ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การหาจำนวนนิวตรอนในอะตอมนั้นค่อนข้างง่ายและไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยุ่งยากซับซ้อน เราแค่ต้องทำตามคำแนะนำข้างล่างนี้เพื่อจะได้สามารถหาจำนวนนิวตรอนในอะตอมปกติหรือไอโซโทปได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

หาจำนวนนิวตรอนในอะตอมปกติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาธาตุที่ต้องการในตารางธาตุ.
    ตัวอย่างเช่น เราต้องการหาธาตุออสเมียม (Os) เมื่อดูในตาราง ก็จะพบธาตุนี้อยู่ในคาบที่หก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาเลขอะตอมของธาตุนั้น.
    เลขอะตอมเป็นตัวเลขที่เห็นง่ายที่สุดของธาตุและมักจะอยู่เหนือสัญลักษณ์ธาตุ (ในแผนภาพที่เราใช้อยู่นี้ไม่มีตัวเลขอื่นอยู่ด้วย) เลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุนั้น Os มีเลขอะตอม 76 หมายความว่าออสเมียมหนึ่งอะตอมมีโปรตอน 76 ตัว
    • จำนวนโปรตอนจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะโดยพื้นฐานแล้วจำนวนโปรตอนเป็นตัวกำหนดว่าธาตุนั้นเป็นธาตุอะไร
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาน้ำหนักอะตอม.
    โดยปกติมักจะพบตัวเลขนี้ที่ใต้สัญลักษณ์ธาตุ ถึงแม้แผนภาพในตัวอย่างนี้จะมีแค่เลขอะตอมของธาตุและไม่มีเลขน้ำหนักอะตอม แต่บางครั้งตารางธาตุจะให้น้ำหนักอะตอมมาด้วย ออสเมียมมีน้ำหนักอะตอม 190.23
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ประมาณน้ำหนักอะตอมให้เป็นจำนวนเต็มที่มีค่าใกล้เคียงที่สุดเพื่อให้ได้มวลอะตอม....
    ประมาณน้ำหนักอะตอมให้เป็นจำนวนเต็มที่มีค่าใกล้เคียงที่สุดเพื่อให้ได้มวลอะตอม. ในตัวอย่างที่ยกมา 190.23 จะถูกประมาณให้เป็นค่าใกล้เคียงคือ 190 เราก็จะได้มวลอะตอมของออสเมียมคือ 190
    • น้ำหนักอะตอมคือค่ามวลเฉลี่ยของไอโซโทปธาตุนั้น ฉะนั้นน้ำหนักอะตอมจึงไม่เป็นจำนวนเต็ม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 นำมวลอะตอมมาลบกับเลขอะตอม.
    เนื่องจากอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นเมื่อนำมวลอะตอมมาลบกับจำนวนโปรตอน (นั้นคือเลขอะตอม) ก็จะได้จำนวนนิวตรอนในอะตอม เลขหลังจุดทศนิยมคือมวลของอิเล็กตรอนในอะตอม จะเห็นว่าอิเล็กตรอนนั้นมีมวลน้อยมาก ในตัวอย่างที่ยกมา 190 (น้ำหนักอะตอม) – 76 (จำนวนโปรตอน) = 114 (จำนวนนิวตรอน)
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เขียนสูตรหาจำนวนนิวตรอน.
    จะใช้สูตรนี้ เมื่อต้องการหาจำนวนนิวตรอน
    • N = M – n
      • N = จำนวนของนิวตรอน
      • M = มวลอะตอม
      • n = เลขอะตอม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

หาจำนวนนิวตรอนในไอโซโทป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาธาตุที่ต้องการในตารางธาตุ.
    ตัวอย่างเช่น เรากำลังมองหาคาร์บอน 14 แต่เนื่องจากคาร์บอน 14 ที่ไม่อยู่ในรูปไอโซโทปคือคาร์บอน (C) ฉะนั้นให้หาคาร์บอนในตารางธาตุ (อยู่ในคาบที่สอง)
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาเลขอะตอมของธาตุนั้น.
    เลขอะตอมเป็นตัวเลขที่เห็นง่ายที่สุดของธาตุและมักจะอยู่เหนือสัญลักษณ์ธาตุนั้น (ในแผนภาพที่เราใช้อยู่นี้ไม่มีตัวเลขอื่นอยู่ด้วย) เลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุนั้น C มีเลขอะตอม 6 หมายความว่าคาร์บอนหนึ่งอะตอมมีโปรตอน 6 ตัว
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หามวลอะตอม.
    การหามวลอะตอมของไอโซโทปนั้นง่ายมากทีเดียว เพราะชื่อของธาตุถูกตั้งตามมวลอะตอมของธาตุนั้นแล้ว ตัวอย่างเช่น คาร์บอน 14 มีมวลอะตอม 14 พอรู้มวลอะตอมของไอโซโทปนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เหมือนกับการหานิวตรอนในอะตอมปกติ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นำมวลอะตอมมาลบกับเลขอะตอม.
    เนื่องจากอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นเมื่อนำมวลอะตอมมาลบกับจำนวนโปรตอน (นั้นคือเลขอะตอม) ก็จะได้จำนวนนิวตรอนในอะตอม ในตัวอย่างที่ยกมา 14 (น้ำหนักอะตอม) – 6 (จำนวนโปรตอน) = 8 (จำนวนนิวตรอน)
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เขียนสูตรหาจำนวนนิวตรอน.
    จะใช้สูตรนี้ เมื่อต้องการหาจำนวนนิวตรอน
    • N = M – n
      • N = จำนวนของนิวตรอน
      • M = มวลอะตอม
      • n = เลขอะตอม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • น้ำหนักแทบจะทั้งหมดของธาตุมาจากโปรตอนและนิวตรอน แต่อิเล็กตรอนและอนุภาคต่างๆ มีมวลน้อยมาก (แทบจะเป็นศูนย์) เนื่องจากโปรตอนตัวหนึ่งมีน้ำหนักโดยประมาณเท่ากับนิวตรอนตัวหนึ่งและเลขอะตอมคือจำนวนโปรตอน ฉะนั้นเราจึงสามารถนำจำนวนโปรตอนไปลบออกจากมวลทั้งหมดได้เลย
  • ถ้าเราไม่มั่นใจว่าตัวเลขไหนอยู่ตรงส่วนใดของตารางธาตุ ให้จำไว้ว่าตารางธาตุได้รับการออกแบบมาให้เรียงธาตุตามเลขอะตอม (นั้นคือจำนวนโปรตอน) เริ่มจาก 1 (ไฮโดรเจน) และเพิ่มขึ้นทีละหน่วยจากซ้ายไปขวาและจบลงที่ 118 (ออกาเนสซอน) ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าจำนวนโปรตอนในอะตอมหนึ่งเป็นตัวกำหนดว่าอะตอมนั้นเป็นอะตอมของธาตุใด จึงทำให้จัดเรียงลำดับธาตุได้ง่าย (ตัวอย่างเช่น อะตอมที่มีโปรตอน 2 ตัวคือฮีเลียม อะตอมที่มีโปรตอน 79 ตัวคือทอง)
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Bess Ruff, MA
ร่วมเขียน โดย:
ปริญญาโทด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Bess Ruff, MA. เบส รัฟฟ์เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านภูมิศาสตร์ในฟลอริดา เธอสำเร็จปริญญาโทด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจากวิทยาเขตเบรนที่ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานตาบาร์บาราในปี 2016 บทความนี้ถูกเข้าชม 45,112 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 45,112 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา