วิธีการ เขียนอีเมลถึงเพื่อน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

อีเมลนี่แหละใช้ส่งข้อความหาเพื่อนได้ง่ายแถมรวดเร็วทันใจ จะเขียนอะไรไปก็ได้ แต่เราจะแนะแนวทางที่น่าหยิบไปปรับใช้ให้ อย่างถ้าจะอีเมลหาเพื่อนที่ไม่ได้เจอไม่ได้คุยกันมานาน ก็ควรถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันซะหน่อย และขอโทษด้วยว่าไม่ได้ติดต่อมาซะนาน นอกจากข้อความตามปกติแล้ว จะแนบรูปหรือใส่อีโมจิไปด้วยก็มีสีสันน่าอ่านยิ่งขึ้น แต่อย่าลืมอ่านทวนก่อนสักรอบ ไม่เจอคำผิดแล้วค่อยกดส่ง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เริ่มต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาอีเมลของเพื่อน.
    ก่อนจะเริ่มเขียนเนื้อหา ก็ต้องเช็คก่อนว่า email address หรือที่อยู่อีเมล (เรียกสั้นๆ ก็อีเมล) ของเพื่อนน่ะถูกต้องแล้ว ถ้าเคยส่งอีเมลหาเขามาก่อนหน้านี้ ก็ลองหาใน contacts ดู หรือถ้าหาไม่เจอจริงๆ ลองถามเพื่อนคนอื่นดู
    • พิมพ์อีเมลของเพื่อนในช่อง “To”
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เขียนหัวข้อโดยสรุปเนื้อหาของอีเมล.
    ช่อง subject หรือหัวข้ออีเมล จะอยู่ล่างช่อง “To” เขียนว่า “Subject” ให้สรุปย่อเนื้อหาในอีเมลเหลือแค่ 2 - 3 คำ เพื่อนเห็นปุ๊บจะได้รู้ปั๊บว่าคุณอีเมลมาทำไม[1]
    • ถ้าแค่ส่งอีเมลมาทักทายเฉยๆ ก็พิมพ์ subject ไปตามนั้นเลยว่า “Hi!” หรือ “สบายดีเปล่า?”
    • ถ้าจะส่งอีเมลชวนเพื่อนมางานวันเกิด ก็พิมพ์ประมาณว่า “จะชวนไปงานวันเกิดเรา”
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ขึ้นต้นด้วยคำทักทาย.
    ให้เปิดอีเมลมาด้วยคำทักทาย ตามด้วยชื่อเขา เลือกคำที่กันเองหน่อย อย่าลืมว่านี่เพื่อนนะจะใครอีก เช่น “หวัดดี” “ดีจ้า” หรือ “เฮลโหล”[2]
    • “สวัสดี เจี๊ยบ” ก็กลางๆ ดี ไม่ต้องคิดเยอะ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ.
    เว้นหนึ่งบรรทัด แล้วถามประมาณว่า “เป็นไงบ้าง สบายดีเปล่า?” หรือประโยคบอกเล่าก็ได้ เช่น “หวังว่าแหม่มจะสบายดีนะ” เพื่อนจะได้รู้ว่าคุณก็แคร์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เขียนเนื้อหาอีเมล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บอกให้รู้ว่าอีเมลมาทำไม.
    อาจจะอยากรู้ว่าไปเที่ยวมาสนุกไหม หรือเป็นห่วงว่าป่วยหายหรือยัง ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร ก็บอกไปเลยตามนั้น[3]
    • ประมาณว่า “ได้ยินว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ดีขึ้นยัง”
  2. How.com.vn ไท: Step 2 บอกความในใจ แบ่งไปเป็นย่อหน้า.
    พอเข้าประเด็นแล้ว ก็จัดเต็มรายละเอียดไปให้ครบ โดยแตกแยกย่อยออกเป็น "ก้อนๆ" หรือก็คือย่อหน้าละประมาณ 3 - 4 บรรทัด จะได้อ่านง่าย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าพิมพ์โดยเปิด Caps Lock ไว้ทั้งหมด.
    ถ้าเขียนหาใครเป็นภาษาอังกฤษ ถึงจะอยากเน้นแค่ไหนก็อย่าพิมพ์ตัวใหญ่ทั้งหมด เพราะเหมือนกับคุณกำลังตะโกนคุยตลอดเวลา ให้เน้นตัวหนาหรือเปลี่ยนสีจะดีกว่า ส่วนถ้าภาษาไทยก็อย่าพิมพ์ติดกันเป็นพืด เว้นวรรคให้คนอ่านได้หายใจบ้าง[4]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถามบ้าง อย่าเล่าอย่างเดียว.
    เล่าได้ แต่ถามเพื่อนบ้างเป็นระยะ (เกี่ยวกับเรื่องที่คุณเล่าก็ได้) ไม่มีใครชอบคนขี้โม้ หรือพูดอีกอย่างคือทุกคนก็อยากเล่าเรื่องตัวเองทั้งนั้น เปิดโอกาสให้เพื่อนเล่าเรื่องตัวเองบ้าง[5]
    • อย่างถ้าเล่าเพื่อนว่าไปทะเลมา ก็ถามประมาณว่า “ปีใหม่ไปเที่ยวไหนมา? ตอนนั้นคุยกันบอกอยากไปญี่ปุ่น สรุปไปมายัง”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เขียนอีเมลหาเพื่อนที่ไม่ได้ติดต่อกันมานาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ขอโทษที่ไม่ได้ติดต่อมาซะนาน.
    ทุกคนก็มีเรื่องให้ต้องคิดต้องทำ บางทีเลยห่างหายกันไปบ้าง เพราะงั้นถ้ากลับมาส่งข่าว อย่าลืมขอโทษเพื่อนที่หายหน้า อย่าทำเนียนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น[6]
    • ประมาณว่า “ขอโทษมากๆ ที่หายไปเลย พอดีเพิ่งเปลี่ยนงาน ขาขวิดมากๆ”
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อัพเดทชีวิตช่วงนี้ ทั้งของคุณและเพื่อน.
    ไม่ได้อัพเดทกันมานาน ต้องมีอะไรใหม่ๆ มาเล่าสู่กันฟังแน่นอน ลองเล่าเพื่อนว่ามีอะไรในชีวิตคุณเปลี่ยนไปบ้าง โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญ แล้วถามข่าวคราวเพื่อนด้วย[7]
    • ประมาณว่า “ไม่ได้คุยกับแกตั้งนาน อยากบอกว่าชั้นเปลี่ยนผู้แล้วนะแก นางก็เทคแคร์ดีนะ ว่าแต่แกเถอะ เห็นว่าเปลี่ยนจากสายเกาไปสายฝอแล้วเหรอ?”
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คุยเรื่องที่สนใจทั้งคู่.
    แบ่งพื้นที่อีเมลคุยเรื่องที่ทั้งคุณและเพื่อนสนใจร่วมกันสักหน่อย จะเกทับกันเรื่องทีมบอล หรืออัพเดทแฟชั่นวีคซีซั่นล่าสุดก็แล้วแต่ แค่อย่าลืมทิ้งคำถามให้เพื่อนได้ตอบมาบ้าง[8]
    • ประมาณว่า “เกมอาทิตย์ที่แล้วโคตร...! คืนนี้ขอล้างตา ถ้าว่างเจอกันที่เดิมนะ”
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ชวนเพื่อนก่อนจบอีเมล.
    ถ้าอยากชวนเพื่อนไปแฮงก์เอาท์กันหรือชวนไปงานอะไร ก็ทิ้งท้ายไว้เลย[9]
    • ประมาณว่า “อังคารหน้าเราเลี้ยงวันเกิดแถวทองหล่อนะ มาจัดเต็มได้ตามสะดวก”
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ก่อนส่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลองเปลี่ยนฟอนต์กับสีตัวอักษรดู.
    ปกติในอีเมลจะมีแถบเครื่องมือไว้ให้เปลี่ยนฟอร์แมตข้อความได้ อาจจะเป็นไอคอนต่างๆ เรียงกันที่ด้านล่างหรือด้านบนของหน้าต่าง ก็ลองเปลี่ยนฟอนต์หรือสีข้อความจนพอใจ
    • ถ้าเนื้อหาอีเมลค่อนข้างจริงจัง ก็ใช้ฟอนต์ภาคบังคับสีดำไปจะดีกว่า[10]
    • ถ้าเพื่อนใช้อีเมลของเว็บอื่น บางฟอนต์หรือลูกเล่นอาจไม่ขึ้นเหมือนที่คุณเห็น เลือกฟอนต์กลางๆ ที่ปลอดภัยอย่าง Arial, Times, Verdana, Trebuchet และ Geneva ดีกว่า ถ้าภาษาไทยก็ให้ใช้ฟอนต์ตามค่า default อย่างของ Outlook ก็จะเป็น Calibri[11]
    • อย่าจัดเต็มสารพัดฟอนต์และสี เดี๋ยวเพื่อนจะตาลายจนอ่านอีเมลไม่จบ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใส่อีโมจิ.
    ถ้าจะส่งอีเมลถึงเพื่อนสนิท ปกติเล่นหัวกัน ก็ใส่อีโมจิน่ารักๆ ตรงนู้นตรงนี้ไปตามสะดวก แบบนี้ยิ่งน่ารักน่าอ่าน แต่ถ้าเนื้อหาอีเมลเป็นเรื่องค่อนข้างจริงจัง ก็อย่าใช้จะดีกว่า ไม่งั้นดูเหมือนคุณไม่ใส่ใจหรือไม่คิดถึงใจเพื่อน
    • อย่าจัดเต็มสารพัดอีโมจิเช่นกัน จะกลายเป็นน่ารำคาญมากกว่าน่าอ่าน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปิดท้ายด้วยคำอวยพร.
    ส่งความปรารถนาดีให้เพื่อนซะหน่อย และบอกว่าจะรอเพื่อนตอบกลับนะ โดยเฉพาะหวังว่าจะเจอกันเมื่อมีโอกาสหรือเร็วๆ นี้[12]
    • ประมาณว่า “โชคดีน้า จะรอฟังข่าว!”
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จบด้วยชื่อหรือลายเซ็น.
    จบอีเมลด้วยคำลาหรืออวยพรสั้นๆ เช่น “โชคดี” “ไว้คุยกัน” หรือ “บายจ้า” จากนั้นเว้นสัก 1 - 2 บรรทัดแล้วลงชื่อ[13]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 จะแนบรูปด้วยก็ได้.
    คลิกปุ่ม “insert photo” ที่หน้าตาเหมือนรูปถ่ายหรือกล้อง ปกติอยู่รวมกับปุ่มปรับแต่งฟอร์แมตต่างๆ คลิกแล้วก็เลือกรูปจากในคอมเพื่ออัพโหลดได้เลย[14]
    • ถ้าเล่าเพื่อนว่าเพิ่งได้ลูกหมาน่ารักมาเลี้ยง ก็แนบรูปไปอวดด้วยซะเลย!
    • แนบแค่ไม่กี่รูปพอ ถ้าเยอะไประวังอีเมลไปจบในโฟลเดอร์ spam ของ inbox เพื่อน[15]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ตรวจทานอีเมล.
    พิมพ์เสร็จแล้วให้อ่านทวนสักรอบสองรอบ เช็คตัวสะกดกับไวยากรณ์บ้างก็ดี เพื่อนจะได้อ่านง่ายๆ แต่ถ้าน้องๆ หนูๆ คนไหนจะส่งอีเมลหาเพื่อนแล้วสงสัยคำไหน ก็ถามคุณพ่อคุณแม่ได้เลย[16]
    • เช็คซ้ำว่าพิมพ์ที่อยู่อีเมลของเพื่อนถูกต้องแล้ว
  7. How.com.vn ไท: Step 7 กดส่ง.
    พออีเมลพร้อมส่งแล้ว ก็คลิกปุ่ม “send” ที่ด้านล่างของหน้าอีเมลได้เลย จบจ้า!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ปกติคุยกับเพื่อนแบบไหน ชอบอะไรยังไง เวลาคุยกันผ่านอีเมลก็ทำไปตามเดิมนั่นแหละ
  • ถ้าลืมบอกอะไรก็ใส่ ป.ล. หรือ P.S. (post-script) ต่อท้ายชื่อได้
  • มีหลายเว็บให้คุณเลือกสมัครใช้อีเมลได้ฟรี แต่ที่ดีและคนนิยมใช้กันก็เช่น Hotmail, Gmail และ Yahoo! Mail
โฆษณา

คำเตือน

  • ตกแต่งอีเมลให้สวยงามได้ แต่อย่าจัดเต็มจนแออัด ถ้าใช้สารพัดสี สารพัดฟอนต์ แถมอีโมจิ ระวังเพื่อนจะอ่านยาก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 62,893 ครั้ง
หมวดหมู่: มิตรภาพ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 62,893 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา