วิธีการ เพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

โปรเจสเตอโรนเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการบริโภคคลอเรสเตอรอล[1] ซึ่งโปรเจสเตอโรนในระดับปกติจะช่วยรักษาความสมดุลในฮอร์โมนอย่างมีสุขภาพ และมันมีบทบาทสำคัญในการผลิตสารเคมีชนิดอื่นที่ร่างกายต้องการ เช่น คอร์ติซอล และฮอร์โมนเพศชายอย่างเทสโทสเทอโรน ส่วนโปรเจสเตอโรนในระดับต่ำกว่าปกติจะทำให้เกิดปัญหากับรอบเดือน การตั้งครรภ์ และอาการทั่วไปเกี่ยวกับวัยหมดระดู และยังสามารถรักษาด้วยการจ่ายยาและการเปลี่ยนวิถีชีวิตได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ใช้โปรเจสเตอโรนช่วยในการตั้งครรภ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุยกับนรีแพทย์เกี่ยวกับการเพิ่มโปรเจสเตอโรน....
    คุยกับนรีแพทย์เกี่ยวกับการเพิ่มโปรเจสเตอโรน. ผู้หญิงที่เพิ่งแท้งอีกรอบหรือแท้งอย่างไม่มีสาเหตุ จะสามารถรักษาได้ด้วยโปรเจสเตอโรน รักษาครรภ์ครั้งต่อไปได้[2]
    • หยุดการแท้งล่วงหน้า โดยการขาดโปรเจสเตอโรนนั้นไม่ใช่สาเหตุในการแท้งทุกอย่าง แต่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์บอกว่าต้องมีโปรเจสเตอโรนที่เพียงพอในการสนับสนุนการตั้งครรภ์ระยะแรก[3]
    • ระดับโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติระหว่างรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ ซึ่งจะปล่อยให้ผนังมดลูกหนาขึ้นเพื่อรองรับการตั้งครรภ์ แล้วเรียกว่า ระยะหลังไข่ตก (ลูเตียล) [4]
    • เมื่อปล่อยให้ไข่ปฏิสนธิแล้ว มดลูกจะเตรียมปกป้องไข่เหมือนตอนที่มันเล็กจนโต โดยหลังจาก 2 – 3 อาทิตย์แรก รกจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งมันจะผลิตฮอร์โมนแลสารอาหารเพิ่มเติมที่ต้องการ[5]
    • ผู้หญิงบางคนมีโปรเจสเตอโรนในระดับต่ำกว่าปกติ โดยงานวิจัยแนะนำว่าระดับที่ต่ำใน 2 – 3 อาทิตย์แรกของการตั้งครรภ์จะทำให้เยื่อบุมดลูกไม่พอสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งทำเกิดการแท้งได้ แต่ก็ยังมีหลักฐานอ้างอิงไม่เพียงพอ[6]
    • โปรเจสเตอโรนในระดับที่ไม่เพียงพอนั้นต้องการการสนับสนุนในระยะแรกของการตั้งครรภ์ และในบางครั้งก็ถูกเรียกว่า เป็นความบกพร่องของระยะลูเทียล[7]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ที่เหน็บช่องคลอด.
    โดยการใช้มันจะช่วยหยุดการแท้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วย[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินอาหารเสริมโปรเจสเตอโรนระหว่างการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรือ ART....
    กินอาหารเสริมโปรเจสเตอโรนระหว่างการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรือ ART. โดยมันจะช่วยทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยการเอาไข่ออกจากผู้หญิง แล้วผสมมันกับสเปิร์มในห้องทดลองที่จัดไว้ แล้วนำกลับเข้าไปในร่างกายผู้หญิงคนเดิมหรือของผู้หญิงคนอื่น[11]
    • มันมีหลายวิธีที่จะช่วยคู่รักในการตั้งครรภ์ โดย ART เป็นวิธีเดียวเท่านั้น ซึ่งผู้หญิงที่เข้าร่วมการทำ ART นั้นต้องมีการเสริมฮอร์โมน เช่น โปรเจสเตอโรน เพื่อช่วยให้ร่างกายผลิตสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อรักษาครรภ์ไว้[12]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้การฉีดยาหรือจัดการทางช่องคลอดโปรเจสเตอโรน....
    ใช้การฉีดยาหรือจัดการทางช่องคลอดโปรเจสเตอโรน. โดยไม่ว่าจะเป็นการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือผลิตภัณฑ์เหน็บที่มีประสิทธิภาพในการตั้งระดับที่สูงขึ้นโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นที่ต้องการในระหว่างการทำ ART[13]
    • การฉีดโปรเจสเตอโรนนั้นใช้บ่อย แต่ก็มีความเสี่ยงที่เพิ่มความซับซ้อนขึ้น เพราะโปรเจสเตอโรนซึมซับได้เร็ว และเปลี่ยนเป็นสารเคมีอื่น[14]
    • การเปลี่ยนระบบการทำคลอดโดยการฉีดยา ซึ่งโปรเจนเตอโรนที่เคลื่อนไหวสามารถคงอยู่ในรูปแบบของสารเคมีที่ต้องการตราบเท่าที่เป็นไปได้ โดยอาจรวมถึงการอยู่ในรูปแบบของของเหลว หรือพาหนะ ย2าที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้น้ำมัน เช่น น้ำมันถั่วลิสง แต่ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ถั่วลิสง[15]
    • ความซับซ้อนที่เป็นไปได้ในการฉีดโปรเจสเตอโรนก็คือ การแพ้ส่วนประกอบที่ไม่เคลื่อนไหว ฝี และเจ็บบริเวณที่ฉีด และเลือดไหลเข้าไปเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อโดยไม่เป็นที่ต้องการ[16]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 จัดการโปรเจสเตอโรนโดยการใช้ผลิตภัณฑ์เจลทาช่องคลอด....
    จัดการโปรเจสเตอโรนโดยการใช้ผลิตภัณฑ์เจลทาช่องคลอด. โดยมันจะผลิตโปรเจสเตอโรนในช่องคลอดในระดับต่ำ แต่จะมีระดับสูงกว่าในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลัก[17]
    • ผลิตภัณฑ์นี้ออกแบบมาเพื่อช่วยขนถ่ายโปรเจสเตอโรน และมีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงที่ใช้ ART ซึ่งผลิตภัณฑ์เจลโปรเจสเตอโรนถูกวางจำหน่ายภายใต้ยี่ห้อ Crinone®[18]
    • Crinone® มีทั้งแบบที่มีโปรเจสเตอโรน 4% และ 8% โดยแนะนำให้ใช้ 8% สำหรับผู้หญิงที่ทำ ART[19]
    • หลีกเลี่ยงการใช้ Crinone® ในบางสถานการณ์ คือ ไม่ควรใช้ถ้าแพ้ผลิตภัณฑ์โปรเจสเตอโรนทุกชนิด มีเลือดออกในช่องคลอดอย่างผิดปกติ เคยมีปัญหาเกี่ยวกับตับ มะเร็งเต้านมหรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายใน หรือมีการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งถ้าเพิ่งแท้ง ก็ให้ปรึกษาแพทย์ก่อน[20]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 หาหมอทันทีเมื่อมีผลข้างเคียงร้ายแรง.
    ถ้ามีสัญญาณของอาการแพ้ใดๆ คือ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้า ปาก หรือคอบวมให้รีบรับการรักษาโดยด่วน[21]
    • การดูแลฉุกเฉินทางการแพทย์ก็ยังต้องระวัง ถ้าเคยปวดน่องหรือช่องอก ปวดหัวในทันทีทันใด มีอาการเหน็บชาหรืออ่อนแรง โดยเฉพาะเมื่อสังเกตว่ามันเป็นแค่ด้านเดียวของร่างกาย ลมหายใจสั้นๆ หายใจลำบาก หรือไอเป็นเลือด แต่การดูแลฉุกเฉินก็ยังเป็นที่ต้องการเกี่ยวกับการมองเห็น หรือการพูด รู้สึกมึนงง เป็นลม หรือปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว การมองเห็นหรือคำพูดที่เปลี่ยนไป จุกเสียดที่หน้าอก ความเจ็บที่แผ่ไปทั่วแขนหรือไหล่ ความอ่อนแรงหรือเหน็บชาที่แขนหรือขา ปวดหรือบวมที่ขา วิงเวียน อาเจียน ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร มีไข้ต่ำ หรือปัสสาวะที่เปลี่ยนไป[22]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

รักษาปัญหารอบเดือน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รักษาภาวะขาดประจำเดือน.
    มันคือศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เมื่อผู้หญิงไม่มีรอบเดือน ในช่วงที่ควรมี[23]
    • สามารถแบ่งเป็นได้ทั้งตอนต้นและตอนปลาย โดยในตอนต้นจะเป็นการขาดช่วงในเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 15 ถึง 16 ปี ที่รอบเดือนหายไประหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นปกติ[24]
    • โดยจะถูกวินิจฉัยตอนปลายเมื่อผู้หญิงที่มีรอบเดือนเป็นปกติ แต่หายไปในช่วงที่ควรมี[25]
    • สาเหตุของตอนปลายในหลายๆ กรณีจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน น้ำหนักลดมากเกินไป การกินที่ผิดปกติ การออกกำลังกายที่มากเกินไป ความเครียด และการตั้งครรภ์[26]
    • สาเหตุอื่นของตอนปลายอาจรวมถึงการกินยารักษาโรคอื่นๆ เช่น ยารักษาโรคจิตเภท หรือเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็ง รวมทั้งอาการอื่นๆ คือ ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ และเนื้องอกที่พบบริเวณต่อมใต้สมอง[27]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คุยกับหมอเพื่อตัดสินใจถึงสาเหตุของการขาดรอบเดือน....
    คุยกับหมอเพื่อตัดสินใจถึงสาเหตุของการขาดรอบเดือน. โดยหมอจะทำการทดลอง และหาว่ามีอาการอะไรเป็นสาเหตุ
    • หมออาจจะสั่งอาหารเสริมโปรเจสเตอโรนในบางกรณี เพื่อแก้ปัญหา เพราะมันจะช่วยให้เลือดที่เหมือนกับประจำเดือนออกมา แต่การขาดรอบเดือน ก็ไม่จำเป็นต้องขาดโปรเจสเตอโรนเสมอไป[28]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้อาหารเสริมโปรเจสเตอโรนตามคำแนะนำ.
    การรักษาโดยยารับประทาน การฉีดโปรเจสเตอโรนใน หรือเจลทาช่องคลอดระยะสั้น อาจถูกจ่ายให้เพื่อปรับฮอร์โมนให้สมดุล และทำให้รอบเดือนกลับมาได้[29]
    • ถ้ายังมีปัญหากับรอบเดือนที่ผิดปกติ หมออาจจะจ่ายยาคุมที่มีโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยทำให้รอบเดือนกลับมาเป็นปกติได้ใหม่ โดยเขาจะดูความก้าวหน้าเพื่อตัดสินใจเลือกเวลาที่ดีที่สุดในการหยุดยา[30]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที เมื่อมีอาการแพ้....
    หาความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที เมื่อมีอาการแพ้. ถ้ามีสัญญาณของอาการแพ้ใดๆ คือ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้า ปาก หรือคอบวมให้รีบรับการรักษาโดยด่วน[31]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ถามหมอเกี่ยวกับการรักษาฮอร์โมนของภาวะหมดระดู....
    ถามหมอเกี่ยวกับการรักษาฮอร์โมนของภาวะหมดระดู. โดยการใช้รักษาด้วยการกินฮอร์โมนทดแทนที่มีปริมาณของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอเจน หรืออย่างอื่นที่ใกล้เคียงในปริมาณที่เล็กน้อย ถูกใช้เป็นยารักษาฮอร์โมนของภาวะหมดระดูแทนแล้ว[32]
    • ใช้โปรเจสเตอโรนรักษาอาการ ภาวะก่อนหมดประจําเดือนที่มีประจําเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือภาวะหมดระดู โดยผู้หญิงบางคนเริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสอดคล้องกับภาวะหมดระดู แม้กระทั่งก่อนจะหมดการมีรอบเดือน ซึ่งนี่เรียกว่า “ภาวะก่อนหมดประจําเดือนที่มีประจําเดือนมาไม่สม่ำเสมอ”[33]
    • ผลิตภัณฑ์โปรเจสเตอโรนสามารถใช้เพื่อจัดการกับอาการ ภาวะก่อนหมดประจําเดือนที่มีประจําเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ในผู้หญิงบางคนได้[34]
    • จากงานวิจัยได้มีสนับสนุนให้ใช้อาหารเสริมโปรเจสเตอโรนในระหว่างนี้ เพราะระดับฮอร์โมนธรรมชาติของเพศหญิงจะเริ่มเปลี่ยน[35]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ผลิตภัณฑ์โปรเจสเตอโรนตามคำแนะนำ.
    โดยมีหลากหลายแบบ คือ ยาเม็ด เจลทาและที่เหน็บช่องคลอด การฉีดยา และครีมทา ซึ่งการจ่ายครีมทานั้น เพื่อช่วยรักษาอาการของภาวะก่อนหมดประจําเดือนที่มีประจําเดือนมาไม่สม่ำเสมอ[36]
    • ถูครีมลงบนฝ่ามือ ผ่าเท้า หรือบริเวณอื่นที่ผิวนุ่มในปริมาณเล็กน้อย วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง[37]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ผลิตภัณฑ์ผสมที่มีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน....
    ใช้ผลิตภัณฑ์ผสมที่มีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน. อาการที่เกี่ยวกับภาวะก่อนหมดประจําเดือนที่มีประจําเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และภาวะหมดระดู ซึ่งจะทำลายกิจวัตรประจำวันปกติ และอาจร้ายแรงถึงขั้นต้องรักษา[38]
    • พูดกับหมอเพื่อตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนี้ จะช่วยเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรนตามความต้องการของร่างกาย และยังรักษาสมดุลทั้งสองฮอร์โมน
    • ผู้หญิงที่มดลูกต้องการทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เพื่อรักษาอาการภาวะหมดระดูด้วยฮอร์โมน ส่วนผู้หญิงไม่มีมดลูกจะไม่ต้องการโปรเจสเตอโรนเพื่อรักษาอาการนี้ และควรใช้แค่เอสโตรเจนเท่านั้น โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ผสมทั้งที่ไม่มีมดลูก อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดในสมอง[39]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รู้จักอาการโปรเจสเตอโรนต่ำในผู้ชาย.
    ผู้ชายก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนตามธรรมชาติด้วย[40]
    • โปรเจสเตอโรนจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตเทสโทสเทอโรนในผู้ชาย[41]
    • เมื่อผู้ชายแก่ตัว โปรเจสเตอโรนและเทสโทสเทอโรนจะลดระดับลง และทำให้ฮอร์โมนที่จะเปลี่ยนไปสร้างเอสโตรเจนให้เป็นฮอร์โมนเด่นมีความสมดุล[42]
    • อาการที่พบในผู้ชายเมื่อระดับโปรเจสเตอโรนลดลง คือ ความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผมร่วง น้ำหนักขึ้น ความรู้สึกเมื่อยล้า และความหดหู่[43]
    • ปรึกษาหมอถ้าเป็นผู้ชายและไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แล้วหมอก็จะทดสอบเพื่อตัดสินใจว่าระดับฮอร์โมนที่แตกต่าง เพื่อดูว่าจะรักษาแบบไหนดีสุด[44]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หาหมอทันทีเมื่อมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง.
    ถ้าหมอจ่ายยาที่มีทั้งโปรเจสเตอโรน หรือมีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ให้หาหมอทันที ถ้าพบสัญญาณของการแพ้ โดยสัญญาณก็มี ลมพิษ หายใจลำบาก หน้า ปาก หรือคอบวม[45]
    • การรักษาฉุกเฉินก็ต้องระวัง ถ้าเคยปวดน่องหรือช่องอก ปวดหัวทันที มีอาการเหน็บชาหรืออ่อนแรง โดยเฉพาะเมื่อสังเกตว่ามันเป็นแค่ด้านเดียวของร่างกาย ลมหายใจสั้นๆ หายใจลำบาก หรือไอเป็นเลือด แต่การดูแลฉุกเฉินก็ยังเป็นที่ต้องการเกี่ยวกับการมองเห็น หรือการพูด รู้สึกมึนงง เป็นลม หรือปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว การมองเห็นหรือคำพูดที่เปลี่ยนไป จุกเสียดที่หน้าอก ความเจ็บที่แผ่ไปทั่วแขนหรือไหล่ ความอ่อนแรงหรือเหน็บชาที่แขนหรือขา ปวดหรือบวมที่ขา วิงเวียน อาเจียน ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร มีไข้ต่ำ หรือปัสสาวะที่เปลี่ยนไป[46]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

สร้างการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและกินอาหารเสริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรึกษาหมอก่อนทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ .
    โดยหมอจะช่วยแนะนำ เฉพาะเจาะจงกับร่างกายและสถานการณ์ที่มี ซึ่งจะช่วยให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน[47]
    • หมอเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง หรือปัญหาที่มี โดยพูดคุยเรื่องการกินอาหารเสริมและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตกับหมอ ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินวิตามินและอาหารเสริม.
    มีการพบว่าวิตามินซี วิตามินอี แอล - อาร์จินีน วิตามินบี 6 ซีลีเนียม และเบต้าแคโรทีนช่วยเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน[48]
    • แม้สารอาหารจากแหล่งธรรมชาติที่เป็นส่วนหนึ่งของการกินที่มีสุขภาพดี แต่วิตามินหรืออาหารเสริมที่พบในแหล่งธรรมชาติไม่พอ ที่จะสร้างความแตกต่างในการเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน ดังนั้นให้ลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยโรงงาน มีวิตามินและอาหารเสริมเข้มข้นสูง[49]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คุยกับหมอหรือเภสัชกรเพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ....
    คุยกับหมอหรือเภสัชกรเพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ. จากงานวิจัยพบว่าการกินตามปริมาณเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน:
    • กินวิตามินซีวันละ 750 มิลลิกรัม (เพิ่มโปรเจสเตอโรนได้มากถึง 77%)[50]
    • กินวิตามินอีวันละ 600 มิลลิกรัม (เพิ่มโปรเจสเตอโรน 67% ในคนไข้)[51]
    • กินแอล-อาร์จินีนวันละ 6 กรัม (เพิ่มโปรเจสเตอโรน 77% ในคนไข้)[52]
    • กินวิตามินบี 6 วันละ 200 ถึง 800 มิลลิกรัม (ลดระดับเลือดของเอสโตรเจนและทำให้ความเข้มข้นของโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น)[53]
    • เพิ่มซีลีเนียมไปในวิตามินที่กินประจำวัน (พบว่าการกินซีลีเนียมเท่าใดก็ตามจะช่วยเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรนได้)[54]
    • กินเบต้าแคโรทีนเพิ่มขึ้น (จากการวิจัยในสัตว์พบว่า มีการเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรนและการสืบพันธุ์)[55]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ.
    การลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ กินโปรตีนสูงและคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำ ลดการกินไขมันอิ่มตัว และเพิ่มการกินไขมันไม่อิ่มตัว นั้นเป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับการปรับระดับโปรเจสเตอโรนให้ดีขึ้น[56]
    • งานวิจัยในผู้หญิงที่น้ำหนักเกินพบว่าการลดน้ำหนักเล็กน้อยแค่ 5% ของน้ำหนักร่างกายก็เพิ่มระดับโปรเจสเตอโรนได้แล้ว[57]
    • ในการศึกษาจากสัตว์ การควบคุมปริมาณอาหารระหว่างการตั้งครรภ์แรกๆ จะทำให้ฮอร์โมนมีระดับที่สูงขึ้นเพื่อช่วยในการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ห้ามกินมากเกินไป[58]
    • การเปลี่ยนการกินที่มีการกินโปรตีนสูง และคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้น พบว่าเกี่ยวกับการเพิ่มของระดับโปรเจสเตอโรนที่ดีในผู้หญิง[59]
    • งานวิจัยจากสัตว์แสดงว่ามีการเพิ่มโปรเจสเตอโรนอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีการกินโอเมก้า 3 และ 6 ที่มีในเมล็ดแฟล็กซ์ที่มากขึ้น และร่วมกับการกินอาหารมีไขมันอิ่มตัวต่ำด้วย[60]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินผลิตภัณฑ์จากนมที่มากขึ้น.
    แม้จะมีโปรเจสเตอโรนอยู่น้อย แต่จากงานวิจัยพบว่าหากรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูงวันละ 3 หน่วยบริโภค จะเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด[61]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 หยุดสูบบุหรี่.
    นิโคตินที่พบในบุหรี่จะขัดขวางการผลิตฮอร์โมนโดยธรรมชาติของรังไข่ ซึ่งจะก่อกวนการทำงานระบบต่างๆ ด้วย[62]
    • การสูบบุหรี่ยังเป็นความเสี่ยงร้ายแรงด้วย และอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต รวมทั้งจะให้ผลลัพธ์ที่แย่เมื่อรวมกับผลิตภัณฑ์ที่มีเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรน[63]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ลดความเครียด.
    ความเครียดนั้นถูกจัดเป็นสิ่งที่ซับซ้อน พอกับการรักษาสมดุลของฮอร์โมนให้มีสุขภาพดีเลยทีเดียว[64]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แม้บางแหล่งข้อมูลจะบอกว่าอาหารเสริมจากแบลคโคฮอส จะช่วยเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน แต่งานวิจัยบอกว่ามันมีผลหลากหลาย ซึ่งอาจจะแย่ก็ได้ โดยวิทยาลัยอเมริกันสูติแพทย์และขอน (ACOG) ไม่แนะนำให้ใช้มัน[68]
โฆษณา

คำเตือน

  • การตรวจระดับฮอร์โมนนั้นเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ เพราะระดับฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงอย่างน่าตกใจได้ระหว่างวัน ดังนั้นให้ระวังการจ่ายยาของหมอที่ให้กินฮอร์โมนทดแทนจากการดูระดับฮอร์โมน โดยการวิจัยทางคลินิกที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัย และรักษาตามอาการ ไม่ใช่ตั้งขึ้นเอง
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4476333/
  2. http://www.cdc.gov/art/whatis.html
  3. http://www.cdc.gov/art/whatis.html
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2695240/
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2695240/
  6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2695240/
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2695240/
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2695240/
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2695240/
  10. http://pi.actavis.com/data_stream.asp?product_group=1690&p=pi&language=E
  11. http://pi.actavis.com/data_stream.asp?product_group=1690&p=pi&language=E
  12. http://www.rxlist.com/endometrin-drug.htm
  13. http://pi.actavis.com/data_stream.asp?product_group=1690&p=pi&language=E
  14. https://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/menstruation.html
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001218.htm
  16. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001219.htm
  17. https://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/menstruation.html
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001219.htm
  19. https://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/menstruation.html
  20. http://www.drugs.com/search.php?searchterm=progesterone
  21. http://www.drugs.com/search.php?searchterm=progesterone
  22. http://www.rxlist.com/endometrin-drug.htm
  23. http://www.drugs.com/search.php?searchterm=progesterone
  24. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3987489/
  25. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3987489/
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3987489/
  27. http://www.drugs.com/search.php?searchterm=progesterone
  28. http://www.drugs.com/search.php?searchterm=progesterone
  29. http://med.monash.edu.au/sphpm/womenshealth/docs/postmenopausal-hormone-therapy.pdf
  30. https://www.nhlbi.nih.gov/news/press-releases/2006/whi-updated-analysis-no-increased-risk-of-breast-cancer-with-estrogen-alone
  31. https://www.bodylogicmd.com/hormones-for-men/progesterone
  32. https://www.bodylogicmd.com/hormones-for-men/progesterone
  33. https://www.bodylogicmd.com/hormones-for-men/progesterone
  34. https://www.bodylogicmd.com/hormones-for-men/progesterone
  35. https://www.bodylogicmd.com/hormones-for-men/progesterone
  36. http://www.rxlist.com/endometrin-drug.htm
  37. http://pi.actavis.com/data_stream.asp?product_group=1690&p=pi&language=E
  38. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  39. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  40. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  41. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  42. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  43. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  44. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  45. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  46. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  47. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  48. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  49. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18700853
  50. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15708782
  51. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18762721
  52. https://sites.google.com/site/miscarriageresearch/hormones-and-miscarriage/progesterone-research/how-to-increase-progesterone
  53. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9265557
  54. http://www.myowens.com/owenshealthcare/smoking-birth-control
  55. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3079864/
  56. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/stress-your-health.html#h
  57. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/stress-your-health.html#h
  58. http://www.womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/stress-your-health.html#h
  59. https://umm.edu/health/medical/altmed/herb/black-cohosh

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Lacy Windham, MD
ร่วมเขียน โดย:
สูตินรีแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Lacy Windham, MD. ดร.วินดั้มเป็นสูตินรีแพทย์ที่มีใบรับรองในเทนเนสซี่ เธอผ่านการฝึกงานจากคณะแพทยศาสตร์อีสเทิร์นเวอร์จิเนียในปี 2010 ที่ซึ่งเธอได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 44,610 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 44,610 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา