วิธีการ รักษาแผลถลอกบนหัวเข่า

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

แม้ว่าแผลถลอกที่หัวเข่าจะเป็นแผลถลอกเพียงเล็กน้อย แต่คุณควรทำตามขั้นตอนเพื่อให้แผลหายอย่างรวดเร็วและปลอดภัย[1] ด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายเพียงไม่กี่ชิ้น คุณก็สามารถทำความสะอาดและดูแลแผลได้ ทำตามขั้นตอนเหล่านี้อย่างถูกต้อง แล้วแผลของคุณจะกลับมาหายดีเป็นปกติอย่างรวดเร็ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตรวจดูบาดแผล.
    โดยส่วนใหญ่แล้วแผลถลอกที่หัวเข่ามักเป็นเพียงแผลเล็กๆ ซึ่งสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน แต่คุณควรตรวจดูบาดแผลให้แน่ใจเสียก่อน บาดแผลที่ไม่รุนแรงและสามารถรักษาเองได้โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์จะต้องไม่มีอาการดังต่อไปนี้[2]
    • ไม่ลึกเกินไปจนสามารถมองเห็นชั้นไขมัน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก
    • ไม่มีเลือดไหลพุ่งออกมา
    • ขอบแผลไม่ขรุขระหรือเปิดกว้าง
    • ให้ไปพบแพทย์หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้
    • หากคุณไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเป็นเวลาสิบปี ควรพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน
    • หากคุณไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักห้าปีและแผลนั้นเกิดจากของสกปรกหรือเป็นแผลเจาะลึก (แผลที่ลึกมากกว่าเปิดกว้าง) ควรพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผล.
    [3] เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อในระหว่างการทำแผล คุณควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่นก่อนทำแผล หากต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ ให้สวมถุงมือแบบใส่แล้วทิ้งก่อนเริ่มทำความสะอาดแผล
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ห้ามเลือด.
    หากบาดแผลมีเลือดออก ให้ห้ามเลือดโดยออกแรงกดที่บาดแผล
    • ล้างแผลด้วยน้ำและทำความสะอาดบริเวณบาดแผลหลังห้ามเลือดเสร็จเรียบร้อย หากมีเศษดินหรือสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันตรงบริเวณที่มีเลือดออก ให้ล้างออกด้วยน้ำก่อนทำการห้ามเลือด
    • ในการห้ามเลือด ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดทับบนแผลเพื่อซับเลือด ออกแรงกดไว้ประมาณ 2-3 นาที
    • เปลี่ยนผ้าหรือผ้าก๊อซหากเริ่มชุ่มเลือด
    • หากเลือดไม่หยุดไหลหลังผ่านไป 10 นาที ให้ไปพบแพทย์ เนื่องจากคุณอาจจำเป็นต้องเย็บแผล[4][5][6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ล้างและทำแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ล้างแผลด้วยน้ำ.
    ปล่อยให้น้ำเย็นไหลผ่าน หรือเทน้ำล้างแผล ควรล้างนานพอเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำไหลผ่านทั่วบริเวณแผล เพื่อให้เศษดินและ/หรือสิ่งสกปรกถูกล้างออกจนหมด[7][8]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำความสะอาดแผล.
    ทำความสะอาดรอบๆ บาดแผลด้วยสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียและน้ำเปล่า แต่พยายามอย่าให้สบู่โดนบาดแผล เนื่องจากอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้[9][10] การทำความสะอาดแผลจะช่วยขจัดเชื้อแบคทีเรียและต่อต้านการติดเชื้อ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กำจัดสิ่งสกปรก.
    หากพบสิ่งสกปรกในบาดแผล เช่น ดิน ทราย เศษต่างๆ เป็นต้น ให้ใช้แหนบค่อยๆ หนีบออกไปอย่างระมัดระวัง ก่อนใช้แหนบ ให้ล้างและฆ่าเชื้อโรคแหนบโดยเช็ดด้วยสำลีก้อนหรือผ้าก๊อซที่จุ่มไอโซโพพิลแอลกอฮอล์[14][15] ล้างแผลด้วยน้ำเย็นหลังจากกำจัดสิ่งสกปรกออกจนหมดแล้ว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ซับเบาๆ ให้แห้ง.
    หลังจากล้างและทำความสะอาดบาดแผลเสร็จแล้ว ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าขนหนูซับเบาๆ ให้แห้ง ไม่ควรถูแรงๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเจ็บปวด
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใช้ยาทาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแผลสกปรก....
    ใช้ยาทาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแผลสกปรก. การใช้ยาทาปฏิชีวนะสามารถป้องกันการติดเชื้อและช่วยรักษาแผลให้หายเป็นปกติ[17][18]
    • ยาทาปฏิชีวนะมีหลายประเภท ซึ่งมีสารออกฤทธิ์หรือส่วนประกอบที่แตกต่างกัน (เช่น แบซิทราซิน (bacitracin) นีโอมัยซิน (neomycin) และโพลีมัยซิน (polymyxin)) ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณที่เหมาะสมและวิธีการใช้ยา
    • ยาทาบางประเภทมีส่วนประกอบของยาระงับปวดอ่อนๆ สามารถผ่อนคลายอาการปวดได้
    • ยาทาบางประเภทอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ หากคุณสังเกตเห็นรอยแดง อาการคัน การบวม หรืออื่นๆ หลังการใช้ยาทา ให้หยุดใช้และลองใช้ชนิดอื่นที่มีส่วนประกอบแตกต่างกัน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปิดแผล.
    ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก การติดเชื้อ และการระคายเคืองจากเสื้อผ้า โดยสามารถใช้ผ้าพันแผลชนิดมีกาว หรือใช้ผ้าก๊อซปลอดเชื้อแล้วติดให้แน่นด้วยเทปหรือหนังยาง[19][20]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลแผลให้หายดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เปลี่ยนผ้าพันแผลเมื่อจำเป็น.
    เปลี่ยนผ้าพันแผลใหม่ทุกวัน หรือบ่อยครั้งตามต้องการหากผ้าพันแผลเริ่มแฉะหรือสกปรก[21][22] ควรล้างสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อนเริ่มเปลี่ยนผ้าพันแผลใหม่
    • มีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการดึงผ้าพันแผลออกอย่างรวดเร็วอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บน้อยกว่าการค่อยๆ ดึงออกมา ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสภาพบาดแผลของคุณ[23][24]
    • นำน้ำมันถูที่ขอบของผ้าพันแผล และทิ้งไว้สักครู่ เพื่อช่วยให้รู้สึกเจ็บน้อยลงเมื่อดึงผ้าพันแผลออก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทายาปฏิชีวนะซ้ำทุกวัน.
    [25] แม้ว่าการทายาจะไม่ได้ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น แต่ก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ ยาทาปฏิชีวนะยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของแผล ซึ่งจะป้องกันการตกสะเก็ดและการเกิดแผลเป็นที่อาจเกิดขึ้นหากแผลแห้ง โดยทั่วไปแล้วควรทายาวันละ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ควรดูคำแนะนำของความถี่ในการใช้ยาให้ดีก่อน[26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตดูกระบวนการรักษาแผล.
    การที่แผลจะหายดีเร็วหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ โภชนาการ การสูบบุหรี่ ระดับความเครียด การเจ็บป่วย เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น ยาทาปฏิชีวนะยังทำหน้าที่เพียงป้องกันการติดเชื้อ แต่ไม่ได้ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากบาดแผลของคุณหายช้าลงอย่างผิดปกติ ให้เข้ารับการตรวจจากแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการที่หนักขึ้น เช่น การเจ็บป่วย[27]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรึกษาแพทย์หากมีอาการแย่ลง.
    ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้[28][29][30]
    • ข้อต่อที่หัวเข่าเคลื่อนไหวผิดปกติ
    • รู้สึกชาที่หัวเข่า
    • บาดแผลมีเลือดไหลออกมาไม่หยุด
    • มีสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมในบาดแผลที่ไม่สามารถเอาออกได้
    • บาดแผลเริ่มมีการอักเสบหรือบวม
    • มีรอยแดงเป็นริ้วๆ กระจายออกมาจากบาดแผล
    • บาดแผลมีหนอง
    • มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำเปล่า
  • สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • แหนบ
  • ผ้าขนหนูหรือผ้าอื่นๆ ที่สะอาด
  • ยาทาปฏิชีวนะ
  • ผ้าพันแผล
  1. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  2. http://www.med.wisc.edu/news-events/hydrogen-peroxide-provides-clues-to-immunity-wound-healing-tumor-biology/32917
  3. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  4. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  5. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  6. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  7. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  8. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  9. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  10. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  11. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  12. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  13. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20028307
  15. https://www.mja.com.au/journal/2009/191/11/fast-versus-slow-bandaid-removal-randomised-trial
  16. http://studentaffairs.centralstate.edu/documents/Student_Self-Care_Guide_001.pdf
  17. http://www.healthcenter.vt.edu/assets/docs/WoundCare.pdf
  18. http://goaskalice.columbia.edu/how-do-wounds-cuts-scrapes-lacerations-heal
  19. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  20. http://health.williams.edu/files/StudentOnline/SkinInjuries_SO.html
  21. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-cuts/basics/art-20056711

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Ronn Callada, RN, MS
ร่วมเขียน โดย:
พยาบาลฝึกหัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Ronn Callada, RN, MS. รอนน์ คาลลาดาเป็นพยาบาลฝึกหัดในศูนย์มะเร็ง Memorial Sloan Kettering ในนิวยอร์ก เขาได้รับปริญญาพยาบาลศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสโตนนีบรูคในปี 2013 บทความนี้ถูกเข้าชม 57,803 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 57,803 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา