วิธีการ เตรียมตัวก่อนเข้าเอ็กซ์เรย์

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เอ็กซ์เรย์ (หรือเรียกว่า การถ่ายภาพรังสี) เป็นการทดสอบชนิดไม่ก่อความเจ็บปวดเพื่อใช้ตรวจดูภายในร่างกายและความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่ออ่อนกับวัตถุที่มีความหนาแน่น (เช่น กระดูก) เอ็กซ์เรย์นั้นถูกใช้โดยทั่วไปสำหรับการระบุตำแหน่งอาการหักหรือติดเชื้อในกระดูกและตรวจหาเนื้องอกทั้งชนิดที่ไม่เป็นอันตรายและชนิดที่เป็นมะเร็ง โรคไขข้อ เส้นเลือดตีบหรืออุดตัน หรือกระทั่งฟันผุ มันยังสามารถนำมาใช้วินิจฉัยปัญหาระบบทางเดินอาหารหรือการกลืนวัตถุแปลกปลอม ถ้าคุณทราบล่วงหน้าว่าจะต้องเจออะไรและต้องเตรียมตัวอย่างไร คุณจะทำให้กระบวนการฉายรังสีเป็นไปโดยราบรื่นและตัวคุณเองก็จะลดความกังวลใจลง[1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมตัวสำหรับการเอ็กซ์เรย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉายรังสี.
    มันเป็นจำเป็นที่คุณต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับการเอ็กซ์เรย์ โดยเฉพาะถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกน้อยหรือกำลังหรือคิดว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณอาจถูกรังสีปริมาณน้อยนิดแต่อาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ได้[2]
    • ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะราย แต่การตรวจสอบภาพแบบอื่นอาจถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับรังสีได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สอบถามก่อนว่าคุณจำเป็นต้องอดอาหารหรือไม่.
    แพทย์อาจสั่งให้คุณอดอาหารก่อนเข้ารับการเอ็กซ์เรย์ ขึ้นอยู่กับชนิดของการเอ็กซ์เรย์ที่คุณต้องทำ มันมักจะจำเป็นโดยเฉพาะการเอ็กซ์เรย์ระบบทางเดินอาหาร การอดอาหารปกติจะห้ามไม่ให้คุณดื่มกินก่อนเข้ารับการเอ็กซ์เรย์ 8 ถึง 12 ชั่วโมง
    • ถ้าคุณอยู่ระหว่างการต้องใช้ยาและจำต้องอดอาหารก่อนเข้าเอ็กซ์เรย์ ให้จิบน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรับประทานยา [3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่ใส่สบาย.
    แต่งตัวให้รู้สึกสบายกายสำหรับการเข้าเอ็กซ์เรย์เพราะคุณอาจต้องถอดเสื้อผ้าก่อนการตรวจและ/หรือต้องนั่งรอเป็นระยะเวลานาน[4]
    • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อจะถอดได้ง่าย อย่างเช่นเชิ้ตติดกระดุมและกระทั่งบราที่มีสลักถอดด้านหน้าสำหรับคุณผู้หญิง
    • ถ้าต้องรับการเอ็กซ์เรย์หน้าอก เป็นเรื่องปกติที่คุณต้องถอดเสื้อส่วนบนออก ในกรณีนี้ คุณจะได้เสื้อคลุมยาวมาสวมระหว่างการเอ็กซ์เรย์
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถอดบรรดาเครื่องประดับ กระจก และโลหะทั้งหลายออก....
    ถอดบรรดาเครื่องประดับ กระจก และโลหะทั้งหลายออก. ทางที่ดีทิ้งเครื่องประดับไว้ที่บ้านเพราะยังไงก็ต้องมาถอดออกอยู่ดี ถ้าคุณสวมแว่น ก็อาจจะต้องถอดมันออกเช่นกัน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 มาถึงล่วงหน้าก่อนเวลานัด.
    เผื่อคุณอาจจำเป็นต้องกรอกเอกสารเพิ่มเติม จึงควรมาถึงก่อนเวลานัด และคุณอาจจะถูกขอให้ฉีดสารทึบรังสีก่อนเอ็กซ์เรย์
    • อย่าลืมนำเอกสารที่ได้รับการลงชื่อจากแพทย์ (ถ้าคุณมี) เวลานำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ แบบฟอร์มนี้จะบอกเขาว่าต้องเอ็กซ์เรย์ส่วนใดของร่างกายและต้องเอ็กซ์เรย์แบบไหน
    • อย่าลืมบัตรประกันชีวิตหรือบัตรประกันสังคมของคุณ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับเอ็กซ์เรย์ช่องท้อง....
    ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับเอ็กซ์เรย์ช่องท้อง. คุณไม่สามารถออกมานอกห้องถ่ายรังสีหลังจากที่เริ่มกระบวนการแล้ว ให้จัดการตนเองจนสบายตัวก่อนเอ็กซ์เรย์หรืออย่าดื่มน้ำมากเกินไปในตอนเช้าก่อนเข้ารับเอ็กซ์เรย์
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เตรียมตัวที่จะดื่มน้ำสารทึบรังสี (ตามความเหมาะสม)....
    เตรียมตัวที่จะดื่มน้ำสารทึบรังสี (ตามความเหมาะสม). การเอ็กซ์เรย์บางครั้งจำเป็นต้องให้คุณดื่มน้ำสารทึบรังสีเพื่อช่วยเน้นลักษณะสัณฐานบริเวณจำเพาะของร่างกายบนภาพเอ็กซ์เรย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของการเอ็กซ์เรย์ที่คุณอาจถูกร้องขอให้:[5]
    • ดื่มสารละลายแบเรียมหรือไอโอดีน
    • กลืนเม็ดยา
    • ฉีดสี
  8. How.com.vn ไท: Step 8 พึงตระหนักว่าคุณต้องกลั้นลมหายใจสักไม่กี่วินาทีระหว่างเอ็กซ์เรย์....
    พึงตระหนักว่าคุณต้องกลั้นลมหายใจสักไม่กี่วินาทีระหว่างเอ็กซ์เรย์. การกลั้นลมหายใจจะช่วยให้หัวใจและปอดปรากฎได้อย่างเด่นชัดขึ้นบนฟิล์มเอ็กซ์เรย์ คุณอาจจำต้องอยู่นิ่งๆ และ/หรือขยับท่วงท่า ขึ้นอยู่กับชนิดของการเอ็กซ์เรย์[6]
    • เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์จะจัดท่าตำแหน่งร่างกายคุณระหว่างเครื่องฉายรังสีกับแผ่นฟิล์มที่ภาพจะไปปรากฎ
    • บางครั้งอาจใช้กระสอบทรายหรือหมอนมาพยุงให้คุณค้างอยู่ในท่าที่ต้องการด้วยก็ได้
    • คุณอาจได้รับการร้องขอให้ขยับร่างกายเพื่อถ่ายภาพทั้งด้านหน้าและด้านข้าง
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ระหว่างการฉายรังสีจะไม่มีความรู้สึกใดเกิดขึ้น....
    ระหว่างการฉายรังสีจะไม่มีความรู้สึกใดเกิดขึ้น. เอ็กซ์เรย์นั้นเป็นกระบวนการที่ไม่เกิดอาการเจ็บปวดในขณะที่ลำแสงเอ็กซ์เรย์ผ่านทะลุร่างกายของเราไปฉายภาพบนแผ่นฟิล์ม กระบวนการนี้จะใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีสำหรับการเอ็กซ์เรย์กระดูก แต่อาจใช้เวลานานขึ้นหากต้องพึ่งการใช้สารทึบแสงเข้าช่วย[7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เข้าใจเอ็กซ์เรย์ประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้ว่าจะเกิดอะไรระหว่างการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก....
    รู้ว่าจะเกิดอะไรระหว่างการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก. การเอ็กซ์เรย์ทรวงอกนั้นเป็นกระบวนการเอ็กซ์เรย์ที่พบได้บ่อยที่สุดและใช้ในการถ่ายภาพหัวใจ ปอด ทางเดินหายใจ หลอดเลือด และกระดูกสันหลังกับซี่โครง มันถูกใช้ประกอบการวินิจฉัยปัญหาดังต่อไปนี้:[8]
    • ลมหายใจติดขัด ไอรุนแรงหรือไอเรื้อรัง และเกิดอาการปวดหน้าอกหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอกมา
    • มันยังใช้เพื่อวินิจฉัยหรือตรวจดูอาการอย่าง โรคปอดบวม หัวใจวาย หนองในช่องปอด มะเร็งปอด และน้ำท่วมปอดหรือถุงลมโป่งพอง
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไรล่วงหน้า แค่ทำตามขั้นตอนที่บอกไว้แล้วข้างบน
    • การเอ็กซ์เรย์ทรวงอกจะใช้เวลาราว 15 นาทีและมักต้องถ่ายภาพทรวงอกสองด้าน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ว่าจะเกิดอะไรระหว่างการเอ็กซ์เรย์กระดูก....
    รู้ว่าจะเกิดอะไรระหว่างการเอ็กซ์เรย์กระดูก. การเอ็กซ์เรย์กระดูกจะใช้เพื่อถ่ายภาพกระดูกในร่างกายเพื่อตรวจหาการหัก ข้อต่อหลุด อาการบาดเจ็บ อาการติดเชื้อ และการโตหรือการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอย่างผิดปกติ[9] ถ้าคุณมีอาการปวดจากการบาดเจ็บ ให้บอกแพทย์เพื่อจ่ายยาแก้ปวดก่อนทำการเอ็กซ์เรย์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์อาจต้องขยับกระดูกและข้อต่อเพื่อถ่ายภาพ
    • การเอ็กซ์เรย์กระดูกนั้นยังใช้เพื่อตรวจหามะเร็งกระดูกหรือเนื้องอกอื่นๆ หรือใช้ระบุตำแหน่งของวัตถุแปลกปลอมในเนื้อเยื่ออ่อนรอบๆ และ/หรือในกระดูก
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์กระดูก ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไรล่วงหน้า แค่ทำตามขั้นตอนที่บอกไว้แล้วข้างบน
    • การเอ็กซ์เรย์กระดูกมักกินเวลาราวห้าถึงสิบนาทีก็เสร็จ เวลาที่มีการเอ็กซ์เรย์กระดูก อาจมีการถ่ายภาพแขนขาข้างที่ไม่เป็นอะไรด้วยเพื่อนำไปเปรียบเทียบ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้ว่าคุณต้องรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal...
    รู้ว่าคุณต้องรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal (GI) tract). การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบนจะใช้ประกอบการวินิจฉัยอาการบาดเจ็บหรือปัญหาภายในหลอดอาหาร ท้องและลำไส้เล็ก[10] แพทย์อาจสั่งให้ทำเอ็กซ์เรย์ KUB ซึ่งเป็นการเอ็กซ์เรย์ช่องท้องแบบธรรมดาด้วย
    • กระบวนการเอ็กซ์เรย์ประเภทนี้ต้องใช้การเอ็กซ์เรย์พิเศษที่เรียกว่า ฟลูออโรสโคปี (fluoroscopy) ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพอวัยวะภายในกำลังทำงานได้[11]
    • เตรียมตัวรับสารทึบรังสีแบเรียมก่อนทำการเอ็กซ์เรย์
    • ในบางกรณี คุณอาจจำเป็นต้องรับผลึกผงฟูเพื่อทำให้ภาพเอ็กซ์เรย์มีความชัดยิ่งขึ้น
    • การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบนช่วยวินิจฉัยอาการอย่าง การกลืนอาหารลำบาก การปวดทรวงอกและช่องท้อง กรดไหลย้อน อาเจียนโดยหาคำอธิบายไม่ได้ อาหารไม่ย่อยขั้นรุนแรง และการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด[12]
    • มันยังใช้ตามหาร่องรอยสภาวะอย่าง แผลเปื่อย เนื้องอก ไส้เลื่อน ลำไส้อุดตัน และแผลอักเสบในช่องท้องได้[13]
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนบน คุณจำเป็นต้องอดอาหารเป็นเวลา แปดถึงสิบสองชั่วโมงการรับการเอ็กซ์เรย์
    • และพึงเตือนตัวเองให้ปัสสาวะก่อนทำการเอ็กซ์เรย์ถ้าเป็นไปได้
    • การเอ็กซ์เรย์ประเภทนี้ใช้เวลาราว 20 นาทีก็เสร็จ การฉายรังสีแบบนี้อาจทำให้คุณรู้สึกท้องเฟ้อและคุณอาจมีอาการท้องผูกหรืออุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาวจากสารทึบแสงเป็นเวลา 48 ถึง 72 ชั่วโมงหลังการเอ็กซ์เรย์[14]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รู้ว่าคุณต้องรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่าง....
    รู้ว่าคุณต้องรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่าง. การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างจะเป็นการตรวจลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง และอาจเป็นบางส่วนของลำไส้เล็ก การเอ็กซ์เรย์ประเภทนี้ก็ใช้วิธีฟลูออโรสโคปีและสารทึบรังสีแบเรียมเช่นเดียวกัน
    • การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างจะใช้เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างเช่น ท้องร่วงเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเลือดออกหรือมีอาการปวดในช่องท้อง
    • แพทย์สามารถใช้การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างตรวจหาเนื้องอกชนิดไม่อันตราย มะเร็ง โรคที่ทำให้ลำไส้อักเสบ โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือลำไส้ใหญ่อุดตัน
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่าง คุณจำเป็นต้องอดอาหารหลังเที่ยงคืนและจะดื่มได้เฉพาะของเหลวใสอย่างน้ำผลไม้ น้ำชา กาแฟดำ โคล่า หรือน้ำซุป
    • คุณอาจจำเป็นต้องรับยาถ่ายเพื่อล้างลำไส้ใหญ่ในคืนก่อนหน้าทำการเอ็กซ์เรย์
    • และพึงเตือนตัวเองให้ปัสสาวะก่อนทำการเอ็กซ์เรย์ถ้าเป็นไปได้
    • การเอ็กซ์เรย์กระเพาะอาหารส่วนล่างใช้เวลาราว 30-60 นาทีถึงจะเสร็จ คุณอาจรู้สึกมีแรงดันในช่องท้องหรือปวดท้องเล็กน้อย หลังการเอ็กซ์เรย์คุณอาจได้รับยาถ่ายเพื่อชำระสารทึบรังสีแบเรียมออกไปจากระบบย่อยอาหาร[15]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รู้รายละเอียดของการเอ็กซ์เรย์ข้อต่อ.
    การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อ (arthrography) เป็นการเอ็กซ์เรย์แบบพิเศษที่ใช้เพื่อวินิจฉัยสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อไขข้อ การถ่ายภาพแบบนี้มีอยู่สองประเภทด้วยกัน: ทางอ้อมกับทางตรง[16]
    • การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อทางอ้อมต้องใช้วัตถุที่มีความตัดตรงข้ามกันมาฉีดเข้าสู่กระแสเลือด
    • การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อทางตรงต้องใช้วัตถุที่มีความตัดตรงข้ามกันฉีดเข้าข้อโดยตรง
    • กระบวนการนี้ทำไปเพื่อตรวจหาอาการผิดปกติ อาการปวด หรืออาการติดขัดในบริเวณข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย
    • การถ่ายภาพรังสีจากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อ ยังอาจทำได้โดยใช้การสแกนภาพตัดขวางคอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT) scanning) หรือ การสร้างภาพจากการสั่นพ้องของคลื่นแม่เหล็ก (magnetic resonance imaging (MRI))
    • ถ้าแพทย์แนะนำว่าคุณควรรับการเอ็กซ์เรย์จากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อ ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไรล่วงหน้า แค่ทำตามขั้นตอนที่บอกไว้แล้วในส่วนแรก
    • ในบางกรณีคุณอาจจำเป็นต้องอดอาหาร แต่ก็เฉพาะถ้าคุณใช้ยากล่อมประสาท
    • การเอ็กซ์เรย์จากการฉีดสารทึบแสงเข้าข้อมักใช้เวลาราว 30 นาที คุณจะรู้สึกจั๊กจี้และอาจรู้สึกปวดแสบถ้าหากมีการใช้ยาชาเพื่อทำให้ข้อต่อบริเวณนั้นไร้ความรู้สึกชั่วขณะ
    • คุณยังอาจรู้สึกมีแรงดันหรือปวดตอนที่มีการฉีดสารทึบแสงเข้าไปตรงข้อต่อ[17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์เพื่อคำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้างก่อน ระหว่างและหลังการเอ็กซ์เรย์
  • พูดคุยกับกุมารแพทย์ถึงวิธีที่จะช่วยลูกคุณถ้าเขาต้องรับการเอ็กซ์เรย์ เป็นไปได้ว่าคุณอาจสามารถเข้าไปอยู่ในห้องถ่ายเอ็กซ์เรย์ร่วมกับลูกได้


โฆษณา

คำเตือน

  • เตือนแพทย์หรือเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรืออาจจะตั้งครรภ์
  • การเข้าเอ็กซ์เรย์บ่อยๆ ถือว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่แพทย์ส่วนมากจะแนะนำให้รออย่างน้อย 6 เดือนและบางครั้งอาจถึงหนึ่งปีเนื่องจากการได้รับรังสี เว้นเสียแต่ว่าคุณจำต้องรับการฉายรังสีเร็วกว่านั้น (อย่างที่คุณอาจต้องรับการ CXR ซ้ำ 1-2 สัปดาห์หลังจากเป็นโรคปอดบวม หรือตรวจฟิล์มซ้ำในกรณีกระดูกหัก) ถ้าคุณรู้สึกกังวลถึงความเสี่ยงการถูกรังสี ให้แน่ใจว่าได้แจ้งแพทย์ก่อนทำการเอ็กซ์เรย์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 35,392 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,392 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา