วิธีการ แยกความแตกต่างของแบคทีเรียกับไวรัส

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณกำลังเตรียมสอบวิชาชีววิทยาอยู่หรือเปล่า? หรือกำลังนอนซมจากหวัดแล้วเกิดสงสัยว่าเชื้อโรคชนิดไหนที่ทำให้คุณป่วยอยู่หรือเปล่า? แม้ว่าแบคทีเรียกับไวรัสจะทำให้คุณไม่สบายได้เหมือนๆ กัน แต่แบคทีเรียกับไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะหลายๆ อย่างแตกต่างกันมาก การเรียนรู้ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตทั้งสองนี้จะทำให้คุณเข้าใจวิธีการรักษาที่คุณกำลังได้รับได้ดียิ่งขึ้นและเข้าใจความซับซ้อนทางชีววิทยาที่อยู่ในร่างกายของเรา การเรียนรู้ความแตกต่างของแบคทีเรียและไวรัสศึกษาได้จากเนื้อหาพื้นฐานและศึกษาได้จากกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูองค์ประกอบและการทำงานของมัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ความแตกต่างของแบคทีเรียกับไวรัส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ศึกษาความแตกต่างขั้นพื้นฐาน.
    ความแตกต่างหลักระหว่างแบคทีเรียกับไวรัสคือขนาด การเกิดและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อได้รับเชื้อสองตัวนี้เข้าไป [1]
    • ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุดและเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ซับซ้อนที่สุด ไวรัสมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรีย 10-100 เท่า
    • แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สามารถอาศัยอยู่ภายในหรือภายนอกเซลล์อื่นๆ ได้ สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องมีเซลล์เจ้าบ้านหรืออาศัยอยู่ในเซลล์อื่น [2] แตกต่างกับไวรัสที่เป็นสิ่งมีชีวิตภายในเซลล์ กล่าวคือต้องมีเซลล์เจ้าบ้านเป็นที่อยู่และต้องอยู่ภายในเซลล์เท่านั้น ไวรัสจะเปลี่ยนสารพันธุกรรมในเซลล์เจ้าบ้านจากที่ทำงานปกติให้ทำหน้าที่ผลิตไวรัสแทน
    • ยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัส แต่สามารถฆ่าแบคทีเรียส่วนใหญ่ได้ ยกเว้นแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะไปแล้ว[3] การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องหรือใช้เกินขนาดจะนำไปสู่อาการดื้อยา ซึ่งจะทำให้ยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียลดลง [4] โดยส่วนใหญ่แล้วแบคทีเรียแกรมลบมักดื้อยาปฏิชีวนะ แต่ก็ยังมียาปฏิชีวนะบางตัวที่สามารถฆ่าแบคทีเรียแกรมลบได้ [5]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ที่แตกต่างกัน.
    ไวรัสต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่เพื่อการแบ่งตัว เช่น พืช สัตว์ ในขณะที่แบคทีเรียนสามารถเติบโตได้ทุกที่โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่น [6]
    • แบคทีเรียมีองค์ประกอบเซลล์ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต แบ่งตัวและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
    • ตรงข้ามกับไวรัสที่ประกอบด้วยกรดนิวคลิอิก เช่น ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ ห่อหุ้มด้วยโปรตีนหรือเยื่อเมมเบรน ไวรัสต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเพื่อการสืบพันธุ์ เมื่อขาของไวรัสจับกับพื้นผิวของเซลล์สิ่งมีชีวิต ไวรัสจะฉีดสารพันธุกรรมในตัวมันเข้าสู่เซลล์ที่มันไปจับ ตามความเป็นจริงแล้ว ไวรัสไม่เชิงว่าเป็นสิ่งมีชีวิต แต่เป็นเหมือนสาร (ดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ) ลอยไปเรื่อยๆ จนพบกับผู้รับสารที่เหมาะสม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้ว่าสิ่งมีชีวิตไหนมีผลดีต่อร่างกาย.
    อาจยากที่จะเชื่อแต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนับล้านอาศัยอยู่ในร่างกายของเรา หากนับจำนวนเซลล์แบบหยาบๆ คนเรามีจุลินทรีย์ในร่างกายกว่าร้อยละ 90 และมีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นเซลล์มนุษย์[7] แบคทีเรียมากมายอยู่ในตัวเราอย่างสงบสุข บางตัวก็ทำหน้าที่สำคัญ เช่น สร้างวิตามิน ทำลายของเสีย สร้างออกซิเจน [8]
    • ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการย่อยอาหารมีแบคทีเรียชื่อ “gut flora” ทำหน้าที่รักษาสมดุลความเป็นกรดด่างในร่างกาย [9]
    • นอกจากแบคทีเรียดีอย่าง gut flora แล้ว ในร่างกายของเรายังมีไวรัสดีอีกด้วย เช่น แบคเทอริโอฟาจ ซึ่งอาศัยอยู่กับเซลล์แบคทีเรียและฆ่าเซลล์ไม่ดี [10] นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลได้ออกแบบไวรัสเพื่อรักษาเนื้องอกในสมองได้ [11] ไวรัสส่วนมากยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ โดยปกติแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์เสียมากกว่า
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งมีชีวิต.
    แม้ว่าเกณฑ์การแบ่งแยกว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตนั้นจะไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนนัก นักวิทยาศาสตร์ได้ลงความเห็นว่าแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต ในขณะที่ไวรัสเป็นเหมือนกับซอมบี้ กล่าวคือไวรัสไม่ใช่สิ่งที่ตายแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีชีวิตซะทีเดียว ไวรัสมีลักษณะหลายอย่างเหมือนกับสิ่งมีชีวิต มีสารพันธุกรรม มีวิวัฒนาการตามการคัดเลือกตามธรรมชาติและสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการแบ่งตัวเองออกได้จำนวนมาก แต่ไวรัสไม่มีโครงสร้างเซลล์หรือระบบการเผาผลาญ กระบวนการสร้างและสลายเป็นของตัวเอง กล่าวคือไวรัสต้องการเซลล์เจ้าบ้านในการขยายพันธุ์ ดังนั้นจึงไม่นับว่าไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิต พิจารณาได้ดังนี้:
    • เวลาที่ไวรัสยังไม่ได้จับตัวกับเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น ไวรัสจะอยู่เฉยๆ ไม่มีการเจริญเติบโตใดๆ ไม่มีกระบวนการทางชีววิทยาเกิดขึ้นภายในตัวของไวรัสเอง ไวรัสไม่สามารถเผาผลาญสารอาหาร ผลิตหรือขับถ่ายของเสียได้หรือเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวมันเอง ไวรัสจึงมีความใกล้เคียงกับสิ่งไม่มีชีวิตมากและสามารถอยู่ในสภาพไร้ชีวิตไปได้เป็นระยะเวลานาน [12]
    • เมื่อไวรัสจับตัวกับเซลล์สิ่งมีชีวิต เอนไซม์โปรตีนของไวรัสจะทำหน้าที่สลายผนังเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เพื่อเข้าไปฉีดสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้าน ในจุดที่ไวรัสกำลังบุกรุกเข้ายึดเซลล์ของคนอื่นเพื่อขยายพันธุ์นั้น ไวรัสจะเริ่มแสดงลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตออกมา ซึ่งก็คือความสามารถในการเคลื่อนย้ายสารพันธุกรรมเพื่อให้กำเนิดไวรัสรุ่นต่อไปที่มีลักษณะเหมือนกับตัวมันเอง [13]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 แยกโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสกับแบคทีเรีย....
    แยกโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสกับแบคทีเรีย. ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร คุณจะรู้ว่าสาเหตุของโรคได้ง่ายมากว่ามันเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเพียงแค่หาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนั้น โรคทั่วไปที่เกิดจากไวรัสและแบคทีเรียมีดังนี้:
    • แบคทีเรีย: ปอดบวม อาหารเป็นพิษ (ซึ่งมักเกิดจากเชื้ออีโคไล) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเจ็บคอสเตรปโธรท โรคที่ติดเชื้อในหู แผลติดเชื้อ โรคหนองในแท้ [14]
    • ไวรัส: ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส ไข้หวัดธรรมดา โรคไวรัสตับอักเสบ บี โรคหัดเยอรมัน โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง โรคหัด โรคไวรัสอีโบลา โรคติดเชื้อเอชพีวี โรคเริม โรคพิษสุนัขบ้า การติดเชื้อเอชไอวี (ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์)
    • แต่บางโรค เช่น โรคท้องร่วง โรคหวัด อาจเกิดได้จากทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
    • ถ้าหากคุณไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคอะไร ก็จะบอกความแตกต่างของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ยาก เพราะอาการของโรคทั้งหลายอาจใช้แยกเชื้อทั้งสองชนิดได้ยาก ทั้งแบคทีเรียและไวรัสสามารถทำให้เรามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไข้ขึ้นสูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัวได้เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดที่จะหาสาเหตุของโรคหรือการติดเชื้อคือการพบแพทย์ แพทย์จะตรวจและนำผลที่ได้เข้าห้องทดลองเพื่อหาชนิดของเชื้อโรคต่อไป
    • อีกหนึ่งวิธีที่จะบอกได้ว่าเราติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียคือการดูว่าการให้ยาปฏิชีวนะนั้นได้ผลหรือไม่ ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลิน ใช้รักษากับการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรกินยาปฏิชีวนะเอง หากไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์
    • โรคส่วนมากที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด ไม่มีวิธีรักษา แต่การกินยาต้านไวรัสจะช่วยให้อาการทรงตัว ไม่ทรุดหนักหรือรุนแรงไปมากกว่าที่เป็นอยู่
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ศึกษาจากตารางซึ่งแสดงความแตกต่างระหว่างแบคทีเรียและไวรัส....
    ศึกษาจากตารางซึ่งแสดงความแตกต่างระหว่างแบคทีเรียและไวรัส. [15]
    • แม้ว่าความแตกต่างระหว่างแบคทีเรียและไวรัสจะมีมากกว่านี้ แต่ตารางนี้ก็แสดงความแตกต่างที่สำคัญไว้เพียงพอแล้ว
    โฆษณา
ความแตกต่างเชิงชีววิทยาระหว่างแบคทีเรียและไวรัส
ประเภทเชื้อขนาดโครงสร้างวิธีการขยายพันธุ์วิธีการรักษาเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่
แบคทีเรียขนาดใหญ่ (ประมาณ 1000 นาโนเมตร)เซลล์เดียว: ผนังเซลล์ที่ทำจากเพปทิโดไกลแคน/พอลิแซ็กคาไรด์; เยื่อหุ้มเซลล์; ไรโบโซม; ดีเอ็นเอ/อาร์เอ็นเอลอยอย่างอิสระไม่อาศัยเพศ. คัดลอกดีเอ็นเอและขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ยาปฏิชีวนะ; น้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียสำหรับฆ่าเชื้อภายนอกเป็น
ไวรัสขนาดเล็ก (20-400 นาโนเมตร)ไม่มีเซลล์: โครงสร้างโปรตีนอย่างง่าย; ไม่มีผนังเซลล์หรือเยื่อหุ้มเซลล์; ไม่มีไรโบโซม, ดีเอ็นเอ/อาร์เอ็นเอมีเปลือกโปรตีนหุ้มยึดเซลล์เจ้าบ้าน, บังคับให้ผลิตดีเอ็นเอ/อาร์เอ็นเอของไวรัสจำนวนมาก; ไวรัสที่ถูกผลิตขึ้นมาแพร่ออกจากเซลล์เจ้าบ้านไม่มีทางรักษา วัคซีนป้องกันการเกิดโรคได้; อาการของโรคอาจรักษาได้ไม่แน่ชัด; ไม่ผ่านตัวชี้วัดพื้นฐานว่าเป็นสิ่งมีชีวิต [16]
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

วิเคราะห์ลักษณะโดยใช้กล้องจุลทรรศน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูลักษณะของเซลล์.
    โครงสร้างของเซลล์แบคทีเรียมีความซับซ้อนมากกว่าโครงสร้างเซลล์ของไวรัส แบคทีเรียเป็น “สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว” กล่าวคือแบคทีเรียแต่ละตัวประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์ ตรงข้ามกับร่างกายมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยหลายล้านล้านเซลล์ [17]
    • ในขณะเดียวกัน ไวรัส “ไม่มีเซลล์” ไวรัสประกอบด้วยโครงสร้างโปรตีนที่เรียกว่าแคปซิด [18] แม้ว่าภายในแคปซิดประกอบไปด้วยสารพันธุกรรมของไวรัส แต่ไม่มีลักษณะสำคัญของเซลล์ที่แท้จริงเลย อันได้แก่ ผนังเซลล์ โปรตีนขนส่ง ไซโตพลาสซึม ออร์แกเนลล์ ฯลฯ [19]
    • ง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณเห็นเซลล์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ นั่นหมายความว่าคุณเห็นแบคทีเรีย ไม่ใช่ไวรัสอย่างแน่นอน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดูขนาดของเชื้อโรค.
    วิธีที่เร็วที่สุดในการแยกความแตกต่างระหว่างแบคทีเรียกับไวรัสคือดูว่าเราสามารถมองเห็นมันผ่านกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาได้หรือไม่ ถ้าคุณมองเห็นมันผ่านกล้องจุลทรรศน์ แปลว่ามันไม่ใช่ไวรัส เพราะโดยเฉลี่ยแล้วไวรัสมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียทั่วไป 10-100 เท่า ไวรัสมีขนาดเล็กมากเกินกว่าที่จะมองเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์ปกติ ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนหรือกล้องกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังสูงมากๆ จึงจะเห็นไวรัสได้ [20]
    • แบคทีเรียมักจะมีขนาดใหญ่กว่าไวรัสเสมอ ปกติแล้วไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใหญ่เทียบได้กับแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กมากๆ เท่านั้น [21]
    • แบคทีเรียมักมีขนาดตั้งแต่หนึ่งถึงหลายไมโครเมตร (พันนาโนเมตรขึ้นไป) [22] แตกต่างกับไวรัสที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 200 นาโนเมตร ซึ่งหมายความว่าไม่สามารถมองเห็นได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์ทั่วไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาไรโบโซม.
    แม้ว่าแบคทีเรียประกอบด้วยเซลล์ แต่ก็เป็นเซลล์ที่ไม่ซับซ้อน แบคทีเรียไม่มีนิวเคลียสหรือองค์ประกอบเซลล์ใดๆ นอกจากไรโบโซมเท่านั้น [23]
    • คุณหาไรโบโซมได้ง่ายๆ จากออร์แกเนลล์เล็กๆ ในแผนภาพเซลล์ ไรโบโซมมักมีลักษณะเป็นจุดๆ หรือวงกลม [24]
    • ในทางตรงกันข้าม ไวรัสไม่มีออร์แกเนลล์ รวมถึงไรโบโซม นอกเหนือจากเปลือกโปรตีนแคปซิด เอนไซม์โปรตีน สารพันธุกรรมในรูปแบบของดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอแล้วนั้น โครงสร้างไวรัสก็ไม่มีอะไรมากนัก
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สังเกตวงจรการขยายพันธุ์.
    แบคทีเรียกับไวรัสไม่เหมือนกับสัตว์ทั่วไป เพราะมันไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลทางพันธุกรรมระหว่างอวัยวะที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามแบคทีเรียกับไวรัสก็ไม่ได้มีวิธีขยายพันธุ์แบบเดียวกัน
    • แบคทีเรียมีวิธีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ แบคทีเรียผลิตดีเอ็นเอของตัวเอง ยืดตัวยาวและแบ่งเป็นสองเซลล์ เซลล์ลูกแต่ละเซลล์จะได้รับการถ่ายทอดดีเอ็นเอไปกลายเป็นเซลล์ใหม่อีกเซลล์ที่เหมือนเซลล์แม่ทุกประการ คุณสามารถดูกระบวนการแบ่งเซลล์ได้ผ่านการส่องกล้องจุลทรรศน์ [25] เซลล์ลูกจะโตและแบ่งเซลล์ต่ออีกสองเซลล์ วิธีแบ่งเซลล์นี้ทำให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนได้เร็วมาก ทั้งนี้ขึ้นกับสปีซีส์ของแบคทีเรียและสภาพแวดล้อมภายนอกด้วย ซึ่งสามารถศึกษากระบวนการเหล่านี้ได้จากการส่องกล้องจุลทรรศน์
    • ส่วนไวรัสไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ แต่มันจะบุกรุกเข้าเซลล์อื่นและใช้เซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นผลิตไวรัสใหม่ขึ้นมา [26] สุดท้ายไวรัสที่ผลิตขึ้นจำนวนมากจนเซลล์ที่ไวรัสบุกรุกเข้าไปนั้นแตกและตายลง ไวรัสก็จะแพร่ไปที่เซลล์อื่นต่อ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Mandolin S. Ziadie, MD
ร่วมเขียน โดย:
พยาธิแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Mandolin S. Ziadie, MD. ดร.ซิอาดี้เป็นพยาธิแพทย์ที่ได้ใบรับรองในเซาธ์ฟลอริดา เธอสำเร็จการฝึกงานในสาขาพยาธิในเด็กที่ศูนย์แพทย์สำหรับเด็กในปี 2010 บทความนี้ถูกเข้าชม 20,533 ครั้ง
หมวดหมู่: สุขภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,533 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา