วิธีการ รักษาอาการเท้าและนิ้วเท้าชา

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อาการชาที่เท้าและนิ้วเท้ามาจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่จะรู้สึกยิบๆ ซ่าๆ ร่วมด้วย ส่วนใหญ่ที่เท้าชาก็เพราะเป็นเหน็บ แต่บางทีก็ร้ายแรงเพราะเป็นผลข้างเคียงจากเบาหวาน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis) คุณจึงควรใส่ใจดูแลตัวเองเวลาเกิดอาการเท้าและนิ้วเท้าชา เพราะนอกจากอาจลุกลามจนคุณเดินเหินไม่สะดวกแล้ว ยังอาจเป็นสัญญาณบอกโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาอาการชาทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ยืดเส้นยืดสาย.
    ส่วนใหญ่เวลาเท้าและนิ้วเท้าชามักเป็นเพราะคุณนั่งหรือยืนเฉยๆ นานเกินไป วิธีบรรเทาหรือขจัดอาการชาแบบนี้ ก็คือกระตุ้นให้เลือดกลับมาไหลเวียนสะดวกตามปกติ ก็คือต้องขยับเท้าของคุณนั่นเอง อาจจะลุกเดินไปมาแถวนั้นๆ หรือแค่นั่งแล้วขยับข้อเท้าก็ได้
    • นอกจากการบรรเทาอาการชาชั่วคราวแล้ว ถ้าคุณหมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ ก็ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการชาแต่แรกได้ ถ้าเป็นไปได้ให้พยายามยืดเส้นยืดสาย ขยับตัวไปมาเยอะๆ ในแต่ละวัน ถึงจะแค่เดินไปมาก็ยังดีกว่าอยู่เฉยๆ
    • แต่บางคนออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทกที่เท้าอย่างวิ่งจ็อกกิ้ง ก็อาจทำให้เท้าและนิ้วเท้าชาได้เหมือนกัน ถ้าเป็นแบบนั้นให้เปลี่ยนไปว่ายน้ำหรือปั่นจักรยานแทน
    • ต้องยืดเหยียด (stretch) ก่อนออกกำลังกาย สวมรองเท้าที่เหมาะสมกับชนิดกีฬา รวมถึงออกกำลังกายบนพื้นราบ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปลี่ยนท่านั่ง.
    ส่วนใหญ่คนเรามักเกิดอาการชาเวลานั่งนานๆ ในท่าที่กดทับเส้นประสาทที่ขาและ/หรือเท้า เพราะงั้นพยายามอย่านั่งขัดสมาธิหรือนั่งทับส้นเท้านานๆ [1]
    • ถ้าจำเป็นต้องนั่งนานจริงๆ ให้คอยยกเท้าสูงเป็นระยะ เลือดจะได้ไหลเวียนดี
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถอดเสื้อผ้าที่คับเกินไป.
    พวกเลกกิ้ง ถุงเท้า หรือเสื้อผ้าท่อนล่างอื่นๆ ที่คับเกินไป อาจทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณเท้าไม่สะดวก จนเกิดอาการชาขึ้นมา ให้ถอดหรือคลายเสื้อผ้าที่คับแน่น เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นวดฝ่าเท้า.
    นวดบริเวณที่ชาอย่างเบามือ เลือดลมจะได้ไหลเวียนดี แป๊บเดียวก็หายชา
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อุ่นเท้าด้วยถุงร้อนหรือแผ่นประคบร้อน.
    ถ้านั่งในแอร์จนเท้าเย็นนานๆ ก็อาจชาหรือรู้สึกซ่าๆ ได้ ให้หาอะไรมาห่มคลุมหรือประคบให้เท้าอุ่นๆ ซะ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใส่รองเท้าไซส์พอดี.
    รองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าอื่นๆ ที่คับแน่นบริเวณปลายเท้า ก็ทำเท้าชาได้เหมือนกัน โดยเฉพาะการใส่รองเท้าที่ไซส์เล็กเกินไปสำหรับคุณ ยิ่งใส่ไปออกกำลังกายยิ่งไม่ต้องพูดถึง ขอให้เปลี่ยนเป็นรองเท้าสวมสบาย ขนาดกำลังพอดี แผ่นรองเสริมในรองเท้าก็ช่วยให้สวมใส่สบายขึ้นถ้ารองเท้าหลวมเกินไป
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อาการหนักต้องหาหมอ.
    ส่วนใหญ่อาการเท้าและนิ้วเท้าชามักหายได้เอง ไม่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะถ้าสาเหตุนั้นเห็นๆ กันอยู่ อย่างนั่งคุดคู้ หรือใส่เสื้อผ้าหรือรองเท้าคับๆ แต่ถ้าคุณเกิดอาการชาบ่อยผิดปกติ หรือเป็นทีละนานๆ ไม่ยอมหาย (2 - 3 นาทีขึ้นไป) แบบนี้ต้องรีบหาหมอ เพื่อตรวจเช็คจนแน่ใจว่าไม่ได้เป็นสัญญาณของโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า[2]
    • ถ้าเท้าชาและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ หรือพูดติดขัด ขยับปากยาก ต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วน
    • การตั้งครรภ์ก็เป็นอีกสาเหตุที่พบบ่อยของอาการเท้าและนิ้วเท้าบวมจนชา. ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าอาการชาของคุณเกิดจากการตั้งครรภ์ ไม่มีโรคอื่นน่าเป็นห่วง ก็ให้บรรเทาอาการตามที่คุณหมอแนะนำ[3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาอาการชาจากเบาหวาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปตรวจร่างกาย.
    โรคเบาหวานเป็นอีกสาเหตุยอดนิยมที่ทำให้เกิดอาการชาเรื้อรังที่เท้าและนิ้วเท้า เพราะเลือดไหลเวียนไม่ดีจนเส้นประสาทที่เท้าเกิดความเสียหาย เพราะฉะนั้นอาการชาเลยกลายเป็นหนึ่งในอาการแรกๆ ของโรคเบาหวาน ถ้าคุณเกิดอาการชาบ่อยๆ แบบหาสาเหตุไม่ได้ ควรรีบไปหาหมอเพื่อตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ
    • สำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน อาการชาถือว่าร้ายแรงน่าเป็นห่วง เพราะจะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดที่เท้าเวลาโดนความร้อน อะไรบาด ทิ่ม หรือเวลาเท้าพอง
    • พอเลือดไหลเวียนไปที่เท้าไม่สะดวก ก็ทำให้แผลหายช้า เลยทำให้ยิ่งติดเชื้ออักเสบง่ายและรุนแรง เพราะฉะนั้นคนเป็นเบาหวานต้องดูแลเท้าดีเป็นพิเศษ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รักษาตัวเมื่อเป็นโรคเบาหวาน.
    ต้องคอยเช็คระดับกลูโคสในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการไหลเวียนเลือดและโรคเส้นประสาท (neuropathy) ซึ่ง 2 โรคนี้ก่อให้เกิดอาการชาในคนเป็นเบาหวานได้ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปรึกษาคุณหมอ
    • หมั่นเช็คระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด (blood glucose meter) และเช็คระดับ A1C (น้ำตาลสะสมในเลือด) 2 - 3 ครั้งต่อปี
    • ทั้งอาการเท้าชาและอาการอื่นๆ อาจทำให้คนเป็นโรคเบาหวานออกกำลังกายไม่สะดวก แต่ขอให้อย่าอยู่เฉย พยายามออกกำลังกายให้ได้ 30 นาทีต่อวัน ไม่ว่าจะไปฟิตเนสหรือเดินขึ้นลงบันไดอยู่ที่บ้านก็ตาม
    • กินอาหารที่มีประโยชน์และครบหมู่ เช่น ผักผลไม้ ธัญพืชโฮลเกรน ถั่ว ปลา และผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย อย่ากินอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งปรี๊ด เช่น คุกกี้ หรือน้ำอัดลม เป็นต้น
    • กินยารวมถึงฉีดอินซูลินให้ครบถ้วนตามที่คุณหมอสั่ง
    • เลิกบุหรี่ให้ได้ ถ้าจำเป็นก็ต้องเข้ารับการบำบัด เพราะการสูบบุหรี่ทำให้อาการของโรคเบาหวานทรุดหนักได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ลดน้ำหนัก...
    ลดน้ำหนัก. ถ้าอ้วน หรือเข้าขั้นเป็นโรคอ้วน จะทำให้เท้าและนิ้วเท้าชาได้ ถ้าลดเองลำบาก ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องวิธีการลดน้ำหนักอย่างเห็นผลแต่ดีต่อสุขภาพ ถ้าน้ำหนักตัวน้อยลง อาการชาและอื่นๆ น่าจะดีขึ้น
    • พอผอมลง ความดันก็ต่ำลงด้วย ยิ่งช่วยเรื่องอาการชา แต่ถ้าลดน้ำหนักแล้วความดันยังสูง คงต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อพิจารณาใช้ยา[4]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเท้าสำหรับคนเป็นเบาหวานโดยเฉพาะ....
    ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเท้าสำหรับคนเป็นเบาหวานโดยเฉพาะ. อย่าง compression hose/socks จะเป็นถุงน่องหรือถุงเท้าสำหรับกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดี ทำให้ลดอาการชา[5] หรือใช้โลชั่นพิเศษที่มี capsaicin (สารสกัดจากพริก) ช่วยลดอาการชา[6]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใช้วิธีลดอาการชาทั่วไป.
    ถึงเป็นเบาหวาน แต่วิธีรักษาอาการเหน็บชาทั่วไปก็น่าจะช่วยได้บ้าง เช่น ขยับเท้า ยกเท้าสูง นวดเท้า รวมถึงประคบร้อน แต่เป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการชั่วคราวเท้านั้น โรคหรืออาการอื่นที่เป็นอยู่ก็ไม่ได้หายไปไหน เพราะฉะนั้นยังต้องดูแลตัวเองต่อไป ทั้งดูแลเท้าและอาการของโรคเบาหวาน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปรึกษาคุณหมอเรื่องการแพทย์ทางเลือก.
    มีบางงานวิจัยชี้ว่าการรักษาอาการเท้าชาจากเบาหวานด้วยการใช้เทคนิคผ่อนคลาย และการฝึก biofeedback รวมถึงการใช้เครื่อง anodyne therapy นั้นได้ผลดีอยู่ แต่เนื่องจากไม่ใช่วิธีรักษาตามปกติ ประกันของคุณจึงมักไม่ครอบคลุม ยังไงถ้าสนใจลองปรึกษาคุณหมอดู[7]
    • คุณหมออาจจ่ายยารักษาอาการชาร่วมด้วย แต่มักเป็นการใช้ยาในลักษณะไม่ตรงตามที่ระบุในฉลาก (off-label)[8]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการชาเรื้อรังจากโรคอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รักษาอาการบาดเจ็บ.
    อาการบาดเจ็บที่เท้า นิ้วเท้า ข้อเท้า ศีรษะ หรือสันหลังอาจทำให้เกิดอาการชาได้ ถ้าไปรักษากับคุณหมอโรคกระดูก โรคระบบประสาทและสมอง หรือคุณหมอจัดกระดูก อาจทำให้อาการชาลดลงจนหายเป็นปกติได้[9]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาเรื่องการใช้ยากับคุณหมอ.
    ยาคีโมมักทำให้เกิดอาการชาปลายมือปลายเท้าได้ แต่ก็อาจเกิดจากยารักษาโรคอื่นๆ ได้เหมือนกัน ถ้าคุณเกิดอาการชาหลังเริ่มใช้ยาตัวใหม่ ให้รีบปรึกษาคุณหมอเพื่อพิจารณาว่าผลดีจากยามีมากกว่าผลข้างเคียงไหม ไม่ก็พิจารณาเปลี่ยนไปจ่ายยาตัวอื่นที่รักษาอาการได้เหมือนกันโดยไม่มีผลข้างเคียง[10]
    • ห้ามหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะบางตัวต้องค่อยๆ ลดปริมาณยาลง ไม่ใช่อยู่ๆ เลิกกินเลย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินวิตามินเสริม.
    ถ้าขาดวิตามินบี12 หรือวิตามินอื่นๆ ก็อาจเกิดอาการชาได้ ให้ลองไปตรวจเลือด ถ้าพบว่าร่างกายขาดวิตามิน จะได้กินอาหารเสริมหรือวิตามินเพิ่มเติม[11]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กินยารักษาโรคเรื้อรัง.
    ถ้าเท้ากับนิ้วเท้าชาไม่ยอมหาย อาจเป็นสัญญาณบอกโรคอื่นๆ เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคข้ออักเสบ โรคไลม์ (Lyme disease) และอื่นๆ ถ้ากินยารักษาโรคพวกนี้ ก็จะช่วยลดอาการเท้าชาไปด้วย[12]
    • ถ้าคุณไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังอะไร แล้วอยู่ๆ เท้ากับนิ้วเท้าเกิดชาขึ้นมา ก็อาจเป็นสัญญาณอันตรายได้ ให้ปรึกษาคุณหมอเรื่องอาการทั้งหมด เพื่อตรวจรักษาต่อไป
    • แต่ถ้าคุณหมอวินิจฉัยแล้วว่าคุณเป็นโรคเรื้อรัง แต่อาการชาถือเป็นอาการใหม่ที่เพิ่มเติมมา ก็ต้องเล่าให้คุณหมอฟังเช่นกัน จะได้สั่งยาเพิ่มเติมหรือรักษาด้วยวิธีการอื่น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ดื่มให้น้อยลง.
    ดื่มแอลกอฮอล์เยอะๆ ทำให้มือเท้าชาได้เหมือนกัน ให้คุณดื่มน้อยลงหน่อยเพื่อป้องกันไว้ก่อน[13]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 บรรเทาอาการ.
    ถ้ารักษาโรคต่างๆ และทำทุกวิธีที่ว่ามาแล้ว แต่เท้ายังชา ให้บรรเทาอาการโดยยกเท้าสูง ประคบร้อน นวดเท้า และเดินไปเดินมา ถึงไม่หายขาด แต่อย่างน้อยก็ทำให้สบายขึ้น หายชาชั่วคราว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Troy A. Miles, MD
ร่วมเขียน โดย:
ศัลยแพทย์ด้านกระดูก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Troy A. Miles, MD. ดร.ไมลส์เป็นศัลยแพทย์ด้านกระดูกในแคลิฟอร์เนียที่เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างไขข้อเทียมให้ผู้ใหญ่ เขาได้รับปริญญาโทจากคณะแพทย์ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตย์คอลเลจในปี 2010 ตามด้วยการเป็นแพทย์ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์และสุขภาพของมหาวิทยาลัยโอเรกอนและแพทย์ประจำของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส บทความนี้ถูกเข้าชม 38,590 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 38,590 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา