมประสิทธิ์มาคุณกัน ลองมาดูตัวอย่างกัน
    • ตัวอย่างที่ 1: 3√(2) x √(10) = 3√( ? )
      • 3 x 1 = 3
    • ตัวอย่างที่ 2: 4√(3) x 3√(6) = 12√( ? )
      • 4 x 3 = 12
  2. How.com.vn ไท: Step 2 นำจำนวนในเครื่องหมายกรณฑ์มาคูณกัน.
    หลังจากนำสัมประสิทธิ์มาคูณกันแล้ว เราก็สามารถนำจำนวนที่อยู่ในเครื่องหมายกรณฑ์มาคูณกันได้ ลองดูตัวอย่าง
    • ตัวอย่างที่ 1: 3√(2) x √(10) = 3√(2 x 10) = 3√(20)
    • ตัวอย่างที่ 2: 4√(3) x 3√(6) = 12√(3 x 6) = 12√(18)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทำให้อยู่ในรูปอย่างง่าย.
    ต่อไปทำจำนวนติดกรณฑ์ให้อยู่ในรูปอย่างง่ายด้วยการหากำลังสองสัมบูรณ์หรือผลคูณของจำนวนติดกรณฑ์ที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ พอทำเป็นรูปอย่างง่ายเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำตัวประกอบที่ดึงออกมามาคูณกับสัมประสิทธิ์ของจำนวนติดกรณฑ์นั้น ลองมาดูตัวอย่างกัน
    • 3√(20) = 3√(4 x 5) = 3√([2 x 2] x 5) = (3 x 2)√(5) = 6√(5)
    • 12√(18) = 12√(9 x 2) = 12√(3 x 3 x 2) = (12 x 3)√(2) = 36√(2)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

คูณจำนวนติดกรณฑ์ที่มีดัชนีต่างกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาตัวคูณร่วมน้อยของดัชนีนั้น.
    ในการหา ค.ร.น.ของดัชนีนั้นเราจะต้องหาจำนวนที่น้อยที่สุดซึ่งดัชนีทั้งสองหารลงตัว เราจะมาหา ค.ร.น.ของดัชนีในตัวอย่างนี้ 3√(5) x 2√(2) = ?
    • ในตัวอย่างมีดัชนี 3 และ 2 ฉะนั้น 6 คือ ค.ร.น. ของดัชนีทั้งสองนี้เพราะเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดซึ่งหารด้วย 3 และ 2 ได้ลงตัว 6/3 = 2 และ 6/2 = 3 การคูณจำนวนติดกรณฑ์ในตัวอย่างนี้ดัชนีของทั้งสองคือ 6
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เขียนแต่ละจำนวนใหม่โดยใช้ตัวคูณร่วมน้อยเป็นดัชนี....
    เขียนแต่ละจำนวนใหม่โดยใช้ตัวคูณร่วมน้อยเป็นดัชนี. เมื่อนำเลขดัชนีใหม่มาเขียนเป็นสมการใหม่ ก็จะได้สมการหน้าตาเป็นแบบนี้
    • 6√(5) x 6√(2) = ?
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาตัวเลขที่นำมาคูณกับดัชนีตัวเดิมแล้วได้ตัวคูณร่วมน้อยนั้น....
    หาตัวเลขที่นำมาคูณกับดัชนีตัวเดิมแล้วได้ตัวคูณร่วมน้อยนั้น. ลองมาดูที่ตัวอย่างนี้ 3√(5) เราจะต้องนำดัชนี 3 มาคูณกับ 2 จึงจะได้ 6 จำนวนติดกรณฑ์อีกจำนวนคือ 2√(2) เราต้องนำดัชนี 2 มาคูณ 3 ถึงจะได้ 6
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นำตัวคูณมาเป็นตัวเลขชี้กำลังของจำนวนที่อยู่ในเครื่องหมายกรณฑ์....
    นำตัวคูณมาเป็นตัวเลขชี้กำลังของจำนวนที่อยู่ในเครื่องหมายกรณฑ์. ในจำนวนติดกรณฑ์จำนวนแรกนำ 2 มาเป็นเลขชี้กำลังของ 5 ส่วนจำนวนติดกรณฑ์จำนวนที่สองนำ 3 มาเป็นเลขชี้กำลังของ 2 เราก็จะได้สมการตามตัวอย่างนี้
    • 2 --> 6√(5) = 6√(5)2
    • 3 --> 6√(2) = 6√(2)3
  5. How.com.vn ไท: Step 5 นำตัวเลขภายในเครื่องหมายกรณฑ์มาคูณกันตามจำนวนของตัวเลขชี้กำลัง....
    นำตัวเลขภายในเครื่องหมายกรณฑ์มาคูณกันตามจำนวนของตัวเลขชี้กำลัง. มาดูตัวอย่างกัน
    • 6√(5)2 = 6√(5 x 5) = 6√25
    • 6√(2)3 = 6√(2 x 2 x 2) = 6√8
  6. How.com.vn ไท: Step 6 นำจำนวนทั้งสองมาไว้ในเครื่องหมายกรณฑ์เดียวกัน....
    นำจำนวนทั้งสองมาไว้ในเครื่องหมายกรณฑ์เดียวกัน. นำจำนวนทั้งสองมาไว้ในเครื่องหมายกรณฑ์เดียวกันและคั่นด้วยเครื่องหมายคูณ ก็จะได้เป็น 6√(8 x 25)
  7. How.com.vn ไท: Step 7 นำจำนวนทั้งสองมาคูณกัน.
    6√(8 x 25) = 6√(200) นี้คือคำตอบของตัวอย่างนี้ ในบางกรณีเราอาจทำให้เป็นรูปอย่างง่ายได้ ตัวอย่างเช่น เราสามารถทำให้คำตอบของตัวอย่างนี้อยู่ในรูปอย่างง่ายได้ ถ้าเราพบว่ามีตัวเลขตัวหนึ่งที่สามารถยกกำลังหกแล้วได้ 200 แต่ในกรณีนี้ไม่สามารถทำให้เป็นรูปอย่างง่ายได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามีเครื่องหมายบวกหรือลบคั่นระหว่าง "สัมประสิทธิ์" และจำนวนติดกรณฑ์ แสดงว่าสัมประสิทธิ์นี้ไม่ใช่สัมประสิทธิ์ของจำนวนติดกรณฑ์นั้น มันไม่ใช่จำนวนเดียวกันและอยู่แยกกัน ถ้าจำนวนติดกรณฑ์และสัมประสิทธิ์อยู่ในวงเล็บเดียวกัน ตัวอย่างเช่น (2 + (รากที่สอง) 5) เมื่อจะคำนวณตัวเลขภายในวงเล็บ ให้มองว่า 2 และ (รากที่สอง) 5 เป็นตัวเลขคนละตัวกัน แต่เมื่อต้องคิดคำนวณนอกวงเล็บ ให้ถือว่า (2 + (รากที่สอง) 5) เป็นก้อนเดียวกัน
  • เครื่องหมายติดกรณฑ์เป็นการแสดงว่าจำนวนนั้นมีตัวเลขชี้กำลังที่เป็นเศษส่วน พูดอีกอย่างหนึ่งคือรากที่สองของจำนวนใดๆ มีค่าเท่ากับจำนวนนั้นยกกำลัง 1/2 รากที่สามของจำนวนใดๆ มีค่าเท่ากับจำนวนนั้นยกกำลัง 1/3 เป็นต้น
  • "สัมประสิทธิ์" คือตัวเลขที่วางไว้หน้าเครื่องหมายติดกรณฑ์ ตัวอย่างเช่น 2 (รากที่สอง) 5 เลข 5 อยู่ในเครื่องหมายกรณฑ์และเลข 2 ซึ่งอยู่นอกเครื่องหมายกรณฑ์คือสัมประสิทธิ์ เมื่อจำนวนติดกรณฑ์และสัมประสิทธิ์วางอยู่ด้วยกัน แสดงว่าสัมประสิทธิ์นั้นคูณกับจำนวนติดกรณฑ์อยู่ หรือเป็นแบบตัวอย่างนี้ 2 * (รากที่สอง) 5
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jake Adams
ร่วมเขียน โดย:
ครูสอนพิเศษกวดวิชา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jake Adams. เจค อดัมส์ เป็นครูสอนพิเศษกวดวิชา และเจ้าของ Simplifi EDU ในซานตาโมนิกา แคลิฟอร์เนียที่รับสอนพิเศษออนไลน์ โดยมีครูและสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับกวดวิชาสอบ K-College, SAT & ACT และสอบเข้ามหาวิทยาลัย ด้วยประสบการณ์สอนกว่า 14 ปี เจคได้อุทิศตัวเตรียมการเรียนการสอน ให้แน่ใจว่าลูกศิษย์จะได้รับประสบการณ์การเรียนการสอนออนไลน์ที่ดีที่สุด และแนะนำให้รู้จักกับเหล่าติวเตอร์คนเก่ง ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ โดยเจคนั้นจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีสาขาการตลาดและธุรกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเปปเปอร์ไดน์ บทความนี้ถูกเข้าชม 24,834 ครั้ง
หมวดหมู่: คณิตศาสตร์
มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,834 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา