ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เราดูเหมือนไม่มีความสุขทุกวันเลยหรือเปล่า เห็นว่าตนเองกำลังเริ่มคิดแต่เรื่องเลวร้ายตลอดเวลาอยู่ใช่ไหม ถ้าชีวิตกำลังเป็นแบบนั้นอยู่ ก็ขอให้ลงมือทำอะไรสักอย่างก่อนที่ความเครียดจะเริ่มสร้างความทุกข์ให้เรา จงเรียนรู้ที่จะอธิบายความคิดในแง่ลบนั้นว่าเป็นอย่างไร ขจัดออกไป และฝึกคิดเรื่องต่างๆ ในแง่ดี บทความนี้ไม่เพียงทำให้เรามีโอกาสเริ่มรู้จักความคิดในแง่ลบเท่านั้น แต่จะทำให้เราได้รับพลังใจเพื่อเปลี่ยนความคิดและชีวิตของเราด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ขจัดความคิดในแง่ลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อธิบายความคิดในแง่ลบนั้นว่าเป็นอย่างไร.
    ความคิดบางความคิดอาจเกิดขึ้นในใจโดยทันที แต่ถ้าการเจาะจงความคิดลบนั้นลำบาก ให้ลองบันทึกดู เขียนประโยคสักหนึ่งหรือสองประโยคเพื่ออธิบายความคิดในแง่ลบนั้น เมื่อไรก็ตามที่เราเกิดคิดในแง่ลบขึ้นมา [1]
    • มองหาความคิดที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าหรือท้อแท้ เช่น โทษตนเอง หรือละอายใจในเรื่องที่ไม่ใช่ความผิดของเรา ถือความผิดพลาดธรรมดาสามัญเป็นความล้มเหลวของตนเอง หรือคิดว่าปัญหาเล็กน้อยต่างๆ ใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง (“ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่”)
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หยุดความคิดลบทันที.
    พอเราอธิบายความคิดลบของเราได้แล้ว ให้โต้ตอบความคิดลบนั้นกลับไปด้วยการพูดเรื่องดีๆ ให้ตนเองฟัง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ฉันเจอเรื่องแย่เหลือเกินเช้านี้” ก็ให้พูดว่า “ถึงแม้จะเจอเรื่องแย่ในตอนเช้า แต่วันนี้ก็เป็นวันที่มีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นเช่นกัน” หมั่นฝึกจิตใจให้คิดถึงเรื่องดีๆ เข้าไว้ [2]
    • ถ้าหาเรื่องดีๆ บอกกับตนเองได้ลำบากยากเย็น ก็ให้จดจำหลักเล็กๆ นี้ไว้ในใจว่า อย่านำคำพูดคำใดก็ตามที่เราจะไม่มีวันใช้กับคนอื่นมาพูดกับตนเอง [3] เตือนให้ตนเองมองเห็นสิ่งดีๆ แล้วเราจะมองเห็นสิ่งดีๆ จนกลายเป็นนิสัย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ระวังคำพูด.
    เราใช้คำพูดที่เด็ดขาดกับตนเองบ่อยๆ หรือเปล่า ตัวอย่างเช่น “ฉัน “ไม่มี” วันทำสำเร็จหรอก” หรือ “ฉันนี่ทำเสียเรื่อง “ทุกที”” คำพูดที่เด็ดขาดมักจะเกินจริง และทำให้เราไม่มีโอกาสได้อธิบาย หรือเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นได้เลย[4]
    • การระวังคำพูดหมายถึงการระวังถ้อยคำที่เราเอ่ยกับผู้อื่นออกไป รวมทั้งระวังถ้อยคำที่ใช้พูดกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูดออกจากปาก หรือพูดในใจ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลบคำที่ไม่ดีออกจากถ้อยคำของเราให้มาก.
    ถ้อยคำรุนแรงอย่างเช่น “ซวย” และ “บรรลัย” ไม่ควรนำมาใช้กับเรื่องเล็กๆ น้อย ๆ การปรับคำพูดของเราให้อ่อนลงจะทำให้เรามองเหตุการณ์ที่เลวร้ายในมุมที่ดีขึ้น จงแทนที่คำเหล่านี้ด้วยการคิดให้กำลังใจหรือยกย่องชมเชย [5]
    • เมื่อเราเกิดรู้ตัวว่าใช้คำพูดพวกนี้อยู่ ให้คิดถึงคำพูดที่รุนแรงน้อยกว่าทันที คำว่า “ซวย” อาจแทนด้วยคำว่า “โชคร้าย” หรือ “ไม่ดีเท่าที่หวัง” คำว่า “บรรลัย” อาจแทนด้วย “ยุ่งยาก” หรือ “อุปสรรค”
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เปลี่ยนเรื่องแย่ให้เป็นเรื่องดี.
    มีโอกาสน้อยนักที่เราจะพบแต่เรื่องดีตลอดหรือเรื่องแย่ตลอด การพบอะไรดีๆ ในเหตุการณ์ที่เลวร้ายช่วยทำให้ความเลวร้ายที่เราพบเจอนั้นเบาบางลงไปบ้าง ถ้าเรารู้ตัวว่าตนเองกำลังคิดอะไรไปในทางเลวร้าย ให้หยุดคิดทันทีและมองหาสิ่งดีๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น[6]
    • ตัวอย่างเช่น ลองนึกว่าคอมพิวเตอร์เราเสีย ทำให้เราต้องซ่อม ถึงแม้จะยุ่งยากสักหน่อย แต่ประสบการณ์นี้ก็ทำให้เรามีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือทำให้ทักษะที่มีอยู่เชี่ยวชาญขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สร้างวันดีๆ ให้ตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เริ่มวันใหม่ด้วยการคิดถึงสิ่งดีๆ สัก 5 อย่าง.
    สิ่งดีๆ เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเลิศเลอหรือยิ่งใหญ่ สิ่งดีๆ อาจเป็นอะไรที่เรียบง่ายอย่างได้กลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟรสกลมกล่อมสักถ้วย หรือได้ยินเสียงเพลงโปรดแสนไพเราะ การคิดถึงสิ่งดีๆ เหล่านี้และพูดถึงออกมาดังๆ นั้นหมายถึงว่าเราเริ่มวันใหม่ด้วยเรื่องดีๆ แล้ว วิธีนี้จะทำให้เรามีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคในแต่ละวัน และทำให้เกิดความคิดในแง่ลบยากขึ้น[7]
    • ถึงแม้เราอาจรู้สึกว่าการพูดถ้อยคำดีๆ ออกมา หรือการยืนยันนั้นเป็นอะไรที่เหลวไหล แต่ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการพูดถึงสิ่งดีๆ ออกมาดังๆ จะทำให้เราเชื่อในสิ่งที่เราพูดมากขึ้น [8] วิธีนี้ทำให้เรามีความสุขมากขึ้นและมุ่งมั่นมากขึ้น ถ้าเราได้ลองพูดความคิดดีๆ นั้นออกมา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาความสนุกในแต่ละวัน.
    ถึงแม้เราอาจยุ่ง แต่สิ่งเล็กๆ ก็อาจช่วยให้เรามีความสุขได้ และทำให้เรามีโอกาสคิดอะไรในแง่ลบน้อยลง อย่าจริงจังกับทุกสิ่งมากจนเกินไป ให้ตนเองได้ผ่อนคลาย หัวเราะ และยิ้มบ้าง หาโอกาสพบปะผู้อื่นและพูดคุยกับผู้คนที่คอยช่วยสนับสนุนให้คิดบวก[9]
    • ถ้าเห็นว่าตนเองเครียด ให้ลองหยุดพักสักหน่อยและคิดถึงเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ทำให้เครียด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฝึกนิสัยรักสุขภาพ.
    การคิดเชิงลบและความเครียดเป็นตัวเสริมกันและกัน ถึงแม้การคิดลบจะทำให้เกิดความเครียด แต่การมีนิสัยไม่รักสุขภาพก็สามารถมีส่วนทำให้เกิดความเครียดเช่นกัน พยายามกินอาหารที่สดใหม่และมีสารอาหารครบถ้วนเมื่อมีโอกาส ออกกำลังเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
    • เราอาจได้เห็นว่าการออกกำลังกายเป็นวิธีการหันเหความสนใจให้ออกจากความคิดลบที่ดีวิธีหนึ่ง[10]
    • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือไม่เสพสารเสพติดอื่นใด เพราะจะทำให้ร่างกายทรุดโทรม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม.
    เรายังสามารถควบคุมความคิดในแง่ลบด้วยการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมได้ด้วย ถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้ตนเองไม่มีความสุข ให้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมนั้นเสีย การเปิดเพลง การใส่เสื้อผ้าที่มีความหนาพอเหมาะเพื่อเราจะได้ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป การปรับความสว่างของแสงไฟ เป็นเพียงวิธีการสองสามวิธีที่เราสามารถทำได้เพื่อเพิ่มพลังใจให้กับตนเองไว้ต่อสู้กับความรู้สึกอับจนหนทางที่มาพร้อมกับความเครียด
    • หลังจากปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม อารมณ์เราก็จะดีขึ้น การปรับความคิดตอนที่อารมณ์ดีจะช่วยให้เราขจัดความคิดลบออกไปได้ตั้งแต่เริ่มแรก
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หาเวลาพักผ่อนช่วงเย็น.
    หาสถานที่สงบและสบายแล้วให้เวลาตนเองได้ผ่อนคลาย ทบทวนสิ่งที่พบในวันนั้นในใจและหาว่าสิ่งดีๆ ในวันนั้นห้าอย่างมีอะไรบ้าง พูดถึงสิ่งดีๆ เหล่านั้นออกมาดังๆ และเขียนลงไปในบันทึก
    • เราอาจเขียนสิ่งที่เราดีใจที่มี พอลงมือเขียนแล้ว เราอาจเริ่มเห็นว่ามีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นเช่นกัน [11]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปรึกษาบุคคลภายนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พบผู้ให้คำปรึกษาหรือนักบำบัด.
    ถ้าเรารู้สึกว่าไม่สามารถรับมือกับความคิดในแง่ลบได้อีกต่อไป เราอาจเห็นว่าการได้คุยกับผู้ให้คำปรึกษานั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง นอกเหนือจากฝึกการคิดบวกด้วยตนเองแล้ว การเข้าพบนักบำบัดและเข้ารับการฝึกความคิดและพฤติกรรมบำบัดจะทำให้สามารถฝึกจิตใจให้คิดบวกได้[12]
    • ลองถามเพื่อนที่เคยพบผู้ให้คำปรึกษาหรือนักบำบัดเพื่อจะได้นักบำบัดที่เราไว้ใจได้ หรือเราจะให้แพทย์แนะนำก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เข้าพบสักครั้ง.
    ให้คิดว่าการไปพบครั้งนี้เป็นการตรวจสภาพจิตใจ เราไม่ได้จำเป็นต้องเข้าพบนักบำบัดก็ได้ ถ้าเรารู้สึกไม่สบายใจที่จะเข้าพบ และไม่มีใครตั้งกฎให้เราต้องไปหานักบำบัดเพียงคนเดียวเท่านั้น
    • ขอนัดพบด้วยใจที่เปิดกว้าง หวังว่านักให้คำปรึกษาจะช่วยเราได้ ถ้าช่วยไม่ได้ เราสามารถขอเข้าพบนักให้คำปรึกษาคนอื่นๆ ที่เราคิดว่าสามารถช่วยเราได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อธิบายความรู้สึกในแง่ลบให้นักให้คำปรึกษาฟัง....
    อธิบายความรู้สึกในแง่ลบให้นักให้คำปรึกษาฟัง. จงจำไว้ว่านักให้คำปรึกษานั้นสามารถจะเก็บความลับของเราไว้ ไม่แพร่งพรายให้ผู้อื่นรู้ ฉะนั้นเราสามารถพูดคุยกับเขาหรือเธอได้อย่างเปิดอก ยิ่งเราบอกเล่าเรื่องราวของเราไปตามความเป็นจริงมากเท่าไร เขาหรือเธอก็ยิ่งสามารถช่วยเราได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น
    • อธิบายว่าความคิดในแง่ลบนั้นทำให้เรารู้สึกอย่างไร อธิบายว่าเรามักจะคิดแบบนั้นบ่อยแค่ไหน และเรามักจะจัดการความคิดเหล่านั้นอย่างไร
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นัดพบเพิ่มเติมถ้าจำเป็น.
    ถ้าเรารู้สึกสบายใจที่ได้ปรึกษากับนักบำบัดคนแรก ให้ขอนัดพบเพิ่มเติมสักครั้งหรือสองครั้ง จำไว้ว่าต้องเข้าพบเกินหนึ่งครั้งเพื่อควบคุมความคิดในแง่ลบได้สำเร็จ
    • อย่าท้อแท้ ถ้าเรารู้สึกว่าพบนักบำบัดคนแรกแล้วไม่ได้ผล เราสามารถลองเข้าพบนักบำบัดคนอื่นๆ ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะพบคนที่เราช่วยเหลือเราได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Tracy Carver, PhD
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Tracy Carver, PhD. ดร. เทรซี่ คาร์เวอร์ เป็นนักจิตวิทยาในเมืองออสติน รัฐเท็กซัสที่มีใบอนุญาตซึ่งเคยได้รับรางวัล ดร. คาร์เวอร์เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และ psychedelic integration เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียคอมมอนเวลธ์ ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาการศึกษา และปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสติน ดร. คาร์เวอร์ยังได้สำเร็จฐานภาพแพทย์ฝึกหัดด้านจิตวิทยาคลินิกจากโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอีกด้วย เธอได้รับการโหวตให้เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ดีที่สุดในออสตินเป็นเวลา 4 ปีติดต่อกัน จากนิตยสาร Austin Fit ดร. คาร์เวอร์ได้รับการพูดถึงใน Austin Monthly, Austin Woman Magazine, Life in Travis Heights และ KVUE (บริษัทในเครือออสตินสำหรับ ABC News) บทความนี้ถูกเข้าชม 9,879 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,879 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา