ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

มวลอะตอมคือผลบวกของโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนทั้งหมดในอะตอมหรือโมเลกุลเดียว[1] แต่มวลของอิเล็กตรอนนั้นน้อยมากจนแทบจะไม่มีผลอะไร จึงไม่ได้นำมาใช้ในการคำนวณด้วย [2] นอกจากนี้มวลอะตอมยังมักจะใช้กล่าวถึงมวลอะตอมเฉลี่ยของไอโซโทปทั้งหมดของธาตุหนึ่งธาตุ ถึงแม้ในทางเทคนิคแล้วจะไม่ถูกต้องนักก็ตาม ที่จริงแล้วคำนิยามที่สองนี้เป็นของมวลอะตอมสัมพัทธ์หรือน้ำหนักอะตอมของธาตุหนึ่งธาตุ[3] น้ำหนักอะตอมเป็นค่ามวลเฉลี่ยของไอโซโทปที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของธาตุนั้น นักเคมีต้องแยกมวลอะตอมทั้งสองประเภทนี้ออกจากกันเวลาคำนวณ เพราะถ้าได้ค่ามวลอะตอมที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้คำนวณผลการทดลองผิดพลาด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ดูตารางธาตุเพื่อหามวลอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทำความรู้จักหน่วยของมวลอะตอม.
    มวลอะตอมซึ่งเป็นมวลของอะตอมหนึ่งอะตอมหรือโมเลกุลหนึ่งโมเลกุลจะใช้หน่วยมวลตามมาตรฐานของเอสไอ เช่น กรัม กิโลกรัม ก็ได้ แต่มวลอะตอมนั้นเล็กมากเกินกว่าจะใช้หน่วยเอสไอได้ ฉะนั้นจึงมักจะใช้เป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units มักจะย่อสั้นๆ ว่า "u" หรือ"amu") หนึ่งหน่วยมวลอะตอมมีค่าเท่ากับ 1/12 ของมวลคาร์บอน-12[4]
    • หน่วยมวลอะตอมจะบอกมวลของธาตุหรือโมเลกุลนั้นหนึ่งโมลในหน่วยกรัม นี้เป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากเมื่อต้องนำมาใช้ในการคำนวณ เพราะสามารถเปลี่ยนหน่วยกรัมมาเป็นหน่วยโมลหรือเปลี่ยนจากหน่วยโมลมาเป็นหน่วยกรัมได้ง่าย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หามวลอะตอมในตารางธาตุ.
    ตารางธาตุส่วนใหญ่จะให้มวลอะตอมสัมพัทธ์ของแต่ละธาตุมา (น้ำหนักอะตอม) มวลอะตอมจะเป็นตัวเลขที่อยู่ด้านล่างของช่องสี่เหลี่ยมแต่ละช่องหรืออยู่ใต้สัญลักษณ์ธาตุแต่ละธาตุ มวลอะตอมจะมีจุดทศนิยมเสมอ และไม่อยู่ในรูปจำนวนเต็ม
    • มวลอะตอมสัมพัทธ์ที่แสดงอยู่ในตารางธาตุเป็นมวลอะตอมเฉลี่ย ของธาตุที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ธาตุทางเคมีจะมีไอโซโทป ที่แตกต่างกัน ไอโซโทปคือธาตุชนิดเดียวกันที่มีมวลต่างกันเพราะจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสไม่เท่ากัน[5] ฉะนั้นมวลอะตอมสัมพัทธ์ที่แสดงอยู่ในตารางธาตุจึงเป็นมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุหนึ่งธาตุ ไม่ใช่มวลอะตอมของธาตุนั้นอะตอมเดียว
    • มวลอะตอมสัมพัทธ์ที่ได้แสดงอยู่ในตารางธาตุนำมาใช้ในการคำนวณหามวลโมลาร์ของอะตอมและโมเลกุล มวลอะตอมซึ่งอยู่ในตารางธาตุมีหน่วยเป็น amu ก็จริง แต่ในทางเทคนิคแล้วไม่มีหน่วย แต่เมื่อต้องการหามวลโมลาร์หรือมวลของอะตอมธาตุนั้นหนึ่งโมล (ในหน่วยกรัม) ก็จะมีการแปลงหน่วยด้วยการนำมวลอะตอมมาคูณกับ 1 กรัม/โมล
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้วาตัวเลขที่แสดงอยู่ในตารางธาตุเป็นมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุนั้น....
    รู้วาตัวเลขที่แสดงอยู่ในตารางธาตุเป็นมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุนั้น. อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วมวลอะตอมสัมพัทธ์ที่แสดงอยุู่ใต้สัญลักษณ์ธาตุแต่ละธาตุเป็นมวลอะตอมเฉลี่ยของไอโซโทปทั้งหมดของธาตุน้ั้น ค่านี้เป็นเป็นค่าที่นำมาใช้ในการคำนวณมากมายอย่างเช่น มวลโมลาร์ของโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมหลายอะตอม แต่เมื่อต้องมาใช้คำนวณอะตอมแต่ละอะตอม บางครั้งรู้แค่ตัวเลขนี้ยังไม่พอ
    • เพราะนี้คือมวลอะตอมเฉลี่ยของไอโซโทปต่างๆ หลายไอโซโทป มวลอะตอมที่แสดงอยู่ในตารางธาตุจึงไม่ใช่ค่ามวลอะตอมที่แท้จริง ของอะตอมหนึ่งอะตอม
    • เวลาคำนวณหามวลอะตอมของอะตอมแต่ละตัว เราต้องนำจำนวนโปรตอนและนิวตรอนในอะตอมหนึ่งอะตอมมาคิดด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

คำนวณหามวลอะตอมของแต่ละอะตอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาเลขอะตอมของธาตุนั้นหรือไอโซโทปนั้น.
    เลขอะตอมคือจำนวนโปรตอนในธาตุนั้น เป็นตัวเลขที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง[6] ตัวอย่างเช่น อะตอมไฮโดรเจนทั้งหมดมีโปรตอนหนึ่งตัวและมีแต่ อะตอมไฮโดรเจนเท่านั้นที่มีโปรตอนหนึ่งตัว โซเดียมมีเลขอะตอม 11 เพราะนิวเคลียสของธาตุนี้มีโปรตอนสิบเอ็ดตัว ออกซิเจนมีเลขอะตอม 8 เพราะนิวเคลียสของธาตุนี้มีโปรตอนแปดตัว เราสามารถหาเลขอะตอมของธาตุต่างๆ ได้ในตารางธาตุ ตารางธาตุแทบจะทุกตารางธาตุจะแสดงเลขอะตอมไว้เหนือสัญลักษณ์ธาตุ เลขอะตอมนี้จะเป็นจำนวนเต็มเสมอ
    • สมมติว่าเรากำลังศึกษาอะตอมของคาร์บอน คาร์บอนมีโปรตอนหกตัวเสมอ ฉะนั้นเราจึงรู้ว่าเลขอะตอมของคาร์บอนคือ 6 พอมาตรวจดูที่ตารางธาตุ ก็จะเห็นว่าช่องของคาร์บอน (C) มีเลข"6" อยู่ที่เหนือสัญลักษณ์ธาตุ นี้เป็นการบอกว่าเลขอะตอมของธาตุคาร์บอนคือหก
    • เลขอะตอมของธาตุหนึ่งไม่ได้มีผลโดยตรงต่อมวลอะตอมสัมพัทธ์ที่แสดงอยู่ในตารางธาตุ ถึงแม้ธาตุที่อยู่ต้นตารางธาตุอาจดูเหมือนมีมวลอะตอมเป็นสองเท่าของเลขอะตอม แต่มวลอะตอมไม่ได้คำนวณจากการนำสองไปคูณเลขอะตอม
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียส.
    จำนวนนิวตรอนในอะตอมของธาตุใดธาตุหนึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ถ้าอะตอมสองอะตอมมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน แสดงว่าอะตอมทั้งสองอะตอมนั้นเป็นของธาตุเดียวกันแต่ไอโซโทปต่างกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วจำนวนโปรตอนของธาตุหนึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จำนวนนิวตรอนในอะตอมของธาตุนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุนั้นจึงต้องในรูปทศนิยม
    • เราสามารถรู้จำนวนนิวตรอนได้จากชื่อไอโซโทปของธาตุนั้น ตัวอย่างเช่น คาร์บอน-14 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของคาร์บอน-12 เราจะเห็นว่าไอโซโทปหนึ่งจะมีตัวเลขทำเป็นตัวยกวางไว้ก่อนสัญลักษณ์ธาตุนั้น ตัวอย่างเช่น14C เราสามารถหาจำนวนนิวตรอนได้จากการนำจำนวนโปรตอนไปลบออกจากเลขไอโซโทป 14 – 6 = 8 ผลลัพธ์ที่ได้แสดงว่าคาร์บอนไอโซโทปนี้มีนิวตรอน 8 ตัว
    • คาร์บอน 12C มีนิวตรอนทั้งหมดหกตัว คาร์บอนไอโซโทปนี้เป็นไอโซโทปที่พบมากที่สุด โดยพบเกือบ 99% ของอะตอมคาร์บอนทั้งหมด[7] คาร์บอนที่มีนิวตรอน 7 ตัว (13C) พบ 1% อะตอมคาร์บอนชนิดอื่นที่มีนิวตรอนมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 หรือ 7 ตัวพบได้น้อยมาก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นำจำนวนโปรตอนและนิวตรอนมาบวกกัน.
    นี้คือมวลอะตอมของอะตอมนั้น ไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียส เพราะมวลรวมของมันน้อยมากเสียจนไม่มีผลต่อคำตอบของเราเท่าไหร่
    • อะตอมคาร์บอนมีโปรตอน 6 ตัว + นิวตรอน 6 ตัว = 12 มวลอะตอมของอะตอมคาร์บอนนี้คือ 12 ในอีกกรณีหนึ่งคาร์บอน-13 นี้มีโปรตอน 6 ตัว + นิวตรอน 7 ตัว = 13 น้ำหนักอะตอมของคาร์บอนนี้คือ 13
    • น้ำหนักอะตอมที่แท้จริงของคาร์บอน-13 คือ 13.003355 [8]และน้ำหนักนี้มีความเที่ยงตรงกว่าเพราะเป็นน้ำหนักที่ได้จากการวัดในห้องทดลอง
    • มวลอะตอมจะมีค่าใกล้เคียงกับเลขไอโซโทปของธาตุนั้น ตัวเลขไอโซโทปจะกลายเป็นมวลอะตอมเพื่อให้การคำนวณง่ายขึ้น สาเหตุที่น้ำหนักจากการวัดในห้องทดลองมีค่าสูงกว่าตัวเลขไอโซโทปเล็กน้อยเพราะรวมน้ำหนักของอิเล็กตรอนด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

คำนวณหามวลอะตอมสัมพัทธ์ (น้ำหนักอะตอม) ของธาตุนั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้ว่าธาตุที่ต้องการหามวลอะตอมสัมพัทธ์เป็นไอโซโทปไหน....
    รู้ว่าธาตุที่ต้องการหามวลอะตอมสัมพัทธ์เป็นไอโซโทปไหน. นักเคมีจะรู้ว่าตนกำลังหามวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุไอโซโทปไหนโดยการใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่าแมสสเปกโตรมิเตอร์ (mass spectrometer) แต่ถ้าเราเป็นเพียงนักเรียนนักศึกษา ข้อมูลไอโซโทปจะมีไว้ให้แล้วในแบบฝึกหัด เป็นค่าที่ไดรับการยอมรับจากวงการวิทยาศาสตร์
    • ในบทความนี้เราจะมาหามวลอะตอมสัมพัทธ์ของคาร์บอน-12 และ คาร์บอน-13
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาความอุดมสัมพัทธ์ของแต่ละไอโซโทป.
    ไอโซโทปแต่ละไอโซโทปของธาตุหนึ่งปรากฏในอัตราส่วนต่างกัน อัตราส่วนจะแสดงออกมาในรูปของเปอร์เซ็นต์ ไอโซโทปบางไอโซโทปพบได้มาก แต่ไอโซโทปบางไอโซโทปพบได้ยาก บางครั้งพบได้ยากจนแทบจะไม่สามารถตรวจพบได้ ข้อมูลนี้สามารถหาได้จากการใช้แมสสเปกโตรมิเตอร์หรือค้นจากหนังสืออ้างอิงวิชาเคมี
    • ความอุดมสัมพัทธ์ของคาร์บอน-12 คือ 99% และความอุดมสัมพัทธ์ของคาร์บอน-13 คือ 1% คาร์บอนไอโซโทปอื่นนั้นก็มี แต่มีอยู่ในปริมาณน้อยมากจนไม่ได้รับความสนใจ บทความนี้จึงไม่มีตัวอย่างของไอโซโทปอื่นมาให้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นำสัดส่วนของแต่ละไอโซโทปมาคูณกับมวลอะตอมของมัน....
    นำสัดส่วนของแต่ละไอโซโทปมาคูณกับมวลอะตอมของมัน. นำเปอร์เซ็นต์ของความอุดมสัมพัทธ์มาคูณกับมวลอะตอมของมัน (เขียนเป็นทศนิยม) นำเปอร์เซ็นต์ของความอุดมสัมพัทธ์มาหารด้วย 100 เพื่อแปลงให้เป็นเลขทศนิยม เปอร์เซ็นต์ที่ถูกแปลงแล้วนำมาบวกกันจะได้เท่ากับ 1
    • มาดูที่คาร์บอน-12 และคาร์บอน-13 คาร์บอน-12 มีมากถึง 99% ส่วนคาร์บอน-13 มีแค่ 1% ให้นำ 12 (มวลอะตอมของคาร์บอน-12) มาคูณ 0.99 และให้นำ 13 (มวลอะตอมของคาร์บอน-13) มาคูณกับ 0.01
    • หนังสืออ้างอิงวิชาเคมีจะให้ข้อมูลสัดส่วนไอโซโทปของธาตุทั้งหมดเป็นเปอร์เซ็นต์ ตำราเรียนวิชาเคมีส่วนใหญ่มีข้อมูลนี้ที่ท้ายเล่ม แมสสเปกโตรมิเตอร์ก็สามารถให้ข้อมูลสัดส่วนของไอโซโทปที่ต้องการตรวจสอบได้เช่นกัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นำผลคูณมาบวกกัน.
    นำผลคูณจากขั้นตอนก่อนหน้านี้มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือมวลอะตอมสัมพัทธ์ของธาตุนั้น เป็นมวลอะตอมเฉลี่ยของไอโซโทปธาตุนั้น ถ้ากล่าวถึงธาตุทั่วไป ไม่ใช่ไอโซโทปเฉพาะของธาตุนั้น เราจะใช้ค่านี้
    • ในตัวอย่างของเราผลคูณของคาร์บอน 12 คือ 12 x 0.99 = 11.88 ส่วนผลคูณของคาร์บอน-13 คือ 13 x 0.01 = 0.13 มวลอะตอมสัมพัทธ์คือ 11.88 + 0.13 = 12.01
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • หนังสืออ้างอิงวิชาเคมี
  • เครื่องคิดเลข

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 24,159 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,159 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา