ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ทานาโทโฟเบีย หรือ "โรคกลัวความตาย” มีผลต่อคนหลายล้านคนทั่วโลก สำหรับบางคนโรคนี้ถึงขั้นสร้างความวิตกกังวลและ/หรือความคิดวกไปวนมา[1] แม้ว่าทานาโฟเบียจะเป็นการกลัวความตายและ/หรือการตายของตนเอง แต่การกลัวคนที่กำลังจะตายหรือสิ่งที่ตายแล้วเราเรียกว่า "นีโครโฟเบีย" ซึ่งต่างจากทานาโฟเบีย แต่ความกลัวทั้งสองอย่างนี้ก็เกี่ยวข้องกับความกลัวด้านที่ไม่มีใครรู้เกี่ยวกับความตายที่เรียกว่า “ซีโนโฟเบีย” ทั้งคู่ พูดอีกอย่างก็คือ มันคือความเป็นไปได้ที่จะต้องเผชิญกับสิ่งที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เรารู้ [2] ซึ่งอาจจะจริงมากเป็นพิเศษสำหรับคนที่ใกล้ถึงช่วงบั้นปลายของชีวิต เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกระบวนการของความตายยิ่งเพิ่มพูนขึ้นเพราะความจริงเกี่ยวกับความตายนั้นใกล้เข้ามาทุกที [3] ในการที่จะรู้สึกสบายใจกับจุดจบของชีวิตที่คุณไม่รู้มากขึ้นนั้น คุณต้องเข้าใจความกลัวและพยายามเอาชนะความกลัวที่ติดเกาะคุณให้ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

เข้าใจความกลัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขียนถึงช่วงเวลาที่คุณคิดถึงความตาย.
    สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาเมื่อเผชิญหน้ากับความกลัวก็คือ ความกลัวมีผลต่อชีวิตของคุณอย่างไรและมากแค่ไหน เรามักจะไม่ค่อยตระหนักถึงสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมหรือสาเหตุของความกลัวและความวิตกกังวลในทันทีสักเท่าไหร่ ดังนั้นการเขียนถึงสถานการณ์ที่ความกลัวนั้นเกิดขึ้นอาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปได้[4]
    • เริ่มจากการถามตัวเองง่ายๆ ว่า “รอบตัวฉันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างตอนที่ฉันเริ่มรู้สึกกลัวหรือตื่นตระหนกในช่วงเวลานั้น” ซึ่งอาจะเป็นคำถามที่ตอบยากมากๆ ในตอนแรกเนื่องจากสาเหตุหลายประการ แต่ให้เริ่มจากเรื่องธรรมดาก่อน นึกย้อนไปถึง 2 – 3 วันก่อนแล้วเขียนทุกรายละเอียดให้ได้มากที่สุดเท่าที่คุณจะจำได้เกี่ยวกับช่วงเวลาที่คุณนึกถึงความตาย เขียนให้ชัดเจนว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ตอนที่มีความคิดนั้นโผล่เข้ามา
    • ความกลัวตายเป็นเรื่องปกติมากๆ ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ คนเรากังวลและหมกมุ่นอยู่กับความคิดเรื่องความตายและการตายมาตลอด ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่ อายุ ศาสนา ระดับความวิตกกังวล ประสบการณ์การสูญเสีย และอื่นๆ เช่น ในช่วงเปลี่ยนผ่านชีวิตช่วงใดช่วงหนึ่ง คุณอาจจะอ่อนไหวกับความกลัวตายมากขึ้น คนเรามักจะหมกมุ่นเรื่องความตายมากเป็นพิเศษช่วงอายุ 4-6, 10-12, 17-24 และ 35-55[5] นักปรัชญาต่างใคร่ครวญเกี่ยวกับมิติของความตายมานานแล้ว ฌ็อง-ปอล ซาทร์ นักปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยมได้กล่าวไว้ว่า ความตายอาจเป็นที่มาของความกลัวแก่มนุษย์เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ “มาจากภายนอกเพื่อเข้ามาหาเรา และเปลี่ยนเราไปสู่ภายนอก” [6] ดังนั้นกระบวนการตายจึงเป็นภาพแทนของมิติใหม่อันลึกลับที่ยากจะจินตนาการที่สุด (หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจินตนาการไม่ได้เลย) ตามที่ซาทร์กล่าว ความตายมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนร่างที่มีชีวิตของเราให้กลับไปยังดินแดนที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของเราในตอนแรก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จดโน้ตเวลาที่คุณรู้สึกตระหนกหรือกลัว.
    ต่อไปให้เขียนถึงช่วงเวลาใดก็แล้วแต่ที่คุณจำได้ว่าคุณตัดสินใจที่จะไม่ทำอะไรเพราะว่าคุณกลัวหรือตระหนกบ้าง เขียนถึงช่วงเวลาเหล่านั้นเม้ว่าคุณจะไม่แน่ใจว่าอารมณ์นั้นมันเกี่ยวกับความตายหรือการตายทางใดทางหนึ่งหรือเปล่าก็ตาม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เปรียบเทียบความวิตกกังวลเกี่ยวกับความคิดเรื่องความตาย....
    เปรียบเทียบความวิตกกังวลเกี่ยวกับความคิดเรื่องความตาย. หลังจากที่คุณมีรายการความคิดเรื่องความตายรายการนึง และอีกรายการนึงเป็นรายการช่วงเวลาที่คุณกังวลแล้ว ให้มองหาความเหมือนระหว่างสองรายการนี้ เช่น คุณอาจจะสังเกตว่าทุกครั้งที่คุณเห็นลูกอมยี่ห้อหนึ่ง คุณจะสัมผัสได้ถึงความวิตกกังวล แต่คุณก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไม จากนั้นคุณก็มานึกได้ว่าคุณคิดเรื่องความตายในสถานการณ์เดียวกัน แล้วคุณก็อาจจะจำได้ว่าลูกอมยี่ห้อนี้เป็นลูกอมยี่ห้อที่แจกในงานศพของปู่ยาตายายของคุณ จากนั้นคุณก็จะเริ่มรู้สึกได้ถึงความกลัวความคิดเรื่องความตายโดยทั่วไป
    • ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งของ อารมณ์ และสถานการณ์อาจจะซ่อนอยู่อย่างแนบเนียน บางครั้งก็อาจจะแนบเนียนกว่าสถานการณ์สมมุติข้างต้นก็ได้ แต่การเขียนเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้เราเริ่มตระหนักถึงมันมากขึ้น จากนั้นคุณก็จะเลือกได้ว่า คุณจะจัดการกับสิ่งที่มากระทบคุณในขณะนั้นอย่างไรได้ดีขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รับรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างความวิตกกังวลกับความคาดหวัง....
    รับรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างความวิตกกังวลกับความคาดหวัง. ความกลัวเป็นแรงผลักดันที่ทรงพลังมากถึงขั้นส่งผลกระทบต่ออะไรก็ตามแต่ที่คุณทำ ถ้าคุณเริ่มมองไปไกลกว่าความกลัว คุณอาจจะพบว่าสถานการณ์จริงที่คุณกำลังหวาดกลัวอยู่นั้นมันไม่ได้แย่อย่างที่คิด ความวิตกกังวลมักจะซ่อนอยู่ในความคาดหวังว่าอะไรจะเกิดขึ้นและอะไรจะไม่เกิดขึ้น มันเป็นอารมณ์ของการมองไปที่อนาคต เตือนตัวเองเสมอว่าความกลัวตายบางครั้งก็แย่กว่าความตายจริงๆ เสียอีก ไม่แน่ว่าความตายของคุณอาจจะไม่แย่อย่างที่คุณคิดก็ได้ ใครจะไปรู้[7]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ซื่อสัตย์ต่อตนเอง.
    ซื่อสัตย์ต่อตนเองอย่างแท้จริงและเผชิญหน้ากับความตายของตัวเองอย่างเต็มภาคภูมิ ความตายจะกลืนกินคุณจนกว่าคุณจะตายจริงๆ และชีวิตก็มีคุณค่าขึ้นมากเมื่อเรารู้ว่ามันดำรงอยู่เพียงชั่วคราว คุณรู้ว่าคุณจะต้องตายไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่คุณไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่กับความกลัว เมื่อคุณซื่อสัตย์ต่อตนเองและเผชิญหน้ากับความกลัวโดยตรง คุณจะเริ่มทำลายความกลัวนี้ไปได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ปล่อยมือจากสิ่งที่ควบคุมไม่ได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณควบคุมได้.
    การคิดเรื่องความตายอาจน่ากลัวเป็นพิเศษเพราะมันทำให้เรารู้สึกถึงข้อจำกัดของชีวิตและความสามารถในการรับรู้ของเรา เรียนรู้ที่จะสนใจสิ่งที่คุณควบคุมได้จริงๆ ในขณะเดียวกันก็พยายามทำความเข้าใจสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ด้วย
    • เช่น คุณอาจจะกลัวว่าตัวเองจะหัวใจวายตาย ซึ่งโรคหัวใจก็มีปัจจัยบางอย่างที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ประวัติครอบครัว เชื้อชาติและชาติพันธุ์ และอายุ การสนใจแต่ปัจจัยเหล่านี้มีแต่จะทำให้คุณยิ่งกังวล แต่การสนใจสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ เช่น เลิกบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นดีต่อคุณมากกว่า เพราะจริงๆ แล้วความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจนั้นมาจากการที่คุณมีวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากกว่าที่จะเป็นเพราะปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่างเดียว[8]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้แนวทางชีวิต.
    เวลาที่เราอยากจะควบคุมเส้นทางชีวิตของเรา เรามักจะพบกับความผิดหวัง ความคับข้องใจ และความวิตกกังวลถึงสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผน เรียนรู้ที่จะไม่ควบคุมผลที่ตามมาในชีวิตมากนัก แน่นอนว่าคุณยังสามารถวางแผนและให้แนวทางชีวิตแก่ตนเองได้เหมือนเดิม แต่ก็เหลือที่เผื่อไว้สำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิดบ้าง[9]
    • การเปรียบเปรยที่เข้ากับบริบทนี้ก็คือ การไหลของน้ำในแม่น้ำ บางครั้งตลิ่งเปลี่ยนเส้นทาง แม่น้ำก็ต้องคดเคี้ยวไปตามตลิ่ง และน้ำในแม่น้ำก็อาจจะไหลช้าลงหรือเร็วขึ้น แม่น้ำก็ยังคงไหลไปเรื่อยๆ แต่คุณต้องปล่อยวางสิ่งที่ทำให้คุณยึดติดออกไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กำจัดรูปแบบความคิดที่ไม่มีประโยชน์.
    เวลาที่คุณพยายามจะทายหรือจินตนาการถึงอนาคต คุณจะถามตัวเองว่า “แล้วถ้าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นล่ะ” สิ่งนี้เป็นรูปแบบความคิดที่ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาที่เรียกว่า การคิดถึงสิ่งที่แย่ที่สุด[10] รูปแบบการคิดที่ไม่มีประโยชน์เป็นวิธีการมองสถานการณ์ที่จะทำให้คุณเกิดอารมณ์เชิงลบในที่สุด วิธีการตีความเหตุการณ์ส่งผลถึงอารมณ์ที่เรารู้สึกกับเหตุการณ์นั้น เช่น ถ้าคุณกังวลว่าคุณจะไปทำงานสาย คุณอาจจะบอกตัวเองว่า “ถ้าฉันไปสาย ฉันก็จะต้องโดนเจ้านายตำหนิแล้วก็ไล่ฉันออกจากงาน” การมีรูปแบบความคิดที่ไม่มีประโยชน์อาจทำให้คุณวิตกกังวลได้ หากคุณรู้สึกว่าคุณต้องการควบคุมผลที่ตามมาอย่างเคร่งครัด
    • แทนที่การคิดที่ไม่มีประโยชน์ด้วยการคิดเชิงบวก หาเหตุผลมาหักล้างรูปแบบความคิดที่ไม่มีประโยชน์ เช่น บอกตัวเองว่า "ถ้าฉันไปสาย เจ้านายอาจจะโกรธ แต่ฉันก็สามารถอธิบายได้ว่าวันนี้รถเยอะมากผิดปกติ แล้วฉันก็ยังเสนอตัวอยู่ดึกเพื่อชดเชยเวลาได้ด้วย"
  4. How.com.vn ไท: Step 4 แบ่งเวลาสำหรับกลุ้ม.
    แบ่งเวลาไว้ 5 นาทีในแต่ละวันไว้เป็นช่วงเวลาที่คุณจะอนุญาตให้ตัวเองกลุ้มใจเรื่องอะไรก็ได้ โดยต้องให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน พยายามอย่ากำหนดช่วงเวลากลุ้มไว้ก่อนนอนเพราะคุณคงไม่อยากนอนคิดโน่นคิดนี่ ถ้าคุณมีเรื่องให้ต้องกลุ้มใจระหว่างวัน ให้เก็บไว้คิดตอนถึงช่วงเวลาที่คุณแบ่งไว้สำหรับกลุ้มใจโดยเฉพาะ[11]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ท้าทายความคิดวิตกจริต.
    ถ้าคุณติดอยู่กับความวิตกกังวลในเรื่องของความตาย ถามตัวเองว่าคุณมีโอกาสที่จะตายในเหตุการณ์หนึ่งๆ ได้มากน้อยแค่ไหน เช่น คุ้มกันตัวเองด้วยข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการตายเพราะเครื่องบินตก แล้วคุณจะพบว่าความกังวลของคุณมันใหญ่โตเกินกว่าความเป็นจริงในเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้[12]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ลองนึกดูว่าคนอื่นมีผลกับคุณอย่างไร.
    เวลาที่ความวิตกกังวลของคนอื่นเริ่มคืบคลานเข้ามาในหัวเรา เราก็มีแนวโน้มที่จะคิดถึงความเสี่ยงนั้นมากขึ้นด้วย คุณอาจจะมีเพื่อนคนนึงที่คิดลบมากเป็นพิเศษเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งทำให้คุณรู้สึกกังวลเรื่องอาการเจ็บป่วยของตัวเองไปด้วย จำกัดเวลาที่คุณจะอยู่กับเพื่อนคนนี้เพื่อที่ความคิดพวกนี้จะได้ไม่เข้ามาในหัวคุณบ่อยนัก[13]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ทำในสิ่งที่คุณไม่เคยทำมาก่อน.
    เรามักจะเลี่ยงไม่ลองทำอะไรใหม่ๆ หรือไม่ยอมเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ใหม่ๆ เพราะว่าเรากลัวในสิ่งที่เรายังไม่รู้หรือยังไม่สามารถเข้าใจได้ [14] ในการที่จะฝึกปล่อยวางการควบคุมนั้น ให้เลือกกิจกรรมที่คุณไม่เคยคิดจะทำมาก่อนและสัญญากับตัวเองว่าจะลองดู เริ่มจากการหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นก็อาจจะคุยกับคนที่เขาเคยทำกิจกรรมนั้นมาก่อน พอคุณเริ่มสบายใจกับแนวคิดนี้แล้ว ก็ให้ทบทวนดูก่อนว่าคุณทำไม่ได้จริงไหมสัก 1 หรือ 2 ครั้งก่อนค่อยตั้งมั่นที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ ไปยาวๆ
    • วิธีการทดลองด้วยชีวิตและกิจกรรมใหม่ๆ อาจเป็นเครื่องมือที่ดีในการเรียนรู้ที่จะให้ความสำคัญกับการสร้างความสุขในชีวิตมากกว่าจะมามัวกังวลเรื่องความตายและการตาย
    • ขณะที่คุณเข้าร่วมกิจกรรมใหม่ คุณจะได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เรียนรู้ว่าคุณควบคุมอะไรได้และไม่ได้บ้าง
  8. How.com.vn ไท: Step 8 วางแผนการดูแลรักษาในระยะสุดท้ายของชีวิตกับครอบครัวและเพื่อนๆ....
    วางแผนการดูแลรักษาในระยะสุดท้ายของชีวิตกับครอบครัวและเพื่อนๆ. เมื่อเป็นเรื่องของความตาย คุณคงจะตระหนักได้ว่า กระบวนการตายส่วนใหญ่นั้นอยู่เหนือการควบคุมของเราแทบทั้งสิ้น เราไม่มีทางรู้แน่ได้เลยว่าเราจะตายเมื่อไหร่และที่ไหน แต่เราสามารถทำอะไรบางอย่างเพื่อเตรียมพร้อมมากขึ้นได้[15]
    • เช่น ถ้าคุณอยู่ในอาการโคม่า คุณอยากจะใช้เครื่องช่วยชีวิตนานแค่ไหน คุณอยากจะตายที่บ้านมากกว่าหรืออยู่โรงพยาบาลให้นานที่สุด
    • การคุยเรื่องพวกนี้กับคนที่คุณรักอาจกระอักกระอ่วนในช่วงแรก แต่การพูดคุยกันในเรื่องนี้มีประโยชน์มหาศาลสำหรับทั้งตัวคุณและคนที่คุณรักถ้ามีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นแล้วคุณไม่สามารถแสดงความปรารถนาของคุณได้ในตอนนั้น การพูดคุยกันเรื่องนี้อาจช่วยให้คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความตายน้อยลงได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ใคร่ครวญถึงชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พิจารณาว่าชีวิตและความตายต่างเป็นส่วนหนึ่งของวงจรเดียวกัน....
    พิจารณาว่าชีวิตและความตายต่างเป็นส่วนหนึ่งของวงจรเดียวกัน. ตระหนักว่าชีวิตและการตายของคุณ เช่นเดียวกับชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ล้วนเป็นส่วนที่อยู่ในวงจรหรือกระบวนการมีชีวิตเดียวกัน ชีวิตและความตายไม่ได้เป็น 2 ขั้วเหตุการณ์ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันตลอดเวลา เช่น เซลล์ต่างๆ ในร่างกายของเราเกิดและสร้างใหม่ในแบบต่างๆ อยู่เรื่อยๆ ตลอดการมีชีวิตของเรา ซึ่งช่วยให้ร่างกายได้ปรับและเจริญเติบโตอยู่ในโลกรอบตัวเรา[16]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คำนึงถึงว่าร่างกายของคุณเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศอันซับซ้อนอย่างไร....
    คำนึงถึงว่าร่างกายของคุณเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศอันซับซ้อนอย่างไร. ร่างกายของเราทำหน้าที่เป็นระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ให้แก่สิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆ มากมายนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ชีวิตของเราถึงจุดสิ้นสุด[17] ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ของเราเป็นที่พักพิงของจุลชีพหลายล้านตัว ทั้งหมดนี้ช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรงพอที่จะเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม รวมไปถึงกระบวนการรับรู้อันซับซ้อนของเราด้วย [18]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้บทบาทของร่างกายตัวเองเมื่อเทียบกับโลกทั้งใบ....
    รู้บทบาทของร่างกายตัวเองเมื่อเทียบกับโลกทั้งใบ. ในระดับมหัพภาคที่ใหญ่กว่า ชีวิตของพวกเรารวมเข้าด้วยกันในรูปแบบเฉพาะตัวเพื่อสร้างสังคมและชุมชนท้องถิ่นที่พึ่งพิงพลังงานและการกระทำจากร่างกายของเราในการรักษาความเป็นระเบียบระดับใดระดับหนึ่ง [19]
    • ชีวิตของคุณประกอบด้วยกลไกและสิ่งประกอบสร้างที่เหมือนกับชีวิตต่างๆ รอบตัวคุณ การเข้าใจจุดนี้อาจช่วยให้คุณสบายใจกับความคิดที่ว่า โลกก็ยังคงหมุนไปแม้จะไม่มีคุณอีกแล้ว[20]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้เวลาท่ามกลางธรรมชาติ.
    เดินสมาธิท่ามกลางธรรมชาติ หรือคุณอาจจะแค่ใช้เวลากลางแจ้งท่ามกลางสิ่งมีชีวิตหลายรูปแบบให้มากขึ้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้คุณสบายใจกับการตระหนักว่า คุณเป็นส่วนหนึ่งของโลกกว้างใหญ่ใบนี้[21]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พิจารณาชีวิตหลังความตาย.
    ลองคิดว่าหลังจากที่คุณตายไปคุณจะได้ไปอยู่ในที่ที่มีความสุข หลายศาสนาเชื่อแบบนี้ ถ้าคุณนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง คุณอาจจะพบว่าการนึกถึงสิ่งที่ศาสนาของคุณเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายช่วยให้คุณสบายใจขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ใช้ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้ชีวิตให้เต็มที่...
    ใช้ชีวิตให้เต็มที่. สุดท้ายแล้วสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการไม่ใช้เวลาไปกับการกังวลถึงความตายและการตายมากเกินไป แต่ให้เติมเต็มแต่ละวันให้ได้มากที่สุด อย่าให้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ มาทำให้ใจหมอง ออกไปข้างนอก เล่นกับเพื่อน หรือเล่นกีฬาชนิดใหม่ ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณเลิกคิดเรื่องการตาย แต่ให้ใจจดจ่ออยู่กับการมีชีวิตอยู่แทน
    • หลายคนที่กลัวความตายจะคิดเรื่องความตายทุกวัน นั่นหมายความว่าคุณมีหลายอย่างที่อยากจะทำในชีวิตนี้ ปล่อยให้ความกลัวผ่านคุณไปและถามตัวเองว่า “สิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ในวันนี้คืออะไร” วันนี้คุณยังมีชีวิตอยู่ เพราะฉะนั้นออกไปใช้ชีวิตซะ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้เวลากับคนที่คุณรัก.
    อยู่ท่ามกลางคนที่ทำให้คุณมีความสุขและคนที่สุขใจเมื่อได้อยู่กับคุณ เวลาของคุณจะถูกใช้อย่างคุ้มค่าและเป็นที่จดจำหากได้ใช้ร่วมกับผู้อื่น
    • เช่น คุณจะมั่นใจได้เลยว่า ความทรงจำเกี่ยวกับคุณจะยังคงอยู่หลังจากที่คุณตายถ้าคุณทำให้หลานๆ ของคุณได้สร้างความทรงจำที่มีความสุขร่วมกับคุณ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เขียนบันทึกขอบคุณ.
    บันทึกขอบคุณคือการที่คุณเขียนและรับรู้ถึงสิ่งที่คุณซาบซึ้ง วิธีนี้จะช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับเรื่องดีๆ ในชีวิต[22] คิดถึงเรื่องดีๆ ในชีวิตของคุณและซาบซึ้งไปกับมัน
    • ใช้เวลาทุกๆ 2 – 3 วันเขียนถึงช่วงเวลาหรือสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณ เขียนลงไปให้ลึกซึ้ง ดื่มด่ำไปกับช่วงเวลาและซาบซึ้งถึงความสุขที่คุณได้รับจากมัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดูแลตัวเอง.
    อย่าเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ดีหรือทำในสิ่งที่เพิ่มโอกาสการตายให้กับคุณ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติด หรือติดเหล้า และขับรถพร้อมกับส่งข้อความ การรักษาสุขภาพจะกำจัดปัจจัยความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

หาแรงสนับสนุน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ประเมินว่าคุณต้องการความช่วยเหลือจากนักบำบัดสุขภาพจิตหรือไม่....
    ประเมินว่าคุณต้องการความช่วยเหลือจากนักบำบัดสุขภาพจิตหรือไม่. ถ้าความกลัวตายของคุณรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมทั่วไปและสนุกไปกับชีวิต คุณควรขอความช่วยเหลือจากนักบำบัดสุขภาพจิตที่มีใบอนุญาต เช่น ถ้าคุณเริ่มเลี่ยงไม่ทำกิจกรรมบางอย่างเนื่องมาจากความกลัวว่าคุณจะตาย ก็ได้เวลาที่จะต้องขอความช่วยเหลือแล้ว[23] สัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะต้องขอความช่วยเหลือได้แก่ :
    • รู้สึกไร้สมรรถภาพ ตื่นตระหนก หรือหดหู่เพราะความกลัว
    • รู้สึกว่าความกลัวของคุณมีมากเกินไป
    • รับมือกับความกลัวมานานกว่า 6 เดือน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เข้าใจว่าคุณสามารถคาดหวังอะไรจากนักบำบัดทางจิตได้บ้าง....
    เข้าใจว่าคุณสามารถคาดหวังอะไรจากนักบำบัดทางจิตได้บ้าง. นักบำบัดสามารถช่วยให้คุณเข้าใจความกลัวตายของตัวเองได้มากขึ้น และช่วยหาวิธีที่จะทำให้มันเหลือน้อยที่สุด หรือช่วยให้คุณเอาชนะความกลัวนั้นได้ตามที่คาดหวัง จำไว้ว่าการรับมือกับความกลัวใหญ่ๆ นั้นต้องใช้เวลาและความพยายาม อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่าคุณจะเริ่มจัดการกับความกลัวได้ แต่บางคนก็มีพัฒนาที่ดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือหลังจากได้เข้ารับการบำบัดเพียง 8 – 10 ครั้ง กลวิธีที่นักบำบัดของคุณใช้อาจจะเป็น :[24]
    • การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม: ถ้าคุณกลัวตาย คุณอาจจะมีกระบวนการคิดบางอย่างที่ทำให้ความกลัวนั้นรุนแรงขึ้น การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเป็นวิธีที่นักบำบัดใช้เพื่อให้คุณท้าทายความคิดตัวเอง และระบุอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคิดเหล่านั้นให้ได้ เช่น คุณอาจจะคิดกับตัวเองว่า “ฉันไม่กล้าขึ้นเครื่องบินเพราะฉันกลัวว่าเครื่องบนจะตกแล้วฉันก็จะตาย” นักบำบัดของคุณจะท้าทายคุณเพื่อให้คุณตระหนักว่าความคิดนี้ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง อาจจะด้วยการอธิบายว่า จริงๆ แล้วการนั่งเครื่องบินปลอดภัยกว่าการขับรถเสียอีก จากนั้นคุณก็จะถูกท้าทายให้ปรับเปลี่ยนความคิดตามพื้นฐานความเป็นจริงมากขึ้น เช่น “คนนั่งเครื่องบินกันทุกวันและพวกเขาก็ปลอดภัยดี ฉันมั่นใจว่าฉันเองก็จะปลอดภัยเหมือนกัน”[25]
    • การบำบัดโดยเปิดรับสิ่งที่กลัว: ถ้าคุณกลัวตาย คุณอาจจะเริ่มหลีกเลี่ยงสถานการณ์ กิจกรรม และสถานที่บางแห่งที่ทำให้ความกลัวของคุณรุนแรงขึ้น การบำบัดโดยเปิดรับสิ่งที่กลัวจะบังคับให้คุณเผชิญหน้ากับความกลัวนั้นตรงๆ ในการบำบัดประเภทนี้ นักบำบัดจะขอให้คุณจินตนาการว่าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่คุณพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด หรือไม่ก็อาจจะให้คุณเอาตัวเองเข้าไปอยู่สถานการณ์นั้นจริงๆ เช่น ถ้าคุณไม่ขึ้นเครื่องบินเพราะคุณกลัวว่าเครื่องบินจะตกแล้วคุณก็จะตาย นักบำบัดอาจขอให้คุณจินตนาการว่าคุณกำลังขึ้นเครื่องบินและอธิบายว่าคุณรู้สึกอย่างไร หลังจากนั้นนักบำบัดก็อาจจะท้าทายให้คุณขึ้นเครื่องบินจริงๆ [26]
    • การรักษาด้วยยา: ถ้าความกลัวตายมันมหาศาลจนทำให้คุณวิตกกังวลอย่างรุนแรง นักบำบัดของคุณก็อาจจะแนะนำจิตแพทย์ที่สามารถสั่งยาที่อาจช่วยคุณได้ จำไว้ว่ายาที่ใช้ในการรักษาความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับความกลัวนั้นแค่ลดความวิตกกังวลของคุณชั่วคราว และไม่อาจรักษาต้นตอของสาเหตุได้[27]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เล่าความคิดเรื่องความตายและการตายของคุณให้คนอื่นฟัง....
    เล่าความคิดเรื่องความตายและการตายของคุณให้คนอื่นฟัง. การเล่าให้คนอื่นฟังถึงความกลัวหรือความวิตกกังวลของคุณเป็นความคิดที่ดีเสมอ เพราะคนอื่นก็อาจจะเล่าความกังวลแบบเดียวกันให้คุณฟังด้วยก็ได้ พวกเขาอาจจะแนะนำวิธีที่พวกเขาใช้รับมือกับความเครียดที่เกี่ยวข้องได้ด้วย [28]
    • หาคนที่คุณไว้ใจและอธิบายให้เธอฟังว่าคุณคิดและรู้สึกอย่างไรกับความตาย และคุณรู้สึกแบบนี้มานานแค่ไหนแล้ว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ไปมรณสภากาแฟ.
    โดยทั่วไปการพูดคุยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตายและการตายอาจเป็นเรื่องที่คุยยากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องหากลุ่มคนที่คุณสามารถเล่าความคิดที่มีต่อเรื่องเหล่านี้ได้[29] ซึ่งก็จะมีกลุ่ม “มรณสภากาแฟ” ในประเทศไทยที่ดำเนินการโดยกลุ่มพุทธิกา กลุ่มมรณสภากาแฟเป็นกลุ่มคนที่มาพบปะกันเพื่อพูดคุยเรื่องความตาย เป็นกลุ่มสนับสนุนสำหรับคนที่มองหาวิธีรับมือกับอารมณ์เรื่องความตายโดยเฉพาะ คนกลุ่มนี้จะมาพูดคุยกันเพื่อหาวิธีที่จะใช้ชีวิตที่เผชิญหน้ากับความตายได้ดีที่สุด
    • ถ้าคุณไม่สามารถไปเข้าร่วมมรณสภากาแฟที่จัดขึ้นโดยกลุ่มพุทธิกาได้ ก็ลองเริ่มกลุ่มมรณสภากาแฟของคุณเอง เพราะเป็นไปได้ว่าอาจจะมีคนอีกหลายคนในพื้นที่ของคุณที่กังวลเรื่องความตายเหมือนกันแต่ไม่มีโอกาสได้บอกเล่าความกังวลของพวกเขา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ความกลัวตายบางครั้งก็เป็นผลมาจากโรคซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล ซึ่งเป็นอาการที่ควรได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ
  • อย่ากลัวที่จะพบนักบำบัดมากกว่า 1 คน คุณควรหาคนที่คุณรู้สึกว่าเขาช่วยแก้ปัญหาเฉพาะตัวของคุณและสามารถช่วยคุณจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้
  • สร้างความเชื่อที่แข็งแกร่งว่า คุณสามารถเอาชนะความกลัวได้
  • คิดถึงช่วงเวลาดีๆ ในชีวิต และนั่นจะช่วยให้คุณลืมความกลัว
โฆษณา
  1. http://acpe.physicianleaders.org/docs/default-source/pej/seven-habits-of-unproductive-thinking.pdf?sfvrsn=6
  2. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  3. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  4. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  5. Knaus, D. W. J., & Carlson, J. P. E. (2014). The Cognitive Behavioral Workbook for Anxiety: A Step-By-Step Program (Second Edition edition). Oakland, CA: New Harbinger Publications.
  6. http://www.nia.nih.gov/health/publication/end-life-helping-comfort-and-care/planning-end-life-care-decisions
  7. Edelman, G. (1987). Neural Darwinism: The Theory Of Neuronal Group Selection (New edition edition). New York: Basic Books.
  8. http://www.theguardian.com/science/neurophilosophy/2015/may/05/life-after-death
  9. Mayer, E. A. (2011). Gut feelings: the emerging biology of gut–brain communication. Nature Reviews Neuroscience, 12(8), 453–466. http://doi.org/10.1038/nrn3071
  10. Jaegher, H. D. (2013). Rigid and fluid interactions with institutions. Cognitive Systems Research. http://doi.org/10.1016/j.cogsys.2013.03.002
  11. Hanh, T. N. (2003). No Death, No Fear: Comforting Wisdom for Life (Reissue edition). New York: Riverhead.
  12. Thoreau, H. D., & MacMechan, A. (n.d.). Walking.
  13. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/tips_for_keeping_a_gratitude_journal
  14. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/phobias-and-fears.htm
  15. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/therapy-for-anxiety-disorders.htm
  16. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/therapy-for-anxiety-disorders.htm
  17. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/therapy-for-anxiety-disorders.htm
  18. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/anxiety-medication.htm
  19. Shaver, P. R. (2012). Meaning, Mortality, and Choice: The Social Psychology of Existential Concerns. (M. Mikulincer, Ed.). Washington, DC: American Psychological Association.
  20. http://www.huffingtonpost.com/2013/02/04/death-cafe-dying-end-of-life_n_2618226.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Trudi Griffin, LPC, MS
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Trudi Griffin, LPC, MS. ทรูดี้ กริฟฟินเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตในวิสคอนซิน เธอได้รับปริญญาโทด้านการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยมาร์เกว็ตต์ในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 25,531 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,531 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา