วิธีการ ช่วยเหลือดูแลคนเป็นโรควิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคนรู้จักหรือใกล้ชิดของคุณเป็นโรควิตกกังวล (anxiety disorder) คุณก็คงพอเคยเห็นหรือพอรู้มาบ้าง ว่านี่เป็นโรคที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออารมณ์ของคนคนนั้น จนทำเอาเขารู้สึกเหนื่อยล้าไร้ทางสู้ [1] คุณมาถูกที่แล้ว เพราะบอกเลยว่ามีหลายวิธีด้วยกันที่คุณช่วยเหลือดูแลคนเป็นโรควิตกกังวลให้ดีขึ้นได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รู้จักและเข้าใจโรควิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อะไรคือสาเหตุของโรควิตกกังวล.
    คุณต้องศึกษาให้เข้าใจซะก่อน [2] จะได้เข้าถึงและมองโลกจากมุมมองของคนที่เขามีอาการ จะได้รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรแทรกแซงเข้าช่วย อาจจะลองเลียบๆ เคียงๆ ถึงอดีตอันยากลำบากของเขา อาการเจ็บป่วยที่เขาต่อสู้อยู่ หรือแค่ชวนคุยให้เขาสบายใจขึ้นก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้จักโรควิตกกังวลประเภทต่างๆ.
    โรควิตกกังวลมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งสิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบก็จะแตกต่างกันออกไป คุณต้องสันนิษฐานหรือหาให้เจอก่อน ว่าคนที่คุณพยายามจะช่วยเขาจัดอยู่ในประเภทไหน จะได้รับมืออย่างเหมาะสม [5]
    • Agoraphobia: คือโรคกลัวที่ชุมชน หรืออาการกลัวที่โล่ง เป็นโรควิตกกังวลชนิดที่กลัวสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย กดดัน หรือรู้สึกว่าตัวเองไร้การควบคุม [6]
    • โรควิตกกังวลที่เป็นผลมาจากโรคหรืออาการอื่นๆ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคหัวใจ หรือโรคไทรอยด์ กรณีนี้ถ้าคุณรักษาบรรเทาโรคต้นเหตุก่อน ก็จะช่วยเขาคลายความวิตกกังวลลงได้เยอะเลย (เช่น เตือนให้เขากินยาครบถ้วนตามหมอสั่ง)
    • Generalized anxiety disorder (GAD) หรือโรคกังวลทั่วไป เป็นประเภทที่วิตกกังวลเกินพอดี เกี่ยวกับแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
    • โรควิตกกังวลจากการใช้หรือเลิกสารเสพติด ข้อนี้แนะนำให้พาคนที่เป็นไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลิกยาหรือบรรเทาอาการอยากยาจะดีกว่า
    • โรคแพนิค (Panic disorder): จะมีอาการวิตกกังวลและ/หรือหวาดกลัวรุนแรงมาก ซึ่งจะคงอยู่ประมาณหลายนาที อาการที่พบก็เช่น หายใจติดขัด ใจสั่น (palpitations) และรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังตกอยู่ในอันตรายหรือไร้ทางออก [7]
    • โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder): หวาดกลัวการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเกินปกติ คนที่เป็นอาจกังวลเรื่องความคิดและการกระทำของตัวเองมากเกินไป รวมถึงรู้สึกอาย ละอายง่าย และกลัวจะทำเปิ่นหรือขายหน้าต่อหน้าคนจำนวนมาก[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ต้องรู้ก่อนว่าโรควิตกกังวลกำเริบแล้วรู้สึกยังไง....
    ต้องรู้ก่อนว่าโรควิตกกังวลกำเริบแล้วรู้สึกยังไง. สรุปง่ายๆ คือไม่ใช่เรื่องน่าสนุกหรือขำขันเลย ก่อนจะคิดช่วยใครก็ต้องเข้าใจก่อนว่าคนที่เขาเป็นโรควิตกกังวลเขาต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบไหน คุณจะได้ปลอบใจได้ตรงจุด อาการของคนเป็นโรควิตกกังวลก็คือ [9]
    • กระวนกระวาย
    • รู้สึกไร้ทางสู้ ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
    • รู้สึกตกอยู่ในอันตราย
    • รู้สึกอ่อนแอ
    • เหนื่อยล้า
    • จดจ่อกับอะไรไม่ค่อยได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รับฟังอย่างตั้งใจ.
    ต่างคนก็ต่างปัญหา วิธีการช่วยเหลือก็ต้องแตกต่างกันออกไป บางทีวิธีที่ดีที่สุดก็คือถามเขาเลย (ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม) ว่าอยากให้คุณช่วยยังไง คุณทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดีได้ โดย [10]
    • รับฟังอย่างเป็นกลาง เช่น รับคำว่า "เราเข้าใจ" หรือ "อืม"
    • ปรับสีหน้าท่าทางของคุณตามอารมณ์ของการสนทนา เช่น ถ้าเพื่อนไม่สบายใจหรือไม่พอใจมาก เวลาคุณบอกว่า "เราเข้าใจ" ก็ต้องฟังดูเห็นใจหรือให้กำลังใจ ไม่ใช่รับคำไปงั้นๆ หรือตื่นเต้นตื่นตัวแบบเฟคๆ (ซึ่งเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกับอารมณ์หดหู่ของเพื่อนมาก)
    • ถามคำถามแบบปลายเปิดเข้าไว้ ถ้าคุณอยากรู้ละเอียดขึ้นว่าคุณจะช่วยเขาได้ยังไง แทนที่จะโพล่งออกไปว่า "นี่เครียดอยู่ใช่ไหม?" ให้เปลี่ยนเป็นคำถามปลายเปิดอย่าง "เวลาเจอแบบนี้เรานี่เซ็งเลย แล้วเธอล่ะ เรื่องอะไรที่ทำให้นอยด์หรือเครียดสุดๆ?"
    • จดจ่อให้มาก ลืมทุกความกังวลของคุณเองไปก่อน แล้วสังเกตและจดจำแต่ความคิดและความรู้สึกของเพื่อนในเวลานั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เห็นใจให้มาก.
    การเห็นใจหรือเข้าอกเข้าใจคนอื่นก็คือการจับสังเกตอารมณ์ของเขา และคิดต่อยอดว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น เขาคิดหรือรู้สึกยังไงอยู่กันแน่ [11] คุณเข้าใจความรู้สึกคนเป็นโรควิตกกังวลได้แค่ลอง [12]
    • จดจ่อสนใจเขาให้มาก
    • คิดถึงเรื่องที่คนทั่วไปก็เคยประสบพบเจอหรือมักคิดเห็นตรงกัน เพราะเราต่างก็เคยเจ็บ กลัว และเครียดเรื่องคล้ายๆ กันมาก่อน พอมาปรับจูนเข้ากับเรื่องของเขาจะได้ทำความเข้าใจและมองจากมุมมองของเขาง่ายขึ้น
    • งดแสดงความคิดเห็นหรือตัดสินเขาในมุมมองของคุณ
    • แบ่งปันประสบการณ์คล้ายๆ กันของคุณได้ แต่อย่าเยอะจนแย่งซีนเรื่องของเขา เพราะคุณแค่อยากให้เขารู้ ว่าคุณเองก็เคยเจอเรื่องแนวนี้เพราะฉะนั้นคุณเข้าใจความรู้สึกของเขา
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เฝ้าระวังและสังเกต.
    ต้องรู้จักจับสังเกตสีหน้าท่าทางเวลาเขาอาการวิตกกังวลกำเริบ คุณจะได้รู้และช่วยเหลือหรือปลอบโยนทัน อาการที่ว่าก็เช่น [13]
    • กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข
    • หายใจหอบถี่
    • เหงื่อแตก
    • ตัวสั่น
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อย่าลงทุนลงแรงจนคุณลำบากกายใจ.
    จำไว้ว่าคุณช่วยเขาได้ แต่ถ้าทำแล้วคุณเดือดร้อนซะเอง แถมเพื่อนหรือคนรู้ใจยังวิตกกังวลไม่หายหรืออาการหนักกว่าเดิม ก็ถึงเวลาต้องตัดใจ
    • หรือก็คืออย่าพยายามดันทุรังปรับเปลี่ยนเขา และก็อย่าปล่อยให้การช่วยเขามาเปลี่ยนคุณ เพราะทำแบบนั้นไปบางทีก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา [14]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลช่วยเหลือคนเป็นโรควิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขาทำอะไรใหม่ๆ ดีๆ ให้รีบชม.
    เช่น ชมเลยถ้าปกติเพื่อนหรือคนรู้ใจของคุณกลัวการเข้าสังคมแต่อยู่ๆ ก็ลุกไปปาร์ตี้แถมเข้ากันได้ดีกับคนอื่น บอกเขาให้ชื่นใจว่าเขาคนใหม่นี่ฮิตติดลมบน ลงรายละเอียดด้วยก็ดี ว่าชอบที่เขาทำอะไร และใครชมอะไรเขาบ้าง[15]
    • แบบนี้เพื่อนหรือแฟนคุณจะได้รู้ว่าการเข้าสังคมก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร และเอาเข้าจริงเขาก็เป็นดาวเด่นในวงสนทนาได้เหมือนกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เขาทำพลาด วิตกจริต อย่าวิจารณ์.
    เพราะยิ่งไปตำหนิคนที่เขาวิตกกังวลจนทำพลาด จะทำให้เขายิ่งเครียดยิ่งพลาดกว่าเดิม ซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย[16]
    • ถ้าคุณหัวเสียแถมคันปากอยากวิจารณ์ ให้ปลีกตัวออกจากตรงนั้นไปก่อน แล้วค่อยกลับมาใหม่เมื่อใจเย็นลงแล้ว
    • แทนที่จะจดจ่ออยู่กับพฤติกรรมแย่ๆ ของเขา ณ เวลานั้น ให้มองไปข้างหน้าดีกว่า ว่าถ้าเขาเปลี่ยนพฤติกรรมได้ อะไรดีๆ จะเกิดขึ้นบ้าง เช่น แทนที่จะเซ็งว่าเพื่อนเก็บตัวไม่ยอมออกไปเจอใคร ให้ลองพูดว่า "ลองคิดดูสิ ว่าถ้าเธอออกไปงานคืนนี้ อาจจะได้เส้นสายดีๆ แบบไม่รู้ตัวเลยนะ สมัยก่อนเราก็เจอเพื่อนที่เดี๋ยวนี้สนิทๆ จากงานแบบนี้นี่แหละ"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แนะนำให้เขาเข้ารับการรักษา.
    อีกวิธีที่คุณช่วยเขาได้ คือแนะนำให้เขาไปหาหมอเพื่อทำการรักษา[17] อธิบายให้เขาสบายใจ ว่าจิตบำบัด การใช้ยา หรือทั้ง 2 อย่างผสมกัน จะทำให้เขาอาการดีขึ้นแน่นอน[18]
    • บางทีวิธีการรักษาที่คุณแนะนำก็ต้องแล้วแต่ชนิดอาการของเขาและโรคอื่นที่อาจเป็นสาเหตุ เช่น เขาอาจต้องเลิกสารเสพติดก่อน เป็นต้น ส่วนถ้าเขาเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม ก็ต้องรักษากับจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดเป็นต้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เตรียมรับ panic attacks ไว้บ้าง.
    โรควิตกกังวลบางประเภทอาจมีอาการ panic attacks ร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้หายใจลำบากหรือใจสั่น จนทำให้เขาอาจเหมาว่าตัวเองกำลังจะหัวใจวายหรือหมดสติ อาการ panic attacks ถือเป็นอาการที่น่ากลัวมากสำหรับคนเป็นโรควิตกกังวล รวมถึงคุณเองด้วยถ้าไม่รู้จักเตรียมรับมือไว้แต่เนิ่นๆ [19]
    • ระหว่างอาการ panic attack กำเริบ เขามักจะไม่มีแรงขยับเขยื้อน ตอบสนอง หรือคิดอ่านได้ตามปกติ แทนที่จะโมโหหรือกลัว ให้คุณรีบปลอบใจเขาให้สงบลง และย้ำกับเขาว่าเดี๋ยวก็จะหายแล้ว
    • ถ้าคุณสงสัยว่าอาการของเขาอาจไม่ใช่ panic attack ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ หรือนำตัวเขาส่งโรงพยาบาลทันที
  5. How.com.vn ไท: Step 5 คุณเองก็ต้องทำใจให้สบาย.
    หาโอกาสใช้เวลาด้วยกันแค่ 2 คนแบบเงียบๆ สบายๆ บ้างก็ดี จะเป็นที่บ้านตอนค่ำๆ ก็ได้ ถ้าออกไปข้างนอกเจอคนเยอะๆ แล้วกลัวเขาเครียด [20]
    • อธิบายกันให้ชัดเจนไปเลย ว่าคุณยินดีใช้เวลาร่วมกับเขา ถ้านั่นจะทำให้เขา (และคุณ) รู้สึกผ่อนคลายสบายใจ บางทีวิธีช่วยเหลือดูแลคนเป็นโรควิตกกังวลได้ดีที่สุด ก็คือเข้าอกเข้าใจเขาและรู้จักยืดหยุ่นปรับตัวไปด้วยกันนี่แหละ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Trudi Griffin, LPC, MS
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Trudi Griffin, LPC, MS. ทรูดี้ กริฟฟินเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตในวิสคอนซิน เธอได้รับปริญญาโทด้านการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยมาร์เกว็ตต์ในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 4,588 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,588 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา