ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ตารางธาตุมีรายชื่อธาตุที่ได้รับการค้นพบ 118 ธาตุ ธาตุแต่ละธาตุจะมีสัญลักษณ์และตัวเลขแตกต่างกันไป ตารางธาตุจะมีการจัดหมวดหมู่ธาตุตามความคล้ายคลึง บทความนี้จะขอแนะนำวิธีอ่านตารางธาตุเพื่อจะได้สามารถรู้ข้อมูลของธาตุที่ต้องการได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ทำความเข้าใจโครงสร้างของตารางธาตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูตารางธาตุโดยเริ่มจากด้านซ้ายบนจนไปจบที่แถวสุดท้ายในแนวนอนใกล้ด้านขวาล่าง....
    ดูตารางธาตุโดยเริ่มจากด้านซ้ายบนจนไปจบที่แถวสุดท้ายในแนวนอนใกล้ด้านขวาล่าง. ตารางธาตุจะเรียงธาตุจากซ้ายไปขวาตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น เลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในอะตอม
    • ตารางธาตุอาจมีแถวแนวนอนหรือแนวตั้งไม่สมบูรณ์ ถึงแม้อาจมีช่องว่างคั่นกลางตารางธาตุ แต่การอ่านตารางธาตุจะอ่านจากซ้ายไปขวาเหมือนเดิม ตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจนมีเลขอะตอม 1 และอยู่ด้านซ้ายบนสุดของตารางธาตุ ฮีเลียมมีเลขอะตอม 2 และอยู่ด้านขวาบนสุดของตารางธาตุ
    • ธาตุที่ 57 ถึง 102 จะถูกจัดเรียงไว้ที่ด้านขวาล่างของตารางธาตุ ธาตุกลุ่มนี้เรียกว่า “ธาตุโลหะหายาก”
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หา “หมู่” ของธาตุต่างๆ...
    หา “หมู่” ของธาตุต่างๆ โดยดูจากแถวในแนวตั้งแต่ละแถวของตารางธาตุ. แถวในแนวตั้งมีทั้งหมด 18 แถว
    • เมื่อต้องการรู้หมู่ของธาตุ เราจะดูธาตุต่างๆ “ตามยาว” โดยไล่เรียงจากบนลงล่าง
    • จะมีการใส่เลขหมู่เหนือแถวแนวตั้งเสมอ แต่ก็อาจมีการใส่เลขหมู่ใต้ธาตุกลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น โลหะ
    • ตารางธาตุแต่ละตารางจะมีรูปแบบการใส่เลขหมู่แตกต่างกันไป ตารางธาตุหนึ่งอาจใส่เลขหมู่เป็นตัวเลขโรมัน (IA) อารบิก (1A) หรือตัวเลขธรรมดา 1 ถึง 18
    • ไฮโดรเจนอาจถูกจัดไว้ในกลุ่มแฮโลเจนและโลหะแอลคาไลหรือทั้งสองกลุ่มก็ได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หา “คาบ” ของธาตุต่างๆ...
    หา “คาบ” ของธาตุต่างๆ โดยดูจากแถวในแนวนอนแต่ละแถวของตารางธาตุ. ตารางธาตุมีทั้งหมด 7 คาบ เวลาอยากรู้ว่าธาตุต่างๆ อยู่ในคาบที่เท่าไร เราจะดูธาตุต่างๆ “ตามขวาง” โดยไล่เรียงจากซ้ายไปขวา
    • มักจะมีการใส่ตัวเลขคาบ 1 ถึง 7 ที่ด้านซ้ายมือของตารางธาตุ
    • แต่ละคาบจะใหญ่กว่าคาบสุดท้าย ที่เป็นเช่นนี้เพราะระดับพลังงานของอะตอมในตารางธาตุเพิ่มขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รู้ว่าธาตุกลุ่มใดเป็นโลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ....
    รู้ว่าธาตุกลุ่มใดเป็นโลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ. ในตารางธาตุจะมีการกำหนดสีของกลุ่มเหล่านี้แตกต่างกัน
    • โลหะจะอยู่ในกลุ่มเฉดสีเดียวกัน แต่ไฮโดรเจนมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีเฉดสีต่างออกไปและถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอโลหะ โลหะมีความแวววาว มักจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นำความร้อนและไฟฟ้า สามารถนำมาตีเป็นแผ่นบางๆ และดึงให้เป็นเส้นได้
    • ธาตุอโลหะจะอยู่ในกลุ่มเฉดสีเดียวกัน กลุ่มนี้ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 6 ไปจนถึงเรดอน (Rn) ธาตุลำดับที่ 86 รวมทั้งไฮโดรเจน (H) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 1 ธาตุอโลหะจะไม่มีความแวววาว ไม่นำความร้อนและไฟฟ้า ไม่สามารถนำมาตีเป็นแผ่นบางๆ ได้ มักจะอยู่ในสถานะก๊าซที่อุณหภูมิห้องและสามารถอยู่ในสถานะของแข็ง ก๊าซ หรือของเหลวได้
    • ธาตุกึ่งโลหะหรือเมตัลลอยด์มักจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มเฉดสีม่วงหรือเขียว เพราะเป็นสีที่เกิดจากสีอื่นๆ อีก 2 สี ธาตุกลุ่มนี้จะตั้งเรียงกันในแนวทแยงมุม เริ่มจากธาตุโบรอน (B) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 5 ไปจนถึงธาตุแอสทาทีน (At) ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 85 ธาตุกึ่งโลหะมีคุณสมบัติของธาตุโลหะและธาตุอโลหะ [1]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รู้ว่ามีการจัดกลุ่มธาตุต่างๆ อีกแบบหนึ่ง.
    กลุ่มอีกแบบดังกล่าวประกอบด้วยโลหะแอลคาไล (1A) โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (2A) แฮโลเจน (7A) แก๊สมีตระกูล (8A) และคาร์บอน (4A)
    • กลุ่มเหล่านี้จะมีการใส่ตัวเลขโรมัน ตัวเลขอารบิก หรือตัวเลขธรรมดาไว้เหนือแถวแนวตั้งเพื่อแสดงเลขหมู่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ดูสัญลักษณ์และชื่อธาตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูสัญลักษณ์.
    จะมีการใช้อักษรหนึ่งถึงสองตัวเป็นสัญลักษณ์ธาตุ โดยใช้แบบเดียวกันทุกชาติทุกภาษา
    • สัญลักษณ์ธาตุมาจากชื่อภาษาละตินของธาตุนั้นหรือชื่อสามัญที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
    • ในหลายกรณีสัญลักษณ์ที่มีชื่อภาษาอังกฤษอย่างเช่น Helium (ฮีเลียม) จะใช้ “He” เป็นสัญลักษณ์ธาตุ แต่ก็ไม่อาจใช้กฎนี้ได้กับทุกธาตุ ตัวอย่างเช่น Iron หรือเหล็กมีสัญลักษณ์ธาตุคือ “Fe” ฉะนั้นจึงต้องมีการจำสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุไปพร้อมกัน [2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดูชื่อสามัญ.
    ชื่อสามัญจะปรากฏอยู่ใต้สัญลักษณ์ธาตุและจะเปลี่ยนไปตามภาษาของแต่ละประเทศ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ดูเลขอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูเลขอะตอมที่อยู่ตรงกลางด้านบนหรือด้านซ้ายบนของสัญลักษณ์ธาตุนั้นเพื่อจะได้รู้ข้อมูลของธาตุ....
    ดูเลขอะตอมที่อยู่ตรงกลางด้านบนหรือด้านซ้ายบนของสัญลักษณ์ธาตุนั้นเพื่อจะได้รู้ข้อมูลของธาตุ. อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าธาตุในตารางธาตุเรียงลำดับจากด้านซ้ายบนไปด้านขวาล่าง การรู้เลขอะตอมเป็นทางที่เร็วที่สุดในการหาข้อมูลเกี่ยวกับธาตุนั้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ว่าเลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมธาตุนั้น....
    รู้ว่าเลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมธาตุนั้น.
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้ว่าการเพิ่มหรือเอาโปรตอนออกจะทำให้ธาตุนั้นกลายเป็นธาตุอื่น....
    รู้ว่าการเพิ่มหรือเอาโปรตอนออกจะทำให้ธาตุนั้นกลายเป็นธาตุอื่น. [3]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เมื่อรู้จำนวนโปรตอนในอะตอม ก็จะรู้จำนวนอิเล็กตรอนด้วย....
    เมื่อรู้จำนวนโปรตอนในอะตอม ก็จะรู้จำนวนอิเล็กตรอนด้วย. เพราะอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนและโปรตอนเท่ากัน
    • อย่าลืมว่ากฎนี้มีข้อยกเว้น ถ้าอะตอมเสียหรือได้รับอิเล็กตรอน ก็จะมีไอออนซึ่งมีประจุทางไฟฟ้าปรากฏขึ้นที่สัญลักษณ์ธาตุ
    • ถ้ามีเครื่องหมายบวกอยู่ข้างสัญลักษณ์ธาตุ แสดงว่าธาตุนั้นมีประจุบวก ถ้ามีเครื่องหมายลบอยู่ข้างสัญลักษณ์ธาตุ แสดงว่าธาตุนั้นมีประจุลบ
    • ถ้าไม่มีเครื่องหมายลบหรือบวก แสดงว่าโจทย์ทางเคมีข้อนั้นไม่จำเป็นต้องนำไอออนมาคิดด้วย เพราะจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนนั้นเท่ากัน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ดูน้ำหนักอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูน้ำหนักอะตอม.
    น้ำหนักอะตอมคือตัวเลขที่อยู่ใต้ชื่อสามัญของธาตุนั้น
    • ถึงแม้อาจดูเหมือนว่าน้ำหนักอะตอมจะเพิ่มขึ้นจากด้านซ้ายบนไปด้านขวาล่าง แต่ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ว่าธาตุส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักอะตอมเป็นเลขทศนิยม....
    รู้ว่าธาตุส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักอะตอมเป็นเลขทศนิยม. น้ำหนักอะตอมคือผลรวมของอนุภาคในนิวเคลียส แต่ก็เป็นน้ำหนักโดยเฉลี่ยของไอโซโทปต่างๆ ด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้น้ำหนักอะตอมหาจำนวนนิวตรอนของธาตุนั้น.
    ประมาณน้ำหนักอะตอมให้เป็นจำนวนเต็มที่มีค่าใกล้เคียงที่สุด จำนวนเต็มนี้เรียกว่าเลขมวล จากนั้นนำเลขมวลลบจำนวนโปรตอนก็จะได้จำนวนนิวตรอน [4]
    • ตัวอย่างเช่น น้ำหนักอะตอมของเหล็กคือ 55.847 ฉะนั้นเลขมวลคือ 56 ธาตุนี้มีโปรตอน 26 ตัว นำ 56 (เลขมวล) ลบ 26 (โปรตอน) ก็จะได้ 30 อะตอมของเหล็กมีนิวตรอน 30 ตัว
    • การเปลี่ยนแปลงจำนวนนิวตรอนในอะตอมจะทำให้เกิดไอไซโทปซึ่งมีอะตอมที่หนักกว่าหรือเบากว่าก็ได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 14 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 112,308 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 112,308 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา