ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยทิ้งขวดน้ำไว้กลางแดดร้อนสักสองสามชั่วโมง แล้วได้ยินเสียงดัง "ชี่" เบาๆ เมื่อเปิดขวดออกหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากหลักการที่เรียกว่า ความดันไอ ในวิชาเคมีนั้น ความดันไอ หรือ vapor pressure นั้นคือความดันที่ก่อตัวไปยังผนังของบรรจุภัณฑ์ปิดแน่นเมื่อของเหลวที่อยู่ภายในนั้นเกิดการระเหย (แปลงเป็นก๊าซ) [1] การหาความดันไอในอุณหภูมิที่ให้มานั้น จะใช้สมการคลอสเซียส-ชาเปรอง (Clausius-Clapeyron equation): ln(P1/P2) = (ΔHvap/R)((1/T2) - (1/T1))

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้สมการคลอสเซียส-ชาเปรอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขียนสมการคลอสเซียส-ชาเปรอง.
    สูตรที่ใช้ในการคำนวณความดันไอเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในความดันไอในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้นรู้จักกันในชื่อสมการคลอสเซียส-ชาเปรอง (ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ที่ชื่อรูดอล์ฟ คลอสเซียส กับเบนวา ปอล อีมิล ชาเปรอง) [2] นี่คือสูตรที่คุณจะใช้แก้ปัญหาโจทย์ความดันไอส่วนใหญ่ในชั้นเรียนฟิสิกส์และเคมี สูตรมีหน้าตาดังนี้: ln(P1/P2) = (ΔHvap/R)((1/T2) - (1/T1)) ในสูตรนี้ ตัวแปรทั้งหลายหมายถึง:
    • ΔHvap: เอนทาลปี (ค่าความร้อนที่เพิ่มขึ้น) ของกระบวนการระเหยของของเหลว มักจะพบได้ในตารางทางด้านท้ายๆ ของตำราเคมี
    • R: ค่าคงที่ของก๊าซที่แท้จริง หรือ 8.314 J/(K × Mol)
    • T1: อุณหภูมิที่ซึ่งทราบความดันไอ (หรืออุณหภูมิเริ่มต้น)
    • T2: อุณหภูมิที่ซึ่งจะต้องหาความดันไอ (หรืออุณหภูมิสุดท้าย)
    • P1 กับ P2: ความดันไอที่อุณหภูมิ T1 กับ T2 ตามลำดับ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 แทนค่าลงในตัวแปรที่คุณทราบ.
    สมการคลอสเซียน-ชาเปรองนั้นดูชวนสับสนเพราะมันประกอบด้วยตัวแปรแตกต่างกันมากมาย แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ยากนักเมื่อคุณมีข้อมูลที่ถูกต้อง โจทย์ความดันไอพื้นฐานโดยส่วนใหญ่จะบอกอุณหภูมิทั้งสองมา กับความดันไอตัวหนึ่ง หรือไม่ก็บอกความดันไอทั้งคู่และอุณหภูมิมาตัวเดียว พอคุณได้ค่าเหล่านี้มา ที่เหลือก็เป็นเรื่องกล้วยๆ
    • ตัวอย่าง สมมติว่าเรามีบรรจุภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยของเหลวที่อุณหภูมิ 295 K ซึ่งความดันไอเท่ากับ 1 บรรยากาศ (atmosphere - atm) โจทย์คือ: ความดันไอที่อุณหภูมิ 393 K จะเป็นเท่าใด? เรามีค่าอุณหภูมิทั้งสองตัวและค่าความดันหนึ่งตัว ดังนั้น เราสามารถแก้โจทย์หาค่าความดันอีกตัวโดยใช้สมการคลอสเซียส-ชาเปรองได้ พอแทนค่าตัวแปรลงไป เราจะได้ ln(1/P2) = (ΔHvap/R)((1/393) - (1/295))
    • โปรดสังเกตว่า สำหรับสมการคลอสเซียส-ชาเปรองนั้น คุณต้องใช้อุณหภูมิเป็นหน่วย เคลวิน ตุณสามารถใช้หน่วยความดันไออย่างไรก็ได้ตราบเท่าที่หน่วยของทั้ง P1 และ P2 นั้นเหมือนกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แทนค่าคงที่.
    สมการคลอสเซียส-ชาเปรองมีค่าคงที่อยู่สองจำนวน: R กับ ΔHvap R นั้นจะเท่ากับ 8.314 J/(K × Mol) เสมอ อย่างไรก็ตาม ตัวแปร ΔHvap (ค่าเอนทาลปีหรือค่าความร้อนที่เพิ่มขึ้นของกระบวนการระเหย) นั้นจะขึ้นอยู่กับสารที่คุณกำลังตรวจหานั้น อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าคุณมักจะเจอค่า ΔHvap สำหรับสารต่างๆ ในตอนท้ายเล่มของตำราเคมื หรือไม่ก็ค้นหาเอาออนไลน์ (ยกตัวอย่างเช่น ที่นี่)[3]
    • ในตัวอย่างของเรา สมมติว่าของเหลวของเราคือ น้ำบริสุทธิ์ หากเราดูในตารางค่า ΔHvap เราจะพบว่า ΔHvap อยู่ที่ประมาณ 40.65 KJ/mol เนื่องจากค่า H ของเราใช้หน่วยจูลส์ แทนที่จะเป็นกิโลจูลส์ เราสามารถแปลงมันเป็น 40,650 J/mol
    • พอแทนค่าคงที่ลงในสมการ เราจะได้ ln(1/P2) = (40,650/8.314)((1/393) - (1/295))
  4. How.com.vn ไท: Step 4 แก้โจทย์.
    พอคุณได้ค่าตัวแปรทั้งหมดในสมการเว้นแต่ตัวที่โจทย์ต้องการหา เราก็สามารถแก้สมการได้โดยอาศัยกฎพีชคณิตทั่วไป
    • ส่วนที่ยากส่วนเดียวของการแก้สมการ (ln(1/P2) = (40,650/8.314)((1/393) - (1/295))) คือการต้องเจอกับลอการิทึมธรรมชาติ (ln) ถ้าจะกำจัดมันทิ้ง แค่ใช้สมการทั้งสองข้างเป็นเลขชี้กำลังสำหรับค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ e หรือพูดอีกแบบคือ ln(x) = 2 → eln(x) = e2 → x = e2
    • ตอนนี้มาแก้สมการของเรากัน:
    • ln(1/P2) = (40,650/8.314)((1/393) - (1/295))
    • ln(1/P2) = (4,889.34)(-0.00084)
    • (1/P2) = e(-4.107)
    • 1/P2 = 0.0165
    • P2 = 0.0165-1 = 60.76 atm. ซึ่งพอจะเข้าใจได้ — ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทอยู่นั้น การเพิ่มอุณหภูมิเกือบ 100 องศา (เกินจุดเดือดของน้ำไปเกือบ 20 องศา) จะทำให้เกิดไอจำนวนมาก ซึ่งจะเพิ่มความดันมหาศาล
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หาความดันไอด้วยการละลายของสารละลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขียนกฎของราอูลท์.
    ในชีวิตจริงนั้น มันยากที่จะเจอของเหลวบริสุทธิ์ตัวเดียว — โดยมากเราจะต้องเจอของเหลวที่เป็นส่วนผสมของสารประกอบที่แตกต่างกันหลายชนิด สารผสมเหล่านี้ที่พบเห็นได้บ่อยมักจะเกิดจากการละลายสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งในปริมาณเล็กน้อยที่เรียกว่า ตัวละลาย (solute) ในสารเคมีอีกตัวที่มีปริมาณมากกว่าซึ่งเรียกว่า ตัวทำละลาย (solvent) จนเกิด สารละลาย (solution) ในกรณีเหล่านี้ มันจะช่วยได้ถ้ารู้สมการที่เรียกว่า กฎของราอูลท์ (Raoult's Law) ที่ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ ฟรองซัวส์-มารี ราอูลท์ [4] ซึ่งมีหน้าตาดังนี้: Psolution=PsolventXsolvent ในสูตรนี้ ตัวแปรทั้งหลายจะหมายถึง;
    • Psolution: ความดันไอของสารละลายทั้งหมด (ส่วนประกอบทั้งหมดรวมกัน)
    • Psolvent: ความดันไอของตัวทำละลาย
    • Xsolvent: เศษส่วนโมล (mole fraction) ของตัวทำละลาย
    • ไม่ต้องกังวลถ้าคุณไม่รู้จักศัพท์อย่าง "เศษส่วนโมล" — เราจะอธิบายมันในขั้นตอนถัดไป
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ระบุตัวทำละลายและตัวละลายในสารละลายของคุณ.
    ก่อนจะคำนวณความดันไอของของเหลวผสม คุณจำต้องระบุสารที่กำลังทำอยู่ก่อน เตือนความจำอีกรอบว่าสารละลายจะเกิดขึ้นเมื่อตัวละลายนั้นละลายในตัวทำละลาย — สารเคมีที่ละลายจะเรียกว่าตัวละลายเสมอ และสารเคมีที่เป็นฝ่ายไปละลายอีกสารจะเรียกว่าตัวทำละลายเสมอ
    • มาลองทำตัวอย่างง่ายๆ ในส่วนนี้เพื่อแสดงแนวคิดที่เรากำลังพูดถึงนี้ให้เห็นชัดเจนขึ้น ในตัวอย่างของเรานั้น สมมติว่าเราต้องการหาความดันไอของน้ำเชื่อม ตามปกติแล้วน้ำเชื่อมก็คือน้ำตาลส่วนหนึ่งที่ละลายในน้ำส่วนหนึ่ง ดังนั้นเราพอจะบอกได้ว่า น้ำตาลเป็นตัวละลายและน้ำเป็นตัวทำละลาย[5]
    • โปรดสังเกตว่าสูตรเคมีของซูโครส (น้ำตาลทราย) นั้นคือ C12H22O11 ตรงนี้อีกเดี๋ยวจะมีความสำคัญ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาอุณหภูมิของสารละลาย.
    อย่างที่เราได้เห็นในส่วนของสมการคลอสเซียส-ชาเปรองข้างต้น อุณหภูมิของของเหลวมีผลกระทบต่อความดันไอของมัน โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น ความดันไอก็จะเพิ่มมากขึ้น — ด้วยว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นนั้น ของเหลวจะระเหยกลายเป็นไอมากขึ้น เพิ่มแรงดันภายในบรรจุภัณฑ์นั้น
    • ในตัวอย่างของเรา สมมติว่าอุณหภูมิปัจจุบันของน้ำเชื่อมอยู่ที่ 298 K (ประมาณ 25 C)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาความดันไอของตัวทำละลาย.
    ตำราอ้างอิงวิชาเคมีมักจะมีค่าความดันไอของสสารและสารประกอบที่พบเห็นบ่อยมากมายหลายตัว แต่ค่าความดันไอเหล่านี้มักจะเป็นเฉพาะเมื่อสารนั้นอยู่ที่ 25 C/298 K หรืออยู่ที่จุดเดือดของมัน หากสารละลายของคุณมีอุณหภูมิตามนี้ คุณสามารถใช้ค่าที่อ้างอิงได้เลย แต่ถ้าไม่ใช่ คุณจำต้องหาความดันไอในอุณหภูมิปัจจุบันของมัน
    • สมการคลอสเซียส-ชาเปรองสามารถช่วยได้ — ใช้ความดันไออ้างอิงกับอุณหภูมิ 298 K (25 C) สำหรับ P1 กับ T1 ตามลำดับ
    • ในตัวอย่าง สารผสมของเราอยู่ที่ 25 C ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ตารางอ้างอิงง่ายๆ เราพบว่าน้ำที่อุณหภูมิ 25 C จะมีความดันไอเท่ากับ 23.8 mm HG[6]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หาเศษส่วนโมลของตัวทำละลาย.
    สิ่งสุดท้ายที่เราต้องทำก่อนจะสามารถแก้โจทย์ได้คือหาเศษส่วนโมลของตัวทำละลาย การหาเศษส่วนโมลนั้นง่ายมาก: แค่แปลงองค์ประกอบเป็นโมล แล้วหาเปอร์เซ็นต์ของจำนวนโมลทั้งหมดในสารที่องค์ประกอบแต่ละตัวมีอยู่ พูดง่ายๆ คือ เศษส่วนโมลของแต่ละองค์ประกอบเท่ากับ (จำนวนโมลขององค์ประกอบหนึ่ง)/(ผลรวมของจำนวนโมลขององค์ประกอบทั้งหมดในสารประกอบ)
    • สมมติว่าน้ำเชื่อมของเรานั้นใช้สูตรผสม น้ำ 1 ลิตร (L) กับซูโครส (น้ำตาล) 1 ลิตร ในกรณีนี้ เราจำเป็นต้องหาจำนวนโมลในแต่ละตัว ซึ่งหาได้โดยการหามวลของแต่ละตัว แล้วใช้มวลโมลาร์ของสารประกอบนั้นแปลงเป็นโมล
    • มวล (น้ำ 1 L): 1,000 กรัม (g)
    • มวล (น้ำตาลดิบ 1 L): ประมาณ 1,056.7 g[7]
    • โมล (น้ำ): 1,000 กรัม × 1 โมล/18.015 g = 55.51 โมล
    • โมล (ซูโครส): 1,056.7 กรัม × 1 โมล/342.2965 g = 3.08 โมล (โปรดสังเกตว่าคุณสามารถ หามวลโมลาร์ของซูโครส จากสูตรเคมีของมัน C12H22O11.)
    • จำนวนโมลทั้งหมด: 55.51 + 3.08 = 58.59 โมล
    • เศษส่วนโมลของน้ำ: 55.51/58.59 = 0.947
  6. How.com.vn ไท: Step 6 แก้โจทย์.
    ในที่สุด เราก็ได้ทุกอย่างที่จะแก้โจทย์สมการกฎของราอูลท์ ส่วนนี้ง่ายอย่างเหลือเชื่อ: แค่แทนค่าลงในตัวแปรในสมการกฎของราอูลท์ตามที่บอกไว้ตอนต้นของส่วนนี้ (Psolution = PsolventXsolvent)
    • แทนที่ค่าทั้งหมด เราจะได้:
    • Psolution = (23.8 mm Hg)(0.947)
    • Psolution = 22.54 mm Hg นี่พอสมเหตุสมผล — ในแง่ของโมลแล้ว มีน้ำตาลปริมาณเพียงเล็กน้อยละลายในน้ำจำนวนมาก (ถึงแม้พอพูดในภาษาตามชีวิตจริง ส่วนผสมทั้งคู่จะมีปริมาตรเท่ากันก็ตาม) ดังนั้น ความดันไอจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หาความดันไอในกรณีพิเศษ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พึงตระหนักในอุณหภูมิกับสภาวะความดันมาตรฐาน....
    พึงตระหนักในอุณหภูมิกับสภาวะความดันมาตรฐาน. นักวิทยาศาสตร์มักจะใช้อุณหภูมิกับค่าความดันกลุ่มหนึ่งเป็นเหมือน "ค่ามาตรฐาน" เพื่อความสะดวก ค่าเหล่านี้เรียกว่า อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (หรือเรียกสั้นๆ ว่า STP) โจทย์ความดันไอมักจะอ้างอิงตามสภาวะ STP ดังนั้นถ้าจำค่าเหล่านี้ไว้ได้ก็จะช่วยได้เยอะ ค่า STP นิยามได้ว่า:[8]
    • อุณหภูมิ: 273.15 K / 0 C / 32 F
    • ความดัน: 760 mm Hg / 1 atm / 101.325 kilopascals
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สลับสมการคลอสเซียส-ชาเปรองเพื่อหาตัวแปรอื่นๆ....
    สลับสมการคลอสเซียส-ชาเปรองเพื่อหาตัวแปรอื่นๆ. ในตัวอย่างของเราในขั้นตอนส่วนที่ 1 เราเห็นว่าสมการคลอสเซียส-ชาเปรองนั้นใช้ประโยชน์ได้ดีในการหาความดันไอของสารบริสุทธิ์ อย่างไรก็ดี ไม่ใช่โจทย์ทุกข้อจะถามคุณให้หา P1 หรือ P2 — หลายข้ออาจให้หาค่าอุณหภูมิหรือกระทั่งบางครั้งให้หาค่า ΔHvap โชคดีที่ในกรณีเหล่านี้ การหาคำตอบที่ถูกต้องก็แค่เรียบเรียงสมการใหม่เพื่อที่ค่าตัวแปรที่ต้องหาจะอยู่เพียงลำพังข้างเดียวของเครื่องหมายเท่ากับ
    • ตัวอย่าง สมมติว่าเรามีของเหลวที่ไม่รู้จักซึ่งมีความดันไอ 25 torr ที่อุณหภูมิ 273 K และ 150 torr ที่ 325 K และเราต้องการจะหาเอนทาลปีของกระบวนการระเหยของของเหลวตัวนี้ (ΔHvap) เราสามารถแก้โจทย์ได้ดังนี้:
    • ln(P1/P2) = (ΔHvap/R)((1/T2) - (1/T1))
    • (ln(P1/P2))/((1/T2) - (1/T1)) = (ΔHvap/R)
    • R × (ln(P1/P2))/((1/T2) - (1/T1)) = ΔHvap ตอนนี้เราแทนค่าลงในตัวแปร:
    • 8.314 J/(K × Mol) × (-1.79)/(-0.00059) = ΔHvap
    • 8.314 J/(K × Mol) × 3,033.90 = ΔHvap = 25,223.83 J/mol
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คำนึงถึงความดันไอของตัวละลายด้วยถ้ามันเกิดระเหย....
    คำนึงถึงความดันไอของตัวละลายด้วยถ้ามันเกิดระเหย. ในตัวอย่างของกฎราอูลท์ข้างต้น ตัวละลายของเราซึ่งเป็นน้ำตาลนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดไอด้วยตัวมันเองในอุณหภูมิปกติเลย (คิดดูสิ — คุณเคยเห็นน้ำตาลในขวดระเหยกลายเป็นไอเมื่อไหร่กัน) อย่างไรก็ดี เมื่อตัวละลายของคุณ สามารถ ระเหยได้ มันจะส่งผลกระทบต่อความดันไอของคุณ เราจะนำมันมาคิดโดยใช้การประยุกต์ปรับแปลงสมการกฎของราอูลท์เสียใหม่: Psolution = Σ(PcomponentXcomponent) เครื่องหมายซิกม่า (Σ) หมายถึงเราจำเป็นต้องบวกความดันไอขององค์ประกอบที่ต่างกันทั้งหมดเพื่อหาคำตอบ
    • ตัวอย่าง สมมติว่าเรามีสารละลายที่ทำจากสารเคมีสองชนิด: เบนซีนกับโทลูอีน ปริมาตรทั้งหมดของสารละลายคือ 120 มิลลิลิตร (mL); โดยเป็นเบนซีน 60 mL และโทลูอีน 60 mL อุณหภูมิของสารละลายเท่ากับ 25 C และความดันไอของสารเคมีแต่ละตัวที่อุณหภูมิ 25 C คือ 95.1 mm Hg สำหรับเบนซีน และ 28.4 mm Hg สำหรับโทลูอีน จากค่าเหล่านี้ ให้หาความดันไอของสารละลาย เราสามารถทำดังต่อไปนี้ โดยใช้ค่าความหนาแน่นมาตรฐาน มวลโมลาร์ และค่าความดันไอสำหรับสารเคมีทั้งสอง:
    • มวล (เบนซีน): 60 mL = .060 L &times 876.50 kg/1,000 L = 0.053 kg = 53 g
    • มวล (โทลูอีน): .060 L &times 866.90 kg/1,000 L = 0.052 kg = 52 g
    • โมล (เบนซีน): 53 g × 1 mol/78.11 g = 0.679 mol
    • โมล (โทลูอีน): 52 g × 1 mol/92.14 g = 0.564 mol
    • โมลทั้งหมด: 0.679 + 0.564 = 1.243
    • เศษส่วนโมล (เบนซีน): 0.679/1.243 = 0.546
    • เศษส่วนโมล (โทลูอีน): 0.564/1.243 = 0.454
    • แก้โจทย์: Psolution = PbenzeneXbenzene + PtolueneXtoluene
    • Psolution = (95.1 mm Hg)(0.546) + (28.4 mm Hg)(0.454)
    • Psolution = 51.92 mm Hg + 12.89 mm Hg = 64.81 mm Hg
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในการใช้สมการคลอสเซียส-ชาเปรองข้างต้น อุณหภูมิจะต้องวัดเป็นหน่วยองศาเคลวิน (ย่อเป็น K) เท่านั้น หากคุณวัดอุณหภูมิเป็นเซลเซียส จะต้องแปลงมันโดยใช้สูตรต่อไปนี้: Tk = 273 + Tc
  • วิธีข้างบนได้ผลเพราะพลังงานนั้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้น อุณหภูมิของของเหลวเป็นปัจจัยแวดล้อมตัวเดียวที่มีผลต่อความดันไอ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Bess Ruff, MA
ร่วมเขียน โดย:
ปริญญาโทด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Bess Ruff, MA. เบส รัฟฟ์เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านภูมิศาสตร์ในฟลอริดา เธอสำเร็จปริญญาโทด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจากวิทยาเขตเบรนที่ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานตาบาร์บาราในปี 2016 บทความนี้ถูกเข้าชม 26,438 ครั้ง
หมวดหมู่: เคมี
มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,438 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา