ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ในวิชาเคมีการหาความเข้มข้นของสารละลายคือการหาปริมาณของตัวถูกละลายที่ผสมอยู่ในตัวทำละลาย สูตรคำนวณคือ C = m/V โดย C คือความเข้มข้น m คือมวลของตัวถูกละลาย และ V คือปริมาตรรวมของสารละลาย ถ้าสารละลายของเรามีความเข้มข้นน้อย ให้ตอบในรูปของส่วนในล้านส่วน (ppm) เพื่อให้เข้าใจง่าย ถ้าต้องหาความเข้มข้นของสารละลายในห้องทดลอง เราอาจต้องหาโมลาริตีหรือความเข้มข้นโมลาร์ของสารละลายแทน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้สมการมวลต่อปริมาตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หามวลของตัวถูกละลายที่ผสมอยู่ในตัวทำละลาย.
    ตัวถูกละลายคือสารที่เราผสมลงไปเพื่อให้ได้สารละลาย ถ้าโจทย์ให้มวลมา ให้เขียนลงไปในกระดาษและใส่หน่วยให้ถูกต้อง ถ้าเราต้องหามวลของตัวถูกละลายเอง นำตัวถูกละลายนั้นไปชั่งบนเครื่องชั่งสารเคมีและจดมวลที่ชั่งได้เอาไว้[1]
    • ถ้าตัวถูกละลายเป็นของเหลว เราก็ยังสามารถคำนวณหามวลของตัวถูกละลายได้ด้วยการใช้สูตรคำนวณความหนาแน่น นั่นคือ D = m/V โดย m คือมวลของของเหลวนั้นและ V คือปริมาตร ถ้าต้องการหามวล นำความหนาแน่นของของเหลวนั้นมาคูณกับปริมาตร

    เคล็ดลับ: ถ้าใช้เครื่องชั่งสารเคมีหามวลเอง อย่าลืมนำมวลของภาชนะที่ใช้ใส่สารมาลบออกจากมวลที่ชั่งได้ ไม่อย่างนั้นความเข้มข้นของสารละลายที่ได้จะผิด

  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาปริมาตรรวมของสารละลาย.
    ปริมาตรรวมของสารละลายคือปริมาตรของตัวทำละลายบวกกับปริมาตรของตัวถูกละลายที่ใส่ลงไป ถ้าเรากำลังหาปริมาตรของสารละลายอยู่ในห้องทดลอง นำสารละลายใส่ลงในกระบอกตวงหรือบีกเกอร์และดูที่ขีดบอกปริมาตร วัดปริมาตรโดยดูที่ส่วนโค้งบนพื้นผิวด้านบนของสารละลายในระดับสายตาเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น บันทึกปริมาตรของสารละลายไว้[2]
    • ถ้าเราไม่ได้วัดปริมาตรเอง เราอาจต้องแปลงมวลของตัวถูกละลายให้เป็นปริมาตรโดยใช้สูตรคำนวณความหนาแน่น
    • ตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังคำนวณความเข้มข้นของเกลือ 3.45 กรัมในน้ำ 2 ลิตร เราอาจหาปริมาตรของเกลือโดยใช้สูตรคำนวณความหนาแน่น หาความหนาแน่นของเกลือในตำราเรียนวิชาเคมีหรือทางอินเตอร์เน็ตและแทนลงไปในสูตร ในกรณีนี้ความหนาแน่นของเกลือคือ 2.16 กรัม/มิลลิลิตร เมื่อแทนค่าลงไปในสูตร ก็จะได้ 2.16 กรัม/มิลลิลิตร = (3.45 กรัม)/V นำ V คูณแต่ละข้างของสมการ ก็จะได้ V(2.16 กรัม/มิลลิลิตร) = 3.45 กรัม จากนั้นนำ 2.16 มาหารทั้งสองข้างก็จะได้ปริมาตรออกมา V = (3.45 กรัม)/(2.16 กรัม/มิลลิลิตร) = 1.60 มิลลิลิตร
    • นำปริมาตรของตัวถูกละลายมาบวกกับปริมาตรของตัวทำละลาย ในตัวอย่างนี้ 2 ลิตร +1.6 มิลลิลิตร หรือ 2,000 มิลลิลิตร + 1.6 มิลลิลิตร = 2,001.6 มิลลิลิตร เราอาจตอบเป็นมิลลิลิตรหรือแปลงกลับเป็นลิตรก็ได้ ถ้าแปลงหน่วยกลับเป็นลิตร ก็จะเป็น 2.002 ลิตร
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นำมวลของตัวถูกละลายมาหารกับปริมาตรรวมของสารละลาย....
    นำมวลของตัวถูกละลายมาหารกับปริมาตรรวมของสารละลาย. เขียนสมการ C = m/V โดย m คือมวลของตัวถูกละลายและ V คือปริมาตรรวมของสารละลาย แทนค่ามวลและปริมาตรลงไปในสมการ นำทั้งสองมาหารกัน ก็จะได้ความเข้มข้นของสารละลาย อย่าลืมใส่หน่วยหลังคำตอบที่ได้ให้ถูกต้องด้วย[3]
    • ในตัวอย่างของเรา เราต้องการหาความเข้มข้นของเกลือ 3.45 กรัมในน้ำ 2 ลิตร สมการของตัวอย่างนี้ก็จะเป็น C = (3.45 กรัม)/(2.002 ลิตร) = 1.723 กรัม/ลิตร
    • โจทย์คำนวณความเข้มข้นของสารละลายบางข้ออาจขอให้เราตอบในหน่วยตามที่กำหนด อย่าลืมแปลงหน่วยให้เรียบร้อยก่อนที่จะใส่ลงไปในสูตร
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หาความเข้มข้นในรูปร้อยละหรือส่วนในล้านส่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หามวลของตัวถูกละลายในหน่วยกรัม.
    นำตัวถูกละลายที่จะผสมกับตัวทำละลายมาชั่งน้ำหนักหามวล อย่าลืมเอาน้ำหนักของภาชนะที่ใช้บรรจุตัวถูกละลายมาลบออกไปด้วย ไม่อย่างนั้นความเข้มข้นที่คำนวณได้จะไม่ถูกต้อง [4]
    • ถ้าตัวถูกละลายเป็นของเหลว เราอาจต้องคำนวณมวลด้วยการใช้สูตร D = m/V โดย D คือความหนาแน่นของของเหลวนั้น m คือมวล และ V คือปริมาตร หาความหนาแน่นของของเหลวในตำราเรียนวิชาเคมีหรือในอินเตอร์เน็ต จากนั้นแก้สมการหาค่ามวล
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หามวลรวมของสารละลายในหน่วยกรัม.
    มวลรวมของสารละลายคือมวลของตัวทำละลายบวกกับมวลของตัวถูกละลาย นำตัวทำละลายไปชั่งบนเครื่องชั่งสารเคมีหรือแปลงปริมาตรของตัวทำละลายให้เป็นมวลโดยใช้สูตรคำนวณความหนาแน่นคือ D = m/V นำมวลของตัวถูกละลายไปบวกกับมวลของตัวทำละลายเพื่อหามวลรวม [5]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการหาความเข้มข้นของผงโกโก้ 10 กรัมในน้ำ 1.2 ลิตร เราจะหามวลของน้ำโดยการใช้สูตรคำนวณความหนาแน่น ความหนาแน่นของน้ำคือ 1,000 กรัม/ลิตร ฉะนั้นก็จะได้สมการเป็น 1,000 กรัม/ลิตร = m/(1.2 ลิตร) นำ 1.2 ลิตรคูณแต่ละข้างของสมการเพื่อหามวลในหน่วยกรัม ฉะนั้น m = (1.2 ลิตร)(1,000 กรัม/ลิตร) = 1,200 กรัม ฉะนั้นมวลรวมของสารละลายคือ 1,210 กรัม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นำมวลของตัวถูกละลายมาหารกับมวลรวมของสารละลาย....
    นำมวลของตัวถูกละลายมาหารกับมวลรวมของสารละลาย. เขียนสมการคำนวณความเข้มข้นของสารละลาย C = มวลของตัวถูกละลาย/มวลรวมของสารละลาย ใส่ค่าลงไปและแก้สมการเพื่อหาความเข้มข้นของสารละลาย[6]
    • ในตัวอย่างที่ยกมา C = (10 กรัม)/(1,210 กรัม) = 0.00826
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นำผลลัพธ์มาคูณกับ 100 ถ้าต้องการหาความเข้มข้นของสารละลายในรูปร้อยละ....
    นำผลลัพธ์มาคูณกับ 100 ถ้าต้องการหาความเข้มข้นของสารละลายในรูปร้อยละ. ถ้าโจทย์ให้หาความเข้มข้นของสารละลายในรูปร้อยละ ให้นำผลลัพธ์ที่ได้มาคูณกับ 100 ใส่เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ไว้ที่หลังผลลัพธ์[7]
    • ในตัวอย่างนี้ความเข้มข้นของสารละลายในรูปร้อยละคือ (0.00826)(100) = 0.826%
  5. How.com.vn ไท: Step 5 นำค่าความเข้มข้นมาคูณกับ 1,000,000 เพื่อหา ppm.
    นำตัวเลขค่าความเข้มข้นที่คำนวณได้มาคูณกับ 1,000,000 หรือ 106 ผลคูณที่ได้คือปริมาณตัวถูกละลายในสารละลายล้านส่วน ให้ใส่หน่วย ppm หลังคำตอบสุดท้าย[8]
    • ในตัวอย่างที่ยกมา ppm = (0.00826)(1,000,000) = 8,260 ppm

    เคล็ดลับ ส่วนในล้านส่วนมักจะใช้ในกรณีที่สารละลายมีความเข้มข้นน้อยมากเพราะเขียนและเข้าใจง่ายกว่าในรูปร้อยละ

    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

คำนวณโมลาริตี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นำมวลอะตอมของตัวถูกละลายมาบวกกันเพื่อหามวลโมลาร์....
    นำมวลอะตอมของตัวถูกละลายมาบวกกันเพื่อหามวลโมลาร์. หาสูตรเคมีของตัวถูกละลาย เขียนมวลอะตอมแต่ละธาตุของตัวถูกละลายลงไปในกระดาษ เนื่องจากมวลอะตอมและมวลโมลาร์มีค่าเท่ากัน นำมวลแต่ละธาตุของตัวถูกละลายมาบวกกันเพื่อหามวลโมลาร์รวม ใส่หน่วยกรัม/โมลหลังผลบวกที่ได้[9]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าตัวถูกละลายของเราคือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์(KOH) ให้หามวลอะตอมของธาตุโพแทสเซียม ออกซิเจน และไฮโดรเจนแล้วนำมาบวกกัน ในตัวอย่างนี้มวลโมลาร์คือ 39 +16 + 1 = 56 กรัม/โมล
    • โดยส่วนใหญ่เราจะใช้โมลาริตีในวิชาเคมี เมื่อรู้องค์ประกอบทางเคมีของตัวถูกละลายที่ใช้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 นำมวลของตัวถูกละลายมาหารกับมวลโมลาร์เพื่อหาจำนวนโมล....
    นำมวลของตัวถูกละลายมาหารกับมวลโมลาร์เพื่อหาจำนวนโมล. ใช้เครื่องชั่งสารเคมีวัดมวลของตัวถูกละลายที่เราเติมลงไปในสารละลาย ถ้าจำเป็นต้องหามวลเอง เราต้องนำมวลของภาชนะที่ใช้บรรจุมาลบออกจากมวลที่ชั่งได้ จึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง นำมวลที่เราได้กับมวลโมลาร์มาหารกัน เราก็จะได้จำนวนโมลของตัวถูกละลายที่ใช้ อย่าลืมใส่หน่วย “โมล” หลังคำตอบ [10]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการหาจำนวนโมลของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) 25 กรัม สมการที่ได้ก็จะเป็น โมล = (25 กรัม)/(56 กรัม/โมล) = 0.45 โมล
    • แปลงมวลของตัวถูกละลายเป็นหน่วยกรัม ถ้าหน่วยมวลของตัวถูกละลายยังไม่เป็นหน่วยกรัม
    • โมลถูกใช้แทนจำนวนอะตอมในสารละลาย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แปลงปริมาตรของตัวทำละลายให้เป็นลิตร.
    หาปริมาตรของตัวทำละลายก่อนที่จะผสมในตัวถูกละลาย ใช้ขวดวัดปริมาตรหรือกระบอกตวงเพื่อวัดปริมาตรของตัวทำละลาย ถ้าโจทย์ไม่ได้ให้มา ถ้าหน่วยของปริมาตรตัวทำละลายคือมิลลิลิตร ให้นำปริมาตรของตัวทำละลายนั้นหาร 1,000 เพื่อแปลงเป็นลิตร[11]
    • ในตัวอย่างนี้ ถ้าเราใช้น้ำ 400 มิลลิลิตรเป็นตัวทำละลาย ให้นำปริมาตรของน้ำหาร 1,000 เพื่อแปลงเป็นหน่วยลิตร ปริมาตรของน้ำในหน่วยลิตรคือ 0.4 ลิตร
    • ถ้าตัวทำละลายมีหน่วยเป็นลิตรอยู่แล้ว เราสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

    เคล็ดลับ เราไม่จำเป็นต้องรวมปริมาตรของตัวถูกละลายไปด้วย เพราะปริมาตรของตัวถูกละลายมักจะไม่มีผลต่อปริมาตรของสารละลายมากนัก ถ้าปริมาตรมีการเปลี่ยนแปลงมากอย่างเห็นได้ชัดเมื่อนำตัวถูกละลายผสมกับตัวทำละลาย ให้ใช้ปริมาตรรวมแทน

  4. How.com.vn ไท: Step 4 นำจำนวนโมลของตัวถูกละลายมาหารกับปริมาตรของตัวทำละลายในหน่วยลิตร....
    นำจำนวนโมลของตัวถูกละลายมาหารกับปริมาตรของตัวทำละลายในหน่วยลิตร. ตั้งสมการคำนวณหาโมลาริตี เราก็จะได้ M = mol/V โดย mol คือจำนวนโมลของตัวถูกละลายและ V คือปริมาตรของตัวทำละลาย แก้สมการและใส่หน่วย M หลังคำตอบ[12]
    • ในตัวอย่างนี้ M = (0.45 โมล)/(0.4 ลิตร) = 1.125 M
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยู่ในห้องทดลองและไม่รู้ว่าตัวถูกละลายถูกใส่ไปเท่าไหร่ เราสามารถทำการไทเทรตโดยใช้สารที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาตัวอื่น เราต้องเรียนรู้วิธีการดุลสมการเคมีด้วยปริมาณสารสัมพันธ์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Chris Hasegawa, PhD
ร่วมเขียน โดย:
ศาสตราจารย์วิทยาศาสตร์เกษียณอายุและคณบดี
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Chris Hasegawa, PhD. ดร. คริส ฮาเซงาวะ เคยเป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และคณบดีที่ California State University Monterey Bay ดร. ฮาเซงาวะ เชี่ยวชาญในการสอนแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนให้กับนักเรียน เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาชีวเคมี ปริญญาโทสาขาการศึกษา และประกาศนียบัตรด้านการสอนจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านหลักสูตรและการสอนจากมหาวิทยาลัยโอเรกอน ก่อนที่จะเป็นศาสตราจารย์ ดร. ฮาเซงาวะ ได้ทำการวิจัยทางชีวเคมีด้านประสาทเภสัชวิทยาที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากนี้ เขายังเคยสอนวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต และดำรงตำแหน่งเป็นครูและผู้บริหารโรงเรียนของรัฐในแคลิฟอร์เนีย โอเรกอน และแอริโซนาอีกด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 169,626 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 169,626 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา