วิธีการ รู้ตัวว่าเป็นโรคซึมเศร้า

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณกำลังรู้สึกเศร้าอยู่ใช่ไหม? บางทีคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว โรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่อาการเศร้าแบบวันสองวันหาย แต่เป็นความผิดปกติทางจิตที่พบบ่อย และกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคุณในแต่ละวันไม่น้อย เวลาคุณเป็นโรคซึมเศร้าจะไม่ได้แค่รู้สึกหม่นหมองหรือเสียใจธรรมดาทั่วไป แต่เป็นความเศร้าซึมลึกแบบที่ถึงจะพยายามแค่ไหนก็ “หลุด” จากวงจรความเศร้านี้ไม่ได้สักที โดยอาการนั้นจะส่งผลต่อทั้งความคิด จิตใจ และการกระทำของคุณ จนทำให้คุณสติแตกได้อย่างรวดเร็ว แต่ใจเย็นไว้ก่อน เพราะเรามีวิธีป้องกันและบรรเทาอาการซึมเศร้ามาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักอาการของโรคซึมเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตความคิดและอารมณ์.
    อาการของโรคซึมเศร้าจะเด่นชัดออกมาทั้งทางร่างกาย ความคิด และจิตใจ จิตแพทย์จะมีระบบที่ใช้วินิจฉัยโรคซึมเศร้า ซึ่งก็รวมถึงกรณีที่คุณมีอาการต่อไปนี้เวลาอยู่ตามที่ต่างๆ (บ้าน โรงเรียน ออฟฟิศ หรือที่ประชุมชน) เป็นเวลา 2 อาทิตย์ขึ้นไป [1]
    • ซึมเศร้าหดหู่แทบทั้งวัน (รู้สึกเศร้า เซ็ง หรือซึม)
    • รู้สึกหมดหวัง หาทางออกไม่ได้ (ทำอะไรก็ไม่หาย)
    • หมดความสุขหรือความสนใจในการทำสิ่งต่างๆ (สิ่งที่คุณเคยชอบทำ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้หรือไม่อยากทำแล้ว)
    • สมาธิสั้น (ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน หรือโรงเรียน ขนาดงานง่ายๆ ก็ยากจะจดจ่อ)
    • รู้สึกผิด (เหมือนคุณทำอะไรผิดจนเกินแก้)
    • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า (ทำอะไรก็ไม่มีใครเห็นความสำคัญ)
    • ครุ่นคิดเรื่องความตายหรือมีแนวโน้มจะคิดสั้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คุณคิดอยากฆ่าตัวตายหรือเปล่า.
    ถึงการคิดสั้นไม่ได้แปลว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป แต่ก็เป็นอาการหนึ่งที่พบได้ของคนเป็นโรคซึมเศร้า [2] ถ้าคุณพบว่าตัวเองคิดสั้นหรืออยากตาย ถือว่าเข้าขั้นวิกฤติแล้ว รีบขอความช่วยเหลือจากครอบครัวหรือเพื่อนฝูงด่วน ไม่ก็ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • ถ้าคุณเสี่ยงจะฆ่าตัวตาย ให้รีบโทรขอความช่วยเหลือจากตำรวจหรือศูนย์กู้ชีพทันที
    • หรือจะตรงไปที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลใกล้บ้านเลยก็ได้ คุณหมอหรือนักจิตบำบัดจะหาทางช่วยเหลือปลอบใจคุณเอง แล้วค่อยมาหาวิธีรับมือกับความคิดพวกนี้ของคุณต่อไป
    • ถ้าคุณมีนักจิตบำบัดประจำตัวอยู่แล้ว ต้องเปิดอกถ้าคุณมีแนวโน้มจะคิดสั้น
    • ติดต่อสายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตาย โทรฟรี 02-713-6793 หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 (โทรฟรี 24 ชั่วโมง) คนที่รับสายจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว รับรองว่าอย่างน้อยคุณก็ผ่อนคลายสบายใจขึ้นแน่นอน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตอาการทางกาย.
    ซึมเศร้าแล้วทำให้ร่างกายและพฤติกรรมของคุณเปลี่ยนแปลงไปเยอะเหมือนกัน นอกจากความคิดและอารมณ์แล้ว จิตแพทย์จะวินิจฉัยโรคซึมเศร้าจากอาการทางกายร่วมด้วยเช่นกัน โดยคุณจะเข้าข่ายถ้ามีอาการดังต่อไปนี้เป็นเวลา 2 อาทิตย์ขึ้นไป [3]
    • พฤติกรรมการนอนผิดปกติ (นอนมากไปหรือน้อยไป)
    • พฤติกรรมการกินผิดปกติ (กินมากไปหรือไม่อยากอาหาร)
    • เฉื่อยชา (แค่ทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อยไปหมด)
    • หมดแรง เหนื่อยอ่อน (ไม่มีแรงทำกิจวัตรประจำวัน กระทั่งลุกออกจากเตียงก็ไม่ไหว)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หมกมุ่นกับเรื่องเครียดๆ หรือเครียดนานไม่ยอมหาย....
    หมกมุ่นกับเรื่องเครียดๆ หรือเครียดนานไม่ยอมหาย. อาการซึมเศร้าของคุณอาจมีต้นตอมาจากเรื่องเครียดที่เพิ่งประสบพบเจอ แต่จริงๆ แล้วเรื่องดีๆ ก็ทำคุณซึมเศร้าได้เหมือนกัน เช่น ย้ายบ้าน ย้ายงาน แต่งงาน หรือมีลูก นั่นเพราะร่างกายและจิตใจของเราต้องการเวลาปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ๆ บางครั้งถ้าอะไรเพิ่งเปลี่ยนแปลงไป เลยกระตุ้นให้คุณเกิดซึมเศร้าขึ้นมา หรือคุณอาจซึมเศร้าเพราะทนทุกข์กับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ (เช่น เสียลูก หรือประสบภัยธรรมชาติ) รวมถึงเรื่องร้ายๆ ที่ต่อเนื่องยาวนาน เช่น วัยเด็กแย่ๆ หรือการถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ และการคุกคามทางเพศ [4]
    • สารเสพติดก็เป็นตัวการกระตุ้นอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะในคนที่ติดเหล้า
    • แต่บางทีก็มาจากปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคเรื้อรัง หรือเพิ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้าย
    • แค่เจอเรื่องเครียดๆ มาไม่ได้ทำให้คุณเป็นโรคซึมเศร้า เรื่องที่ว่าอาจทำคุณซึม เซ็ง หรือเศร้า แต่ไม่ได้ทำให้คุณถึงกับเป็น "โรค" ซึมเศร้าได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สำรวจประวัติตัวเอง.
    ถ้าคุณเคยทรมานกับโรคซึมเศร้ามาแล้ว ก็เสี่ยงจะกลับไปเป็นอีกง่ายกว่าคนอื่น 50% ของคนเป็นโรคซึมเศร้าจะอาการกำเริบอีกเรื่อยๆ ตลอดชีวิต [5] ลองสำรวจย้อนไปดูว่าคุณเคยมีอาการซึมเศร้ามาก่อนไหม โดยเฉพาะที่เป็นต่อเนื่องยาวนาน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ประวัติของคนในครอบครัวก็สำคัญ.
    หาให้เจอว่าคนในครอบครัวคุณมีใครเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า (เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง) จากนั้นก็ขยายต่อไปยังญาติๆ (อย่างลุงป้าน้าอา ลูกพี่ลูกน้อง กระทั่งปู่ย่าตายาย) รวมถึงสืบให้รู้ด้วยว่ามีใครในครอบครัวเคยคิดสั้นหรือทนทรมานจากโรคทางจิตอื่นๆ หรือเปล่า เพราะโรคซึมเศร้ามักเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ สืบทอดกันต่อมาถึงลูกหลานได้ ยิ่งถ้าใครมีญาติเป็นโรคซึมเศร้าหลายคน คุณก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงเข้าไปอีก [6]
    • แต่บอกเลยว่าทุกคนก็มีสมาชิกครอบครัวหรือญาติคนใดคนหนึ่งที่เป็นโรคทางจิตด้วยกันทั้งนั้น แค่คุณมีป้าหรือพ่อ/แม่ที่ที่ป่วยทางจิต ไม่ได้แปลว่าคุณเองก็จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีอาการทางจิตอื่นๆ ไปด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รู้จักโรคซึมเศร้าประเภทต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ seasonal...
    คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ seasonal affective disorder (SAD). คือหน้าร้อนก็แฮปปี้ดี๊ด๊า แต่พอช่วงหนาวๆ ปลายปีก็เกิดซึมเศร้าเหมือนเล่น MV ขึ้นมา ฝรั่งเขาว่าอาการ SAD ที่ทำให้คุณแซ้ดสมชื่อนี้ มักเป็นตอนที่เข้าสู่ฤดูหนาวแล้วแต่ละวันสั้นลง มืดเร็วขึ้น อาการ SAD ที่ว่ามีหลายแบบ แต่โดยทั่วไปก็จะคล้ายกันกับอาการของโรคซึมเศร้าแท้ๆ แบบ Major Depressive Disorder ปัจจัยที่ทำให้ 2 แบบนี้แตกต่างกันก็คือลักษณะทางภูมิศาสตร์นั่นเอง [7] หรือก็คือที่ไหนมีแสงอาทิตย์น้อยๆ เป็นเวลานานๆ (อย่างอลาสก้า เป็นต้น) ก็จะมีจำนวนประชากรที่เป็นโรค SAD เยอะกว่าแถบอื่นๆ
    • ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเป็นโรค SAD ให้ออกไปรับแดดบ้างทุกครั้งที่มีโอกาส ตื่นให้เช้าขึ้นหน่อยแล้วออกไปเดินเล่น หรือจะเป็นช่วงพักเที่ยงที่บริษัทก็ได้
    • บางทีการบำบัดด้วยแสง (light therapy) ก็รักษาโรค SAD ได้ผล แต่เอาเข้าจริง คนที่เป็นโรคนี้เกือบครึ่งหนึ่งก็ไม่ได้ดีขึ้นด้วยแสงบำบัดอย่างเดียว ต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วย แต่ถ้าคุณสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ก็ลองค้นหาในอินเทอร์เน็ตด้วยคำว่า light therapy ได้เลย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นก็ต่างออกไป.
    โรคซึมเศร้าของวัยรุ่นไม่เหมือนกับของผู้ใหญ่ จะออกมาในรูปของความหงุดหงิด รำคาญใจ ขี้เหวี่ยงขี้วีน หรือมีพฤติกรรมต่อต้านขึ้นมา รวมถึงมีอาการเจ็บปวดที่อธิบายไม่ได้ด้วย พฤติกรรมอื่นๆ ที่บอกว่าวัยรุ่นวัยใสกำลังเป็นโรคซึมเศร้าก็คือ [8]
    • อยู่ๆ ก็ระเบิดอารมณ์ หรืออ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นเป็นพิเศษ
    • ผลการเรียนแย่ลง ปลีกตัวจากเพื่อนฝูง บางคนก็มีกินเหล้าเสพยา [9]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) ก็มี.
    การให้กำเนิดชีวิตใหม่ถือเป็นช่วงเวลาอันแสนวิเศษ เพราะทารกน้อยเพิ่งถือกำเนิดเกิดมา และชีวิตครอบครัวที่แท้จริงกำลังจะเริ่มขึ้น แต่สำหรับคุณแม่บางคน ช่วงเวลาที่เพิ่งคลอดลูกใหม่ๆ กลับไม่ราบรื่นสดใสอย่างที่คิด นั่นเพราะการที่ฮอร์โมนเปลี่ยน รูปร่างก็เปลี่ยน แถมต้องดูแลลูกที่เกิดใหม่ทั้งที่ไม่เคยทำมาก่อน เหล่านี้รวมกันเลยกลายเป็นภาระหนักจนเกินรับ คุณแม่มากถึง 10 - 15% ทีเดียวที่เคยประสบภาวะซึมเศร้าหลังคลอด [10] บางคนก็เป็นหลังคลอดทันที แต่หลายคนค่อยมาเป็นหลังผ่านไปได้ 2 - 3 เดือน และอาการก็ค่อยๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ [11] อาการที่พบบ่อยของโรคซึมเศร้าหลังคลอดก็คือ [12]
    • ไม่ค่อยสนใจหรือใส่ใจลูกของตัวเอง
    • มีความรู้สึกในทางลบกับลูกของตัวเอง
    • กลัวจะทำร้ายลูกตัวเอง
    • ไม่สนใจดูแลตัวเอง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รู้จักโรคซึมเศร้าเรื้อรัง (persistent depressive disorder).
    โรคซึมเศร้าชนิดนี้มักอาการไม่รุนแรงเท่าแบบ Major Depressive Disorder แต่จะเป็นทีนานๆ จนคนที่เป็นมีอาการซึมเศร้ายาวนานถึง 2 ปีขึ้นไป อาจมีอาการรุนแรงกำเริบแบบ major depression บ้างระหว่างนั้น แต่โดยทั่วไปก็จะซึมเศร้าอ่อนๆ ไปเรื่อยตลอด 2 ปีที่เป็น [13]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 บางทีคุณอาจซึมเศร้าจากอาการวิกลจริต (psychotic depression)....
    บางทีคุณอาจซึมเศร้าจากอาการวิกลจริต (psychotic depression). โรคซึมเศร้าประเภทนี้มักพบในคนที่ซึมเศร้ารุนแรงควบคู่ไปกับอาการวิกลจริต หรือ psychosis เช่น เชื่อผิดๆ (false beliefs) ว่าตัวเองเป็นนายกฯ หรือสายลับ หรือหลงผิด (delusions) ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เช่น เชื่อว่ามีคนคอยจับตาดูตัวเองอยู่ ไม่ก็ประสาทหลอน (hallucinations) คือหูแว่วหรือเห็นภาพอะไรที่คนเขาไม่ได้ยินกัน [14]
    • โรคซึมเศร้าจากอาการวิกลจริตนี่ถือว่าอันตราย บางครั้งอาจร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเจ้าตัวมองอะไรผิดเพี้ยนไปจากความจริงนี่แหละ ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน โดยขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัว หรือแจ้งศูนย์กู้ชีพไม่ก็รถพยาบาล
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปิดท้ายด้วยโรคไบโพลาร์ (bipolar disorder).
    โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้วนั้น คนที่เป็นอารมณ์จะเปลี่ยนแปลงสลับไปมา บางทีก็ซึมเศร้าหดหู่สุดขั้ว (severe depression) แต่บางทีก็ร่าเริงแจ่มใสสุดขีด (mania) โรคไบโพลาร์จะทำคุณอารมณ์แปรปรวนน่าดู นี่ยังไม่รวมพฤติกรรมและความคิดที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงตามไปด้วย เวลาอารมณ์ขึ้นหรือ mania คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีท่าทีแตกต่างออกไป ไม่สมเป็นตัวเอง เช่น อยู่ๆ ก็ลาออกจากงาน ช้อปกระจาย หรือตะบี้ตะบันทำงานไม่ยอมหลับยอมนอนเป็นวันๆ แต่พอวกเข้าช่วงขาลงก็มักจะซึมเศร้ารุนแรง บางคนถึงกับไม่มีแรงไม่มีใจจะลุกจากเตียง ทำงาน กระทั่งกิจวัตรประจำวันทั่วไป [15] ถ้าคุณคิดว่าตัวเองน่าจะเป็นไบโพลาร์ ให้รีบปรึกษาคุณหมอด่วน เพราะโรคนี้เป็นไปได้มากว่าจะไม่หายเองจนกว่าจะเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการช่วง mania ก็เช่น [16]
    • โลกสวยผิดปกติ
    • หงุดหงิดรำคาญใจแบบสุดๆ
    • นอนน้อยแต่กลับตื่นตัวเป็นพิเศษ
    • เรื่องอะไรต่อมิอะไรเต็มหัวไปหมด
    • พูดรัวเร็ว
    • ตัดสินใจหรือทำอะไรหุนหันพลันแล่น ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน
    • เกิดภาวะหลงผิดหรือประสาทหลอน
    • ถ้าอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการไบโพลาร์ ให้ลองอ่านบทความ ตรวจดูว่าคุณเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ ของเราต่อไปได้เลย
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รู้ว่ามีโรคซึมเศร้าที่แตกต่างกันตามเพศ.
    เพศหญิงกับเพศชายบางทีก็มีอาการของโรคซึมเศร้าแตกต่างกัน เช่น ผู้ชายมักจะแสดงอาการโมโหออกมามากกว่า ขณะที่ฝ่ายหญิงจะแสดงอารมณ์เศร้า การตระหนักรู้ในเรื่องนี้สามารถช่วยให้คุณเข้าใจว่ากำลังเกิดอาการอะไรได้ดีขึ้น
    • อาการทั่วไปใน ผู้ชาย มักเป็นการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยามากขึ้น มักจะทำอะไรเสี่ยงๆ และไม่สามารถแสดงความรับผิดชอบในหน้าที่การงานหรือการดูแลครอบครัว[17]
    • อาการทั่วไปใน ผู้หญิง มักเป็นการแสดงอารมณ์เศร้าสร้อยและรู้สึกผิด มีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อารมณ์เหวี่ยงแปรปรวน และชอบร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล[18]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รับมือกับโรคซึมเศร้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรึกษานักจิตบำบัด.
    ถ้าคุณกังวลเรื่องสภาพอารม์ของตัวเอง หรือพยายามดิ้นรนให้หลุดพ้นจากอาการซึมเศร้า เข้ารับการบำบัดจะดีที่สุด นักจิตบำบัดจะช่วยอธิบายให้คุณเข้าใจอาการที่เป็นอยู่ และร่วมกันหาวิธีรับมือและป้องกันไม่ให้อาการกลับมาอีกในอนาคต บอกเลยว่าจิตบำบัดช่วยแก้โรคซึมเศร้าได้มาก เพราะเป็นโอกาสให้คุณได้สำรวจหาสาเหตุ ได้เอาชนะอารมณ์แย่ๆ ของตัวเอง และให้คุณได้กลับมารู้สึกดี เป็นตัวของตัวเองเหมือนเดิม [19]
    • ความคิดและพฤติกรรมบำบัด หรือ cognitive-behavior therapy (CBT) นั้นใช้รักษาโรคซึมเศร้าได้เห็นผลชะงัด คุณจะได้เผชิญหน้ากับความคิดลบๆ ของตัวเอง แล้วจูนความหมกมุ่นครุ่นคิดไปในทางที่มีประโยชน์กว่า นอกจากนี้ยังได้หัดเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และเลือกตอบสนองอย่างถูกต้องเหมาะสม [20]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาจิตแพทย์.
    สำหรับบางคน การบำบัดควบคู่ไปกับการใช้ยาทำให้หายซึมเศร้าเร็วขึ้น แต่ก็ต้องเตรียมใจไว้ก่อน ว่าในโลกนี้ไม่มียาวิเศษที่ไร้ผลข้างเคียงไปซะหมด [21] ลองปรึกษาเภสัชกรหรือจิตแพทย์ดู เรื่องยาต้านเศร้า (antidepressant) ที่เหมาะกับคุณ
    • อย่าลืมสอบถามเรื่องผลข้างเคียงของยาด้วย จะได้พิจารณาความเสี่ยงก่อนใช้ยา
    • ถ้ากินยาแล้วคุณมีแนวโน้มคิดสั้นมากขึ้น ให้รีบแจ้งเภสัชกรหรือคุณหมอด่วน
    • ถ้าตัดสินใจเริ่มกินยาต้านเศร้าเมื่อไหร่ ถึงจะอาการดีขึ้นก็ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด ขอให้กินยาต่อไปให้ครบถ้วนตามที่คุณหมอสั่ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าปลีกตัว.
    ปกติความรักและกำลังใจก็สำคัญสำหรับคนเราอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณกำลังทนทรมานกับโรคซึมเศร้า 2 อย่างนี้ถือเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลย เรารู้ว่าซึมเศร้าขึ้นมาเมื่อไหร่ใครๆ ก็อยากหนีหน้าทั้งเพื่อนและครอบครัว แต่บอกเลยว่าลองแข็งใจใช้เวลากับเพื่อนๆ ดูสักหน่อย แล้วคุณจะรู้สึกดีขึ้นแบบไม่น่าเชื่อเลย ซึมเศร้าเมื่อไหร่ขอให้ตัวติดกันกับคนรู้ใจเข้าไว้ แม้กายใจจะประท้วงน่าดูก็ตาม [22]
    • หรือจะเข้าร่วมกลุ่มบำบัดก็ได้ ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิตดู http://www.dmh.go.th/ เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและวิธีเข้าร่วมกลุ่มบำบัด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ออกกำลังกายหน่อย.
    เดี๋ยวนี้มีงานวิจัยรับรองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่าออกกำลังกายแล้วช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อย่างเห็นผล บางงานวิจัยชี้ว่าถึงจะออกกำลังกายคนเดียว ก็ช่วยบำบัดให้อาการซึมเศร้าของคุณดีขึ้นได้ แถมป้องกันไม่ให้อาการกำเริบอีกบ่อยๆ เรารู้ว่ามันยากที่จะกระตุ้นตัวเองให้ออกไปฟิตเนสหรือแค่ออกไปเดินเล่น โดยเฉพาะเวลาที่อาการซึมเศร้าดูดพลังไปซะหมด แต่เชื่อเถอะว่าแข็งใจหน่อยแล้วเดี๋ยวจะดีเอง [23]
    • ออกกำลังกายง่ายๆ อย่างเดินไปมา 20 - 40 นาทีต่อวันก็ได้ อย่างถ้าคุณเลี้ยงหมา ก็ให้หาเวลาพาหมาไปเดินเล่นทุกวัน รับรองว่าจะเสริมสร้างความสุขได้มากเป็น 2 เท่า
    • ถ้าคุณหาแรงบันดาลใจใช้กระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกายไม่ค่อยได้ ก็ลองโน้มน้าวตัวเองดูว่าถ้าคุณขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวเมื่อไหร่ รับรองว่าจะไม่ผิดหวังหรือเสียเวลาเลย บอกเลยว่าหายากมาก คนที่ออกจากฟิตเนสแล้วบ่นว่า “เสียเวลาจัง ไม่น่ามาแต่แรกเลย” น่ะ
    • หาเพื่อนออกกำลังกายก็ดีไปอีกแบบ คุณจะได้เกรงใจไม่อยากปล่อยเพื่อนหัวเดียวกระเทียมลีบ จนต้องยอมออกไปฟิตเนสด้วยกันยังไงล่ะ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 บริหารความเครียด.
    นี่แหละหนึ่งในวิธีรับมือและป้องกันโรคซึมเศร้า ในแต่ละวันให้หาอะไรทำคลายเครียดจนติดเป็นนิสัย (เอิ่ม...พวก social media นั่นไม่นับนะจะบอกให้) อย่างพวกโยคะ ฝึกสมาธิ รำไทเก๊ก หรือฝึกเทคนิคเกร็งแล้วคลายกล้ามเนื้อ ไม่ก็ลองเริ่มจดบันทึกหรือบริหารความเครียดเชิงสร้างสรรค์ เช่น วาดรูป ระบายสี กระทั่งเย็บปักถักร้อย [24]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณซึมเศร้ามาเป็นเวลานาน กว่าจะหายสนิทก็ต้องใช้เวลานานพอๆ กัน เพราะงั้นอย่าใจร้อน บำบัดและแก้ไขกันแบบค่อยเป็นค่อยไปดีกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • จริงอยู่ว่าเสพยาแล้วช่วยคุณลืมเศร้าได้แบบทันใจ แต่บอกเลยว่าอาการจะเลวร้ายในระยะยาว ถ้าตอนนี้คุณแก้ปัญหาด้วยเหล้ายาอยู่ละก็ ขอให้หยุดซะตอนนี้ แล้วลองปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขกันต่อไปจะดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Trudi Griffin, LPC, MS
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Trudi Griffin, LPC, MS. ทรูดี้ กริฟฟินเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตในวิสคอนซิน เธอได้รับปริญญาโทด้านการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยมาร์เกว็ตต์ในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 7,059 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,059 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา