วิธีการ พูดทักทายในภาษาญี่ปุ่น

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คำทักทาย “สวัสดี” ในภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานคือ “คนนิจิวะ(Konnichiwa)” แต่อันที่จริงแล้วภาษาญี่ปุ่นมีหลายวลีที่ใช้สำหรับการทักทาย คุณจะได้รู้เรียนรู้วิธีการทักทายในภาษาญี่ปุ่นที่เป็นประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับรู้สถานการณ์ที่จะนำไปใช้จริงได้อีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

คำทักทายพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คำว่า “คนนิจิวะ (Konnichiwa)”...
    คำว่า “คนนิจิวะ (Konnichiwa)” นำไปใช้ได้ในเกือบทุกสถานการณ์[1] . นี่ถือเป็นคำทักทายสำหรับทุกๆคน และถ้าคุณจำคำว่า “Hello” ได้แค่อย่างเดียวล่ะก็ คำนี้ก็คล้ายๆกันนั่นแหละ
    • คุณใช้คำนี้ทักทายได้กับทุกคนโดยไม่เกี่ยงเพศหรือวัย
    • ภาษาญี่ปุ่นมีคำทักทายที่แบ่งตามแต่ละช่วงเวลาของวัน คำว่า คนนิจิวะ แปลอีกความหมายหนึ่งได้ว่า “สวัสดีตอนบ่าย”
    • อักษร คันจิ (kanji)ของคำนี้คือ 今日は และอักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ こんにちは
    • ออกเสียงคำทักทายนี้ว่า "คน-นิ-จิ-วะ"
  2. Step 2 เวลาทักทายในโทรศัพท์ให้พูดว่า "โมชิ โมชิ...
    เวลาทักทายในโทรศัพท์ให้พูดว่า "โมชิ โมชิ (moshi moshi)"[2]. นี่ก็เป็นคำทักทายพื้นฐานเวลาพูด “สวัสดี” ทางโทรศัพท์
    • ใช้คำทักทายนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายโทรหาหรือเป็นคนรับสาย คำว่า “โมชิ โมชิ” เหมาะใช้ทักทายเวลาโทรศัพท์มากกว่าคำว่า “คนนิจิวะ”
    • อย่าทักด้วยคำว่า โมชิ โมชิ เวลาเจอหน้ากัน
    • อักษร ฮิรางานะ (hiragana) เขียนว่า もしもし.
    • เวลาออกเสียง โมชิ โมชิ ให้ออกว่า มอชิ มอชิ
    โฆษณา


วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

คำทักทายแบบไม่เป็นทางการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Step 1 คำว่า "โอสซุ (ossu)"...
    คำว่า "โอสซุ (ossu)" ใช้ทักทายกันระหว่างเพื่อนผู้ชายที่สนิท[3]. นี่เป็นคำทักทายแบบเป็นกันเองสุดๆ ใช้ในหมู่เพื่อนผู้ชายที่สนิท หรือญาติผู้ชายที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
    • คำนี้มักไม่ใช้ในหมู่เพื่อนผู้หญิง หรือเพื่อนต่างเพศ
    • โอสซุ อาจเทียบได้กับคำว่า “เฮ้ย แก” หรือ “ว่าไงแก” ในภาษาไทย
    • อักษร ฮิรางานะ (hiragana) สำหรับคำนี้เขียนว่า おっす
    • ออกเสียงคำนี้ว่า โอส
  2. Step 2 ในโอซาก้า คำว่า "ยะโฮ...
    ในโอซาก้า คำว่า "ยะโฮ (yaho)" เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ทักทายในหมู่เพื่อนฝูง
    • มักเขียนในรูปตัวอักษรคาตาคานะ เพราะใช้สื่ออารมณ์ได้ดี (ヤーホー)
    • ออกเสียงว่า “ยา-โฮ”
  3. Step 3 เวลาถามไถ่พูดว่า "ไซคินโด (saikin dō?
    )" เทียบกับภาษาไทยเหมือนกับคำว่า “เป็นไงบ้าง“
    • เวลาใช้คำทักทายนี้มีวิธีใช้เช่นเดียวกับคำทักทายแบบไม่เป็นทางการคำอื่นๆ คือควรใช้กับคนที่คุณคุ้นเคยเช่น เพื่อน พี่น้อง หรือกับเพื่อนร่วมชั้น หรือเพื่อนร่วมงานได้ในบางโอกาส
    • อักษร คันจิ (kanji)ของคำนี้คือ 最近どう? อักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ さいきん どう?.
    • ออกเสียงว่า ไซ-คิน-โด
  4. Step 4 ทักทายคนที่ไม่ได้พบกันเป็นเวลานานใช้คำว่า "ฮิซาชิบุริ (hisashiburi)"....
    ทักทายคนที่ไม่ได้พบกันเป็นเวลานานใช้คำว่า "ฮิซาชิบุริ (hisashiburi)". ในภาษาไทยคล้ายกับคำว่า “ไม่ได้เจอกันนานเลยนะ” หรือ “นานแล้วที่ไม่ได้เจอกัน”
    • คุณอาจนำไปใช้พูดทักทายเวลาเจอเพื่อน หรือญาติสนิทที่ไม่ได้เจอกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือหลายปี
    • อักษร คันจิ (kanji)ของคำนี้คือ 久しぶり อักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ ひさしぶり
    • ถ้าต้องการพูดอย่างเป็นทางการ ให้พูดว่า "โอะ ฮิซาชิบุรีเดสเน (o hisashiburi desu ne)" อักษร คันจิ (kanji)ของคำนี้คือ お久しぶりですね อักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ おひさしぶりですね#*ออกเสียงทั้งประโยคเต็มว่า โอ-ฮี-ซา-ชี-บู-รี-เดส-สุ-เน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

มารยาทในการโค้ง

ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณต้องการแสดงความเคารพคนที่คุณเจอในประเทศญี่ปุ่น หรือในสังคมญี่ปุ่น การทักทายที่เหมาะสมคือ การโค้ง ซึ่งฝ่ายไหนเริ่มทำก่อนก็ได้ (คนที่ฝ่ายทักคนแรกมักเริ่มก่อน)

  1. How.com.vn ไท: Step 1 การโค้งของคนญี่่ปุ่นเป็นการทำความเคารพเหมือนการไหว้ของคนไทย....
    การโค้งของคนญี่่ปุ่นเป็นการทำความเคารพเหมือนการไหว้ของคนไทย. สิ่งสำคัญที่คุณต้องจำคือ ตอนจะโค้งกลับ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เวลาโค้งกลับ คุณต้องโค้งให้ต่ำกว่าคนที่โค้งทักทายคุณก่อน....
    เวลาโค้งกลับ คุณต้องโค้งให้ต่ำกว่าคนที่โค้งทักทายคุณก่อน. การโค้งต่ำกว่าแสดงให้เห็นว่าคุณเคารพคนคนนั้น คนที่เป็นฝ่ายโค้งก่อนแสดงความเคารพโดยการโค้ง ถ้าคุณไม่โค้งต่ำกว่า คงคล้ายกับคุณยกมือรับไหว้ข้างเดียวซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบกันนัก
    • การโค้งเพื่อทักทายทั่วไปจะประมาณ 15 องศา สำหรับคนที่เพิ่งเจอกันครั้งแรกจะโค้ง 30 องศา ส่วนการโค้ง 45 องศานั้นจะไม่ค่อยใช้ทักทาย แต่จะเป็นโค้งกับบุคคลสำคัญเช่น นายกรัฐมนตรี หรือจักรพรรดิ
    • ถ้าเราต้องการจะทักทายเพื่อนที่ดี อาจใช้การก้มหัวหรือพยักหัวแทนได้ ซึ่งจะดูลำลองกว่า
  3. How.com.vn ไท: Step 3 โค้งให้แขนแนบกับลำตัวและตามองไปทางเดียวกันกับหัวของเรา....
    โค้งให้แขนแนบกับลำตัวและตามองไปทางเดียวกันกับหัวของเรา. โดยการโค้งต้องโค้งตั้งแต่เอว การโค้งเฉพาะไหล่และหัวนั้นดูไม่เป็นทางการและอาจเป็นการเสียมารยาท
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

คำทักทายตามช่วงเวลาของวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Step 1 เปลี่ยนจากคนนิจิวะเป็นคำว่า "โอะฮาโย โกไซมัส...
    เปลี่ยนจากคนนิจิวะเป็นคำว่า "โอะฮาโย โกไซมัส (ohayō gozaimasu)" เพื่อใช้ทักทายในตอนเช้า. เวลาที่คุณเจอใครก่อนเที่ยง นี่เป็นคำทักทายพื้นฐานเหมือนกับคำว่า “สวัสดี”
    • การทักทายแบ่งตามช่วงเวลานั้นถือว่าสำคัญมากในญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับไทย คุณอาจพูดคำว่า “คนนิจิวะ” ในตอนเช้าก็ได้ แต่คำว่า “โอะฮาโย โกไซมัส” จะฟังดูเป็นธรรมชาติมากกว่า
    • อักษร คันจิ (kanji)ของคำนี้คือ お早うございますและอักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ おはようございます.
    • คุณจะพูดคำทักทายในตอนเช้าสั้นๆ เหลือแค่คำว่า “โอะฮาโย” เวลาทักทายเพื่อนหรือคนอื่นๆ ที่คุณคุ้นเคยด้วยก็ได้ อักษร คันจิ (kanji)ของคำนี้ お早う และอักษร ฮิรางานะ (hiragana) おはよう.
    • ออกเสียงคำทักทายนี้ว่า โอะ-ฮา-โย-โก-ไซ-อิ-มัส
  2. Step 2 ทักทายด้วยคำว่า "คมบังวะ (konbanwa)" ในตอนเย็น.
    หลังเวลาอาหารเย็น คุณคงอยากเริ่มทักทายด้วยคำอื่นๆ นอกเหนือจากคำว่า “คนนิจิวะ”
    • สำหรับคำทักทายในช่วงเวลาอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง คำว่า คมบังวะ ถือเป็นคำทักทายพื้นฐานในช่วงตอนค่ำ คุณอาจใช้ คนนิจิวะ แทนก็ได้ แต่คนมักใช้น้อยกว่า
    • อักษร คันจิ (kanji)ของคำนี้คือ 今晩はและอักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ こんばんは
    • ออกเสียงคำนี้ว่า คม-บัง-วะ
  3. Step 3 ลองกล่าวราตรีสวัสดิ์ด้วยคำว่า "โอยาสึมินาไซ (oyasumi...
    ลองกล่าวราตรีสวัสดิ์ด้วยคำว่า "โอยาสึมินาไซ (oyasumi nasai)" ในตอนดึกหรือหลังท้องฟ้ามืดแล้ว. คุณสามารถใช้ประโยคนี้ทักทายได้เหมือนกัน
    • รู้ไว้ก่อนว่า โอยาสึมินาไซ มักใช้พูดแทนคำว่า “บาย” บ่อยกว่าในตอนกลางคืน และใช้มากกว่าเป็นคำสวัสดี ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้ทักทายได้ก็ตาม
    • เวลาที่คุณอยู่กับเพื่อน เพื่อนร่วมชั้น หรือคนในครอบครัวที่สนิทกัน หรือคนที่คุณคุยได้อย่างสนิทสนมด้วย ประโยคนี้อาจพูดเหลือแค่คำว่า โอยาสึมิ (oyasumi)
    • อักษร ฮิรางานะ (hiragana) สำหรับคำว่า โอยาสึมิ (oyasumi) คือ おやすみ และอักษร ฮิรางานะ (hiragana) สำหรับทั้งประโยค โอยาสึมินาไซ (oyasumi nasai) คือ おやすみなさい
    • ออกเสียงคำทักทายนี้เร็วๆ ว่า โอ-ยา-สึ-มิ-นา-ไซ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าไม่มั่นใจ ให้โค้ง 30 องศาก่อนเสมอ
  • ถ้าอยากให้การทักทายดูเป็นธรรมชาติ ให้กล่างทักทายด้วยคำทักทายตามช่วงเวลา เพราะการกล่าวสวัสดีตอนเช้าในช่วงเย็นนั้นอาจจะดูประหลาด
  • รู้ไว้ก่อนว่าคำทักทายแบบมาตรฐานสามารถนำไปใช้ได้ทุกภูมิภาคในญี่ปุ่น และกับผู้ที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้เหมือนกัน แต่ก็มีคำทักทายพิเศษบางคำที่ใช้ตามแต่ละภาษาถิ่นของญี่ปุ่น ถ้าคุณต้องการสร้างความประทับใจกับคนที่พูดภาษาถิ่นในญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ คุณสามารถใช้คำทักทายทั้งแบบมาตรฐานตามที่กล่าวมา หรือลองค้นคว้าหาคำทักทายในภาษาถิ่นนั้นดู[4]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 12 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 77,647 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 77,647 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา