วิธีการ ดูแลตัวเองเมื่อเกิดแผลน้ำร้อนลวก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

น้ำร้อนลวก เป็นหนึ่งในอุบัติเหตุในครัวเรือนที่พบบ่อยที่สุด จะเครื่องดื่มร้อน น้ำอาบ หรือน้ำเดือดตอนทำอาหาร ก็มีโอกาสกระเด็นมาลวกผิวคุณได้ทั้งนั้น เรียกได้ว่าเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกเวลา แต่ถ้ารู้จักประเมินสถานการณ์ และรู้ว่าแผลน้ำร้อนลวกอยู่ระดับไหน ก็จะดูแลตัวเองได้ทันท่วงทีและถูกวิธี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สัญญาณบอกแผลไหม้ระดับที่ 1 (first degree burn).
    พอน้ำร้อนลวกผิวแล้ว ต้องรีบสำรวจว่าแผลเป็นแบบไหน ปกติแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกจะแบ่งออกเป็นระดับความเสียหายแตกต่างกัน ยิ่ง degree หรือระดับสูง ก็แปลว่าแผลรุนแรง first degree burn หรือแผลไหม้ระดับที่ 1 จะไม่รุนแรงมาก แค่บาดเจ็บที่หนังกำพร้า อาการไหม้ระดับที่ 1 ก็เช่น[1][2]
    • หนังกำพร้าเสียหาย
    • ผิวแห้ง แดง แสบ
    • กดแล้วแผลเป็นสีขาว
    • แผลแบบนี้จะหายใน 3 - 6 วันโดยไม่ทิ้งแผลเป็นไว้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สัญญาณบอกแผลไหม้ระดับที่ 2 (second degree burn).
    ถ้าน้ำร้อนกว่าเดิมหรือโดนลวกเป็นเวลานานขึ้น ก็จะเข้าสู่ระดับที่ 2 คือเกิดบาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น (superficial partial-thickness burn) อาการคือ[3][4]
    • เกิดความเสียหายที่ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ แต่ส่งผลต่อชั้นหนังแท้แค่ตื้นๆ
    • แผลแดง มีน้ำไหลออกมา
    • เกิดแผลพุพอง
    • กดแล้วแผลเป็นสีขาว
    • แตะเบาๆ ก็เจ็บ รวมถึงตอนที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
    • แผลแบบนี้จะหายใน 1 - 3 อาทิตย์ อาจถึงขั้นเกิดแผลเป็นหรือผิวด่าง คือสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าผิวหนังรอบๆ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สัญญาณบอกแผลไหม้ระดับที่ 3 (third degree burn).
    แผลไหม้ระดับที่ 3 เกิดเมื่อน้ำร้อนสุดๆ หรือโดนลวกนานเข้าไปอีก จะเกิดบาดแผลชนิดลึก (deep partial-thickness burn) อาการที่พบก็คือ[5][6]
    • เกิดความเสียหายที่ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ โดยแผลจะลึกกว่าเดิม แต่ไม่ถึงกับทะลุผ่านชั้นหนังแท้ลงไป
    • เจ็บเวลากดแรงๆ (ตอนโดนลวกอาจจะยังไม่เจ็บ เพราะเส้นประสาทเสียหายหรือตาย)
    • ผิวหนังจะไม่กลายเป็นสีขาวตอนกดแผล
    • เกิดแผลพุพอง
    • แผลดำ หนา หรือลอก
    • ถ้าโดนลวกถึงขั้นนี้ต้องไปโรงพยาบาลด่วน ส่วนใหญ่คุณหมอจะรักษาด้วยการผ่าตัดและต้องแอดมิทจนฟื้นตัว ถ้าโดนลวกกว่า 5% ของร่างกาย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สัญญาณบอกแผลไหม้ระดับที่ 4 (fourth degree burn).
    แผลไหม้ระดับที่ 4 คือระดับที่รุนแรงที่สุด เป็นอาการบาดเจ็บร้ายแรง ต้องถึงมือหมอโดยเร็วที่สุด อาการที่พบคือ[7][8]
    • ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้เสียหายทั้งหมด ส่วนใหญ่จะลามลึกไปถึงชั้นไขมันและกล้ามเนื้อด้วย ถ้าเป็นแผลระดับที่ 3 และ 4 บางทีอาจส่งผลถึงกระดูกเลย
    • แผลแบบนี้จะไม่เจ็บปวด
    • ผิวหนังที่แผลเปลี่ยนสี เช่น กลายเป็นขาว เทา หรือดำ
    • ผิวหนังที่แผลแห้ง
    • ต้องผ่าตัดรักษา รวมถึงรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนฟื้นตัว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รู้จักแผลไหม้รุนแรง.
    ไม่ว่าจะเป็นระดับที่เท่าไหร่ ก็ถือเป็น major burn หรือแผลไหม้รุนแรง ถ้าแผลเกิดทั่วข้อหรือกินวงกว้างแทบทั้งตัว ถ้ามีอาการแทรกซ้อนส่งผลกับสัญญาณชีพ หรือทำให้ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ ก็ถือว่าอาการรุนแรงเช่นกัน
    • แขนหรือขา 1 ข้าง นับเป็น 10% ของร่างกายผู้ใหญ่โตเต็มวัย ส่วนช่วงตัวนับเป็น 20% ของผู้ใหญ่ ถ้าเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกกว่า 20% ของร่างกาย ก็ถือเป็นแผลไหม้รุนแรง
    • ถ้า 5% ของร่างกาย (แขนท่อนล่าง ขาครึ่งท่อน และอื่นๆ) เกิดแผลไหม้ลึกระดับที่ 3 หรือ 4 ก็ถือเป็นแผลไหม้รุนแรงเช่นกัน
    • ต้องดูแลแผลประเภทนี้เหมือนแผลระดับที่ 3 หรือ 4 คือไปโรงพยาบาลด่วน[9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาแผลน้ำร้อนลวกเล็กน้อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ประเมินสถานการณ์ว่าต้องหาหมอไหม.
    ถึงจะเป็นแผลไหม้ไม่รุนแรง ระดับที่ 1 - 2 ก็ยังต้องไปหาหมอถ้าเข้าข่าย อย่างถ้าเป็นแผลไหม้รอบเนื้อเยื่อใกล้เคียงของนิ้วมือเดียวหรือหลายนิ้ว ก็ควรหาหมอโดยเร็ว เพราะอาจทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงบริเวณนิ้วมือ ถ้าปล่อยไว้แล้วร้ายแรงเข้าอาจถึงขั้นต้องตัดนิ้วเลย[10]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ล้างแผล.
    ถ้าแผลไม่รุนแรง ก็ดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องหาหมอ ขั้นแรกคือล้างแผลซะก่อน โดยเอาเสื้อผ้าที่ปิดบังแผลออก แล้วแช่แผลในน้ำเย็นจัด เพราะถ้าเปิดน้ำก๊อกราดแผล อาจทำให้ผิวหนังเสียหายกว่าเดิม จนกลายเป็นแผลเป็นหรือโรคแทรกซ้อน ที่สำคัญคือห้ามใช้น้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เพราะแผลจะระคายเคืองได้
    • ฟอกแผลด้วยสบู่อ่อนๆ (สบู่เด็ก)
    • อย่าใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) เพราะจะทำให้แผลหายช้าลง
    • ถ้าเสื้อผ้าติดแน่นกับแผล อย่าดึงออกเอง เป็นไปได้ว่าแผลไหม้อาจรุนแรงกว่าที่คิด ให้ไปโรงพยาบาลเลยจะดีกว่า[12][13] ให้ตัดเสื้อผ้าออก เหลือแต่บริเวณที่ติดอยู่กับแผล จากนั้นเอาเจลเย็น/น้ำแข็งห่อผ้าประคบแผลไว้ทั้งที่มีชิ้นส่วนเสื้อผ้าแปะอยู่ อย่าประคบนานเกิน 2 นาที
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ระบายความร้อนจากแผล.
    พอล้างแผลแล้ว ให้แช่แผลในน้ำเย็น 15 - 20 นาที อย่าใช้น้ำแข็งหรือเปิดน้ำก๊อกราดแผล เพราะจะทำให้ผิวหนังเสียหายกว่าเดิม ต่อมาให้เอาผ้าชุบน้ำเย็น แล้วประคบที่แผล ห้ามถูไถ ให้โปะผ้าไว้เฉยๆ
    • ให้เอาผ้าชุบน้ำก๊อก บิดหมาด แล้วแช่ตู้เย็นไว้จนเย็น
    • ห้ามเอาเนยมาทาแผล นอกจากไม่ช่วยระบายความร้อนแล้วยังอาจทำให้ติดเชื้อได้ด้วย[14][15][16]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ป้องกันการติดเชื้อ.
    วิธีป้องกันไม่ให้แผลน้ำร้อนลวกติดเชื้อ ก็คือต้องทำแผลทันทีหลังระบายความร้อนแล้ว ให้ทาขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะ เช่น Neosporin หรือ bacitracin ใช้นิ้วที่สะอาดหรือสำลีก้อนก็ได้ ถ้าเป็นแผลเปิด ให้ใช้ผ้าก๊อซแบบไม่ติดแผลแทน เพราะใยของสำลีอาจติดแผลได้ ต่อมาใช้ผ้าพันแผล (แบบไม่ติดแผลเช่นกัน) เช่น Telfa แล้วเปลี่ยน 1 - 2 ครั้งต่อวัน ทายาใหม่ด้วย
    • ห้ามบีบตุ่มพองที่แผลให้แตก
    • ถ้าคันแผลตอนใกล้จะหาย ก็อดทนไว้ อย่าเกา เพราะเดี๋ยวจะติดเชื้อ บอกเลยว่าแผลไหม้ติดเชื้อง่ายมาก
    • หรือทาขี้ผึ้งสมุนไพรแก้คัน เช่น ว่านหางจระเข้, cocoa butter และ mineral oil
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลดปวด.
    ถ้าเป็นแผลไหม้แบบไม่รุนแรง มักจะปวดแผลเสมอ พอทำแผลแล้วให้ยกแผลสูงกว่าหัวใจ จะช่วยลดปวดบวมได้ แต่ถ้าปวดไม่หาย ให้ซื้อยาแก้ปวดกิน เช่น acetaminophen (Tylenol) หรือ ibuprofen (Advil และ Motrin) จะกินกี่ครั้งต่อวันก็ต้องตามฉลาก และกินจนหายปวด
    • ปริมาณที่แนะนำของ Acetaminophen คือ 650 มก. ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ใน 1 วันห้ามกินเกิน 3,250 มก.
    • ปริมาณที่แนะนำของ Ibuprofen คือ 400 - 800 มก. ทุก 6 ชั่วโมง ใน 1 วันห้ามกินเกิน 3,200 มก.
    • ต้องอ่านคำแนะนำในการใช้ยาให้ละเอียดเสมอ เพราะปริมาณยาที่แนะนำจะต่างกันไปตามชนิดและยี่ห้อของยา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาแผลน้ำร้อนลวกรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 โทรเรียกรถพยาบาล.
    ถ้าพิจารณาแล้วพบว่าเป็นแผลไหม้รุนแรง ระดับที่ 3 - 4 ต้องรีบขอความช่วยเหลือโดยด่วน เพราะร้ายแรงเกินกว่าจะดูแลตัวเอง ต้องถึงมือหมอให้เร็วที่สุด[17] เรียกรถพยาบาลทันทีถ้า[18]
    • แผลลึกและร้ายแรง
    • แผลไหม้รุนแรงกว่าระดับที่ 1 และคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักมานานเกิน 5 ปี
    • แผลใหญ่กว่า 3 นิ้ว (เกือบๆ 8 ซม.) หรือล้อมรอบอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
    • มีอาการติดเชื้อ เช่น แดงขึ้น เจ็บมากขึ้น มีหนอง หรือมีไข้
    • คนเจ็บอายุน้อยกว่า 5 ขวบหรือแก่กว่า 70 ปี
    • คนเจ็บเป็นคนที่ภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายสู้อาการติดเชื้อไม่ค่อยได้ เช่น มีเชื้อ HIV, ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive medications), เป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคตับ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รีบปฐมพยาบาลคนเจ็บ.
    ถ้าคนที่ถูกน้ำร้อนลวกไม่ใช่คุณ ให้รีบเช็คการตอบสนองหลังเรียกรถพยาบาล ถ้าคนเจ็บนิ่งเฉยหรือช็อค ให้แจ้งทางโรงพยาบาลไว้ จะได้ช่วยเหลือทันท่วงที
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถอดเสื้อผ้า.
    ระหว่างรอความช่วยเหลือ ถ้ามีเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับกีดขวางหรืออยู่ติดกับแผลให้ถอดออก แต่ถ้าเศษผ้าหรือเครื่องประดับติดแน่นกับแผลก็ต้องทิ้งไว้ เพราะถ้าไปฝืนดึงอาจทำให้แผลฉีก บาดเจ็บกว่าเดิม
    • ใช้เจลเย็นประคบเครื่องประดับโลหะ เช่น แหวน หรือสร้อยคอมือที่ถอดลำบาก เพราะเครื่องประดับโลหะจะนำความร้อนจากผิวรอบๆ แล้วถ่ายเทไปยังแผล
    • ถอดและตัดเสื้อผ้ารอบแผลเท่าที่จะทำได้ เว้นที่ติดแน่นกับแผลไว้
    • คนเจ็บ (คนอื่นหรือตัวคุณ) ต้องร่างกายอบอุ่น เพราะถ้าเกิดแผลไหม้รุนแรง อาจทำให้ช็อคได้[20]
    • ถ้าเป็นแผลไหม้รุนแรง ห้ามเอาแผลไปแช่น้ำ เพราะน้ำเย็นจะทำให้คุณเกิดภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) ถ้าเป็นแผลที่อวัยวะที่ขยับได้ ให้ยกสูงเหนือระดับหัวใจ จะป้องกันไม่ให้แผลบวม
    • อย่ากินยาแก้ปวด, บีบตุ่มพอง, แกะเกาหรือขูดเนื้อตาย หรือทาขี้ผึ้งยา เพราะอาจทำให้คุณหมอรักษายากกว่าเดิม[21]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปิดแผล.
    พอกำจัดเสื้อผ้าที่กีดขวางออกแล้ว ให้ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลสะอาดแบบไม่ติดแผล จะได้ไม่ติดเชื้อ สำคัญมากว่าต้องไม่ใช้วัสดุที่ติดแผลได้ เช่น ผ้าก๊อซแบบไม่ติดแผล และผ้าพันแผลแบบเปียก
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าแผลดูรุนแรงแต่ไม่เจ็บ แสดงว่าอันตรายกว่าที่คิด ให้รีบระบายความร้อนแล้วหาหมอให้เร็วที่สุด หลายคนเห็นแผลไหม้ระดับที่ 3 ตอนแรกๆ แล้วคิดว่าไม่อันตราย แต่จริงๆ เป็นเพราะกลไกการป้องกันความเจ็บปวดของร่างกาย ถ้าไม่ระบายความร้อนที่แผลและหาหมอให้เร็วที่สุด อาจลุกลาม เกิดโรคแทรกซ้อน กว่าจะหายก็นานแถมจะกลายเป็นแผลเป็น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Anthony Stark, EMR
ร่วมเขียน โดย:
ผู้รับผิดชอบแพทย์หน่วยฉุกเฉิน
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Anthony Stark, EMR. แอนโธนี สตาร์คเป็นผู้รับผิดชอบหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่มีใบอนุญาตในบริติชโคลัมเบีย ปัจจุบันเขาทำงานให้กับศูนย์แพทย์ฉุกเฉินบริติชโคลัมเบีย บทความนี้ถูกเข้าชม 18,626 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,626 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา