ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คำวิจารณ์มีลักษณะที่น่าประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือ ถึงแม้เมื่อได้ยินแล้วจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเจ็บปวด แต่คำวิจารณ์นั้นกลับเป็นส่วนสำคัญสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาตนเอง การยอมรับคำวิจารณ์และแปรเปลี่ยนคำวิจารณ์นั้นให้เป็นอะไรที่สร้างสรรค์คือทักษะอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่ถนัดรับฟังคำวิจารณ์เอาเสียเลย ให้ลองฝึกดู เพราะการยอมรับคำวิจารณ์ได้ไม่เพียงช่วยเราพัฒนาการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้คำวิจารณ์นั้นมาปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น และเมื่อสามารถแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ได้สำเร็จ เราก็จะรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จัดการกับความรู้สึกของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สงบจิตใจไว้ก่อน.
    เป็นธรรมดาที่เราอยากจะอ้างเหตุผลเพื่อปกป้องตนเองเมื่อได้ฟังวิจารณ์ แต่การปล่อยให้ตนเองโมโหและแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ออกไปนั้นไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น จงระลึกอยู่เสมอว่าคนเราก็ต่างเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากความผิดพลาดของตนเองด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นเราจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงคำวิจารณ์ได้ และถ้าสามารถรับมือกับคำวิจารณ์ได้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เราก็อาจได้เรียนรู้อะไรที่มีค่าเป็นการตอบแทน ฉะนั้นพยายามสงบจิตใจไว้ก่อน ถึงแม้คนที่วิจารณ์เราอยู่นั้นพูดจารุนแรง เสียดแทงใจ อย่าไปปะทะคารมกับเขา เพราะจะกลายเป็นว่าเราไม่สามารถรับฟังคำวิจารณ์ได้ และการโต้เถียงจะขัดขวางไม่ให้เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากคำวิจารณ์นั้น [1]
    • สูดหายใจเข้าลึกๆ เมื่อกำลังรับฟังคำวิจารณ์อยู่ การจดจ่ออยู่กับลมหายใจจะช่วยรักษาจิตใจให้สงบได้ ลองนับหนึ่งถึงห้า (ในใจ) ขณะที่หายใจเข้า จากนั้นกลั้นลมหายใจ นับหนึ่งถึงห้า แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก
    • พยายามยิ้ม การยิ้มน้อยๆ สามารถช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้และอาจทำให้คนที่วิจารณ์เราอยู่ผ่อนคลายขึ้นด้วย [2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้เวลาตนเองได้ใจเย็นลง.
    ก่อนที่จะตอบโต้และแม้แต่ก่อนจะคิดถึงคำวิจารณ์ที่ได้รับนั้น ให้เวลาตนเองได้ใจเย็นลงก่อน ทำกิจกรรมที่ตนเองชอบสัก 20 นาที เช่น ฟังเพลงโปรด อ่านหนังสือ หรือไปเดินเล่น การให้เวลาตนเองได้ใจเย็นลงหลังจากรับฟังคำวิจารณ์ที่เจ็บแสบจะช่วยให้เรารับมือกับคำวิจารณ์นั้นได้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์แทนที่จะเอาแต่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบไปตามอารมณ์[3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าให้คำวิจารณ์มามีผลกระทบต่อความสามารถด้านอื่นๆ ของเรา....
    อย่าให้คำวิจารณ์มามีผลกระทบต่อความสามารถด้านอื่นๆ ของเรา. การรับฟังคำวิจารณ์ที่ดีต่อตัวเราคือ เราต้องไม่ถือเอาคำวิจารณ์นั้นมาเป็นทุกอย่างของเรา พยายามอย่าคิดว่าคำวิจารณ์นั้นมีเราคนเดียวที่ได้รับหรือคิดว่าเป็นการพูดเพื่อให้เราเสียหน้า ให้รับคำวิจารณ์ไว้และไม่ต้องคิดมากหรือสงสัยในความสามารถด้านอื่นๆ ของตนเอง[4]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้ามีใครมาวิจารณ์ภาพวาดของเรา คำวิจารณ์นี้ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นจิตรกรที่แย่ งานของเราอาจมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง หรือภาพนั้นเป็นภาพที่ไม่มีใครชอบ แต่เราก็สามารถเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ได้อยู่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาแรงจูงใจของการวิจารณ์.
    บางครั้งคำวิจารณ์ไม่ได้มีเจตนาจะช่วยเหลือเรา แต่มีเจตนาจะซ้ำเติมเรา ฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับคำวิจารณ์ที่ได้รับนั้น ให้ลองคิดถึงแรงจูงใจของการวิจารณ์นั้นด้วย ถามตนเองเพื่อจะได้ทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ถูกวิจารณ์แบบนั้น [5]
    • คำวิจารณ์ต่างๆ นั้นเป็นอะไรที่เราควบคุมได้ไหม ถ้าควบคุมไม่ได้ ทำไมถึงมีคำวิจารณ์นั้นออกมา
    • ความเห็นของผู้วิจารณ์คนนี้สำคัญต่อเราจริงๆ ไหม ทำไมถึงสำคัญและทำไมถึงไม่สำคัญ
    • คนที่วิจารณ์เราเป็นคู่แข่งของเราหรือเปล่า ถ้าใช่ คำวิจารณ์นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคู่แข่งไหม
    • รู้สึกเหมือนตนเองกำลังถูกข่มแหงรังแกหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้น ได้ขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหานี้แล้วหรือยัง (ถ้ารู้สึกเหมือนถูกข่มแหงที่โรงเรียนหรือที่ทำงาน คุยกับใครสักคนที่สามารถช่วยเราได้ เช่น ครู หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล)
  5. How.com.vn ไท: Step 5 คุยกับใครสักคนถึงเรื่องที่เกิดขึ้น.
    ไม่ว่าคำวิจารณ์ที่ได้รับนั้นมาจากความบกพร่องของเราเองหรือมีเจตนาสร้างความเจ็บปวดใจ เราควรได้พูดคุยถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้นมาบ้าง รอจนกระทั่งเราได้ปลีกตัวออกจากคนที่วิจารณ์เราและมาระบายกับคนที่เราไว้ใจ บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นและบอกว่าเรารู้สึกอย่างไร การพูดคุยถึงคำวิจารณ์ที่ได้รับกับเพื่อนที่ไว้ใจหรือคนในครอบครัวอาจช่วยให้เราเข้าใจคำวิจารณ์นั้นมากขึ้น และรู้ถึงเหตุผลว่าทำไมถึงถูกวิจารณ์แบบนั้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 หันมาสนใจด้านดีของตนเอง.
    พอเราได้สงบจิตใจและเข้าใจคำวิจารณ์นั้นแล้ว เราก็จะต้องหันมาให้ความสนใจกับด้านดีของตนเองบ้าง ถ้าเอาแต่สนใจข้อบกพร่องที่เราต้องปรับปรุงมากเกินไป เราอาจเริ่มรู้สึกหดหู่และท้อแท้ ให้พยายามเขียนข้อดีของตัวเราที่นึกออก เพื่อสร้างความภาคภูมิใจขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจเขียนข้อดีของเราลงไปว่า “ทำอาหารเก่ง” “เป็นคนตลก” หรือ “เป็นนักอ่านตัวยง” เขียนข้อดีให้มากที่สุดเท่าที่เรานึกออก และอ่านข้อดีเหล่านั้นอีกครั้งเพื่อย้ำเตือนให้เห็นถึงความสามารถของตนเอง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตอบโต้คำวิจารณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ฟังคำวิจารณ์.
    เมื่อมีคนกำลังวิจารณ์เราอยู่ ให้รับฟังดีๆ และตั้งใจฟัง มองผู้พูดและพยักหน้าเป็นบางครั้งเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจฟังอยู่ การพยายามตั้งใจฟังคำวิจารณ์นั้นยาก แต่ก็ต้องตั้งใจฟัง เพราะถ้าไม่ฟัง เราอาจจะตอบโต้เขาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง และการตอบโต้แบบนั้นจะยิ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น [6]
    • ถึงแม้คำแนะนำหรือคำวิจารณ์จะทำให้เราเจ็บปวดใจมากแค่ไหน ก็ต้องพยายามรับฟังไว้ ถ้าคนวิจารณ์แค่ส่งจดหมายสั้นๆ มา เราสามารถ “อ่าน” เมื่อพร้อมได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กล่าวถึงคำวิจารณ์ซ้ำอีกครั้ง.
    หลังจากฟังคำวิจารณ์จบแล้ว กล่าวย้ำคำวิจารณ์นั้นให้พวกเขาฟัง ทั้งเราและเขาจะได้เข้าใจตรงกันว่าต้องทำอะไร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราต้องการลดคำวิจารณ์ที่มาจากความเข้าใจผิดให้น้อยลง ไม่จำเป็นต้องพูดซ้ำแบบคำต่อคำ แค่กล่าวโดยสรุปก็พอ [7]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเพิ่งถูกวิจารณ์เรื่องเก็บเอกสารบางอย่างไม่ถูกต้อง จึงทำให้เพื่อนร่วมงานมีปัญหาเวลาค้นหาเพื่อนำมาใช้งาน ให้เราพูดเรื่องนี้กับคนที่วิจารณ์เราใหม่อีกครั้งอย่างเช่นว่า “จากที่คุณพูด ฉันเข้าใจว่าฉันต้องเก็บเอกสารให้ถูกต้อง เพื่อนร่วมงานจะได้สะดวกในการใช้งาน ถูกต้องไหมคะ”
    • ถ้าเราไม่เข้าใจคำวิจารณ์นั้น ขอให้คนคนนั้นอธิบายหรือพูดในประเด็นที่เราไม่เข้าใจซ้ำอีกครั้ง ให้พูดอย่างเช่นว่า “ฉันต้องการเข้าใจให้ถูกต้อง จะได้แก้ปัญหาได้ ช่วยอธิบายให้ชัดเจนมากกว่านี้หน่อยได้ไหมคะ”
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตอบโต้เมื่อพร้อม.
    คำวิจารณ์บางคำวิจารณ์อาจรุนแรงหรือซับซ้อนเกินไปที่จะตอบโต้ออกไปทันที ถ้าเป็นไปได้ รอให้ใจสงบ ควบคุมสติได้ และมีเวลาไตร่ตรองคำวิจารณ์นั้นก่อนที่จะตอบโต้ออกไป บางครั้งเราก็ต้องตอบโต้เลยทันที แต่จะดีกว่า ถ้าสามารถยับยั้งตนเองไว้ได้ เพราะการให้เวลาตนเองคิดหาวิธีตอบโต้ที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลดีตามมา [8]
    • ลองพูดอย่างเช่น “ฉันดีใจที่คุณอุตส่าห์ช่วยบอกจุดบกพร่องให้ ขอฉันกลับไปดูงานนี้อีกครั้งและแก้ไขดู พรุ่งนี้ตอนเช้าฉันขอมาปรึกษาคุณเรื่องงานส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขได้ไหม”
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ขอโทษเมื่อทำผิดพลาด ถ้าจำเป็น.
    เมื่อมีคนวิจารณ์เพราะเราทำผิดพลาด หรือไปทำอะไรให้คนอื่นเจ็บปวด เราต้องขอโทษในเรื่องที่เกิดขึ้นทันที[9] การขอโทษแตกต่างจากการรับมือกับคำวิจารณ์ ฉะนั้นอย่ารู้สึกว่าการขอโทษเป็นการที่ฝ่ายเรายอมเปลี่ยนแปลงหรือยอมรับคำวิจารณ์ทั้งหมด
    • ในกรณีส่วนใหญ่เราต้องพูดขอโทษทันที เช่น “ฉันขอโทษจริงๆ ฉันไม่ตั้งใจให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น ฉันจะกลับไปตรวจดูให้ดีอีกครั้งและจะทำทุกวิถีทางไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก”
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ยอมรับว่าคำวิจารณ์นั้นมีส่วนถูก.
    เมื่อเราพร้อมที่จะตอบโต้คำวิจารณ์นั้นแล้ว ให้เริ่มด้วยการยอมรับส่วนที่ผู้วิจารณ์พูดถูกก่อน เพราะการยอมรับว่าคำวิจารณ์นั้นมีส่วนถูกจะทำให้ผู้วิจารณ์รู้สึกดีขึ้น และทำให้พวกเขารู้ว่าเรานั้นเอาใจใส่กับสิ่งที่พวกเขาพูดจริงๆ [10]
    • พูดไปเลยว่า “คุณพูดถูก” จากนั้นค่อยเอ่ยต่อ เราไม่จำเป็นต้องพูดถึงเหตุผลให้ละเอียดมากมายว่าทำไมถึงเห็นด้วยกับคำวิจารณ์ แค่ยอมรับว่าเราเห็นด้วยกับคำกล่าวของพวกเขา นักวิจารณ์ก็จะรู้สึกเหมือนว่าเราเอาใจใส่กับสิ่งที่เขาพูด
    • คำวิจารณ์อาจผิดหมดเลยก็ได้ ในกรณีนั้นก็ให้หาส่วนที่คำวิจารณ์นั้นถูก (ตัวอย่างเช่น “ฉันจัดการเรื่องนี้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร”) หรือขอบคุณที่พวกเขาบอกจุดบกพร่องให้เรารู้และปล่อยคำวิจารณ์นั้นไป ไม่ต้องนึกถึงอีก
  6. How.com.vn ไท: Step 6 กล่าวว่าเราวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร.
    บอกผู้วิจารณ์ว่าเราจะเอาคำแนะนำไปใช้หรือจัดการกับปัญหาที่พวกเขาพูดถึงอย่างไร การบอกกล่าวให้ผู้วิจารณ์รับรู้ไว้จะทำให้พวกเขาเห็นว่าเราใส่ใจกับปัญหา การรับฟังคำวิจารณ์ การยอมรับคำวิจารณ์โดยไม่โต้แย้ง และการตอบโต้ไปอย่างเหมาะสมจะทำให้เราได้เติบโตขึ้น เมื่อเราใส่ใจปัญหาและลงมือแก้ไข ผู้คนก็จะเห็นใจเรามากขึ้นในอนาคต
    • เราอาจพูดอย่างเช่นว่า “คราวหน้าฉันจะมาหาคุณก่อนที่จะพูดคุยกับลูกค้าเพื่อฉันจะได้ตอบลูกค้าได้อย่างเหมาะสมตามที่เราสองคนเห็นตรงกัน”
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ขอคำแนะนำ.
    ถ้าผู้วิจารณ์ไม่เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าให้เรา ให้ขอคำแนะนำจากพวกเขา แต่ถ้าผู้วิจารณ์ให้คำแนะนำเราไปแล้ว เราก็อาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากพวกเขาได้อีก นอกจากเราจะได้เรียนรู้อะไรดีๆ จากคำแนะนำเหล่านั้น เรายังทำให้ผู้ให้คำแนะนำรู้สึกดีขึ้นด้วย
    • ให้ถามว่า “ทำอย่างไร” แทนที่จะถามว่า “ทำไม” การถามว่า “ทำอย่างไร” จะทำให้เราได้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มากกว่า ขณะที่การถามว่า “ทำไม” จะทำให้สถานการณ์แย่ลงและทำให้ผู้วิจารณ์อ้างเหตุผลเพื่อปกป้องตนเอง ตัวอย่างเช่น ควรถามว่า “คุณคิดว่าฉันควรทำอย่างไรดีคราวหน้า” อย่าถามอย่างเช่นว่า “ทำไมคุณถึงพูดแบบนี้กับฉัน”[11]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ขอเวลาปรับปรุงตนเอง.
    ขอให้คนที่วิจารณ์เราให้เวลา ถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงจุดบกพร่องที่พวกเขาพูดได้ทันทีทันใด การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต้องใช้เวลา การขอเวลาให้ตนได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจะลดความเครียดของเราลงไปบ้างและนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างเราและคนที่วิจารณ์เรา นอกจากนี้การขอเวลาปรับปรุงตนเองยังเป็นการบอกคนคนนั้นด้วยว่าเราเอาใจใส่คำพูดของเขาอย่างจริงจัง [12]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้คำวิจารณ์นั้นปรับปรุงตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เห็นคำวิจารณ์เป็นโอกาส.
    วิธีที่จะรับมือกับคำวิจารณ์ได้ดีที่สุดคือเห็นคำวิจารณ์เป็นโอกาสในการถอยกลับมาประเมินการกระทำของตนเองและหาวิธีปรับปรุงตัว คำวิจารณ์เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้เราได้พัฒนาตนเองจนกระทั่งกลายเป็นคนเก่งขึ้นมากกว่าเดิม เมื่อเรามองเห็นด้านดีของการรับคำวิจารณ์ เราก็จะยอมรับคำวิจารณ์ได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เพียงสามารถรับคำวิจารณ์ได้ แต่ยังกล้าขอคำวิจารณ์จากผู้อื่นด้วย[13]
    • ถึงแม้จะมีคนที่วิจารณ์เราผิดไป แต่คำวิจารณ์นั้นก็ยังช่วยเราเห็นข้อบกพร่องที่สามารถนำมาปรับปรุงได้อยู่ บางที่ข้อบกพร่องที่คนอื่นเห็นว่าเป็นปัญหาอาจกำลังบอกเราว่ามีบางสิ่งที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่อีก ถึงแม้จะไม่ใช่ตรงจุดที่คนคนนั้นบอกก็ตาม
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ว่าคำแนะนำไหนมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์....
    รู้ว่าคำแนะนำไหนมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์. เมื่อฟังคำวิจารณ์ เราต้องรู้ว่าคำวิจารณ์นั้นควรรับฟังหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วถ้าคนวิจารณ์เอาแต่ต่อว่าโดยไม่ให้คำแนะนำเลยว่าเราควรปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องอย่างไร ก็อย่าไปสนใจคำวิจารณ์นั้น บางคนแค่ให้คำวิจารณ์เพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น และเราต้องระวังสถานการณ์แบบนั้น อย่าตอบโต้คำวิจารณ์ ถ้าไม่มีประโยชน์ การรับรู้และโต้เถียงกลับไปรังแต่จะทำให้ผู้วิจารณ์มีอำนาจมากขึ้นเท่านั้น[14]
    • ถ้าคนที่วิจารณ์ไม่ได้ให้คำแนะนำดีๆ อะไรเลย เราก็จะรู้แล้วว่าคำวิจารณ์ของเขาไม่เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเขาพูดว่า “งานของคุณแย่มาก สีก็เพี้ยน การนำเสนอก็ไม่ได้เรื่อง” ให้ขอคำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าผู้วิจารณ์ยังพูดจาไม่ดีและไม่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ อย่าไปสนใจคำวิจารณ์นั้น และคราวหน้าก็อย่าไปรับฟังคำวิจารณ์เขามากนัก
    • คำวิจารณ์ที่ดีคือคำวิจารณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงข้อเสียและข้อดี รวมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุงตนเอง ตัวอย่างเช่น “ฉันไม่ชอบสีแดง แต่ฉันชอบสีฟ้าอ่อนของเทือกเขา” คำวิจารณ์นี้เป็นประโยชน์และให้แนวทางในการปรับปรุงแก้ไข เราอาจจะใช้คำแนะนำนี้มาทำงานให้ดีขึ้นคราวหน้า
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คิดและเขียนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ลงไป.
    ใคร่ครวญคำแนะนำที่เราได้รับ คนวิจารณ์บอกจุดบกพร่องที่เราควรเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า ลองคิดหาวิธีแก้ไขแบบต่างๆ ซึ่งให้ผลแบบเดียวกัน เราจะได้มีทางเลือกหลายทางให้ทดลองใช้และได้วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับเรา เราควรลองคิดเพิ่มเติมว่ามีอะไรอื่นอีกไหมที่เราได้เรียนรู้จากคำวิจารณ์นั้น [15]
    • การเขียนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปทีละคำหลังจากได้รับคำแนะนำเรียบร้อยแล้วเป็นวิธีการที่ดี เพราะการจดบันทึกป้องกันไม่ให้ความทรงจำของเราบิดเบือนถ้อยคำเหล่านั้นภายหลังและนึกถึงแต่คำพูดที่ทำให้เจ็บช้ำใจ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 วางแผน.
    ตอนนี้เราได้ตัดสินใจไปแล้วว่าข้อแนะนำข้อไหนสำคัญสำหรับเรา ต่อไปเราจะต้องวางแผนเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ นั้นให้ดีขึ้น การมีแผนโดยเฉพาะถ้าสามารถเขียนออกมาได้จะทำให้เราทำตามคำแนะนำและปรับปรุงข้อบกพร่องได้ง่ายขึ้น เราจะสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้สำเร็จมากขึ้นอีกด้วย [16]
    • เราต้องทำอะไรบ้างถึงสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ เขียนขั้นตอนลงไปทีละขั้นตอน เราจะได้เริ่มการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้เสียที
    • เป้าหมายของเราต้องวัดได้และเป็นสิ่งที่ทำได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถูกวิจารณ์เรื่องบทความที่เขียนส่งในห้องเรียน เป้าหมายที่วัดได้และเราสามารถทำได้ด้วยอาจเป็น “เมื่ออาจารย์สั่งเขียนบทความคราวหน้า ให้เริ่มเขียนโดยเร็ว” หรือ “ให้อาจารย์ดูงานและบอกจุดพร่องเพื่อจะได้แก้ไขก่อนวันกำหนดส่ง” อย่าตั้งเป้าหมายเช่น “เขียนให้ดีขึ้น” หรือ “ได้คะแนนเต็มในงานเขียนบทความคราวหน้า” เพราะเป้าหมายเหล่านี้วัดยากและทำให้สำเร็จได้ยาก
  5. 5
    พยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างไม่ย่อท้อ. พยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติคำวิจารณ์จะเป็นแรงผลักดันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตนเองให้ต่างไปจากเดิมหรือเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเราไปโดยสินเชิง ผลคือเราได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น การพัฒนาตนเองย่อมเจออุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา ฉะนั้นจงอย่าท้อแท้และพยายามต่อไปเรื่อยๆ
    • เราอาจมีจุดบกพร่องตามที่คนอื่นพูดจริงๆ และพยายามปรับปรุงแก้ไขอย่างสุดความสามารถแล้ว แต่ผลสุดท้ายก็กลับไปทำผิดพลาดซ้ำแบบเดิม จงอย่าคิดว่าเราไม่มีทางเปลี่ยนแปลงตนเองได้หรือคิดว่าเดี๋ยวตนเองก็กลับไปทำแบบเดิมอีก เมื่อเราได้เรียนรู้จุดบกพร่องของตนเอง มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น และหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เราก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นได้ในที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อถูกวิจารณ์ อย่าพยายามหาข้อแก้ตัว เพราะจะยิ่งทำให้เรื่องแย่ไปกันใหญ่ และเมื่อถูกวิจารณ์อยู่ อย่าร้องไห้ ปฏิเสธ หรือโทษคนอื่น[17]
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่ายอมให้ใครมาข่มแหงเรา ถ้าใครสักคนวิจารณ์เราอยู่ตลอดและทำให้เรารู้สึกแย่กับตนเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้ที่สามารถช่วยเราได้


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Donna Novak, Psy.D
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Donna Novak, Psy.D. ดร. ดอนนา โนวักเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาต อยู่ที่ซิมีแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ดร. โนวักเชี่ยวชาญในการรักษาผู้ที่มีความวิตกกังวล มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ และมีปัญหาเรื่องเพศ โดยมีประสบการณ์มากกว่าสิบปี เธอได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) และจบปริญญาเอก (Psy.D) สาขาจิตวิทยาคลินิกจากมหาวิทยาลัยนานาชาติอไลอันต์ ลอสแอนเจลิส ดร. โนวักใช้แบบจำลองความแตกต่างในการรักษาซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาตนเองโดยเพิ่มความตระหนักรู้ในตนเอง สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และเสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง บทความนี้ถูกเข้าชม 5,363 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,363 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา