วิธีการ ป้องกันอาการป่วยจากความสูง

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณไปเที่ยวในที่สูงๆ เช่น พื้นที่รอบภูเขา คุณอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ เช่น ความเย็น ความชื้นต่ำ รังสียูวีจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้น ความกดอากาศต่ำ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด อาการป่วยเพราะความสูงเป็นอาการที่ร่างกายตอบสนองต่อความกดอากาศและปริมาณออกซิเจนต่ำ ซึ่งโดยปกติมักเกิดที่ความสูงเกิน 2500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล [1] ถ้าคุณมีแผนที่จะไปเที่ยวตามที่สูงมากๆ ควรทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ เพื่อป้องกันอาการป่วยที่อาจเกิดขึ้นเพราะความสูง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การป้องกันอาการป่วยจากความสูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ขึ้นที่สูงช้าๆ.
    เมื่อคุณไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่อยู่สูง คุณควรขึ้นช้าๆ โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะใช้เวลา 3-5 วันบนความสูงเกิน 2500 เมตร ในการปรับให้คุ้นชินกับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะขึ้นที่สูงกว่านี้ คุณควรซื้อเครื่องวัดความสูงหรือนาฬิกาข้อมือที่สามารถวัดความสูงได้เพื่อช่วยในเรื่องนี้ โดยเฉพาะถ้าคุณไปเที่ยวในที่ที่ไม่มีป้ายบอกความสูง จะได้รู้ว่าคุณอยู่ที่ความสูงเท่าไหร่แล้ว คุณสามารถซื้อเครื่องมือวัดความสูงเหล่านี้ได้ทางอินเทอร์เน็ตหรือจากร้านขายอุปกรณ์ปีนเขา
    • มีพฤติกรรมบางอย่างที่คุณควรเลี่ยง ห้ามขึ้นที่สูงเกิน 2700 เมตรภายในหนึ่งวัน ห้ามนอนบนที่ความสูงเกิน 300-600 เมตรจากความสูงที่คุณนอนคืนก่อน คุณควรเผื่อเวลา 1 วันสำหรับปรับร่างกายให้เข้ากับสภาพอากาศสำหรับความสูงทุกๆ 1000 เมตร [2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ต้องพักผ่อน.
    อีกหนึ่งวิธีการสู้กับอาการป่วยเพราะความสูงคือการได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ การท่องเที่ยวภายในและภายนอกประเทศสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนปกติของเราได้และอาจทำให้คุณเหนื่อยล้าและขาดน้ำ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการป่วยเนื่องจากความสูงฉับพลัน ก่อนเริ่มขึ้นที่สูง คุณควรเผื่อวันสำหรับการหยุดพัก 1-2 วัน เพื่อให้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมและรูปแบบการนอนแบบใหม่ โดยเฉพาะเวลาที่คุณไปเที่ยวต่างประเทศ
    • นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 3-5 ของการปรับตัวให้ชินกับความสูงระดับใหม่ คุณควรใช้เวลา 1-2 วันแรกพักผ่อนก่อนทำการสำรวจพื้นที่
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินยาป้องกัน.
    ก่อนออกเดินทางขึ้นที่สูง ควรกินยาบางอย่างเพื่อช่วยป้องกันอาการ คุณต้องนัดพบแพทย์เพื่อให้แพทย์จ่ายยากินป้องกันก่อนการไปเที่ยว บอกประวัติการรักษาทางการแพทย์ของคุณและอธิบายให้แพทย์ฟังว่าคุณจะไปขึ้นที่สูงถึง 2400-2700 เมตร ถ้าคุณไม่แพ้ยา แพทย์อาจจ่ายยาอะเซตาโซลาไมด์ให้คุณด้วย
    • ตัวยานี้ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในการป้องกันและรักษาอาการป่วยเพราะการขึ้นที่สูงฉับพลัน ยาอะเซตาโซลาไมด์เป็นยาขับปัสสาวะประเภทหนึ่ง ซึ่งเร่งกระบวนการขับปัสสาวะและกระตุ้นกระบวนการหายใจ ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้าร่างกายเพิ่มขึ้น
    • กินยาปริมาน 125 มิลลิกรัมตามที่แพทย์สั่ง วันละ 2 ครั้ง โดยเริ่มกินหนึ่งวันก่อนการเดินทางและกินติดต่อกัน 2 วันเมื่ออยู่บนที่สูงแล้ว[3]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กินยาเดกซาเมทาโซน.
    ถ้าแพทย์ไม่แนะนำให้กินยาอะเซตาโซลาไมด์หรือคุณแพ้ยาตัวนี้ ก็ยังมียาตัวอื่นอีก คุณอาจจะกินยาที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างยาเดกซาเมทาโซน ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดหนึ่ง ผลการศึกษารายงายว่ายาตัวนี้สามารถลดความรุนแรงและลดการเกิดโรคที่เกิดจากการขึ้นที่สูงฉับพลันได้
    • กินยานี้ตามแพทย์สั่ง โดยปกติแล้วมักจะต้องกินปริมาณ 4 มิลลิกรัมทุก 6-12 ชั่วโมง โดยเริ่มกินวันก่อนเดินทางและกินต่อไปจนกว่าคุณจะปรับตัวกับความสูงสูงสุดที่คุณขึ้นไป
    • การกินยาไอบูโปรเฟน 600 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมงก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคจากการขึ้นที่สูงฉับพลันได้
    • มีการศึกษาพบว่าแป๊ะก๊วยสามารถรักษาและป้องกันอาการป่วยจากความสูงได้ แต่ผลการศึกษานั้นออกมาแตกต่างกัน จึงไม่แนะนำให้ใช้[4]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ตรวจเซลล์เม็ดเลือดแดง.
    ก่อนออกเดินทาง คุณควรตรวจเซลล์เม็ดเลือดแดง คุณต้องนัดพบแพทย์เพื่อทำการตรวจดังกล่าวก่อนเดินทาง ถ้าพบว่าคุณเป็นโรคโลหิตจางหรือเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ แพทย์อาจนำให้ดูแลอาการเหล่านี้ก่อนเดินทาง การตรวจนี้สำคัญเพราะเซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่พาออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ อีกทั้งยังจำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วย
    • เหตุผลที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำนั้นมีมากมาย เหตุผลที่พบได้บ่อยคือการขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินบีก็สามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำได้เช่นกัน ถ้าเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ แพทย์อาจแนะนำให้กินอาหารเสริมธาตุเหล็กหรือวิตามินบี เพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีค่าปกติ [5]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ซื้อใบโคคา.
    ถ้าคุณไปปีนเขาแถบอเมริกากลางหรืออเมริกาใต้ คุณอาจซื้อใบโคคามาจากที่นั่น แม้ว่าใบโคคาจะเป็นสารต้องห้ามในประเทศอเมริกา แต่คนในประเทศแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ก็ใช้ใบโคคาป้องกันอาการป่วยจากที่สูง ถ้าคุณไปประเทศแถบนั้น อาจจะซื้อมาเคี้ยวหรือต้มทำเป็นชาดื่ม เพื่อป้องกันอาการดังกล่าว
    • คุณต้องรู้ว่าชาจากใบโคคาเพียงแค่หนึ่งแก้วสามารถทำให้ผลตรวจยาโคเคนในร่างกายเป็นผลบวกได้ ใบโคคาเป็นสารกระตุ้นและผลการศึกษาเผยว่าใบโคคาทำให้สารชีวเคมีเปลี่ยน ซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายเมื่ออยู่บนที่สูง [6]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ดื่มน้ำมากๆ.
    การขาดน้ำจะไปลดความสามารถในการปรับตัวของร่างกายเมื่อเจอกับความสูงใหม่ ต้องดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน เริ่ม 1 วันก่อนเดินทาง สำรองน้ำไว้อีก 1 ลิตรระหว่างการเดินขึ้นที่สูงและอย่าลืมเผื่อน้ำไว้สำหรับขาลงด้วย
    • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และควรหลีกเลี่ยงการดื่ม 48 ชั่วโมงก่อนเดินทาง แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท ทำให้อัตราการหายใจลดต่ำลงและทำให้ร่างกายขาดน้ำ
    • คุณควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง โซดา คาเฟอีนสามารถทำให้กล้ามเนื้อขาดน้ำได้ด้วย [7]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 กินอย่างเหมาะสม.
    มีอาหารหลายประเภทที่คุณควรกินเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางและเพื่อป้องกันอาการป่วยเพราะที่สูง ผลการศึกษาชี้ว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงสามารถบรรเทาอาการของโรคจากการขึ้นที่สูงฉับพลันได้ รวมถึงพัฒนาอารมณ์และสมรรถภาพร่างกาย [8] ผลการศึกษาอื่นๆ เปิดเผยว่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดสามารถเพิ่มขึ้นจากคาร์โบไฮเดรตในระหว่างการทดลองที่จำลองระดับความสูงได้เช่นกัน [9] มีความเชื่อว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตช่วยสร้างความสมดุลของพลังงานในร่างกาย คุณควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงก่อนและระหว่างช่วงที่ร่างกายกำลังปรับตัวให้คุ้นเคยกับสภาพอากาศโดยรอบ
    • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงได้แก่ พาสต้า ขนมปัง ผลไม้และอาหารที่มีมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ
    • นอกจากนี้ ก็ไม่ควรกินเกลือมากไป เกลือปริมาณมากเกินไปจะทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายขาดน้ำ ต้องเลือกซื้ออาหารตามซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีฉลากบอกว่าเกลือต่ำหรือไม่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ
    • ความอดทนและสมรรถภาพของร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการปีนเขา อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาระบุว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสมรรถภาพร่างกายจะป้องกันโรคจากการขึ้นที่สูงได้ [10][11]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รู้อาการของโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เรียนรู้ลักษณะอาการที่แตกต่างกัน.
    อาการป่วยที่เกิดจากการขึ้นที่สูงมี 3 แบบได้แก่ โรคจากการขึ้นที่สูงฉับพลัน อาการจากภาวะสมองบวมน้ำ (HACE) และอาการจากภาวะปอดบวมน้ำ (HAPE)
    • อาการป่วยจากการขึ้นที่สูงฉับพลันเกิดจากความกดอากาศและออกซิเจนลดลง
    • อาการจากภาวะสมองบวมน้ำ (HACE) เป็นอาการรุนแรงที่ต่อเนื่องมาจากอาการป่วยจากการขึ้นที่สูงฉับพลัน ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อสมองบวมและฉีกขาด
    • อาการจากภาวะปอดบวมน้ำ (HAPE) สามารถเกิดร่วมกับอาการจากภาวะสมองบวมน้ำได้ อาจเกิดขึ้นหลังจากมีอาการป่วยจากการขึ้นที่สูงฉับพลัน หรือเกิดภายใน 1-4 วันหลังจากการขึ้นที่สูงเกิน 2400 เมตร อาการนี้เกิดจากปวดบวม เนื่องจากความดันสูงและหลอดเลือดในปอดหดตัว ทำให้ของเหลวรั่วเข้าไปในปอดจนปอดบวม [12]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้อาการป่วยจากการขึ้นที่สูงฉับพลัน.
    การป่วยจากการขึ้นที่สูงฉับพลันเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในหลายที่บนโลก นักท่องเที่ยวกว่า 25% ที่ขึ้นไปบนที่สูงกว่า 2400 เมตรในรัฐโคโลราโด 50% ของนักท่องเที่ยวในเทือกเขาหิมาลัย และอีก 85% ของนักท่องเที่ยวแถบยอดเขาเอฟเวอเรสต์ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ อาการป่วยของโรคจากการขึ้นที่สูงมีมากมาย
    • อาการได้แก่ ปวดหัวภายใน 2-12 ชั่วโมงของการอยู่บนความสูงใหม่ มีปัญหากับการนอนหลับหรือหลับไม่สนิท วิงเวียน เหนื่อยล้า หน้ามืดมึนหัว อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น หายใจถี่ขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว คลื่นไส้ อาเจียน [13]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตอาการภาวะสมองบวม.
    เนื่องจากอาการสมองบวมเป็นอาการรุนแรงที่สืบเนื่องมาจากอาการป่วยบนที่สูง คุณจะต้องมีอาการข้างต้นก่อน เมื่ออาการหนักขึ้น คุณจึงเริ่มมีอาการอื่นตามมา เช่น อาการเซ ไม่สามารถเดินตรงได้ หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเดินไม่มั่นคงเมื่อต้องเดินหรือเดินเป็นเส้นตรง สภาพจิตใจอาจเปลี่ยนไป ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปแบบของความง่วง ความสับสน เวลาพูด จดจำ เคลื่อนไหว ความคิดและระยะเวลาจดจ่อกับบางสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไป
    • คุณอาจหมดสติหรือเข้าขั้นโคม่า
    • อาการภาวะสมองบวมน้ำไม่ค่อยเกิดขึ้น ต่างกับอาการป่วยจากที่สูง อาการภาวะสมองบวมเกิดกับผู้คนเพียงร้อยละ 1-4 เท่านั้น[14]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ระวังอาการปอดบวมน้ำ.
    เนื่องจากอาการนี้อาจพัฒนามาจากภาวะสมองบวมน้ำ คุณอาจมีอาการของโรคจากการขึ้นที่สูงและภาวะสมองบวมน้ำไปพร้อมกัน หรือบางที่ภาวะนี้อาจจะเกิดขึ้นมาเอง อย่างไรก็ตาม คุณควรระวังอาการเฉพาะที่เกิดจากภาวะปอดบวมน้ำอย่างเดียวด้วย เช่น อาการหายใจลำบาก ซึ่งเป็นการหายใจนิ่งสั้น คุณอาจรู้สึกแน่นแสบหน้าอก หายใจออกจากปอดฟืดฟาด อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น อ่อนแอและไอ
    • อาจมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่สังเกตได้ เช่น อาการเขียวคล้ำ ซึ่งบริเวณปากและนิ้วจะมีสีน้ำเงินหรือสีเข้มขึ้น
    • อาการภาวะปอดบวมน้ำนั้นเหมือนกับภาวะสมองบวมน้ำตรงที่พบได้ไม่บ่อย เกิดขึ้นเพียง 1-4% [15]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ดูแลอาการ.
    แม้ว่าคุณจะพยายามป้องกันอาการโรคจากที่สูงแล้ว มันก็ยังเกิดขึ้นได้อยู่ดี ถ้าอาการป่วยเกิดขึ้น คุณต้องเฝ้าระวังอาการไม่ได้เป็นหนัก หากคุณมีอาการจากที่สูงฉับพลัน ให้รอดูอาการ 12 ชั่วโมง รีบลงจากที่สูงทันทีอย่างน้อย300 เมตร ถ้าอาการไม่ลุกลามภายใน 12 ชั่วโมงหรือรีบลงมาเร็วกว่านั้น หากมีอาการรุนแรง ถ้าคุณไม่สามารถลงมาได้ ถ้าสามารถรักษาโดยใช้ออกซิเจนได้ จะช่วยประคองอาการได้ 2-3 ชั่วโมง ในจุดนี้ คุณต้องติดตามประเมินอาการ เพื่อสังเกตการพัฒนาของอาการ
    • ถ้าคุณมีสัญญาณหรืออาการของภาวะสมองบวมน้ำหรือปอดบวมน้ำ ให้ลงจากที่สูงทันที โดยใช้แรงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้อาการทรุดหนัก คุณต้องประเมินอาการเป็นระยะ
    • ถ้าลงมาจากที่สูงไม่ได้เพราะสภาพอากาศหรือปัจจัยอื่นๆ ให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจน ใส่หน้ากากและใส่ท่อจากหน้ากากลงในถังออกซิเจน ปล่อยออกซิเจนออกมา คุณอาจจะเข้าไปอยู่ในห้องปรับอากาศเคลื่อนที่ได้ด้วย ถ้ามีอุปกรณ์เหล่านี้พร้อม การลงจากที่สูงอาจจะไม่จำเป็น ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงและการรักษาได้ผลกับคุณ อุปกรณ์เหล่านี้มีน้ำหนักเบา หน่วยกู้ชีพหรือสถานีกู้ภัยมักจะพกพาติดตัวเสมอ หากมีวิทยุหรือโทรศัพท์ ให้รายงานสถานการณ์ต่อหน่วยกู้ชีพ ระบุตำแหน่งของคุณและรอรับการช่วยเหลือที่จะมาถึง [16]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 กินยาฉุกเฉิน.
    มียาบางตัวที่แพทย์อาจสั่งจ่ายแก่คุณสำหรับเวลาฉุกเฉิน สำหรับการรักษาโรคจากการขึ้นที่สูงฉับพลัน คุณอาจได้ยาอะเซตาโซลาไมด์หรือยาเดกซาเมทาโซน สำหรับภาวะสมองบวมน้ำ อาจได้ยาเดกซาเมทาโซน รีบกินยาทันทีแล้วตามด้วยน้ำเปล่า
    • แพทย์อาจจ่ายยาฉุกเฉินสำหรับภาวะปอดบวมน้ำให้ด้วย ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อกินป้องกันรวมถึงรักษาอาการปอดบวมน้ำ ผลการศึกษาจำนวนหนึ่งระบุว่ายาบางตัวช่วยลดการเกิดภาวะปอดบวมน้ำได้ ถ้ากินภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเดินทาง ยาดังกล่าวได้แก่ ไนเฟดิปีน (Procardia) ซาลเมเทอรอล (Serevent) ฟอสโฟไดเอสเทอเรส-5 อินฮิบิเตอร์ (tadalafil, Cialis) และซิลเดนาฟิล (Viagra).[17]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณรู้สึกมีอาการของโรคจากที่สูง ห้ามขึ้นไปมากกว่านี้ ที่สำคัญคือห้ามนอน
  • ต้องลงมาจากที่สูงหากอาการเพิ่มขึ้น หรืออาการไม่หายไปในขณะที่พัก
  • ถ้าคุณมีอาการป่วย อาจะทำให้อาการของโรคจากที่สูงเป็นหนักกว่าเก่า คุณอาจจะต้องออกกำลังเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายก่อนการเดินทาง โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพคอยดูแลความปลอดภัย อาการป่วยที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง โรคเบาหวาน และโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว คุณมีความเสี่ยงที่จะป่วย หากคุณกำลังได้รับการรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดชนิดเสพติดอยู่ ซึ่งจะทำให้อัตราการหายใจลดต่ำลง
  • หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรนอนบนความสูงเกิน 3600 เมตร
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Hackett P, Shlim D. Altitude Illness. Chapter 2 Pre-travel consultation. CDC. Aug 1st, 2013. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-2-the-pre-travel-consultation/altitude-illness
  2. Hackett P, Shlim D. Altitude Illness. Chapter 2 Pre-travel consultation. CDC. Aug 1st, 2013. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-2-the-pre-travel-consultation/altitude-illness
  3. Ellsworth A.J., Meyer E.F., Larson E. B. Acetazolamide or dexamethasone use versus placebo to prevent acute mountain sickness on Mount Rainier. Western Journal of Medicine. 1991 Mar; 154(3): 289–293.
  4. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.
  5. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.
  6. Casikar V. et al. Does Chewing Coca Leaves Influence Physiology at High Altitude? Indian Journal of Clinical Biochemistry. 2010 Jul; 25(3): 311–314.
  7. http://www.mayo.edu/research/documents/preparing-for-safe-travelpdf/doc-10026905
  8. Poos MI, Costello R, Carlson-Newberry SJ. Committee on Military Nutrition Research: Activity Report: National Academies Press (US). December 1, 1994 through May 31, 1999.
  9. Lawless NP. et al. Improvement in hypoxemia at 4600 meters of simulated altitude with carbohydrate ingestion. Aviation, Space, and Environmental medicine journal. 1999 Sep;70(9):874-8.
  1. http://www.theuiaa.org/faq-mountaineering.html
  2. Honigman B. et al. Sea-level physical activity and acute mountain sickness at moderate altitude. Western Journal Medicine. 1995 Aug;163(2):117-21.
  3. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.
  4. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.
  5. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.
  6. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.
  7. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.
  8. Fiore D, Hall S. Altitude Illness: Risk Factors, Prevention, Presentation, and Treatment. American Family Physician journal. 2010 Nov 1;82(9):1103-1110.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 3,767 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,767 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา