วิธีการ สร้างสมาธิให้ตัวเองเวลาอ่านหนังสือทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การที่เราจะรวบรวบสมาธิให้จดจ่ออยู่กับการทบทวนบทเรียนนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรื่องที่เรากำลังทบทวนเป็นอะไรที่เราไม่ชอบอยู่เป็นทุนเดิมด้วยแล้วล่ะก็ แต่ถึงแม้ว่าการอ่านทบทวนบทเรียนจะไม่เคยเป็นอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจในชีวิตการเรียนเลย จริงๆ แล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องไปคาดหวังให้มันเป็นแบบนั้นเสมอไปหรอก เพราถ้าหากมีความมุ่งมั่นพอ และรู้จักที่จะใช้เทคนิคทบทวนดีๆ บ้าง แม้แต่วิชาที่น่าเบื่อที่สุด เราก็จะสามารถพิชิตมันได้ด้วยการใช้สมาธิและความตั้งใจของตัวเราเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การเตรียมความพร้อมเพื่อทำให้ตัวเองมีสมาธิทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการอ่านหนังสือ....
    หาบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการอ่านหนังสือ. จริงๆ แล้วการกำจัดสิ่งรบกวนออกไปให้ได้มากที่สุดในขณะที่คุณกำลังอ่านหนังสือ คือไอเดียดีๆ ที่คุณควรทำตาม เพราะมันจะทำให้คุณจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าคุณได้ ฉะนั้น ให้คุณมองหาบริเวณไหนก็ได้ที่มีบรรยากาศผ่อนคลายและสบายๆ สำหรับตัวคุณ
    • ให้มองหาบริเวณที่เงียบสงบอย่างเช่น ห้องส่วนตัวหรือว่าห้องสมุด แต่ถ้าคุณชอบอากาศบริสุทธิ์ ก็ให้คุณลองออกไปข้างนอก แล้วหาบริเวณไหนก็ได้ที่ไม่ค่อยมีสิ่งรบกวน และยังสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อยู่ เผื่อว่าคุณจำเป็นต้องใช้
    • จำไว้ว่าสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกัน บางคนอาจจะชอบอ่านในที่เงียบๆ ในขณะที่บางคนอาจจะเรียนรู้ได้ดีกว่าหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงจอแจในรูปแบบเดียวกับเสียงแบบ white noise
    • จงเชื่อมั่นในตัวเองเสมอ
    • หากคุณไม่รู้ว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของตัวคุณ ให้คุณทดลองไปหลายๆ แบบ เช่น อ่านทบทวนกันเป็นกลุ่มหรืออ่านคนเดียว อ่านโดยที่เปิดเพลงเอาไว้หรืออ่านแบบไม่ต้องเปิดเพลง ฯลฯ เมื่อคุณได้ทดลองไปหลายๆ แบบ ไม่นานคุณก็จะรู้เองว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนที่จะทำให้คุณมีสมาธิและซึมซับข้อมูลได้ดีกว่ากัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รวบรวมสิ่งของสำหรับอ่านทบทวนให้ครบ.
    สิ่งของที่ใช้สำหรับการทบทวนบทเรียนก็จะมีอย่างเช่น โน้ตที่คุณจดไว้ หนังสือแบบเรียน คู่มือเตรียมสอบ กระดาษ ปากกาเน้นข้อความ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่คุณอาจจะต้องใช้เพื่อทำให้ตัวเองมีสมาธิจดจ่อและซึมซับกับข้อมูลต่างๆ ได้ นอกจากนี้อาจจะรวมไปถึงพวกขนมขบเคี้ยวอย่างเช่น ซีเรียลบาร์หรือถั่ว รวมไปถึงน้ำดื่มด้วย[1]
    • คุณควรวางสิ่งของเหล่านั้นให้หยิบได้ง่ายๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่เสียสมาธิเพราะต้องเอื้อมหรือลุกไปหยิบของในเวลาที่คุณกำลังอ่านทบทวนบทเรียนอยู่
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เคลียร์พื้นที่ที่ใช้อ่านหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย....
    เคลียร์พื้นที่ที่ใช้อ่านหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย. ให้คุณนำสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป และทำพื้นที่อ่านหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อลดความตึงเครียดและทำให้ตัวเองมีสมาธิจดจ่อมากขึ้น เพราะถ้าเกิดว่าคุณวางสิ่งของต่างๆ ที่ไม่ได้มีส่วนช่วยให้คุณมีสมาธิไว้ใกล้ๆ ตัว มันก็มีแต่จะกลายเป็นสิ่งรบกวนสมาธิคุณไปเปล่าๆ
    • นี่รวมไปถึงการเก็บภาชนะใส่อาหาร เศษกระดาษ และของจิปาถะอื่นๆ ออกไปจากตรงนั้นด้วย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่จำเป็นให้หมด....
    ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่จำเป็นให้หมด. ให้คุณปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ให้หมดทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรศัพท์ และเครื่องฟังเพลง หรืออาจจะปิดคอมพิวเตอร์ด้วยก็ได้ (หากคุณไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทบทวนบทเรียน)
    • แล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์อาจจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณวอกแวกในเวลาที่คุณต้องการจะใช้สมาธิได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อ่านทบทวนตามตารางที่วางไว้ให้ได้สม่ำเสมอ.
    ให้คุณกำหนดตารางเวลาสำหรับอ่านหนังสือเอาไว้ และทำตามตารางนั้นให้ได้อย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณทบทวนบทเรียนตามเวลาจนติดเป็นนิสัย และทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะทำตามแผนที่วางไว้ได้ แต่ที่สำคัญ อย่าลืมเช็คระดับพลังงานของตัวเองในตลอดช่วงเวลาระหว่างวันด้วย เช็คดูว่าตัวเองมีพลังงาน (และความสามารถที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า) ในช่วงกลางวันหรือกลางคืนมากกว่ากัน[2] เพราะถ้าคุณได้อ่านหนังสือในช่วงเวลาที่คุณรู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานมากที่สุด คุณก็จะมีแรงอ่านทบทวนวิชายากๆ ได้
    • เมื่อคุณรู้แล้วว่าในช่วงเวลาไหนของวันที่ตัวเองมีพลังงานในตัวมากกว่ากัน คุณก็จะสามารถทบทวนบทเรียนในช่วงเวลานั้นด้วยการใช้ความสามารถในการโฟกัสและการมีสมาธิจดจ่อของตัวคุณเองได้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 หาเพื่อนอ่านหนังสือด้วยกัน.
    บางครั้งการทบทวนบทเรียนกับใครสักคนก็อาจจะช่วยลดความน่าเบื่อลงไปได้บ้าง ฉะนั้น ให้คุณลองแลกเปลี่ยนไอเดียกับเพื่อน แล้วลองมองในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมดู ไม่แน่ เพื่อนของคุณอาจจะช่วยทำให้คุณไม่ออกนอกเรื่องไปไหน และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้
    • บางคนอาจจะมองว่าการมีเพื่อนอ่านหนังสือด้วยกันเป็นอะไรที่ทำให้เสียสมาธิ ฉะนั้น เวลาที่คุณกำลังจะมองหาใครสักคนมาทบทวนบทเรียนด้วยกัน ให้คุณพยายามมองหาคนที่ฉลาดหรือมีเหตุผล และเป็นคนที่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นนักเรียนในห้องเดียวกันที่มีความกระตือรือร้นมากกว่าคุณก็ได้ วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณพยายามผลักดันตัวเองให้ทัดเทียมกับคนเหล่านั้นได้
  7. How.com.vn ไท: Step 7 นึกถึงแรงจูงใจ.
    ก่อนที่คุณจะเริ่มทบทวนหนังสือ ให้คุณลองนึกถึงสิ่งที่จะเป็นรางวัลให้คุณเวลาที่คุณทบทวนหนังสือให้สำเร็จได้ตามแผน อย่างเช่น หลังจากที่คุณทบทวนวิชาประวัติศาสตร์ครบ 1 ชั่วโมงแล้ว รางวัลที่คุณจะให้กับตัวเองก็คือการพักคุยกับรูมเมทเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ที่คุณเจอมาในวันนั้น หรือการเข้าครัวทำอาการเย็น หรือไม่ก็ดูรายการทีวีรายการโปรดที่กำลังจะมาถึง[3] แรงจูงใจเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้คุณมีสมาธิกับการทบทวนหนังสือในช่วงเวลาที่คุณกำหนดได้ ฉะนั้น เมื่อคุณสามารถทำตามเวลาที่กำหนดและมีสมาธิจดจ่อกับเนื้อหาได้ ก็ให้คุณให้รางวัลกับตัวเองได้เลย
    • ถ้าหากเนื้อหาที่ทบทวนดูเหมือนจะยากและเยอะ ให้คุณสร้างแรงจูงใจที่ใหญ่กว่าเดิมขึ้นมา เพื่อเป็นการให้รางวัลตัวเองสำหรับการทุ่มเทอย่างหนัก[4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การมีสมาธิจดจ่อให้ได้ตลอดเวลาที่อ่านทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาวิธีทบทวนบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ.
    การใช้วิธีทบทวนหนังสือที่มีประสิทธิภาพและเหมาะกับตัวคุณ จะช่วยทำให้คุณมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการทบทวนหนังสือได้มากขึ้น และก็ขอย้ำอีกครั้งว่า แต่ละคนย่อมมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้น คุณจะต้องทดลองและหาวิธีการที่จะทำให้คุณมีสมาธิจดจ่อได้มากที่สุด ยิ่งคุณมีส่วนรวมและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่ตัวเองกำลังอ่านทบทวนได้มากเท่าไร โอกาสที่คุณจะมีสมาธิและซึมซับกับสิ่งที่คุณกำลังทบทวนอยู่ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น[5] และถึงแม้ว่าในบางครั้ง แค่การอ่านทวนซ้ำ จดโน้ต หรือทำควิซ ก็น่าจะเป็นวิธีทบทวนบทเรียนที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว แต่ว่าจริงๆ ก็ยังมีวิธีดีๆ อื่นๆ อีกมากมาย เช่น
    • ทำการ์ดคำศัพท์: ในแง่ของคำศัพท์หรือคำที่เป็นเชิงวิชาการ ให้คุณทำการ์ดจดโน้ตและการ์ดคำศัพท์เอาไว้ การที่คุณทบทวนการ์ดคำศัพท์เหล่านั้นซ้ำไปซ้ำมา จะช่วยทำให้คุณจดจำคำศัพท์ ความหมาย และคอนเซ็ปต์ต่างๆ ของมันได้
    • วาดออกมา: บางครั้งการทบทวนเนื้อหาบางอย่างก็ต้องอาศัยการทบทวนด้วยโครงร่างและแผนผัง ซึ่งการคัดลอกแผนผังและโครงร่างเนื้อหา และวาดมันออกมาด้วยตัวคุณเองจะทำให้คุณเห็นภาพได้ว่าตัวเองกำลังพยายามจะทบทวนอะไรอยู่ และนั่นก็จะยิ่งทำให้เนื้อหาเหล่านั้นน่าจดจำมากขึ้นไปอีก
    • เขียนเป็น outline ออกมา: การเขียน outline อาจจะช่วยทำให้คุณมองเห็นคอนเซ็ปต์ใหญ่ๆ และรายละเอียดย่อยต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คุณมองเห็นเป็นภาพและมองเห็นเป็นกลุ่มข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยทำให้คุณจดจำรายละเอียดต่างๆ ได้ เมื่อถึงเวลาสอบ
    • ใช้การตั้งคำถามอย่างละเอียด: การตั้งคำถามอย่างละเอียด คือสิ่งพื้นฐานที่จะช่วยอธิบายเหตุผลว่าทำไมสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้อยู่ถึงได้เป็นแบบนั้น มันคล้ายๆ กับว่า คุณมาพร้อมกับการให้เหตุผลตั้งรับว่าทำไมข้อเท็จจริงหรือคำบรรยายเหล่านั้นถึงได้เป็นสิ่งสำคัญ[6] นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำตามวิธีนี้ได้ด้วยการพูดถึงคอนเซ็ปต์ต่างๆ ออกมาดังๆ และทำให้ตัวเองคุ้นเคยกับเนื้อหาเหล่านั้นมากขึ้นด้วยการให้เหตุผลและอธิบายถึงความสำคัญของเนื้อหาเหล่านั้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำตัวเองให้เป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้น.
    เวลาที่คุณกำลังอ่านหรือฟังเลคเชอร์ ให้คุณพยายามทำตัวให้มีส่วนร่วมกับเนื้อหาในเลคเชอร์ด้วย ซึ่งนั่นก็หมายความว่า แทนที่คุณจะแค่ฟังหรืออ่านเฉยๆ ให้คุณท้าทายไปกับเนื้อหาและกับตัวเองด้วย ลองตั้งคำถามดูว่าในเลคเชอร์นั้นมีเนื้อหาอะไรอยู่บ้าง แล้วเชื่อมโยงเนื้อหาเหล่านั้นให้เข้ากับชีวิตจริงของคุณ โดยให้เอาไปเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นๆ ที่คุณได้เรียนรู้มาตลอดในช่วงชีวิตที่ผ่านมา และจากนั้นก็ลองเอาไปพูดคุยถกเถียงและอธิบายเนื้อหาอันใหม่นี้กับคนอื่นๆ ดู
    • การมีส่วนร่วมกับเนื้อหาเหล่านั้นด้วยความกระตือรือร้นจะยิ่งทำให้เนื้อหาเหล่านั้นมีความหมายมากขึ้น และสามารถดึงดูดความสนใจของคุณไว้ได้ ซึ่งนั่นจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณทำสมาธิจดจ่อได้ง่ายกว่าเดิม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฝึกการทำจิตให้มีสมาธิ.
    การพัฒนาสมาธิของตัวเองเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายาม และถ้าหากคุณฝึกฝนการทำสมาธิด้วยวิธีนี้ได้ คุณก็อาจจะเริ่มเห็นพัฒนาการของตัวเองได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน[7] ซึ่งวิธีการสร้างสมาธิก็จะมีดังต่อไปนี้
    • จงอยู่กับปัจจุบัน: วิธีการง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพแบบนี้ จะช่วยทำให้ใจคุณที่กำลังลอยไปไกล กลับเข้ามาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่คุณเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังใจลอยไปคิดเรื่องอื่น ให้คุณพูดกับตัวเองว่า “จงอยู่กับปัจจุบัน” และพยายามควบคุมความคิดที่เริ่มจะลอยไปไกลให้ได้ และกลับมาโฟกัสตรงเนื้อหาที่คุณกำลังทบทวนอยู่
    • ตัวอย่างเช่น คุณกำลังอยู่ในห้องเรียนและคุณก็กำลังใจลอยไปไกลจากสิ่งที่อยู่ในการบรรยาย เพราะตอนนั้นคุณอยากดื่มกาแฟมากๆ และก็กำลังจินตนาการไปว่าขนมปังเบเกิลชิ้นสุดท้ายของร้านอาจจะมีคนซื้อไปแล้ว แต่เมื่อคุณพูดกับตัวเองว่า “จงอยู่กับปัจจุบัน” คุณก็จะสามารถดึงตัวเองให้กลับมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ในการบรรยายได้ และเมื่อคุณดึงสมาธิกลับมาได้แล้ว ก็ให้คุณพยายามตั้งสมาธิให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้[8]
    • คอยติดตามอาการใจลอยของตัวเองเอาไว้อยู่เสมอ: ให้คุณจดไว้ทุกครั้งเวลาที่คุณจับได้ว่าตัวเองกำลังใจลอยออกไปจากสิ่งที่คุณควรจะจดจ่ออยู่ ยิ่งคุณเริ่มที่จะดึงสติตัวเองกลับมาสู่ปัจจุบันได้เร็วขึ้นมากเท่าไร จำนวนครั้งที่คุณจะเกิดอาการใจลอยก็จะยิ่งลดน้อยลงไปเรื่อยๆ [9]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปล่อยให้ตัวเองได้กังวลบ้าง.
    มีงานวิจัยชี้ว่า ถ้าใครแบ่งเวลาเฉพาะไว้ให้ตัวเองได้กังวลและนึกถึงสิ่งที่ทำให้ตัวเองเครียด คนๆ นั้นก็จะมีความกังวลน้อยลงถึง 35% ภายใน 4 สัปดาห์[10] ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า หากคุณปล่อยให้ตัวเองได้กังวลและคิดถึงสิ่งต่างๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งบ้าง คุณก็จะยิ่งใช้เวลากังวลน้อยลงและมีสมาธิมากขึ้นเวลาที่คุณจะต้องจดจ่อกับอะไรสักอย่างจริงๆ
    • หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังกังวลใจกับเรื่องอื่นๆ ในขณะที่กำลังพยายามจะโฟกัสและจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่างอยู่ ให้คุณนึกเอาไว้เสมอว่าคุณมีเวลาเฉพาะไว้ให้ตัวเองได้กังวลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ อยู่แล้ว หรือว่าคุณจะลองใช้วิธี “จงอยู่กับปัจจุบัน” เพื่อดึงสมาธิตัวเองกลับมาก็ได้
    • ตัวอย่างเช่น ให้คุณแบ่งเวลาครึ่งชั่วโมงก่อนการทบทวนหนังสือ ไว้ให้ตัวเองได้กังวลเกี่ยวกับการสอบที่กำลังจะมาถึง หรือเรื่องครอบครัวของคุณ หรือเรื่องอะไรก็แล้วแต่ที่อยู่ในความคิดของคุณตอนนั้น หากคุณได้ปล่อยให้ตัวเองได้กังวลในช่วงเวลานี้ไปแล้ว พอถึงเวลาที่คุณต้องทบทวนหนังสือจริงๆ คุณก็จะสามารถจดจ่ออยู่กับการอ่านหนังสือได้[11]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ตั้งเป้าหมายของการทบทวนบทเรียนเอาไว้.
    แม้ว่าเรื่องที่คุณจะอ่านทบทวนอาจจะไม่ใช่หัวข้อที่น่าสนใจมากที่สุด แต่คุณก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองในการอ่าน เพื่อทำให้การสร้างสมาธิเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้ และด้วยการตั้งเป้าหมายให้ตัวเองแบบนี้ ก็จะยิ่งช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การทบทวนหนังสือจากการที่ต้อง “อ่านให้จบ” วิชานั้นไปเฉยๆ ให้กลายเป็นการเข้าสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละจุด และการที่คุณประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องกับการทบทวนบทเรียนในตลอดช่วงเวลานั้น[12]
    • ตัวอย่างเช่น แทนที่คุณจะคิดอยู่อย่างเดียวว่า “คืนนี้ ฉันจะต้องอ่านหนังสือให้ได้ครบ 6 บท” ก็ให้คุณเปลี่ยนไปตั้งเป้าหมายว่า “ฉันจะทบทวนบท 1-3 ให้ได้ตอน 4 โมงครึ่ง แล้วก็จะออกไปเดินเล่นพักผ่อนหลังจากนั้นสักหน่อย” ซึ่งถ้าทำตามวิธีนี้ การที่จะพิชิตการอ่านทบทวนบทเรียนก็จะเทียบได้กับการเปลี่ยนแปลงจากงานที่ใหญ่และหนัก ไปเป็นงานเล็กๆ ที่มีโอกาสทำสำเร็จได้มากกว่า ซึ่งการที่คุณแบ่งเวลาทบทวนเนื้อหาให้เป็นช่วงเล็กๆ แบบนี้ จะยิ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความตั้งใจจดจ่ออยู่กับเป้าหมายในการทบทวนบทเรียนของตัวคุณเอง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ทบทวนบทเรียนพร้อมกับกำหนดช่วงพักเบรกสั้นๆ ให้ตัวเองด้วย....
    ทบทวนบทเรียนพร้อมกับกำหนดช่วงพักเบรกสั้นๆ ให้ตัวเองด้วย. ปกติแล้วการทบทวนบทเรียน 1 ชั่วโมงแล้วพัก 5-10 นาที จะเป็นตารางการทบวนบทเรียนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะทำให้คุณมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเนื้อหาที่อยู่ตรงหน้าได้ เพราะการหยุดพักเป็นเวลาสั้นๆ จะช่วยทำให้จิตใจคุณผ่อนคลาย ซึ่งมันจะทำให้คุณพร้อมที่จะรับและซึมซับข้อมูลต่างๆ เข้ามา
    • ให้คุณเคลื่อนไหวร่างกาย โดยให้ลองลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายหลังจากที่นั่งมานานเป็นชั่วโมง หรือจะทำท่าโยคะ วิดพื้น หรือออกกำลังกายในรูปแบบอื่นๆ สักเล็กน้อยเพื่อทำให้เลือดของคุณสูบฉีดก็ได้ การพักเบรกในช่วงเวลาสั้นๆ แบบนี้จะช่วยทำให้คุณทบทวนบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสมาธิจดจ่อมากขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามหลีกเลี่ยงการคุยกับคนอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยให้ตัวคุณมีสมาธิมากขึ้น
  • ให้จินตนาการถึงสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้อยู่ เพื่อที่ว่าภาพที่อยู่ในหัวคุณจะได้ช่วยเตือนคุณในหัวข้อนั้นๆ ได้
  • ให้คุณนึกภาพถึงสิ่งที่คุณกำลังทบทวน หรือไม่ก็ลองเชื่อมโยงเนื้อหาเหล่านั้นกับสิ่งที่อยู่ในชีวิตจริงของคุณดู วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณจดจำรายละเอียดต่างๆ ได้หลังจากนั้น
  • ให้ลองอ่านเนื้อหาที่กำลังทบทวนออกมาดังๆ เพราะบางครั้งการได้ฟังบางสิ่งบางอย่างดังๆ ก็ช่วยทำให้ส่วนที่ดูสับสนมีความชัดเจนขึ้นได้
  • ทุกๆ 2 ชั่วโมงที่ทบทวนเนื้อหาเสร็จ ให้คุณพักเบรกสักประมาณ 20 นาที เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาผ่อนคลายตัวเอง และทำให้ตัวเองมีสมาธิมากขึ้น โดยในช่วงเวลาที่คุณพักเบรก ก็ให้คุณหาอะไรทาน ดื่มน้ำสักนิด หรือไม่ก็ออกไปสูดอากาศข้างนอกสักนาทีหนึ่งก็ได้
  • หากคุณใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นก็จะช่วยเปิดหนทางให้คุณจดจำข้อมูลได้มากขึ้นตามไปด้วย
  • จำไว้ว่าสมองของคุณต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนการรับข้อมูลจากวิชาหนึ่งไปอีกวิชาหนึ่งเสมอ ตัวอย่างเช่น หากคุณอ่านวิชาวิทยาศาสตร์มา 1 ชั่วโมงแล้วเปลี่ยนไปอ่านวิชาภาษาอังกฤษเลยในทันที ใน 10 นาทีแรกของการอ่านวิชาใหม่ก็จะยังถือว่าเป็นการปรับตัวของสมองคุณให้เข้ากับวิชาใหม่อยู่ ฉะนั้น คุณอาจจะลองทำแบบฝึกหัดง่ายๆ ไปก่อน ในระหว่างที่กำลังจะเปลี่ยนวิชาก็ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเร่งอ่านรวดเดียวเอาตอนคืนก่อนสอบ เพราะการยัดข้อมูลเยอะๆ แบบรวดเดียว คือวิธีการเก็บข้อมูลที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไร มิหนำซ้ำยังอาจจะทำให้เกิดความเครียด และทำให้การทบทวนบทเรียนเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Ashley Pritchard, MA
ร่วมเขียน โดย:
ครูแนะแนว
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Ashley Pritchard, MA. แอชลีย์ พริตชาร์ดเป็นครูแนะแนวที่โรงเรียนมัธยมเดลาแวร์วัลลีย์ในเฟรนช์ทาวน์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ แอชลีย์มีประสบการณ์การแนะแนวมากว่า 3 ปี เธอจบปริญญาโทด้านการแนะแนวโดยเน้นด้านสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยคาลด์เวลและได้รับประกาศนียบัตรเป็นครูแนะแนวอิสระผ่านทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเออร์ไวน์ บทความนี้ถูกเข้าชม 11,890 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,890 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา