ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การพันแผลคือขั้นตอนการปิดแผลด้วยวัสดุต่างๆ ส่วนใหญ่จะใช้ผ้าก๊อซสะอาดพันปิดแผลลึก เพื่อทำให้แผลแห้งและเป็นการป้องกันแผล วิธีนี้จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นจากภายใน การพันแผลที่ไม่ถูกวิธีอาจจะสามารถปิดแผลได้เพียงผิวเผิน แต่แผลจะไม่หายจากภายใน การทำแผลและพันแผลเปิดอย่างถูกวิธีจึงสำคัญ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำแผลเปิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รวบรวมของใช้ที่จำเป็น.
    หากคุณจะดูแลแผลเปิดในขณะที่มันกำลังรักษาตัวเอง คุณก็ต้องเตรียมของเหล่านี้ให้พร้อม สำหรับการทำแผลครั้งสองครั้งต่อวัน คุณจะต้องใช้ผ้าก๊อซและน้ำเกลือในปริมาณมาก ดังนั้นจงเตรียมตัวให้ดีถ้าคุณไม่อยากจจะวิ่งเข้าร้านขายยาหลายรอบ ของที่จำเป็นต้องใช้มีดังนี้:
    • สารฆ่าเชื้อ คุณอาจจะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เพื่อซื้อน้ำเกลือในร้านขายยา หรือทำด้วยตัวเองโดยการผสมเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำเปล่าต้มเดือดเกือบ 1 ลิตร ประมาณห้านาที
    • สำหรับของที่ใช้ในการทำแผล คุณจะต้องใช้ถุงมือแพทย์ ผ้าเช็ดตัวสะอาด ถ้วยสะอาด และกรรไกรหรือแหนบที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนแล้ว
    • สำหรับการพันแผล คุณจะต้องใช้ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล เทปทำแผล และไม้พันสำลี หรือก้านสำลี
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำความสะอาดบริเวณที่จะพันแผล.
    การพันแผลจะต้องสะอาดและปลอดเชื้อ หากคุณทำแผลที่บ้าน ก็ควรหลีกเลี่ยงบริเวณโต๊ะทานข้าวหรือโต๊ะหน้าโทรทัศน์ที่มีฝุ่น เพราะเชื้อโรคจะทำให้เกิดการติดเชื้อ ไม่ว่าคุณจะทำแผลตรงส่วนไหน คุณจะต้องล้างและฆ่าเชื้อบริเวณนั้นก่อนจะพันแผล[1]
    • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่าเป็นอันดับแรก ถูข้อศอกทั้งสองข้าง และตัดเล็บให้เรียบร้อย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เตรียมของสำหรับพันแผล.
    หลังจากทำความสะอาดและพร้อมจะพันแผลแล้ว ให้วางผ้าขนหนูสะอาดรองไว้ และเทน้ำเกลือลงในถ้วยสะอาด คุณไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเกลือปริมาณมาก แค่เพียงพอที่จะทำให้วัสดุพันแผลชื้นเล็กน้อยก็พอแล้ว นำวัสดุพันแผลทั้งผ้าพันแผลและเทปออกมาวางไว้บนผ้าขนหนู วางให้ห่างจากถ้วยใส่น้ำเกลือ และอย่าให้มันเปียก
    • ตัดวัสดุพันแผลตามความยาวที่จะใช้ออกมา และทำให้เปียกน้ำเกลืออย่างระมัดระวัง อย่าจุ่มวัสดุลงไปโดยตรง แค่ทำให้ชื้นเล็กน้อยก็พอ หากมีน้ำเกลือหยดออกมาจากวัสดุ แสดงว่ามันเปียกมากไป
    • พยาบาลและคนที่ทำแผลเองหลายคนมักจะตัดเทปตามความยาวที่เหมาะสม แล้วแปะไว้ตามขอบโต๊ะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมานั่งแกะเทปทีหลังเมื่อต้องการจะปิดแผล จัดการขั้นตอนต่างๆ ให้สะดวกต่อคุณที่สุด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง.
    การล้างมือบ่อยไม่มีผลเสียอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณต้องทำแผลเปิดที่ใหญ่และลึก การติดเชื้อจะเป็นอันตรายมาก ดังนั้นคุณควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่า และสวมถุงมือแพทย์เพื่อป้องกันอีกชั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ค่อยๆ พันแผลอย่างเบามือ.
    บิดผ้าก๊อซให้หมาดเพื่อไม่ให้ชุ่มน้ำเกลือมากไป วัสดุพันแผลจะต้องชื้น แต่ไม่แฉะ ใช้วัสดุพันแผลที่มีขนาดพอจะปิดแผลได้มิดและไม่แน่นจนเกินไป ค่อยๆ ปิดแผลโดยใช้ไม้พันสำลีหรือก้านสำลีช่วย
    • แม้ว่าผ้าพันแผลจะควรปิดแผลให้สนิท แต่มันก็ไม่ควรปิดแน่นจนเกินไป คุณควรขยับหรือเปลี่ยนผ้าก๊อซที่ปิดแผลไม่สนิทใหม่จนกว่าจะปิดมิด พันแผลปิดให้เรียบร้อยปลอดภัย
    • จงทำอย่างเบามือและว่องไว ไม่มีเคล็ดลับอะไรพิเศษสำหรับการพันแผลด้วยผ้าก๊อซ คุณแค่ต้องพันปิดแผลให้เบามือที่สุดเท่าที่ทำได้ ความยากและง่ายจะขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของแผล คอยสังเกตคนไข้และถามเพื่อให้มั่นใจว่าคุณไม่ได้พันแผลแน่นเกินไปจนรู้สึกไม่อึดอัด
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พันแผลอีกชั้น.
    การพันแผลชั้นนอกควรจะใช้แผ่นผ้าก๊อซหุ้มสำลีเพื่อปิดแผลอีกที ปิดให้แน่นแต่อย่าให้รู้สึกอึดอัด เพื่อป้องกันผ้าก๊อซชั้นในจากภายนอก พันแผลชั้นนอกด้วยผ้าก๊อซหุ้มสำลีขนาด 10 x 10 เซนติเมตร ใช้ขนาดที่ใหญ่พอจะปิดแผลได้หมด หรือขนาดใหญ่พิเศษเพื่อป้องกันให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น
    • ปิดเทปที่ผ้าพันแผลโดยห่างจากปากแผลอย่างน้อยหนึ่งหรือสองนิ้ว ใช้เทปทำแผลที่คุณแปะไว้ตรงขอบโต๊ะเมื่อครู่ หยิบผ้าก๊อซขึ้นจากตรงขอบทุกครั้ง ระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนผ้าพันแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นำผ้าพันแผลชั้นนอกออก.
    เริ่มโดยการดึงเทปออก และค่อยๆ ดึงผ้าก๊อซหุ้มสำลีออกอย่างเบามือ ใช้มือที่สะอาดและสวมถุงมืออยู่ข้างหนึ่งจับยึดรอบๆ แผลไว้ให้มั่น และใช้มืออีกข้างดึงผ้าก๊อซชั้นนอกออกมา
    • จงระวังเลือดที่ตกสะเก็ดหรือสารคัดหลั่งอื่นๆ ที่ซึมออกมาแล้วก่อตัวจนติดกับผ้าพันแผล ให้ใช้ก้านสำลีจุ่มน้ำเกลือช่วยดึงออกหากจำเป็น ทำอย่างช้าๆ และระวังให้มากๆ
    • ใส่ผ้าพันแผลที่ดึงออกแล้วลงในถุงพลาสติกและนำไปทิ้งทันที โดยให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 นำผ้าก๊อซชั้นในออก.
    ใช้แหนบที่ฆ่าเชื้อแล้วหรือนิ้วหนีบมุมผ้าและค่อยๆ ดึงออกจากแผล ทำอย่างช้าด้วยความระมัดระวัง ตั้งสมาธิกับการดึงผ้าออก โดยคอยระวังสะเก็ดเลือดที่ก่อตัวระหว่างแผลกับผ้าก๊อซไปด้วย ใช้ก้านสำลีช่วยให้ดึงออกได้ง่ายขึ้นหากจำเป็น ดึงผ้าก๊อซทั้งหมดออกและตรวจดูว่ามีผ้าก๊อซเหลือติดอยู่กับแผลหรือไม่[2]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หากมีเลือดไหล ให้ประคบด้วยแรงกด.
    การนำผ้าพันแผลออกอาจจะทำให้เลือดไหลได้ ขึ้นอยู่กับความใหญ่และลึกของแผล โดยเฉพาะเมื่อคุณเปลี่ยนผ้าพันแผลครั้งแรก หากมีเลือดไหล ให้ใช้ผ้าก๊อซหุ้มสำลีประคบกดลงไป กดให้มั่นด้วยน้ำหนักเท่าเดิมตลอดห้านาทีเพื่อรอให้เลือดตกสะเก็ดและหยุดไหล แล้วจึงนำผ้าก๊อซออก
    • หากคุณไม่สามารถห้ามเลือดได้ หรือแผลยังคงมีเลือดไหลวันสองวันหลังจากไปพบแพทย์แล้ว คุณก็ควรกลับไปหาแพทย์อีกครั้งในทันทีเพื่อตรวจอาการ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อที่แผล.
    หลังจากนำผ้าพันแผลออกแล้ว คุณจะต้องตรวจดูแผลใกล้ๆ เพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ การที่สีซีดลง มีสารคัดหลั่งไหลออกมามากกว่าปกติ หรือมีกลิ่นเหม็น ล้วนเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่ควรจัดการในทันทีด้วยการกลับไปพบแพทย์และรับการรักษา แพทย์อาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือวิธีอื่นๆ ในการทำแผล
    • สำหรับคำแนะนำเฉพาะสำหรับการดูแลแผลเปิด ให้อ่านบทความในส่วนถัดไป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ล้างบริเวณรอบๆ แผลด้วยสบู่กับน้ำเปล่าอย่างเบามือ....
    ล้างบริเวณรอบๆ แผลด้วยสบู่กับน้ำเปล่าอย่างเบามือ. ใช้สบู่และน้ำสะอาดล้างบริเวณรอบๆ แผลอย่างระมัดระวัง ใช้ฟองน้ำสะอาด น้ำอุ่น และสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อทำความสะอาดผิวโดยรอบ อย่าทำให้แผลเปียกและอย่าใช้สบู่กับแผลลึกโดยตรง ล้างแค่รอบนอกเท่านั้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พันแผลใหม่.
    หลังจากนำผ้าพันแผลเก่าออกและทำความสะอาดรอบๆ แล้ว ให้พันแผลใหม่ในทันที โดยทำตามขั้นตอนแรกของบทความ นอกเสียจากว่าคุณจำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์สำหรับแผลของคุณโดยเฉพาะ แผลบางชนิดจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าพันแผลสองถึงสามครั้งต่อวัน ในขณะที่แผลบางชนิดจะมีวิธีรักษาที่ต่างออกไป
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลแผลเปิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เปลี่ยนผ้าพันแผลครั้งถึงสองครั้งต่อวัน.
    ทำตามคำแนะนำของแพทย์ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแผลของคุณ หลังจากที่เนื้อเยื่อเริ่มรักษาตัวเอง แพทย์ก็จะอนุญาตให้เปลี่ยนผ้าพันแผลหนึ่งครั้งต่อวันได้ และท้ายที่สุดก็อาจจะไม่ต้องปิดแผลเพื่อให้แผลสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างเต็มที่ เมื่อเนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองจนมากพอ การทำแผลแค่ชั้นนอกก็มากพอที่จะทำให้แผลหายดีได้[3]
    • แผลส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าพันแผลปิดไว้เกินกว่า 10 วัน ควรระวังอาการหรือความรู้สึกที่บ่งบอกว่าแผลไม่ดีขึ้นอย่างที่มันควรจะเป็น และไปพบแพทย์ หากแผลใช้เวลาในการรักษานานเกินไป ก็ให้คุณไปพบแพทย์อีกเช่นกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สังเกตสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ.
    ระหว่างที่คุณเปลี่ยนผ้าพันแผลใหม่ คุณควรจะต้องตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อต่อไปนี้ พบแพทย์ทันทีหากคนไข้มีอาการดังต่อไปนี้:
    • ร่างกายมีอุณหภูมิเกิน 38 องศาเซลเซียส
    • หนาวสั่น
    • เนื้อเยื่อตรงแผลเปลี่ยนสีจากชมพูเป็นขาว เหลือง หรือดำ
    • มีสารคัดหลั่งหรือของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นออกมาจากแผล
    • แผลหรือผิวบริเวณรอบๆ แดงขึ้น หรือบวมขึ้น
    • มีอาการกดเจ็บหรือปวดมากขึ้นรอบๆ แผล
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าให้แผลเปียก.
    ระหว่างที่คุณทำแผลอยู่ การป้องกันไม่ให้แผลเปียกหรือชื้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและแผลจะหายช้าลง ปล่อยให้ร่างกายรักษาตัวเองและคอยระวังไม่ให้แผลเปียก
    • คุณอาจจะอาบน้ำโดยระวังไม่ให้แผลโดนน้ำได้หลังจาก 24 ชั่วโมงแรก คุณสามารถหุ้มบริเวณที่เป็นแผลด้วยพลาสติก หรือยกแขนให้ห่างจากละอองน้ำเพื่อไม่ให้แผลเปียก แพทย์อาจจะมีคำแนะนำเฉพาะให้แก่คุณขึ้นอยู่กับการทำความสะอาดแผล
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรึกษาแพทย์หากมีคำถามหรือข้อกังวลใจ.
    การดูแลแผลเปิดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากคุณมีความเคลือบแคลงใจหรือกังวลเกี่ยวกับขั้นตอนการรักษา คุณก็ควรถามแพทย์ในทันที อย่ารอจนการติดเชื้อรุนแรงขึ้น การติดเชื้อในกระแสเลือดและอาการแผลเน่าอาจเกิดขึ้นได้กับแผลที่ได้รับการดูแลอย่างไม่ถูกวิธี

สิ่งของที่ใช้

  • วัสดุสำหรับพันแผล
  • น้ำเกลือ
  • กรรไกร
  • ถ้วยสะอาด
  • ผ้าขนหนูสะอาด
  • ผ้าก๊อซหุ้มสำลีสำหรับพันแผลชั้นนอก
  • ไม้พันสำลี หรือก้านสำลี
  • ถุงพลาสติกสำหรับใส่ผ้าพันแผลเก่าที่จะนำไปทิ้ง

เคล็ดลับ

นี่คือเคล็ดลับทั่วไปสำหรับการดูแลแผล

  • ป้องกันแผลจากแรงกดทับ
  • ผ้าพันแผลต้องแห้ง
  • อย่านอนทับแผล

คำเตือน

  • บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะแนะนำให้ไม่ไปพบแพทย์ โปรดฟังคำแนะนำในการทำแผลจากแพทย์ของคุณและทำตาม

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 12 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 28,002 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 28,002 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม