ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

น้ำแข็งแห้งใช้รักษาความเย็นให้เครื่องดื่ม ไอศครีม ไปจนถึงสร้าง special effects ตื่นตาตื่นใจ ประมาณว่าควันในหนังสยองขวัญหรือละครเวที ถึงน้ำแข็งแห้งจะมีประโยชน์ แต่ตอนยังไม่ใช้ก็ต้องเก็บให้ถูกวิธี เพื่อยืดอายุและเพื่อความปลอดภัย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เก็บน้ำแข็งแห้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ซื้อตอนที่จะใช้.
    คุณทำให้น้ำแข็งแห้งระเหิดช้าลงได้ แต่หยุดการระเหิดไม่ได้ เพราะงั้นให้ซื้อน้ำแข็งแห้งเฉพาะตอนที่จะใช้เท่านั้น ถึงจะเก็บดีแค่ไหน แต่น้ำแข็งแห้งจะระเหิดไปได้ 5 - 10 ปอนด์ (2 - 4 กก.) ต่อวันเลยทีเดียว[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใส่ถุงมือกันหิมะกัด และใส่เสื้อแขนยาว.
    น้ำแข็งแห้งทำผิวคุณไหม้ได้เพราะอุณหภูมิติดลบเยอะมาก ถุงมือที่บุฉนวนกันความเย็นจะช่วยปกป้องมือไม่ให้โดนน้ำแข็งแห้งกัดได้ แต่ทางที่ดีอย่าพยายามใช้มือจับน้ำแข็งแห้งเลย[2] นอกจากนี้ให้ใส่เสื้อแขนยาวเพื่อปกป้องแขนด้วย[3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เก็บน้ำแข็งแห้งในภาชนะที่บุฉนวนกันความเย็น....
    เก็บน้ำแข็งแห้งในภาชนะที่บุฉนวนกันความเย็น. ใช้กล่องโฟม (styrofoam) หนาๆ ก็เก็บน้ำแข็งแห้งได้นานพอตัว หรือจะใช้กระติกหิ้วธรรมดาแบบใช้แช่น้ำกระป๋องก็ยังได้[4]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ขยำกระดาษใส่ในกล่อง.
    ขยำกระดาษเป็นก้อนๆ ใส่ในกล่องโฟมให้เต็ม จะช่วยลดการระเหิดของน้ำแข็งแห้งได้ เพราะที่คับแคบขึ้น ไม่เหลือที่ว่างๆ โล่งๆ เยอะ[5]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปิดฝาให้มิดชิด.
    ยิ่งเปิดฝากล่อง อากาศอุ่นๆ ก็จะไหลเข้าไป ยิ่งกระตุ้นให้เกิดการระเหิด น้ำแข็งแห้งจะกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว[6]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เก็บกล่องโฟมหรือกระติกในที่เย็นๆ.
    ถ้าอากาศหนาว ก็ทิ้งไว้ข้างนอกได้เลย แต่ถ้าร้อนประจำแบบบ้านเรา ก็ต้องเก็บไว้ในที่ร่มๆ เย็นๆ พยายามให้อุณหภูมินอกกล่องต่ำเข้าไว้ จะช่วยลดการระเหิดของน้ำแข็งแห้งได้[7]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ระวังผิวไหม้.
    ถ้าโดนน้ำแข็งแห้งกัดเล็กน้อยจนผิวแดง เดี๋ยวก็หายเอง แต่ถ้ารุนแรงจนผิวหนังพุพองหรือเริ่มลอก แบบนี้ต้องรีบไปหาหมอ[8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ข้อควรระวัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เก็บในที่ที่อากาศถ่ายเท.
    น้ำแข็งแห้งจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ถ้าอยู่ในห้องทึบ สูดดมเข้าไปจะเป็นอันตรายได้ เพราะงั้นต้องเก็บในห้องที่อากาศถ่ายเท ไม่งั้นจะเกิดภาวะขาดอากาศหายใจ (asphyxiation) ได้ทั้งคนและสัตว์[9]
    • รถที่ปิดประตูมิดชิดก็เท่ากับอากาศไม่ถ่ายเท โดยเฉพาะถ้าไม่เปิดแอร์ด้วยแล้ว เพราะงั้นอย่าทิ้งน้ำแข็งแห้งไว้ในรถที่ดับเครื่องและปิดหน้าต่าง เวลาซื้อน้ำแข็งแห้งใส่รถมา ให้เปิดแอร์ เปิดกระจกรับอากาศบริสุทธิ์ และอย่าวางไว้ใกล้ตัวตอนขับรถ[10]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่าเก็บน้ำแข็งแห้งในภาชนะที่ปิดมิดชิดเกินไป....
    อย่าเก็บน้ำแข็งแห้งในภาชนะที่ปิดมิดชิดเกินไป. อย่าลืมว่าน้ำแข็งแห้งจะระเหิด ไม่ได้ละลาย เลยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา พอเปลี่ยนเป็นแก๊ส ก็ต้องมีรูให้ไหลออกไป ถ้าภาชนะนั้นซีลหรือปิดสนิท แก๊สจะไหลออกไม่ได้ ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด แก๊สอาจอัดแน่นจนระเบิดได้[11]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าเอาน้ำแข็งแห้งใส่ช่องฟรีซ.
    อย่าลืมว่าช่องฟรีซก็เป็นช่องปิดสนิทเช่นกัน ระวังจะระเบิดได้[12] ที่สำคัญพอเอาน้ำแข็งแห้งใส่ช่องฟรีซหรือตู้เย็นแล้ว อาจไปรบกวนระบบการทำงานของเครื่อง เพราะ thermostats หรือตัวควบคุมความเย็นรับมืออุณหภูมิต่ำขนาดนั้นไม่ไหว[13]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สวมแว่นตาหรือหน้ากากนิรภัยตอนเฉาะน้ำแข็งแห้ง....
    สวมแว่นตาหรือหน้ากากนิรภัยตอนเฉาะน้ำแข็งแห้ง. ถ้าต้องเฉาะน้ำแข็งแห้งก้อนใหญ่ ต้องสวมแว่นตาหรือหน้ากากป้องกันดวงตาไว้เสมอ ไม่งั้นสะเก็ดอาจกระเด็นเข้าตาจนไหม้ได้[14]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อย่าอยู่ในที่ต่ำ.
    คาร์บอนไดออกไซด์จะไหลลงไปที่พื้นห้อง เพราะหนักกว่าอากาศที่คุณหายใจเข้าไป ดังนั้นจะไหลไปกองรวมกันในที่ลาดลงเสมอ ห้ามคุณนอนราบ หรือยื่นหน้าไปแถวนั้นเด็ดขาด[15]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 จะวางน้ำแข็งแห้งตรงไหนต้องระวัง.
    อย่างที่บอกว่าอุณหภูมิติดลบรุนแรง เพราะงั้นน้ำแข็งแห้งกัดหลายพื้นผิวเสียหายได้เลย เช่น กระเบื้องหรือหน้าเคาน์เตอร์อาจจะแตกได้[16]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ใช้แล้วต้องทิ้งให้ถูกวิธี.
    วิธีกำจัดน้ำแข็งแห้งที่ไม่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง ก็คือปล่อยให้ระเหิดจนหมดไปเอง แต่ต้องทำในบริเวณที่อากาศถ่ายเท จนแน่ใจว่าน้ำแข็งแห้งกลายเป็นไอหมดแล้ว[17]
    • อย่าเทน้ำแข็งแห้งใส่อ่างล้างจานหรืออ่างล้างหน้าในห้องน้ำ เพราะทำอ่างเสียได้เลย รวมถึงอย่าเอาไปทิ้งถังขยะซะเฉยๆ เพราะถ้าวางทิ้งไว้มั่วซั่ว อาจมีเด็กหรือคนที่ไม่รู้มาหยิบเล่นด้วยมือเปล่าจนบาดเจ็บได้[18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าตอนใช้ เก็บ หรือกำจัดน้ำแข็งแห้ง คุณเกิดหายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก ปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว หรือวิงเวียนขึ้นมา ให้รีบออกไปยังที่ที่อากาศถ่ายเททันที เพราะเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเกิด asphyxiation หรือภาวะขาดอากาศหายใจ[19]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Anne Schmidt
ร่วมเขียน โดย:
Anne Schmidt
บทความนี้ร่วมเขียนโดย Anne Schmidt หนึ่งในผู้ร่วมเขียนบทความของเรา ผู้ร่วมเขียนบทความของเราจะทำงานร่วมกับบรรณาธิการอย่างใกล้ชิด เพื่อความมั่นใจว่าบทความนั้นถูกต้องและมีเนื้อหาครอบคลุมมากที่สุด บทความนี้ถูกเข้าชม 81,480 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 81,480 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา