ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

สมัยนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ คุณจึงควรเตรียมตัวพร้อมรับทุกสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่เสมอ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเตรียมถุงยังชีพประจำบ้านให้คุณเอง อย่างถ้ามีเหตุให้ต้องอพยพทิ้งบ้านก็จำเป็น เพราะงั้นต้องติดรถไว้เลย

  1. Step 1 ต้องเตรียมของอะไรใส่ถุงยังชีพบ้าง เลื่อนลงไปอ่าน "สิ่งของที่ใช้"...
    ต้องเตรียมของอะไรใส่ถุงยังชีพบ้าง เลื่อนลงไปอ่าน "สิ่งของที่ใช้" ท้ายบทความเลย.
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เตรียมกล่องใส่อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ถ้ายังไม่มี.
    ตอนเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ ตัวคุณเอง คนในบ้าน หรือเพื่อนบ้าน ก็อาจมีแผลเปิด แผลไหม้ หรืออาการบาดเจ็บอื่นๆ ได้ ถ้ามีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ก็จะช่วยเหลือแก้ไขได้ทันท่วงที
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ติดตามข่าวสารในท้องที่.
    ต้องติดตามข่าวสาร ทั้งจากเพื่อนบ้าน คนในหมู่บ้าน หรือทางเขต ว่าในพื้นที่ของคุณกำลังเตรียมรับภัยพิบัติหรืออะไรอยู่หรือเปล่า และควรปฏิบัติตัวอย่างไร มีจุดรวมพลในกรณีฉุกเฉินไหม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ไล่เรียงเหตุร้ายที่อาจเกิด แล้วเตรียมตัวโดยยึดตามแผนนั้น....
    ไล่เรียงเหตุร้ายที่อาจเกิด แล้วเตรียมตัวโดยยึดตามแผนนั้น.
  5. Step 5 หาซื้อไฟฉายกับวิทยุที่ "ใช้พลังงานแสงอาทิตย์" หรือ...
    หาซื้อไฟฉายกับวิทยุที่ "ใช้พลังงานแสงอาทิตย์" หรือ "ชาร์จโดยใช้มือหมุน". ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ แน่นอนว่าไฟจะดับและหาซื้อแบตเตอรี่หรือถ่านไม่ได้ ถ้ารุ่นใหม่ๆ จะมี "Weatherband/Emergency Band" ไว้บอกอากาศหรือสภาวะฉุกเฉิน และใช้ชาร์จ มือถือ ได้ด้วย เพราะงั้นถ้าเกิดภัยพิบัติแล้วใช้มือถือไม่ได้ ก็แสดงว่า เสาสัญญาณ และระบบเครือข่ายมือถือทั้งหมดเสียหายหรือล่มไปแล้วเรียบร้อย ถ้าใครมีงบแล้วหามือถือที่ใช้สัญญาณดาวเทียมได้จะดีมาก ไม่มีเสาสัญญาณก็ไร้ปัญหา เพราะเชื่อมต่อกับดาวเทียมที่กำลังโคจรโดยตรงเลย
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เตรียมของให้เข้ากับตำแหน่งที่ตั้ง.
    แต่ละพื้นที่ก็มีลักษณะภัยพิบัติแตกต่างกันไป ของที่ต้องเตรียมไว้ในถุงยังชีพก็เลยแตกต่างออกไปด้วย เช่น น้ำท่วมในบ้านเรา หรือพายุเฮอริเคนและทอร์นาโดในต่างประเทศ แต่ก็มีบางอย่างที่ไม่ว่าจะอยู่เขตอากาศไหนก็ใช้ได้แน่นอน
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ต้องมีแผนที่.
    ได้ใช้แน่นอนถ้าคุณต้องอพยพฉุกเฉิน ออกนอกเส้นทางปกติ
  8. How.com.vn ไท: Step 8 รวบรวมทุกอย่างในรายการที่มีอยู่ในบ้าน.
  9. How.com.vn ไท: Step 9 จดรายชื่อของที่ต้องซื้อ.
    ถ้าในบ้านไม่มี และไปซื้อได้ไม่หมดในรอบเดียว ก็ต้องจดรายชื่อของที่ต้องซื้อติดตัวไว้ตลอด
  10. How.com.vn ไท: Step 10 เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ทั้งสำหรับใช้ประจำวัน และสำหรับเหตุฉุกเฉินหรือตอนเกิดภัยพิบัติ....
    เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ทั้งสำหรับใช้ประจำวัน และสำหรับเหตุฉุกเฉินหรือตอนเกิดภัยพิบัติ. ของที่ต้องหาไว้ก็เช่น
    • ถุงมือยาง อย่างน้อย 2 คู่ สำหรับกล่องปฐมพยาบาลขนาดเล็ก เผื่อเกิดเหตุต้องช่วยคนแปลกหน้า ก็ต้องป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน
      • ให้เลือกถุงมือไวนิลแทน ถ้าคุณหรือคนในบ้านแพ้ลาเท็กซ์ เพราะไม่งั้นจะอันตรายมาก
      • เตรียมถุงมือสำรองไว้เยอะๆ ในกล่องปฐมพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอพยพ เพราะบางเหตุการณ์อาจต้องใช้หลายคู่ในครั้งเดียว
      • เช็คสภาพถุงมือก่อนใช้งาน โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในที่ร้อนหรือเย็นจัด เพราะบางทีก็ผิวแตกร่อนได้ แต่ถุงมือที่อยู่ในสุดของกล่องส่วนมากจะยังดีอยู่ เพราะงั้นอย่าเพิ่งโยนทิ้งทั้งกล่องแค่เพราะหมดสภาพไป 2 - 3 คู่แรก ลองแกะออกมาตรวจเช็คให้หมด
    • ผ้าพันแผลแบบฆ่าเชื้อแล้ว สำหรับห้ามเลือด (ถ้าหนาหน่อยจะเรียก surgical pads ลองถามตามร้านขายยาดู)
    • สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาด และผ้าเช็ดมือฆ่าเชื้อ
      • ขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อ
    • ขี้ผึ้งยารักษาแผลไหม้ ช่วยบรรเทาอาการปวด
    • พลาสเตอร์ขนาดต่างๆ
    • ผ้าก๊อซ
    • เทปปิดแผล (micropore tape)
    • แหนบ
    • กรรไกร
    • น้ำยาล้างตา เอาไว้กำจัดฝุ่นผง สิ่งสกปรกที่เข้าตา หรือน้ำเกลือฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาด ขจัดสิ่งปนเปื้อน น้ำเกลือฆ่าเชื้อจะขายเป็นขวด หาซื้อได้ตามร้านขายยา
    • เทอร์โมมิเตอร์
    • ยาประจำตัวที่คุณหมอจ่ายให้ และต้องกินหรือฉีดทุกวัน เช่น อินซูลิน ยาโรคหัวใจ และยาพ่นแก้หอบหืด
      • ให้หมุนเวียนเปลี่ยนยาเป็นระยะ จะได้ไม่หมดอายุพร้อมกันทั้งหมด ยิ่งถ้าเป็นอินซูลินที่ต้องแช่เย็น ก็ต้องเตรียมการดีๆ
    • ยาแก้ปวด (เช่น Tylenol กับ Advil) กับยาแก้แพ้ (เช่น Benadryl) ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา
    • เวชภัณฑ์ที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น กลูโคส กับอุปกรณ์และเครื่องวัดความดัน
  11. How.com.vn ไท: Step 11 อะไรที่ยังขาดต้องรีบหาซื้อมาตุนไว้.
  12. How.com.vn ไท: Step 12 ใช้กล่องกันน้ำ.
    ไม่จำเป็นต้องแพง แค่กันน้ำได้ ใหญ่พอ และมีฝาปิดสนิท ตามร้าน 60 บาทก็มีขาย
    • แต่ก็อย่าเลือกกล่องใหญ่เกิน เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้หยิบฉวยขึ้นรถ ไปที่สนาม หรือเข้าบ้านได้สะดวกรวดเร็ว ถ้ามีล้อเลื่อนหรือหูหิ้วด้วยยิ่งดี
    • ถ้ามีงบ ควรเตรียมกล่องหรือถุงยังชีพแบบนี้ไว้ทั้งที่บ้าน ในรถ และที่ทำงาน
    • เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดเหตุฉุกเฉินเมื่อไหร่
    • ถ้าจะทำถุงยังชีพสำหรับเดินเท้า ให้ใช้เป้ (backpack) หรือกล่องพลาสติกสำหรับใส่เครื่องมือ
    • แยกประเภทของต่างๆ ไว้ในถุงซิปล็อคขนาดต่างๆ ทั้งถุงเล็กแบบใส่แซนวิช ถุงกลางขนาด 1 ลิตร และถุงใหญ่ 1 แกลลอน (4 ลิตร)
    • ใครทำงานในเมือง ให้เตรียมเป้ติดโต๊ะทำงานไว้ ข้างในใส่น้ำดื่ม ธัญพืชอัดแท่ง (energy bar) ไฟฉาย ถุงเท้าสำรอง และรองเท้ากีฬาดีๆ เผื่ออยู่ๆ ขนส่งมวลชนเกิดใช้การไม่ได้ขึ้นมา
  13. How.com.vn ไท: Step 13 ดื่มน้ำเยอะๆ!.
    ขาดน้ำก็มีชีวิตต่อไปไม่ได้ เพราะงั้นต้องเตรียมน้ำดื่ม (บรรจุขวดพลาสติกสะอาดพร้อมดื่ม) ไว้ทั้งที่บ้าน ท้ายรถ และที่ออฟฟิศ เวลาเกิดภาวะตึงเครียด จะได้มีน้ำดื่มตลอด
    • ถ้าบ้านไหนมีเด็ก แม่ที่ยังให้นม และคนชรา ก็ต้องเตรียมน้ำดื่มเยอะกว่าเดิม โดยเฉพาะเมืองร้อนอย่างบ้านเรา
    • เตรียมเครื่องดื่มเกลือแร่ด้วยก็ดี (พวกเกเตอเรดหรือสปอนเซอร์) ถ้าต้องเดินเท้านานๆ แดดจัดแบบบ้านเราจะทำให้เสียเหงื่อได้ง่ายและเยอะ ร่างกายต้องได้รับเกลือแร่ทดแทน
  14. Step 14 เตรียม "สิ่งของที่ใช้" ใส่กล่องไว้ให้พอใช้ได้สัก...
    เตรียม "สิ่งของที่ใช้" ใส่กล่องไว้ให้พอใช้ได้สัก 3 วัน.
  15. How.com.vn ไท: Step 15 เตรียมอย่างอื่นที่อาจต้องใช้ โดยเฉพาะพวกยารักษาโรค พลาสเตอร์...
    เตรียมอย่างอื่นที่อาจต้องใช้ โดยเฉพาะพวกยารักษาโรค พลาสเตอร์ ผ้าพันแผล อาวุธปืน (ต้องมีใบอนุญาต) และสิ่งของจำเป็นสำหรับคนวัยต่างๆ หรือตามสภาพร่างกาย โรคประจำตัว และขึ้นอยู่กับพื้นที่ของคุณด้วย.
  16. How.com.vn ไท: Step 16 อย่าลืมของแห้งและอาหารที่ไม่เสียง่ายๆ.
    พวกอาหารสำเร็จรูปที่แบ่งกันกินได้หลายๆ คน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาเลือกอาหารใส่ถุงยังชีพ ให้เลือกที่คุณและคนในบ้านจะกินได้จริง เช่น
    • อาหารกระป๋อง พวกเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้
    • โปรตีนหรือผลไม้อัดแท่ง
    • ซีเรียลหรือกราโนล่า
    • เนยถั่ว
    • ผลไม้แห้ง
    • แครกเกอร์
    • น้ำผลไม้กระป๋อง
    • นมพาสเจอไรซ์ที่ไม่บูดง่าย
    • อาหารพลังงานสูง
    • วิตามิน
    • อาหารเด็กอ่อน
    • อาหารที่คุณชอบ กินแล้วสบายใจ หายเครียด
  • ซ้อมหนีภัยพร้อมทุกคนในบ้าน เช่น เวลาไฟไหม้ เพราะสำคัญมาก เวลาเกิดเหตุจริงจะได้รู้ทางหนีทีไล่
  • ถ้าที่จำกัด ต้องเลือกเอาไปเฉพาะของที่สำคัญจริงๆ
  • เวลาตัดแว่นใหม่ ให้เก็บแว่นเก่าสำรองไว้ อย่างน้อยถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยก็ยังมีใช้
  • มีมือถือก็ดี แต่ไม่บังคับ เหมาะสำหรับติดต่อกันเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน คุณชาร์จได้มือถือได้ 2 วิธี คือใช้พาวเวอร์แบงค์ หรือที่ชาร์จแบตในรถ
  • ถุงยังชีพ หรือก็คือกล่องใส่ของใช้ที่จำเป็นของคุณนี้ ต้องหยิบฉวยง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก เผื่อต้องอพยพกะทันหัน
  • เครื่องแปลงไฟรถเป็นไฟบ้าน (จาก DC เป็น AC) ใช้ชาร์จมือถือ จ่ายไฟให้ทีวี วิทยุ ตู้เย็น และอื่นๆ ได้เลย
  • ติดป้ายบอกว่าเป็นที่ชาร์จของมือถือเครื่องไหน จะได้ไม่ใช้สลับกันตอนรีบหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน คนอื่นในบ้านจะได้หยิบใช้สะดวกด้วย ไม่ต้องรอคุณมาบอกหรือหยิบให้
  • แท่งเรืองแสง (glowstick) เทียนถูกดีและหาง่าย แต่อาจมีอันตรายเรื่องฟืนไฟ ถ้าแก๊สรั่วหรืออยู่แถวแก๊สติดไฟง่ายก็เสี่ยงเกิดเหตุระเบิดได้ด้วย
  • ใช้ขวดหรือซองยาเดิมที่ได้จากคุณหมอ เพราะมีรายละเอียดและปริมาณยาที่แนะนำชัดเจน ถ้าอีกหน่อยต้องการยาเพิ่ม จะได้ถูกต้อง
  • เตรียมสมุดที่อยู่และเบอร์โทร เผื่อในมือถือมีไม่ครบ หรือมือถือเจ๊งขึ้นมา
  • ติดสติกเกอร์เรืองแสงที่กล่อง ตอนไฟดับจะได้หาเจอ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามแพ็คอาหารเค็มๆ ในถุงยังชีพ เพราะจะทำให้ดื่มน้ำมากเกินจำเป็น
  • เอาไปเฉพาะของที่จำเป็น
  • แพ็คถุงยังชีพแล้ว ต้องระวังอย่าเก็บในที่ร้อนจัด เพราะคุณภาพของอาหารหรืออุปกรณ์ต่างๆ จะลดลงไปเยอะ โดยเฉพาะถ้าแพ็คเตรียมไว้ 2 - 3 เดือนล่วงหน้า พยายามเก็บในที่อุณหภูมิไม่เกิน 27°C (80°F) และไม่โดนแดดตรงๆ จะดีกว่า
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ถุงนอนหรือผ้าห่มหนาๆ ต้องมีถุงนอนดีๆ ไม่ก็ผ้าห่มหนาๆ อย่างน้อย 1 ชุด ต่อสมาชิกในบ้าน 1 คน เลือกที่ใช้เวลาเดินป่า เพราะถุงนอนที่เด็กๆ ใช้กันเล่นๆ ในบ้าน ไม่ทนทานพอ
  • น้ำดื่ม ถ้าน้ำปนเปื้อนสารพิษหรือเชื้อโรคจนห้ามดื่ม ก็ต้องเตรียมน้ำดื่มเองไว้หลายๆ แกลลอน ปริมาณที่แนะนำคือ 1 แกลลอน (4 ลิตร) ต่อ 1 คน/วัน โดยเตรียมไว้สำหรับ 3 วัน
  • อาหาร ที่เพียงพอสำหรับทั้งครอบครัว เป็นเวลา 3 วัน ทั้งอาหารกระป๋อง อาหารที่เสียยากๆ เก็บได้นาน และอย่าลืมที่เปิดกระป๋องด้วย
  • กล่องปฐมพยาบาล
  • ไฟฉายและถ่านสำรอง
  • ไฟฉายแบบปั่นมือหรือใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีขายทั้งตามห้างและออนไลน์ รวมถึง แท่งเรืองแสง (glow stick) ไฟประเภทนี้จะปลอดภัยกว่าเทียน แถมไม่ต้องใช้แบต/ถ่าน เพราะตอนฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ จะหายากหรือหาไม่ได้แน่นอน
  • ประแจ หรืออะไรสำหรับใช้ปิดสาธารณูปโภคในบ้าน พวกอุปกรณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ก็ใช้ได้
  • เสื้อผ้า สำรอง เผื่ออากาศหนาว
  • ไม้ขีดไฟแบบกันน้ำ หรือไฟแช็ค
  • ของจำเป็นของสมาชิกในบ้านแต่ละคน พวกยาประจำตัว เช่น ยาโรคหัวใจ ไม่ก็แว่นตา นมผง ผ้าอ้อม และอื่นๆ
  • วิทยุบอกสภาพอากาศ ที่คอยแจ้งเตือนและอัพเดทสภาพอากาศอันตรายหรือภัยพิบัติ อย่างในอเมริกาจะมี NOAA weather radio ใช้กระจายข่าวและแจ้งเตือนประชาชน (National Weather Service) วิทยุพวกนี้จะใช้ถ่าน และมีเสียงแจ้งเตือนอัตโนมัติตอนมีเหตุด่วนหรืออันตราย "วิทยุแบบไม่ต้องใช้ถ่าน" บางเครื่องก็มี weather band หรือช่องสำหรับ "แจ้งเตือน" สภาพอากาศแบบนี้เหมือนกัน
  • วิทยุแบบไม่ต้องใช้ถ่าน ลองหาตามห้างหรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดู นอกจากประหยัดเงินค่าแบต/ถ่านแล้ว ยามเกิดภัยพิบัติก็มักจะหาถ่านไม่ได้อยู่แล้ว วิทยุ "Eton" ก็เป็นหนึ่งในวิทยุแบบ "ไม่ต้องใช้ถ่าน" ที่เป็น Weather Radio แจ้งสภาพอากาศ ดีตรงที่ไม่ต้องใช้ถ่านนี่แหละ แถมมีไฟฉาย LED ในตัว พร้อมไฟ LED สีแดงกับเสียง siren สำหรับ "ทำสัญญาณ" ยามฉุกเฉิน รวมถึง Weather Band ในตัวด้วย ถ้าเป็นวิทยุแบบนี้ทำได้กระทั่ง ชาร์จมือถือ ตอนที่แบตใกล้หมด
  • กุญแจรถ รวมถึงเงินสดและ/หรือบัตรเครดิต สำรอง
  • อาหารและน้ำของสัตว์เลี้ยง
  • นกหวีดเอาไว้เป่าขอความช่วยเหลือ
  • หน้ากากอนามัย กันสารพิษหรือเชื้อโรคอากาศ ไม่ก็ใช้หน้ากากกันแก๊สพิษซะเลย ใส่คู่กับถุงมือ รวมถึงเตรียม ผ้าพลาสติกกับเทปพันสายไฟ เผื่อสร้างเต็นท์ชั่วคราว
  • ผ้าเปียกสำหรับเช็ดมือ ถุงดำใส่ขยะ และยางวง เพื่อสุขอนามัยอันดี
  • แผนที่ละแวกบ้าน จังหวัด และประเทศ

สิ่งของอื่นๆ ที่อาจต้องใช้

  • เงินสด หรือเช็คเดินทาง รวมถึงเศษเหรียญ และบัตรเครดิต
  • เบอร์โทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญ รวมถึงที่อยู่
  • หนังสือคู่มือที่จำเป็นยามฉุกเฉิน เช่น หนังสือสอนปฐมพยาบาล
  • ชุดสำรองไว้เปลี่ยน เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และรองเท้าสวมสบายแต่ทนทาน ถ้าจังหวัดที่คุณอยู่อากาศหนาวเย็นเป็นพิเศษ (หรือด้วยภัยพิบัติ) ก็ต้องเตรียมเสื้อกันหนาวเพิ่ม
  • น้ำยาฟอกขาวสูตรคลอรีนแบบที่ใช้ในบ้าน และหลอดหยดยา เพราะถ้าผสมน้ำ 9 ส่วนกับน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ก็จะได้น้ำยาฟอกขาวเจือจาง ไว้ใช้ฆ่าเชื้อได้ หรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ก็ใช้บำบัดน้ำเสียได้ โดยใช้น้ำยาฟอกขาว 16 หยด ต่อน้ำ 1 แกลลอน (4 ลิตร) ให้ใช้สูตรธรรมดา อย่าเลือกที่แต่งกลิ่นแต่งสี หรือผสมน้ำยาทำความสะอาด
  • ถังดับเพลิง
  • ของใช้ต่างๆ เพื่อสุขอนามัยของสาวๆ
  • เครื่องครัวสำหรับตั้งแคมป์ ถ้วยกระดาษ จานกระดาษ ช้อนส้อมพลาสติก และทิชชู่
  • กิจกรรมคลายเครียดสำหรับเด็กๆ (และคุณด้วย!) (พวกหนังสือ เกม จิ๊กซอ ไพ่ และอื่นๆ)
  • ถ้าเป็นไปได้ ควรมีอาวุธป้องกันตัว เช่น ปืนและกระสุน ทั้งสำหรับป้องกันตัวและล่าสัตว์
  • เต็นท์ ถ้าเกิดภัยพิบัติ บางทีบ้านคุณอาจจะเสียหาย ถูกทำลาย หรือคุณเองที่ต้องทิ้งบ้านเพื่ออพยพ เพราะงั้นก็ต้องเตรียมที่พักชั่วคราวให้อุ่นใจไว้ก่อน

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Ready.gov แหล่งข้อมูล เนื้อหาบางส่วนก็ถูกหยิบยกมาไว้ในบทความนี้โดยตรง เป็นข้อมูลจากทางรัฐที่เผยแพร่เพื่อสาธารณประโยชน์
  2. FEMA.gov

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 49 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 7,156 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,156 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา