ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ในวิชาเคมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน คืออิเล็กตรอนที่อยู่ในวงนอกสุดของธาตุหนึ่ง การรู้วิธีหาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนในอะตอมหนึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนักเคมีเพราะข้อมูลที่ได้มานี้จะเป็นตัวกำหนดพันธะเคมีที่สามารถเกิดขึ้นได้และความไวปฏิกิริยาของธาตุนั้น โชคดีที่เรามีตัวช่วยในการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนคือตารางธาตุ เราจึงสามารถหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หาเวเลนซ์อิเล็กตรอนด้วยการใช้ตารางธาตุ

ดาวน์โหลดบทความ

ธาตุที่ไม่ใช่โลหะทรานซิชัน

  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาธาตุที่ต้องการในตารางธาตุ.
    ตารางธาตุคือตารางรหัสสีที่สร้างจากกล่องสี่เหลี่ยมหลายกล่อง ในกล่องสีเหลี่ยมเหล่านั้นมีชื่อธาตุทางเคมีซึ่งเป็นที่รู้จักของมนุษย์ ตารางธาตุจะให้ข้อมูลต่างๆ ของธาตุ เราจะใช้ข้อมูลพวกนี้บางส่วนเพื่อหาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุที่ต้องการ ตารางธาตุมักจะอยู่ที่ปกของหนังสือเรียนวิชาเคมี แต่ก็สามารถค้นหาตารางธาตุทางอินเตอร์เน็ต[1]ได้เช่นกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เขียนตัวเลขไว้เหนือแต่ละหมู่ของธาตุโดยเขียนตั้งแต่ 1 ถึง...
    เขียนตัวเลขไว้เหนือแต่ละหมู่ของธาตุโดยเขียนตั้งแต่ 1 ถึง 18. โดยทั่วไปธาตุทุกธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันจะมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน ถ้าตารางธาตุของเรายังไม่มีเลขหมู่ ให้ใส่เลขหมู่โดยเริ่มเขียน 1 ไว้ที่เหนือหมู่ที่อยู่ทางซ้ายสุด เขียนไล่ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ้นสุดที่ 18 ตรงขวาสุด ในทางวิชาการแถวที่อยู่ในแนวตั้งแต่ละแถวเรียกว่า "หมู่"[2]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าตารางธาตุที่ใช้ไม่ได้ให้เลขหมู่มา เราก็แค่เขียน 1 ไว้เหนือไฮโดรเจน (H) 2 ไว้เหนือเบริลเลียม (Be) และเขียนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเขียน 18 ไว้เหนือฮีเลียม (He)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาธาตุที่ต้องการในตารางธาตุ.
    คราวนี้หาธาตุที่ต้องการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนในตารางธาตุ เราสามารถหาธาตุที่ต้องการพบได้โดยดูจากสัญลักษณ์ํธาตุ (ตัวอักษรซึ่งอยู่ในแต่ละช่องของตาราง) เลขอะตอม (ตัวเลขที่อยู่ทางซ้ายบนของแต่ละช่อง) หรือข้อมูลอื่นๆ ที่มีอยู่ในตาราง
    • ลองมาหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุที่พบได้บ่อยกันดีกว่า ตัวอย่างเช่น ธาตุคาร์บอน (C) มีเลขอะตอมคือ 6 ธาตุนี้อยู่ในหมู่ 14 ในขั้นตอนต่อไปเราจะหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุนี้
    • ในการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนนี้เราจะไม่สนใจโลหะทรานซิชัน โลหะทรานซิชันเป็นธาตุในหมู่ที่ 3 ถึง 12 โดยธาตุเหล่านี้เรียงตัวกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในตารางธาตุ ธาตุเหล่านี้แตกต่างไปจากธาตุที่เหลือในตารางธาตุเล็กน้อย ฉะนั้นขั้นตอนนี้เราจะไม่ยุ่งกับธาตุเหล่านี้ แต่เราจะมาเรียนรู้วิธีหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนของโลหะทรานซินชันในส่วนต่อไป
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้ตัวเลขหมู่หาจำนวนของเวเลนซ์อิเล็กตรอน.
    เลขหมู่ของธาตุที่ไม่ใช่โลหะทรานซิชันสามารถนำมาใช้หาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุนั้น ตัวเลขในหลักหน่วยของเลขหมู่คือจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมในธาตุเหล่านั้น พูดอีกอย่างหนึ่งคือ
    • หมู่ 1: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1
    • หมู่ 2: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2
    • หมู่ 13: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 3
    • หมู่ 14: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 4
    • หมู่ 15: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 5
    • หมู่ 16: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 6
    • หมู่ 17: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 7
    • หมู่ 18: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 8 (ยกเว้นฮีเลียมที่มี 2)
    • ในตัวอย่างของเรา คาร์บอนอยู่หมู่ที่ 14 แสดงว่าอะตอมหนึ่งของคาร์บอนมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 4
    โฆษณา

โลหะทรานซิชัน

  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลือกธาตุที่ต้องการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนจากหมู่ 3 ถึง...
    เลือกธาตุที่ต้องการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนจากหมู่ 3 ถึง 12. อย่างที่บอกก่อนหน้านี้ธาตุในหมู่ 3 ถึง 12 เรียกว่า "โลหะทรานซิชัน" และมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนแตกต่างไปจากธาตุของหมู่ที่เหลือ ในตอนนี้เราจะอธิบายวิธีหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุเหล่านี้ ถึงแม้อาจจะยากสักหน่อยที่จะระบุจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุเหล่านี้ก็ตาม
    • ตัวอย่างเช่น เราเลือกที่จะหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนของแทนทาลัม (Ta) ซึ่งมีเลขอะตอม 73 เราจะมาเริ่มหาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนในขั้นตอนต่อไป (หรืออย่างน้อย พยายาม หาดู)
    • จะเห็นว่าโลหะทรานซิชันจะประกอบด้วยอนุกรมแลนทาไนด์และแอกทิไนด์ (ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "แร่ที่มีธาตุโลหะหายาก" อีกด้วย) ซึ่งก็คือธาตุสองแถวที่อยู่ล่างสุดของตารางธาตุโดยแถวแรกเริ่มที่แลนทานัมและแอกทิเนียม ธาตุเหล่านี้อยู่ในหมู่ 3 ของตารางธาตุ
  2. Step 2 รู้ว่าโลหะทรานซิชันมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน "ไม่แน่นอน"....
    รู้ว่าโลหะทรานซิชันมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน "ไม่แน่นอน". ถ้าอยากรู้ถึงเหตุผลว่าทำไมโลหะทรานซิชันถึงมีวิธีหาเวเลนซ์อิเล็กตรอน "ไม่เหมือน" ธาตุอื่นๆ ในตารางธาตุ คงต้องอธิบายพฤติกรรมของอิเล็กตรอนในอะตอมสักหน่อย จะอ่านคำอธิบายด้านล่างก่อนหรือข้ามไปหาคำตอบเลยก็ได้[3]
    • ขณะที่อิเล็กตรอนถูกเพิ่มเข้าไปในอะตอม อิเล็กตรอนจะถูกเรียงไว้ใน "ออร์บิทัล (orbital)" ต่างๆ ซึ่งโดยปกติคือบริเวณรอบๆ นิวเคลียสที่บรรดาอิเล็กตรอนนั้นจับกลุ่มกันอยู่ โดยทั่วไปเวเลนซ์อิเล็กตรอนคืออิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุดหรือพูดอีกอย่างคืออิเล็กตรอนตัวสุดท้ายที่ถูกเพิ่มเข้ามา
    • แต่เรื่องเวเลนซ์อิเล็กตรอนของโลหะทรานซิชันนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบายตรงนี้ได้ เมื่ออิเล็กตรอนถูกเพิ่มเข้าไปที่วง d ซึ่งอยู่นอกสุดของโลหะทรานซิชัน (รายละเอียดอยู่ข้างล่างนี้) อิเล็กตรอนตัวแรกที่เข้าไปในวงมักจะทำตัวเหมือนเวเลนซ์อิเล็กตรอนปกติแต่หลังจากนั้นก็เปลี่ยนแปลงไปและอิเล็กตรอนจากออร์บิทัลชั้นอื่นๆ จะทำตัวเป็นเวเลนซ์อิเล็กตรอนแทน ถ้าเป็นแบบนี้ อะตอมหนึ่งก็จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนได้หลายจำนวนโดยขึ้นอยู่กับว่ามันถูกถ่ายเทอย่างไร
    • สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้าเว็บ[4]ของ Clackamas Community College
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาเวเลนซ์อิเล็กตรอนโดยดูจากเลขหมู่.
    นี้ก็เป็นอีกครั้งเหมือนกันที่เลขหมู่ของธาตุที่ต้องการสามารถบอกจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนให้เรารู้ได้ แต่เมื่อธาตุนั้นเป็นโลหะทรานซิชัน ก็ไม่สามารถรู้จำนวนอิเล็กตรอนที่แน่นอนอยู่ดี เลขหมู่มักจะบอกจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น [5]
    • หมู่ 3: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 3 ตัว
    • หมู่ 4: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 4
    • หมู่ 5: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 5
    • หมู่ 6: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 6
    • หมู่ 7: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 7
    • หมู่ 8: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 3
    • หมู่ 9: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 3
    • หมู่ 10: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 3
    • หมู่ 11: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1 ถึง 2
    • หมู่ 12: มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2
    • ในตัวอย่างของเราแทนทาลัมอยู่ในหมู่ 5 จึงอาจบอกได้ว่าธาตุนี้มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ถึง 5 โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

หาเวเลนซ์อิเล็กตรอนโดยดูการจัดเรียงอิเล็กตรอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้วิธีดูการจัดเรียงอิเล็กตรอน.
    วิธีที่จะหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนอีกวิธีหนึ่งคือดูการจัดเรียงอิเล็กตรอน วิธีนี้อาจดูซับซ้อนในตอนแรก เพราะการจัดเรียงอิเล็กตรอนจะแสดงออร์บิทัลของอิเล็กตรอนในอะตอมให้อยู่ในรูปแบบตัวอักษรและตัวเลข แต่เมื่อเราศึกษาทำความเข้าใจ เราก็จะสามารถนำการจัดเรียงอิเล็กตรอนมาหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนได้
    • ขอยกตัวอย่างการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุโซเดียม (Na)
      1s22s22p63s1
    • จะเห็นว่าการจัดเรียงอิเล็กตรอนจะมีรูปแบบที่เห็นได้ชัดคือ
      (ตัวเลข)(ตัวอักษร)(ตัวเลขซึ่งเป็นตัวยก)(ตัวเลข)(ตัวอักษร)(ตัวเลขซึ่งเป็นตัวยก)...
    • จะมีตัวเลข ตัวอักษร และตัวเลขซึ่งเป็นตัวยกสลับไปเรื่อยๆ (ตัวเลข)(ตัวอักษร) คือชื่อออร์บิทัลของอิเล็กตรอนและ(ตัวเลขซึ่งเป็นตัวยก) คือจำนวนอิเล็กตรอนในออร์บิทัลของอิเล็กตรอนนั้นและนี้คือข้อมูลที่เราต้องการ!
    • กลับมาที่ตัวอย่างของเรา การจัดเรียงอิเล็กตรอนของโซเดียมบอกว่ามีอิเล็กตรอน 2 ตัวในออร์บิทัล 1s มีอิเล็กตรอน 2 ตัวในออร์บิทัล 2s มีอิเล็กตรอน 6 ตัวในออร์บิทัล 2p มี อิเล็กตรอน 1 ตัวในออร์บิทัล 3s จำนวนอิเล็กตรอนรวมกันได้ 11 โซเดียมเป็นธาตุหมายเลข 11 จึงสอดคล้องกัน
    • จำไว้ว่าแต่ละออร์บิทัลมีความจุอิเล็กตรอนที่แน่นอน ความจุอิเล็กตรอนของพวกมันจะเป็นดังต่อไปนี้:
      • s: 2 อิเล็กตรอน
      • p: 6 อิเล็กตรอน
      • d:10 อิเล็กตรอน
      • f: 14 อิเล็กตรอน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุที่เราต้องการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอน....
    เขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุที่เราต้องการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอน. พอรู้ว่าการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุนั้นเป็นอย่างไร การหาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนก็จะง่ายมาก (ยกเว้นว่าธาตุนั้นเป็นโลหะทรานซิชัน) ถ้าโจทย์ให้การจัดเรียงอิเล็กตรอนตั้งแต่เริ่มแรก ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย แต่ถ้าต้องเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนด้วยตนเอง ลองดูที่ด้านล่างนี้
    • นี้คือการจัดเรียงอิเล็กตรอนของออกาเนสซอน (Og) ธาตุหมายเลข 118 ซึ่งเป็นธาตุสุดท้ายบนตารางธาตุ มันจะมีอิเล็กตรอนมากกว่าธาตุอื่น ดังนั้นการจัดเรียงของมันจึงแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ทั้งหมดที่คุณจะเจอในธาตุอื่นๆ
      1s22s22p63s23p64s23d104p65s24d105p66s24f145d106p67s25f146d107p6
    • ตอนนี้เรารู้การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุแล้ว ทั้งหมดที่เราต้องทำในการเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนอีกแบบคือใส่อิเล็กตรอนตามที่การจัดเรียงแบบแรกได้ให้ไว้ในแต่ละวงของอิเล็กตรอนจนหมด ขอสาธิตให้ดูเพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการเขียนแผนภาพวงโคจรให้คลอรีน (Cl) ธาตุหมายเลข 17 และมีอิเล็กตรอน 17 ตัว ก็จะเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนออกมาได้ดังนี้
      1s22s22p63s23p5
    • สังเกตเห็นว่าจำนวนอิเล็กตรอนรวมกันได้ 17 เพราะ 2 + 2 + 6 + 2 + 5 = 17 เราแค่ต้องเปลี่ยนจำนวนในออร์บิทัลสุดท้าย ที่เหลือให้คงไว้เหมือนเดิม เพราะออร์บิทัลของอิเล็กตรอนก่อนออร์บิทัลสุดท้ายเต็ม
    • ถ้าอยากรู้วิธีเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนมากกว่านี้ ให้ลองอ่านวิธีเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนสำหรับธาตุต่างๆ ดู
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใส่อิเล็กตรอนลงในวงโคจรตามกฎออกเตต.
    เมื่ออิเล็กตรอนถูกเพิ่มลงในไปในอะตอม อิเล็กตรอนก็จะลงไปอยู่ในออร์บิทัลต่างๆ ตามลำดับที่ให้มาข้างต้น อิเล็กตรอนสองตัวแรกจะตกอยู่ในออร์บิทัล 1s อิเล็กตรอนสองตัวต่อมาจะตกอยู่ในออร์บิทัล 2s อิเล็กตรอนอีกหกตัวต่อมาตกอยู่ในออร์บิทัล 2p และต่อไปเรื่อยๆ เมื่อต้องใส่อิเล็กตรอนให้กับอะตอมของธาตุที่ไม่ใช่โลหะทรานซิชัน ออร์บิทัลเหล่านี้จะกลายเป็น "วงโคจร (orbital shells)" รอบนิวเคลียส วงหนึ่งจะขยายออกจากอีกวงหนึ่งไปเรื่อยๆ แต่ละวงจะมีอิเล็กตรอนได้แปดตัว (ยกเว้นธาตุที่เป็นโลหะทรานซิชัน) แต่วงแรกจะมีอิเล็กตรอนได้แค่สองตัว กฎนี้เรียกว่ากฎออกเตต
    • ตัวอย่างเช่น เรากำลังใส่อิเล็กตรอนของธาตุโบรอน (B) เนื่องจากเลขอะตอมคือห้า เราจึงรู้ว่าธาตุนี้มีอิเล็กตรอนห้าตัวและการจัดเรียงอิเล็กตรอนก็คือ 1s22s22p1 เนื่องจากวงโคจรแรกมีแค่สองอิเล็กตรอน ฉะนั้นโบรอนจึงมีสองวง วงแรกมีอิเล็กตรอนสองตัวจาก 1s และวงที่สองมีอิเล็กตรอนสามตัวจากออร์บิทัล 2s และ 2p
    • ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง ธาตุอย่างคลอรีน (1s22s22p63s23p5)จะมีวงโคจรสามวง วงแรกมีอิเล็กตรอนสองตัวจาก 1s วงที่สองมีอิเล็กตรอนสองตัวจาก 2s และอิเล็กตรอนหกตัวจาก 2p วงสุดท้ายมีอิเล็กตรอนสองตัวจาก 3s และมีอิเล็กตรอนห้าตัวจาก 3p
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาจำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด.
    คราวนี้เรารู้วงอิเล็กตรอนของธาตุต่างๆ แล้ว ฉะนั้นการหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนก็จะง่าย แค่ดูจำนวนอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุดเท่านั้น ถ้าอิเล็กตรอนวงนอกสุดเต็ม (พูดอีกอย่างหนึ่งคือมีอิเล็กตรอนครบแปดตัว หรือสำหรับวงแรกมีอิเล็กตรอนครบสองตัว) ธาตุนั้นจะเป็นก๊าซเฉื่อยและไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นง่ายๆ อย่างไรก็ตามกฎนี้ใช้ไม่ได้กับโลหะทรานซิชัน
    • ตัวอย่างเช่น เรากำลังหาเวเลนซ์อิเล็กตรอนของโบรอน เนื่องจากโบรอนมีอิเล็กตรอนสามตัวในวงที่สอง แสดงว่าเวเลนซ์อิเล็กตรอนของโบรอนมีสามตัว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ดูแถวของตารางเพื่อจะได้รู้จำนวนวงโคจร.
    แถวในแนวนอนของตารางธาตุเรียกว่า "คาบ" คาบนี้จะเริ่มตั้งแต่แถวแรกของตาราง แต่ละคาบจะมีจำนวนวงอิเล็กตรอน ที่อะตอมในคาบนั้นมี เราจะใช้คาบเพื่อเป็นทางลัดในการหาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่ธาตุนั้นมีก็ได้ แค่เริ่มจากด้านซ้ายของธาตุตอนนับอิเล็กตรอน วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับโลหะทรานซิชัน
    • ตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าซีลีเนียมมีวงโคจรสี่วงเพราะธาตุนี้อยู่ในคาบที่สี่ เนื่องจากซีลีเนียมเป็นธาตุที่หกนับจากทางซ้ายในคาบที่สี่ (ไม่ต้องสนโลหะทรานซิชัน) เราก็จะรู้ว่าวงอิเล็กตรอนวงที่สี่มีอิเล็กตรอนหกตัว ฉะนั้นซีลีเนียมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนหกตัว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จะสังเกตว่าการจัดเรียงอิเล็กตรอนสามารถเขียนในรูปย่อได้ด้วยการใช้แก๊สมีตระกูล (ธาตุในหมู่ที่ 18) มาวางไว้หน้าออร์บิทัลที่จุดเริ่มต้นการจัดเรียงอิเล็กตรอน ตัวอย่างเช่น การจัดเรียงอิเล็กตรอนของโซเดียมสามารถเขียนเป็น [Ne]3s1 จะเห็นว่าเขียนเหมือนนีออนก็จริงแต่จะมีอิเล็กตรอนเพิ่มมาตัวหนึ่งในออร์บิทัล 3s
  • โลหะทรานซิชันอาจมีวงอิเล็กตรอนย่อยที่ยังมีอิเล็กตรอนไม่ครบ การหาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่แท้จริงในโลหะทรานซิชันอาจต้องใช้หลักของทฤษฎีควอนตัมซึ่งเกินขอบเขตของบทความนี้
  • ตารางธาตุที่ใช้ในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ฉะนั้นตรวจสอบตารางธาตุที่ใช้ว่าถูกต้องไหม เลือกใช้ตารางที่ทันสมัยเพื่อป้องกันความสับสน
  • ต้องรู้ว่าวงอิเล็กตรอนนอกสุดนั้นมีอิเล็กตรอนเพิ่มหรือลด จะได้หาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนได้อย่างถูกต้อง
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ตารางธาตุ
  • ดินสอ
  • กระดาษ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 45 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 91,399 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 91,399 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา