ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ในวิชาเคมีอิเล็กโตรเนกาติวิตี คือค่าที่วัดว่าอะตอมตัวหนึ่งดึงดูดอิเล็กตรอนในพันธะได้ดีแค่ไหน[1] อะตอมที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงจะดึงดูดอิเล็กตรอนได้ดี แต่อะตอมที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำจะดึงดูดอิเล็กตรอนได้ไม่ดี ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีใช้ทำนายว่าอะตอมต่างๆ จะเป็นอย่างไรเมื่อเกิดพันธะระหว่างกัน ฉะนั้นการหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีจึงเป็นทักษะสำคัญในวิชาเคมีพื้นฐาน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ศึกษาหลักของอิเล็กโตรเนกาติวิตี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ต้องรู้ว่าพันธะเคมีเกิดขึ้นเมื่ออะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน....
    ต้องรู้ว่าพันธะเคมีเกิดขึ้นเมื่ออะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน. เราต้องเข้าใจก่อนว่า "พันธะ" คืออะไรเพื่อจะได้เข้าใจอิเล็กโตรเนกาติวิตี อะตอมใดๆ ก็ตามสองอะตอมที่ "เชื่อมโยง" กันและกันในแผนภาพโมเลกุลแสดงว่าเกิดพันธะระหว่างกัน หมายความว่าอะตอมทั้งสองใช้อิเล็กตรอนร่วมกันสองตัว โดยอิเล็กตรอนเหล่านั้นได้มาจากการที่อะตอมแต่ละตัวต่างก็สละอิเล็กตรอนหนึ่งตัวให้แก่พันธะ
    • เหตุผลว่าทำไม อะตอมถึงใช้อิเล็กตรอนร่วมกันหรือเกิดพันธะขึ้นนั้นเกินขอบเขตของบทความนี้ไปสักหน่อย ฉะนั้นถ้าต้องการรู้รายละเอียดมากกว่านี้ ให้คลิกตรงนี้เพื่อจะได้ทราบความหมายและการเกิดพันธะเคมีหรืออ่านวิธีการศึกษาลักษณะของพันธะเคมี (เคมี) จากบทความของ WikiHow
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ต้องรู้ว่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีมีผลต่ออิเล็กตรอนในพันธะอย่างไร....
    ต้องรู้ว่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีมีผลต่ออิเล็กตรอนในพันธะอย่างไร. เมื่ออะตอมสองอะตอมใช้อิเล็กตรอนสองตัวร่วมกันในพันธะ อะตอมทั้งสองนั้นไม่ได้แบ่งอิเล็กตรอนเท่ากันเสมอไป เมื่ออะตอมหนึ่งมีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงกว่าอีกอะตอมหนึ่งที่เชื่อมโยงกันอยู่ มันจะดึงอิเล็กตรอนสองตัวในพันธะให้ไปอยู่ใกล้ๆ มัน อะตอมที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงมากอาจดึงอิเล็กตรอนไปอยู่ข้างมันทั้งหมด แทบจะไม่มีการแบ่งอิเล็กตรอนให้อะตอมอีกตัวเลย
    • ตัวอย่างเช่น โมเลกุล NaCl (โซเดียมคลอไรด์) อะตอมคลอรีนมีอิเล็กโตรเนกาติวิตีค่อนข้างสูงแต่อะตอมโซเดียมมีอิเล็กโตรเนกาติวิตีค่อนข้างต่ำ ฉะนั้นอิเล็กตรอนจะถูกดึงเข้าหาคลอรีนและออกจากโซเดียม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ตารางแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีเป็นหลักอ้างอิง....
    ใช้ตารางแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีเป็นหลักอ้างอิง. ตารางแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของธาตุจะมีการจัดเรียงธาตุเหมือนตารางธาตุ แต่แตกต่างกันตรงที่อะตอมแต่ละอะตอมมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแสดงไว้ ตารางแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีจะอยู่ในตำราเรียนวิชาเคมีและบทความเกี่ยวกับค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีทางอินเทอร์เน็ต
    • นี้คือลิงก์ของตารางแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี จะสังเกตเห็นว่าตารางจะแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบเพาลิงสเกลซึ่งเป็นแบบที่ใช้มากที่สุด[2]อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการวัดค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบอื่นๆ อยู่ บทความนี้จะแสดงวิธีวัดค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีอีกแบบหนึ่งในวิธีการที่ 3
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จดจำทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีเพื่อให้สามารถประมาณค่าได้ง่าย....
    จดจำทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีเพื่อให้สามารถประมาณค่าได้ง่าย. ถ้าเราไม่มีตารางแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี เราก็ยังสามารถประมาณค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของอะตอมธาตุหนึ่งว่ามากหรือน้อยกว่าค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของอะตอมอีกธาตุหนึ่งได้โดยดูจากตำแหน่งของอะตอมธาตุนั้นในตารางธาตุ ถึงแม้เราจะไม่สามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่เราสามารถประมาณผลต่างของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของธาตุทั้งสองได้ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีมีดังนี้
    • หากธาตุยิ่งอยู่ใกล้ด้านขวาของตารางธาตุมากเท่าไร ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของอะตอมธาตุนั้นจะยิ่งสูงขึ้น
    • หากธาตุยิ่งอยู่ใกล้ด้านบนของตารางธาตุมากเท่าไร ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของอะตอมธาตุนั้นจะยิ่งสูงขึ้น
    • ฉะนั้นอะตอมที่อยู่ขวาบนสุดมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดและอะตอมที่อยู่ซ้ายล่างสุดมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำที่สุด
    • กลับมาที่ตัวอย่างซึ่งก็คือ NaCl เรารู้ว่าคลอรีนมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงกว่าโซเดียม เพราะคลอรีนอยู่เกือบจะขวาบนสุดของตารางธาตุ ในทางกลับกันโซเดียมอยู่ด้านซ้ายสุดของตารางธาตุ โซเดียมจึงมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำกว่า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้อิเล็กโตรเนกาติวิตีหาชนิดของพันธะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาผลต่างของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของอะตอมทั้งสอง....
    หาผลต่างของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของอะตอมทั้งสอง. เมื่ออะตอมสองอะตอมถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ผลต่างของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีจะทำให้เรารู้ชนิดของพันธะได้ นำค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีที่น้อยกว่าไปลบออกจากค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีที่มากกว่าเพื่อหาผลต่าง
    • ตัวอย่างเช่น หากเรากำลังหาผลต่างของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของโมเลกุล HF เราก็จะนำค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของไฮโดรเจน (2.1) มาลบออกจากค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของฟลูออรีน(4.0) เมื่อนำทั้งสองค่านี้มาลบกัน ก็จะได้เป็น 4.0 - 2.1 = 1.9
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดูผลต่างที่ออกมา หากน้อยกว่า 0.5...
    ดูผลต่างที่ออกมา หากน้อยกว่า 0.5 แสดงว่าเป็นพันธะโคเวเลนซ์แบบไม่มีขั้ว. อิเล็กตรอนถูกแบ่งแทบจะเท่ากัน พันธะนี้ไม่สร้างโมเลกุลที่มีประจุของปลายแต่ละด้านต่างกันมาก พันธะโคเวเลนซ์แบบไม่มีขั้วมักจะทำลายยากมาก[3] ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ทำให้พันธะของอะตอมเสถียร ต้องใช้พลังงานปริมาณมากในการสลายพันธะชนิดนี้[4]
    • ตัวอย่างเช่น โมเลกุล O2 เกิดพันธะชนิดนี้ เนื่องจากออกซิเจนสองตัวนี้มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีเท่ากัน ผลต่างของค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของอะตอมทั้งสองจึงเท่ากับ 0
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดูผลต่างที่ออกมา หากอยู่ระหว่าง 0.5-1.6...
    ดูผลต่างที่ออกมา หากอยู่ระหว่าง 0.5-1.6 แสดงว่าเป็นพันธะโคเวเลนซ์แบบมีขั้ว. พันธะชนิดนี้มีอิเล็กตรอนที่ปลายข้างหนึ่งมากกว่าปลายอีกข้างหนึ่ง ทำให้ปลายข้างหนึ่งของโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนเป็นลบมากขึ้นและปลายอีกข้างหนึ่งที่ไม่มีอิเล็กตรอนเป็นบวกมากขึ้น ความไม่สมดุลของประจุในพันธะชนิดนี้ทำให้โมเลกุลสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาพิเศษบางอย่างได้อย่างเช่น เชื่อมกับอะตอมหรือโมเลกุลตัวอื่น หรือดึงโมเลกุลออกจากกัน ที่เป็นแบบนี้เพราะอะตอมหรือโมเลกุลยังทำปฏิกิริยาอยู่[5]
    • ตัวอย่างของพันธะโคเวเลนซ์แบบมีขั้วที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือโมเลกุล H2O(น้ำ) O มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีมากกว่า H ทั้งสอง ฉะนั้นจึงจับอิเล็กตรอนได้แน่นกว่าและทำให้โมเลกุลทั้งหมดเกิดประจุลบบางส่วนที่ปลายของ O และประจุบวกบางส่วนที่ปลายของ H
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดูผลต่างที่ออกมา หากสูงกว่า 2.0...
    ดูผลต่างที่ออกมา หากสูงกว่า 2.0 แสดงว่าเป็นพันธะไอออนิก. ในพันธะนี้อิเล็กตรอนจะอยู่ที่ปลายข้างหนึ่งของพันธะอย่างสมบูรณ์ อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีมากได้รับประจุลบและอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีน้อยได้รับประจุบวก พันธะชนิดนี้ทำให้อะตอมของตนเองทำปฏิกิริยากับอะตอมอื่นได้ดีและดึงออกจากกันได้ด้วยโมเลกุลมีขั้ว
    • ตัวอย่างของพันธะไอออนิกคือ NaCl (โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือ) คลอรีนมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงมาก จึงดึงอิเล็กตรอนของทั้งคู่ในพันธะมาที่ตนเองทั้งหมด โซเดียมก็เลยเหลือแต่ประจุบวก
    • NaCl สามารถแยกจากกันได้ด้วยโมเลกุลมีขั้วอย่างเช่น H2O (น้ำ) ในโมเลกุลน้ำด้านที่เป็นไฮโดรเจนของโมเลกุลเป็นบวก แต่ด้านที่เป็นออกซิเจนเป็นลบ เมื่อเรานำเกลือมาผสมลงไปในน้ำ โมเลกุลน้ำแยกโมเลกุลของเกลือออกจากกัน เกลือจึงละลาย[6]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ดูผลต่างที่ออกมา หากอยู่ระหว่าง 1.6-2.0...
    ดูผลต่างที่ออกมา หากอยู่ระหว่าง 1.6-2.0 ลองตรวจดูสิว่ามีโลหะไหม. ถ้ามีโลหะอยู่ในพันธะ พันธะนั้นเป็นพันธะไอออนิก ถ้ามีแต่อโลหะ แสดงว่าเป็นพันธะโคเวเลนซ์แบบมีขั้ว
    • โลหะประกอบด้วยอะตอมที่อยู่แถบด้านซ้ายและตรงกลางของตารางธาตุเป็นส่วนใหญ่ คลิกตรงนี้เพื่อดูตาราง จะได้รู้ว่าธาตุใดคือโลหะ[7]
    • HF ซึ่งเป็นตัวอย่างก่อนหน้านี้ของเราเกิดพันธะชนิดนี้ เนื่องจาก H และ F ไม่ใช่โลหะ ฉะนั้นพันธะเคมีที่เกิดขึ้นจึงเป็นพันธะโคเวเลนซ์แบบมีขั้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบมัลลิเกน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้พลังงานไอออไนเซชันลำดับแรกของอะตอม.
    ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบมัลลิเกนเป็นวิธีวัดค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีที่แตกต่างจากวิธีที่ใช้ในตารางแสดงค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบเพาลิงสเกล เราต้องหาพลังงานไอออไนเซชันลำดับแรกของอะตอมเพื่อหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบมัลลิเกน พลังงานนี้เป็นพลังงานที่ใช้เพื่อทำให้อะตอมปล่อยอิเล็กตรอนออกมาหนึ่งตัว
    • ถ้าอยากรู้ว่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับแรกคือเท่าไร ให้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานไอออไนเซชันทางอินเทอร์เน็ตดู คลิกตรงนี้ จะมีตารางพลังงานไอออไนเซชันที่เราสามารถนำไปใช้ได้ (เลื่อนลงมา ก็จะเจอตาราง)[8]
    • ตัวอย่างเช่น เราต้องการหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของลิเธียม (Li) เมื่อดูในตารางที่แนะนำไป เราจะเห็นว่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับแรกคือ 520 กิโลจูลต่อโมล
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของอะตอม.
    สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนคือการวัดพลังงานที่ได้รับเมื่ออิเล็กตรอนถูกเพิ่มเข้ามาในอะตอมเพื่อทำให้เกิดไอออนลบ ถ้าอยากรู้ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของอะตอม ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนทางอินเทอร์เน็ต คลิกตรงนี้จะมีข้อมูลสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนที่เราจะนำไปใช้แก้โจทย์ตัวอย่างได้[9]
    • ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของลิเธียมคือ 60 กิโลจูลต่อโมล-1
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แก้สมการหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบมัลลิเกน....
    แก้สมการหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบมัลลิเกน. เมื่อเราใช้หน่วยกิโลจูลต่อโมลเป็นหน่วยพลังงาน สมการหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบมัลลิเกนคือ ENMulliken = (1.97×10−3)(Ei+Eea) + 0.19 แทนค่าลงไปในสมการและหาค่าของ ENMulliken
    • ในตัวอย่างของเราขั้นตอนการแก้สมการเพื่อหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีแบบมัลลิเกนมีดังนี้:
      ENMulliken = (1.97×10−3)(Ei+Eea) + 0.19
      ENMulliken = (1.97×10−3)(520 + 60) + 0.19
      ENMulliken = 1.143 + 0.19 = 1.333
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีไม่มีหน่วย
  • นอกจากเพาลิงสเกลและมัลลิเกนสเกลแล้ว ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตียังมีสเกลอื่นๆ ซึ่งได้แก่ ออลล์เรด-โรโชสเกล แซนเดอร์สันสเกล และอัลเลนสเกล สเกลเหล่านี้มีสมการหาค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีในแบบของตนเอง (บางสมการก็ค่อนข้างซับซ้อน)
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Bess Ruff, MA
ร่วมเขียน โดย:
ปริญญาโทด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Bess Ruff, MA. เบส รัฟฟ์เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านภูมิศาสตร์ในฟลอริดา เธอสำเร็จปริญญาโทด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจากวิทยาเขตเบรนที่ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานตาบาร์บาราในปี 2016 บทความนี้ถูกเข้าชม 7,267 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,267 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา