วิธีการ แนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่น

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณเพิ่งได้พบกับคนที่พูดภาษาญี่ปุ่น และคุณต้องการแสดงความเคารพต่อคนญี่ปุ่นด้วยการพูดภาษาแม่ของพวกเขาอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน นักเรียนแลกเปลี่ยน เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนของเพื่อน และก็ไม่สำคัญว่าพวกเขาพูดภาษาไทยได้หรือไม่ ต่อไปนี้คือกฎง่ายๆ ที่น่าจะช่วยให้คุณสร้างความประทับใจแรกได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การทักทายเบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Step 1 พูดว่า "ฮาจิเมะมะชิเตะ".
    นี่แปลว่า "ยินดีที่ได้รู้จัก" หรือคล้ายกับ "มาเริ่มต้นมิตรภาพกันเถอะ" ปกติแล้วการพูดว่า "ฮาจิเมะมะชิเตะ" นั้นเป็นขั้นแรกของการแนะนำตัวในภาษาญี่ปุ่น "ฮาจิเมะมะชิเตะ" เป็นรูปผันของคำว่า "ฮาจิมะรุ" ซึ่งเป็นคำกริยาที่หมายถึง "เริ่มต้น"[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลือกคำทักทายตามเวลา.
    แม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมแต่การทักทายด้วยคำว่า "ฮาจิเมะมะชิเตะ" ก็ยอมรับได้ ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีสามวิธีพื้นฐานในการพูดว่าสวัสดี ได้แก่: โอะฮะโย คนนิจิวะ และ คมบังวะ เหมือนที่คนไทยพูดว่า "สวัสดีตอนเช้า" "สวัสดี" และ "สวัสดีตอนเย็น" คนญี่ปุ่นใช้คำทักทายต่างกันเพื่อแยกแยะแต่ละช่วงเวลาของวัน
    • "โอะฮะโย" แปลว่า "สวัสดีตอนเช้า" และใช้เมื่อไรก็ได้ก่อนเที่ยง เพื่อให้สุภาพมากขึ้นให้พูดว่า "โอะฮะโย โกะไซมัส"
    • "คนนิจิวะ" แปลว่า "สวัสดีตอนบ่าย" และยังเป็นคำสวัสดีตามมาตรฐานอีกด้วย สามารถใช้ได้ระหว่างเที่ยงถึงประมาณ 5 โมงเย็น[2]
    • "คมบังวะ" แปลว่า "สวัสดีตอนเย็น" และใช้ระหว่างเวลา 5 โมงเย็น ถึงเที่ยงคืน ถ้าคุณต้องการพูดรวมๆ คุณสามารถพูดได้ว่า "คำทักทาย" ในภาษาญี่ปุ่นนั่นคือ ไอซัทสึ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แนะนำตัวเอง.
    วิธีที่ใช้บ่อยและง่ายที่สุดในการแนะนำตัวเองในภาษาญี่ปุ่นคือวลีว่า "วะตะชิ โนะ นะมะเอะ วะ ___ เดส" แปลว่า "ฉันชื่อ ___" ถ้าคุณใช้ชื่อจริง ให้พูดนามสกุลก่อน[3]
    • ยกตัวอย่างเช่น "วะตะชิ โนะ นะมะเอะ วะ มิยะซะกิ ฮะยะโอะ เดส" แปลว่า "ฉันชื่อฮะยะโอะ มิยะซะกิ"
    • จำไว้ว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้คำว่า "วะตะชิ" ในการสนทนา เมื่อคุณแนะนำตัวเอง คุณสามารถละคำว่า "วะตะชิ วะ" ก็ได้ถ้าคุณอยากพูดให้เหมือนคนในท้องที่ และสามารถละคำว่า "อะนะตะ" ที่แปลว่า "คุณ" ได้เช่นกัน[4]ดังนั้นคุณอาจจะพูดแค่ว่า "โจ เดส" เพื่อบอกว่าคุณชื่อโจก็ได้
  4. Step 4 พูดว่า "โยะโระชิคุ โอะเนะไกชิมัส"...
    พูดว่า "โยะโระชิคุ โอะเนะไกชิมัส" เพื่อจบการแนะนำตัวเบื้องต้น. ซึ่งแปลคร่าวๆ ได้ว่า "ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะ" นี่อาจจะไม่ใช่วลีพูดบ่อยๆ ในภาษาไทย แต่เป็นวลีที่สำคัญที่ต้องจำเมื่อคุณแนะนำตัวเองกับคนญี่ปุ่นเจ้าของภาษา นี่มักจะเป็นวลีสุดท้ายที่คนญี่ปุ่นใช้ตอนแนะนำตัว[5]
    • สำหรับรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ คุณอาจจะพูดแค่ "โยะโระชิคุ" อย่างไรก็ตามในเกือบทุกกรณี ทางที่ดีคุณควรจะใช้รูปที่เป็นทางการกว่า แล้วก็สุภาพกว่า
    • ถ้าคุณแนะนำตัวเองอย่างไม่เป็นทางการกับคนที่อายุน้อยที่มีฐานะทางสังคมคล้ายๆ กัน คุณสามารถละคำที่เพิ่มเข้ามาได้เกือบทั้งหมด คืออาจจะพูดแค่ว่า "โจ เดส โยะโระชิคุ" ซึ่งแปลว่า "ชื่อโจนะ ยินดีที่ได้รู้จัก"[6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การเริ่มบทสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อธิบายเกี่ยวกับตัวเองเพิ่มเติม.
    คุณสามารถใช้รูป "วะตะชิ วะ ___ เดส" เพื่อบอกคุณสมบัติอื่นๆ ได้ อย่างเช่น อายุ สัญชาติ หรืออาชีพ "วะตะชิ วะ ไทจิน เดส" แปลว่า "ฉันเป็นคนไทย" "วะตะชิ วะ จูโกะไซ เดส" แปลว่า "ฉันอายุ 15 ปี"
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เริ่มต้นด้วยประโยคที่ลดความตึงเครียดอย่างสุภาพ....
    เริ่มต้นด้วยประโยคที่ลดความตึงเครียดอย่างสุภาพ. ภาษาญี่ปุ่นที่เทียบเท่ากับ "สบายดีไหม" คือ "โอะเก็งคิ เดส คะ" อย่างไรก็ตาม นี่คือคำถามที่ถามไถ่ถึงสุขภาพของบุคคลนั้นจริงๆ ถ้าคุณไม่ได้ต้องการคำตอบจริงๆ ก็ให้พูดแค่ว่า "โอะเท็งคิ วะ อี้ เดส เนะ" ซึ่งแปลว่า "อากาศดีนะ"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พูดโต้ตอบ.
    ถ้าคุณพูดว่า "โอะเก็งคิ เดส คะ" ให้เตรียมพร้อมที่จะพูดโต้ตอบกับคนที่ตอบมา เมื่อคุณถามคำถามนี้ บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะตอบว่า "เก็งคิ เดส" หรือไม่ก็ "มามา เดส" อันแรกแปลว่า "ฉันสบายดี" ส่วนอันหลังแปลว่า "เรื่อยๆ" แล้วพวกเขาก็จะถามคุณกลับว่า "อะนะตะ วะ?" ซึ่งแปลว่า "คุณล่ะ" เมื่อพวกเขาพูดแบบนี้ คุณอาจจะตอบได้ว่า "เก็งคิ เดส อะริงะโต" ซึ่งแปลว่า "สบายดี ขอบคุณ"
    • คุณอาจจะแทนที่คำว่า "อะริงะโต" ด้วยคำว่า "โอะคะเกะซะมะ เดะ" ซึ่งมีความหมายเหมือนๆ กัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รู้จักวิธีการขอโทษ.
    ถ้าเกิดมีตอนที่คุณไม่รู้ว่าจะพูดอะไร (หรือไม่รู้ว่าอีกคนหนึ่งเพิ่งพูดอะไร) อย่ากลัวที่จะขอโทษและพูดอย่างนั้น คุณอาจจะพูดเป็นภาษาอังกฤษได้ถ้าจำเป็นและใช้ภาษากายเพื่อแสดงว่าขอโทษ แต่ก็ควรจะเรียนรู้การพูดขอโทษในญี่ปุ่นด้วย ถ้าจำเป็น ให้พูดว่า "โกะเม็น นะไซ"(ごめんなさい)ซึ่งแปลว่า "ฉันขอโทษ"
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่ากังวลถ้าคุณออกเสียงผิด คนญี่ปุ่นมักจะคิดว่าตอนที่คนต่างชาติพูดภาษาของพวกเขาผิดนั้นเป็นเรื่องที่น่ารักดี นอกจากนี้พวกเขายังคิดเกี่ยวกับภาษาอังกฤษแบบเดียวกับที่ผู้พูดภาษาอังกฤษหลายคนคิดเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน ว่าเป็นภาษาที่เจ๋ง มีเสน่ห์ และเป็นเรื่องที่ลึกลับเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นไม่ต้องอาย!
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณต้องเลือกระหว่างสุภาพและไม่เป็นทางการ ให้เลือกสุภาพไว้ก่อน แม้จะดูเหมือนว่าเป็นสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการก็ตาม
  • อย่า ใส่คำเรียกที่ให้เกียรติ (-ซัง -จัง -คุง ฯลฯ) หลังชื่อของคุณเอง เพราะนี่ถือว่าเป็นการเย่อยิ่งและหยาบคาย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 16 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 35,754 ครั้ง
หมวดหมู่: ภาษา
มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,754 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา