วิธีการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับกระดูกหัก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

กระดูกหัก เป็นอาการบาดเจ็บรุนแรงและหนักระดับต้องการการรักษาจากแพทย์ อย่างไรก็ตาม การได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันท่วงทีแต่แรกจากมืออาชีพที่ผ่านการฝึกมานั้นใช่ว่าจะเป็นไปได้ตลอด ในบางสถานการณ์นั้นกว่าจะได้รับการรักษาอาจกินเวลาล่วงไปหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน คนเราโดยเฉลี่ยจะเคยกระดูกหักสองครั้งในชีวิต แม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ฉะนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดได้ยากเลย[1] เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลกระดูกที่หักเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว หรือคนอื่นๆ ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ประเมินบริเวณที่บาดเจ็บ.
    ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไร้คนที่เคยได้รับการฝึกทางแพทย์อยู่ใกล้ๆ นั้น คุณจำต้องรีบประเมินความรุนแรงของแผลอย่างด่วน แผลบาดเจ็บจากการตกหรืออุบัติเหตุบวกกับความเจ็บปวดอย่างมากนั้นไม่ได้เป็นการรับประกันว่ากระดูกจะหัก แต่มันก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ดี กระดูกหักหรือร้าวที่เกิดบริเวณศีรษะ กระดูกสันหลัง หรือกระดูกเชิงกรานนั้นยากที่จะบ่งชี้ได้โดยปราศจากการเอกซเรย์ แต่หากคุณสงสัยว่าจะมีการหักหรือร้าวในบริเวณเหล่านี้ก็ไม่ควรหาทางเคลื่อนย้ายบุคคลนั้น ส่วนกระดูกที่แขน ขา นิ้วมือ และนิ้วเท้านั้นเวลาหักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามันบิดเบี้ยว เปลี่ยนทรง หรือไม่เข้าที่[2] กระดูกหักอย่างรุนแรงนั้นอาจทะลุโผล่ออกมาจากผิวหนัง (ภาวะกระดูกหักเปิด) และจะมีเลือดไหลออกมามากมาย
    • อาการทั่วไปอย่างอื่นๆ ของกระดูกหักได้แก่: สามารถใช้งานบริเวณที่บาดเจ็บได้อย่างจำกัด (ขยับไม่ถนัดหรือลงน้ำหนักไม่ได้) มีอาการบวมและช้ำเขียวขึ้นมาในทันที มีอาการชาหรือเสียวๆ บริเวณที่ต่ำลงไปกว่าแผลเปิด หายใจติดขัด อาเจียน
    • ระมัดระวังในตอนประเมินบาดแผลโดยไม่ขยับมันบ่อย การเคลื่อนย้ายคนที่บาดเจ็บตรงกระดูกสันหลัง ลำคอ กระดูกเชิงกราน หรือกะโหลกศีรษะนั้นถือว่าเสี่ยงมากๆ ถ้าไม่ได้ผ่านการฝึกมาก่อนและควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำเช่นนั้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินหากการบาดเจ็บนั้นร้ายแรง....
    โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินหากการบาดเจ็บนั้นร้ายแรง. พอคุณเห็นว่าบาดแผลนั้นรุนแรงและคิดว่าน่าจะกระดูกหัก ให้โทรศัพท์แจ้งรถฉุกเฉินโดยด่วนเท่าที่จะทำได้[3] การเตรียมให้การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานและคอยใส่ใจดูแลนั้นแน่นอนว่าช่วยได้ แต่มันไม่อาจทดแทนการได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าคุณอยู่ใกล้โรงพยาบาลหรือคลินิก และค่อนข้างมั่นใจว่าการบาดเจ็บนี้ไม่สาหัสถึงแก่ชีวิตและเป็นแค่กระดูกระยางค์ ถ้าเช่นนั้นอาจตัดสินใจขับพาผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาลเองได้เลย
    • ถึงแม้คุณจะมองว่ากระดูกที่หักไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่จงห้ามความรู้สึกอยากขับรถมาโรงพยาบาลเอง คุณอาจไม่สามารถบังคับควบคุมรถได้เหมือนเดิมหรืออาจหมดสติจากความเจ็บปวดจนกลายเป็นอันตรายบนท้องถนนได้
    • หากอาการบาดเจ็บดูรุนแรง ให้ยังคงอยู่ในสายที่โทรศัพท์เรียกรถฉุกเฉินหรือ 191 เผื่อถ้ามันแย่ลงคุณจะได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์หรืออย่างน้อยก็มีคนคอยพูดให้กำลังใจ
    • โทรหาหน่วยฉุกเฉินถ้าคุณสังเกตเห็นอาการต่อไปนี้: โทรขอความช่วยเหลืออย่างด่วนหากบุคคลนั้นไม่มีอาการตอบสนอง ไม่หายใจ หรือไม่ขยับเขยื้อน; มีเลือดออกเป็นจำนวนมาก; แค่แรงกดหรือขยับเบาๆ ก็รู้สึกปวด; กระดูกหรือข้อต่อตามแขนขาผิดรูป; กระดูกทะลุโผล่ผิวหนังออกมา; บริเวณปลายสุดของแขนขาที่บาดเจ็บ เช่นตรงปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ชาไร้ความรู้สึกหรือคล้ำเขียว; คุณสันนิษฐานว่ากระดูกจะหักตรงลำคอ ศีรษะหรือหลัง[4]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทำปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ถ้าจำเป็น.
    หากผู้บาดเจ็บไม่หายใจและคุณตรวจหาไม่พบสัญญาณชีพจรตรงข้อมือหรือต้นคอ ให้เริ่มปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (ถ้าคุณรู้วิธีทำ) ก่อนที่รถฉุกเฉินจะมาถึง[5] ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพนั้นจะต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ช่วยหายใจโดยการเป่าปากให้อากาศเข้าสู่ปาก/ปอด และพยายามทำให้หัวใจกลับมาเต้นด้วยการกดนวดบริเวณทรวงอกเป็นจังหวะเหมือนการบีบตัวของหัวใจ
    • การขาดออกซิเจนมากเกินห้าถึงเจ็ดนาทีอย่างน้อยจะทำให้สมองเกิดความเสียหายขึ้นในระดับหนึ่ง ดังนั้น เวลาจึงมีค่าที่สุด
    • ถ้าคุณไม่เคยผ่านการฝึกทำ CPR ถ้าอย่างนั้นให้ทำ CPR เฉพาะด้วยมือ กดทรวงอกเป็นจังหวะต่อเนื่องด้วยอัตราราว 100 ครั้งต่อนาทีจนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมาถึง[6]
    • ถ้าคุณมีความเชี่ยวชาญในการทำ CPR ให้เริ่มด้วยการกดทรวงอกในทันที (ราว 20 – 30 ครั้ง) แล้วค่อยตรวจดูทางเดินหายใจว่ามีสิ่งกีดขวางอุดตันหรือไม่ และเริ่มทำการกู้คืนชีพหลังจากกดศีรษะไปทางข้างหลังในระดับหนึ่ง[7]
    • สำหรับอาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง ลำคอ หรือกะโหลกศีรษะ ห้ามใช้วิธีการกดศีรษะเงยคางให้หน้าแหงน ให้ใช้วิธีดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบนเพื่อเปิดทางเดินหายใจ แต่ให้ทำเฉพาะถ้าคุณเคยผ่านการฝึกมาเท่านั้น วิธีการดึงขากรรไกรนั้นจะต้องคุกเข่าหลังบุคคลที่บาดเจ็บและวางมือจับด้านข้างของใบหน้าทั้งสองข้าง ให้นิ้วกลางกับนิ้วชี้วางอยู่ข้างใต้และหลังขากรรไกร ดันขากรรไกรทั้งสองข้างไปข้างหน้าจนมันโผล่ออกมา
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ห้ามเลือด.
    ถ้าผู้บาดเจ็บมีเลือดไหลออกมามาก คุณจะต้องพยายามห้ามเลือดไม่ว่ากระดูกจะหักหรือไม่ การที่เลือดไหลออกจากเส้นเลือดใหญ่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที การควบคุมเลือดให้หยุดไหลจึงมีลำดับความสำคัญสูงกว่าการหากระดูกที่หัก ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดดูดซึมได้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อมากดตรงบาดแผลแน่นๆ (นี่เป็นกรณีสมบูรณ์แบบ) ถึงแม้ผ้าเช็ดตัว หรือเศษผ้าสะอาดๆ ก็ใช้ได้แล้วในยามฉุกเฉิน[8] กดไว้อย่างนั้นสักสองสามนาทีเพื่อกระตุ้นให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตรงบริเวณบาดแผล รัดผ้าพันแผลรอบบาดแผลให้แน่นด้วยเทปยืดหรือเศษผ้าถ้าคุณทำได้
    • หากเลือดยังไม่ยอมหยุดไหลจากบริเวณบาดแผลตามแขนขา คุณอาจต้องผูกสายรัดแน่นๆ เหนือบาดแผลเป็นการชั่วคราวเพื่อตัดระบบไหลเวียนโลหิตจนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมาถึง สายรัดสามารถทำมาจากวัสดุใดก็ได้ที่สามารถรัดได้แน่น จะเส้นด้าน เชือก สายไฟ ท่อยาง เข็มขัดหนัง เน็คไท ผ้าพันคอ เสื้อยืด เป็นต้น
    • ถ้ามีชิ้นวัสดุใหญ่ๆ ทิ่มฝังเข้าไปในเนื้อ อย่าเอามันออก มันอาจจะทำให้เลือดรอบบาดแผลจับเป็นก้อน และการเอามันออกจะทำให้เกิดการเสียเลือดมากมาย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

หาตำแหน่งของกระดูกที่หัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดามกระดูกที่หัก.
    หลังจากผู้บาดเจ็บมีอาการคงที่แล้ว ก็ถึงเวลาทำการดามกระดูกที่หักถ้าคุณต้องใช้เวลาในการรอหน่วยฉุกเฉินหนึ่งชั่วโมงเป็นต้นไป[9] การดามมันเอาไว้จะช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันกระดูกที่หักไม่ให้เสียหายขึ้นไปกว่าเดิมจากการขยับเขยื้อนโดยไม่ตั้งใจ ถ้าคุณไม่ได้รับการฝึกที่ถูกวิธีมา อย่าพยายามปรับแนวกระดูกเอง การพยายามปรับแนวกระดูกที่หักอย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้มันสร้างความเสียหายอื่นต่อเส้นเลือดกับเส้นประสาท นำไปสู่การเกิดเลือดไหลหรือเกิดอัมพาตได้ พึงตระหนักว่าการเข้าเฝือกนั้นใช้ได้ผลเฉพาะกับกระดูกแขนขา แต่ไม่ใช่กับกระดูกเชิงกรานหรือกระดูกซี่โครง
    • วิธีดีที่สุดที่จะดามไม่ให้ขยับตัวคือการทำเฝือกง่ายๆ วางแผ่นกระดาษลูกฟูกหรือพลาสติกแข็งๆ หากิ่งไม้หรือท่อนโลหะ หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารม้วนเป็นวงกลม มาขนาบทั้งสองข้างของบาดแผลเพื่อรองกระดูกเอาไว้[10] รัดทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันโดยใช้เทป ด้าย เชือก สายไฟ ท่อยาง เข็มขัดหนัง เน็คไท ผ้าพันคอ เป็นต้น
    • เวลาจะเข้าเฝือกกระดูกที่หัก พยายามปล่อยให้มีพื้นที่ขยับตรงข้อต่อบ้างและอย่ารัดจนแน่นเกินไป รัดพอให้เลือดยังคงไหลเวียนไปได้
    • การเข้าเฝือกอาจไม่จำเป็นสักเท่าไหร่หากรถฉุกเฉินกำลังจะไปถึง ในกรณีเช่นนี้ การเข้าเฝือกอาจสร้างความเสียหายมากกว่าจะช่วยให้ดีขึ้นถ้าคุณไม่ได้ฝึกมาอย่างถูกวิธี
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบน้ำแข็งตรงบาดแผล.
    เมื่อกระดูกที่หักได้รับการดามไว้แล้ว ให้ประคบด้วยอะไรเย็นๆ (ควรจะเป็นน้ำแข็ง) ทันทีในระหว่างที่รอรถฉุกเฉิน การบำบัดด้วยความเย็นนั้นมีข้อดีหลายอย่าง เช่นลดอาการปวด ลดอาการบวมอักเสบ และลดเลือดไหลโดยการทำให้หลอดเลือดบีบตัว[11] หากคุณไม่มีถุงน้ำแข็ง ให้ลองใช้เจลแพ็คหรือถุงผักแช่แข็ง แต่ให้แน่ใจว่าได้ใช้ผ้าบางๆ มาพันรอบของที่เย็นเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนน้ำแข็งกัด
    • ประคบน้ำแข็งไว้ประมาณ 20 นาทีหรือจนกระทั่งทั่วบริเวณนั้นรู้สึกชาก่อนจะเอาออก การกดน้ำแข็งไว้บนบาดแผลอาจช่วยลดอาการบวมได้มากขึ้นตราบเท่าที่มันไม่ไปทำให้ปวดเพิ่มขึ้น
    • ในขณะที่ประคบน้ำแข็ง ให้แน่ใจว่าได้มีการยกช่วงกระดูกที่หักให้สูงขึ้นเพื่อลดอาการบวมและชะลอเลือดที่ไหล (หากทำได้)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตั้งสติและมองหาสัญญาณการเกิดภาวะช็อค.
    กระดูกหักนั้นสร้างความเจ็บปวดอย่างยิ่ง ปฏิกิริยาส่วนใหญ่ที่พบเห็นก็คือรู้สึกหวาดกลัว ตื่นตระหนก และช็อค แต่พวกมันอาจก่อให้เกิดผลที่ตามมาในด้านลบต่อร่างกาย จึงจำเป็นต้องควบคุมมันไว้ เมื่อเป็นเช่นนั้น จงตั้งสติทั้งของตัวคุณและ/หรือผู้บาดเจ็บโดยการพูดให้ความมั่นใจว่าความช่วยเหลือกำลังมาถึงและทุกอย่างได้รับการควบคุมดูแลไว้หมดแล้ว ในระหว่างที่รอก็ให้หาอะไรห่มร่างเขาเพื่อความอบอุ่นและให้ดื่มน้ำถ้าเขารู้สึกกระหาย พยายามชวนคุยเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเขาไปจากอาการบาดเจ็บ
    • สัญญาณของภาวะช็อคก็เช่น: รู้สึกหน้ามืด/จะเป็นลม หน้าซีด เหงื่อเย็น หายใจหอบถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูง สับสน ตื่นตระหนกแบบไร้เหตุผล[12]
    • ถ้าหากดูเหมือนว่าบุคคลนั้นกำลังช็อค ให้เขานอนลงโดยมีอะไรหนุนศีรษะและหนุนขา หาผ้าห่มหรือเสื้อแจ็คเก็ตมาห่มตัว หรือจะใช้กระทั่งผ้าปูโต๊ะถ้าหาอย่างอื่นไม่ได้
    • ภาวะช็อคนั้นอันตรายเนื่องจากเลือดและออกซิเจนจะไหลออกจากอวัยวะสำคัญ[13] ในสภาวะเช่นนี้ ถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พิจารณาเรื่องการใช้ยาแก้ปวด.
    ถ้าการรอรถฉุกเฉินต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมง (หรือคุณมองดูแล้วว่าต้องรอนาน) ให้ลองคิดถึงการใช้ยาควบคุมความเจ็บปวดถ้าคุณมี เพื่อผู้บาดเจ็บจะอดทนรอได้ดีขึ้น อะซีตามิโนเฟน (Acetaminophen) อย่าง Tylenol เป็นยาแก้ปวดที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในกรณีกระดูกหักหรือมีบาดแผลในอวัยวะภายในมาก เนื่องจากมันไม่ได้ทำให้เลือด “เหลว” ขึ้น จนทำให้ไหลออกมามากขึ้น[14]
    • ยาแก้อักเสบที่วางขายทั่วไปอย่างแอสไพรินและไอบูโพรเฟน (Advil) นั้นช่วยเรื่องความเจ็บปวดกับอาการบวมอักเสบได้ แต่มันไปห้ามการจับตัวเป็นก้อนของเลือด จึงไม่เหมาะจะรักษาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในอย่างกระดูกหัก
    • นอกเหนือจากนั้น ไม่ควรให้ยาแอสไพรินกับไอบูโพรเฟนกับเด็ก เพราะพวกมันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คอยหมั่นตรวจเช็คแขนขาดูว่าเฝือกที่ทำให้นั้นแน่นเกินไปหรือไม่ หรือไปตัดระบบการไหลเวียนของเลือด คลายเฝือกให้หลวมขึ้นถ้ามันดูจะทำให้เกิดอาการซีด บวม หรือชาไร้ความรู้สึก
  • ถ้าเลือดจากแผลไหลซึมผ่านผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อมา (หรืออะไรก็ตามที่คุณใช้ห้ามเลือด) อย่าเอาออก ให้แปะผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลทับเพิ่ม
  • ให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเคลื่อนย้ายเหยื่อที่บาดเจ็บตรงหลัง ลำคอ หรือศีรษะ เว้นแต่ว่ามันจำเป็นอย่างถึงที่สุด หากคุณสงสัยว่าเกิดบาดเจ็บที่ลำคอหรือหลังและจะต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ให้หาอะไรมารองหลัง ลำคอ กับศีรษะเป็นอย่างดีและเป็นแนวระนาบเดียวกัน หลีกเลี่ยงการบิดหรืองอทุกรูปแบบ
  • บทความนี้ไม่ควรจะถูกใช้แทนคู่มือการรักษา จงแน่ใจเสมอว่าผู้บาดเจ็บจะต้องได้รับการรักษาทางแพทย์แม้ว่าจะได้ทำตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมด เพราะกระดูกหักคืออาการบาดเจ็บที่สาหัสถึงแก่ชีวิต
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jonathan Frank, MD
ร่วมเขียน โดย:
ศัลยแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาออร์โธปิดิกส์และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาข้อ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jonathan Frank, MD. ดร.โจนาธาน แฟรงค์เป็นศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ในเบเวอร์ลีฮิลส์ แคลิฟอร์เนีย เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาและการดูแลรักษาข้อ โดยการรักษาของเขาจะเน้นไปที่การผ่าตัดเข่า ไหล่ สะโพก และข้อศอกโดยวิธีส่องกล้องแบบแผลเล็ก เขาสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส จากนั้นก็สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านฯ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์จากศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยรัชในชิคาโก และหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ อนุสาขาเวชศาสตร์การกีฬาออร์โธปิดิกส์และการดูแลรักษาสะโพกจากคลินิกสตีดแมนในเวล โคโลราโด นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ดูแลนักกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดทีมชาติสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ปัจจุบันเขาเป็นผู้ประเมินบทความวิทยาศาสตร์ให้กับวารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และงานวิจัยของเขาก็ได้รับการนำเสนอในงานสัมมนาด้านออร์โธปิดิกส์ระดับภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ และได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รวมถึงรางวัล Mark Coventry และ William A Grana อันทรงเกียรติด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 48,485 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 48,485 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา