ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การเรียนรู้วิธีทอนนิพจน์พีชคณิตให้อยู่ในรูปที่ง่ายนั้นเป็นส่วนสำคัญของการที่จะเก่งในวิชาพีชคณิตและเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักคณิตศาสตร์ทุกคนที่จะต้องมีติดตัว การทอนให้อยู่ในรูปแบบอย่างง่ายจะช่วยให้นักคณิตศาสตร์สามารถเปลี่ยนโจทย์นิพจน์ที่ยาวเฟื้อย ซับซ้อน และ/หรือรกรุงรังให้ดูเรียบง่ายขึ้นหรือสะดวกต่อการทำมากขึ้น หลักการทอนพื้นฐานนั้นเรียนรู้ได้ง่ายแม้กระทั่งกับคนที่เกลียดคณิตศาสตร์ก็ตาม โดยการทำตามขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ขั้นก็สามารถทอนนิพจน์พีชคณิตรูปแบบปกติส่วนใหญ่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความรู้ด้านคณิตศาสตร์ชั้นสูงเลยแม้แต่นิดเดียว ดูขั้นตอนที่ 1 ด้านล่างนี้เพื่อเริ่มกันเลย!

เข้าใจแนวคิดสำคัญ

  1. How.com.vn ไท: Step 1 นิยามพจน์ที่เหมือนกันโดยดูตัวแปรและเลขยกกำลัง....
    นิยามพจน์ที่เหมือนกันโดยดูตัวแปรและเลขยกกำลัง. ในวิชาพีชคณิตนั้น "พจน์ที่เหมือนกัน" จะมีองค์ประกอบของตัวแปรเดียวกันและยกกำลังตัวเดียวกัน หรือถ้าจะพูดก็คือ สำหรับพจน์สองพจน์ที่จะ "เหมือนกัน" นั้น พวกมันจะต้องมีตัวแปรที่เหมือนกันจะกี่ตัวหรือไม่มีเลยก็ได้ และตัวแปรแต่ละตัวจะต้องยกกำลังด้วยเลขยกกำลังตัวเดียวกันหรือไม่มีเลขยกกำลังเลยเหมือนกัน ส่วนลำดับของตัวแปรภายในพจน์นั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ
    • ตัวอย่าง 3x2 กับ 4x2 เป็นพจน์ที่เหมือนกัน เพราะแต่ละพจน์ต่างประกอบด้วยตัวแปร x ยกกำลังสองเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม x กับ x2 ไม่ได้เป็นพจน์ที่เหมือนกัน เพราะแต่ละพจน์มี x ที่ยกกำลังต่างกัน เช่นเดียวกับ -3yx กับ 5xz ก็ไม่ได้เป็นพจน์ที่เหมือนกัน เพราะแต่ละพจน์มีตัวแปรต่างกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 แยกตัวประกอบ...
    แยกตัวประกอบ โดยการเขียนจำนวนที่เป็นผลลัพธ์ของตัวประกอบสองตัว. การแยกตัวประกอบเป็นแนวคิดที่ใช้แสดงว่าจำนวนที่ให้มาเป็นผลลัพธ์ของตัวประกอบสองตัวคูณกัน จำนวนตัวเลขสามารถมีตัวประกอบมากกว่าหนึ่งชุด เช่น จำนวน 12 สามารถเกิดจาก 1 × 12, 2 × 6, และ 3 × 4, ดังนั้น เราจึงกล่าวได้ว่า 1, 2, 3, 4, 6, และ 12 ล้วนเป็นตัวประกอบของ 12 อีกวิธีการคิดเรื่องนี้ก็คือตัวประกอบของจำนวนใดๆ คือตัวเลขที่หารมัลงตัวนั่นเอง
    • ตัวอย่าง หากเราต้องการแยกตัวประกอบของ 20, เราอาจเขียนมันเป็น 4 × 5
    • โปรดสังเกตว่าพจน์ที่ติดตัวแปรก็สามารถแยกตัวประกอบได้ เช่น - 20x สามารถเขียนเป็น 4(5x)
    • จำนวนเฉพาะไม่สามารถแยกตัวประกอบได้ เพราะสามารถหารลงตัวแค่ตัวมันเองกับ 1
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ตัวย่อ PEMDAS ในการจำลำดับของการทำงานทางคณิตศาสตร์....
    ใช้ตัวย่อ PEMDAS ในการจำลำดับของการทำงานทางคณิตศาสตร์. บางทีการทอนนิพจน์ไม่ได้มีอะไรเลยนอกจากการคำนวณในนิพจน์นั้นจนไม่สามารถทำต่อได้ ในกรณีเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องจำลำดับของการคำนวณเพื่อที่จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาด ตัวย่อ PEMDAS จะช่วยคุณจำลำดับการคำนวณ ถ้าหากมีการคูณและการหารในโจทย์เดียวกัน คุณจะต้องทำการคำนวณให้เสร็จจากซ้ายไปขวาเมื่อมาถึงจุดนั้น เช่นเดียวกับการบวกและลบ ภาพด้านบนให้คำตอบที่ผิด ขั้นตอนสุดท้ายไม่ได้ทำการบวกและลบจากซ้ายไปขวา มันทำการบวกก่อน มันควรจะแสดงว่า 25-20 = 5 แล้วค่อย 5 + 6 = 11
    • Parentheses (วงเล็บ)
    • Exponents (เลขยกกำลัง)
    • Multiplication (การคูณ)
    • Division (การหาร)
    • Addition (การบวก)
    • Subtraction (การลบ)
    โฆษณา
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รวมพจน์ที่เหมือนกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เขียนสมการ.
    สมการทางพีชคณิตที่เรียบง่ายที่สุดคือมีตัวแปรสองสามตัวและมีสัมประสิทธิ์จำนวนเต็มโดยไม่มีเศษส่วน ไม่ติดราก เป็นอาทิ จะสามารถแก้ได้ในไม่กี่ขั้นตอน และก็เหมือนโจทย์คณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ ขั้นตอนแรกของการทอนสมการก็คือเขียนมันลงไป!
    • ในฐานะโจทย์ตัวอย่างสำหรับไม่กี่ขั้นตอนถัดไป สมมติว่ามีนิพจน์ 1 + 2x - 3 + 4x
  2. How.com.vn ไท: Step 2 มองหาพจน์ที่เหมือนกัน.
    ขั้นต่อไปให้หาพจน์ที่เหมือนกันในสมการ จำไว้ว่าพจน์ที่เหมือนกันจะมีทั้งตัวแปรกับเลขยกกำลังตัวเดียวกัน
    • ตัวอย่าง ลองหาพจน์ที่เหมือนกันในสมการของเรา 1 + 2x - 3 + 4x ซึ่ง 2x กับ 4x ล้วนมีตัวแปรเดียวกันและยกกำลังเดียวกัน (ในกรณีนี้ ตัวแปร x ไม่ได้มีเลขยกกำลังใดๆ) นอกจากนั้น 1 กับ -3 ก็เป็นพจน์ที่เหมือนกัน เพราะต่างไม่ติดตัวแปรทั้งคู่ ดังนั้น ในสมการของเรา 2x และ 4x กับ 1 และ -3 เป็นพจน์ที่เหมือนกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รวมพจน์ที่เหมือนกัน.
    ตอนนี้พอคุณหาพจน์ที่เหมือนกันได้แล้ว ก็สามารถรวมมันเพื่อทอนสมการให้ง่ายขึ้นได้ บวกพจน์นั้นด้วยกัน (หรือลบถ้ามันอยู่ในรูปติดลบ) เพื่อลดจำนวนพจน์ที่มีตัวแปรเดียวกันกับเลขยกกำลังเดียวกันให้เหลือเพียงพจน์เดียว
    • มาบวกพจน์ที่เหมือนกันในตัวอย่าง
      • 2x + 4x = 6x
      • 1 + -3 = -2
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สร้างนิพจน์ที่ถูกทอนลงแล้วจากพจน์ที่คุณทอนให้ง่ายขึ้น....
    สร้างนิพจน์ที่ถูกทอนลงแล้วจากพจน์ที่คุณทอนให้ง่ายขึ้น. หลังจากรวมพจน์ที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน ให้สร้างนิพจน์จากพจน์ใหม่ที่เล็กลงนี้ คุณควรได้นิพจน์ที่ดูง่ายขึ้นที่มีพจน์เดียวสำหรับตัวแปรกับเลขยกกำลังแต่ละตัว นิพจน์ใหม่นี้จะมีค่าเท่ากันกับนิพจน์เดิม
    • ในตัวอย่างของเรา พจน์ที่ถูกทอนค่าแล้วคือ 6x กับ -2, ดังนั้นนิพจน์ใหม่จะเป็น 6x - 2 นิพจน์ที่อยู่ในรูปง่ายขึ้นนี้มีค่าเท่ากับนิพจน์เดิม (1 + 2x - 3 + 4x), แต่สั้นลงและคำนวณได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะง่ายต่อการแยกตัวประกอบด้วย ซึ่งเราจะได้เห็นต่อไปว่ามันเป็นทักษะการทอนที่สำคัญอีกอย่างเช่นกัน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทำตามลำดับการปฏิบัติเวลารวมพจน์ที่เหมือนกัน....
    ทำตามลำดับการปฏิบัติเวลารวมพจน์ที่เหมือนกัน. ในนิพจน์ที่เรียบง่ายอย่างมากเช่นในตัวอย่างข้างต้น การหาพจน์ที่เหมือนกันนั้นง่ายมาก กระนั้น ในนิพจน์ที่ซับซ้อนกว่านี้ อย่างในแบบที่มีทั้งวงเล็บ เศษส่วน และติดเครื่องหมายกรณฑ์นั้น พจน์เหมือนกันที่สามารถจับมารวมกันได้อาจมองไม่ออกในทันที ในกรณีเหล่านี้ให้ทำตามลำดับของการปฏิบัติการ ทำการคำนวณในพจน์ภายในนิพจน์ตามความจำเป็น จนกระทั่งเหลือแค่ลำดับการบวกและลบ
    • ตัวอย่าง สมมติว่ามีสมการ 5(3x-1) + x((2x)/(2)) + 8 - 3x จะทำผิดทันทีถ้ามองว่า 3x กับ 2x เป็นพจน์ที่เหมือนกันและนำมารวมกันทันที เพราะวงเล็บในนิพจน์กำกับให้เราต้องทำการคำนวณอื่นก่อน ดังนั้นตอนแรกให้ทำการคำนวณในนิพจน์ตามลำดับการปฏิบัติการเพื่อให้ได้พจน์ที่เรา สามารถ ใช้ได้ ดังต่อไปนี้:
      • 5(3x-1) + x((2x)/(2)) + 8 - 3x
      • 15x - 5 + x(x) + 8 - 3x
      • 15x - 5 + x2 + 8 - 3x ตอนนี้ เนื่องจากลำดับการปฏิบัติการเหลือเพียงการบวกและลบ เราสามารถรวมพจน์ที่เหมือนกันได้
      • x2 + (15x - 3x) + (8 - 5)
      • x2 + 12x + 3
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

แยกตัวประกอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงที่สุดภายในนิพจน์นั้น....
    หาตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงที่สุดภายในนิพจน์นั้น. การแยกตัวประกอบเป็นวิธีการทอนนิพจน์โดยเอาตัวประกอบที่มีร่วมในพจน์ทุกพจน์ภายในนิพจน์นั้นออกไป เริ่มด้วยการหาตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงที่สุดที่พจน์ทุกพจน์ภายในนิพจน์นั้นต่างมีร่วมกัน พูดอีกอย่างคือ จำนวนสูงที่สุดที่ซึ่งหารพจน์ทุกพจน์ภายในนิพจน์ได้ลงตัว
    • มาใช้สมการ 9x2 + 27x – 3 โปรดสังเกตว่าทุกพจน์ในสมการนี้สามารถหารลงตัวด้วย 3 เนื่องจากพจน์ทั้งหมด ไม่สามารถ หารลงตัวทั้งหมดด้วยจำนวนที่สูงกว่านี้ เราจึงบอกได้ว่า 3 เป็นตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงที่สุดในนิพจน์
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หารพจน์ภายในนิพจน์ด้วยตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุด....
    หารพจน์ภายในนิพจน์ด้วยตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุด. ต่อไปให้หารทุกพจน์ในสมการด้วยตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดที่คุณเพิ่งหาพบ พจน์ที่ได้ทั้งหมดจะมีตัวสัมประสิทธิ์ต่ำลงกว่าในนิพจน์เดิม
    • มาแยกตัวประกอบสมการของเราด้วยตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดซึ่งก็คือ 3 โดยเราจะหารพจน์แต่ละพจน์ด้วย 3
      • 9x2/3 = 3x2
      • 27x/3 = 9x
      • -3/3 = -1
      • ดังนั้น นิพจน์ใหม่ของเราจึงเป็น 3x2 + 9x - 1
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แสดงนิพจน์ในฐานะผลลัพธ์ของตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดกับพจน์ที่เหลือ....
    แสดงนิพจน์ในฐานะผลลัพธ์ของตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดกับพจน์ที่เหลือ. นิพจน์ใหม่นี้ไม่เท่ากับนิพจน์เดิม ดังนั้นจึงไม่ถูกต้องถ้าจะบอกว่ามันถูกทอนลงให้อยู่ในรูปง่ายขึ้น ถ้าจะทำให้นิพจน์ใหม่มีค่าเท่ากับนิพจน์เดิม เราจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่ามันถูกหารด้วยตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดไปแล้ว ให้ใส่วงเล็บนิพจน์ใหม่แล้วเติมตัวประกอบร่วมสูงสุดของสมการเดิมเป็นตัวสัมประสิทธิ์ของนิพจน์ที่อยู่ในวงเล็บ
    • สำหรับนิพจน์ตัวอย่างของเรา 3x2 + 9x - 1, เราจะใส่นิพจน์ไว้ในวงเล็บและคูณด้วยตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดของสมการเดิมเพื่อจะได้ 3(3x2 + 9x - 1) สมการนี้จะมีค่าเท่ากับสมการเดิม, 9x2 + 27x - 3
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้การแยกตัวประกอบเพื่อทอนเศษส่วน.
    ตอนนี้คุณอาจนึกสงสัยว่าทำไมการแยกตัวประกอบถึงมีประโยชน์ถ้าเกิดว่าหลังจากแยกตัวประกอบร่วมที่มีค่าสูงสุดออกมาแล้ว สุดท้ายก็ยังต้องเอามันไปคูณกับนิพจน์ใหม่อยู่ดี ซึ่งที่จริงแล้วการแยกตัวประกอบทำให้นักคณิตศาสตร์สามารถใช้เคล็ดลับมากมายมาพลิกแพลงเพื่อทอนนิพจน์ หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดคือการใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริงที่ว่าการคูณตัวเศษและตัวส่วนด้วยจำนวนเดียวกันจะทำให้ได้เศษส่วนที่เท่ากัน ดูด้านล่างนี้:
    • สมมติว่า 9x2 + 27x – 3 นิพจน์ตัวอย่างเดิมของเราเป็นตัวเศษของเศษส่วนที่มี 3 อยู่ในตัวส่วน เศษส่วนนี้จะมีหน้าตาเช่นนี้: (9x2 + 27x - 3)/3 เราสามารถใช้การแยกตัวประกอบมาทอนเศษส่วนนี้ได้
      • นำรูปแบบนิพจน์เดิมที่ทำการแยกตัวประกอบแล้วมาแทนนิพจน์ที่เป็นตัวเศษ: (3(3x2 + 9x - 1))/3
      • โปรดสังเกตว่า ตอนนี้ทั้งเศษและส่วนต่างมีตัวสัมประสิทธิ์ 3 ร่วมกัน เมื่อหารเศษและส่วนด้วย 3, เราจะได้: (3x2 + 9x - 1)/1
      • เนื่องจากเศษส่วนใดๆ ที่มี "1" ในตัวส่วนจะเท่ากับพจน์ที่เป็นตัวเศษ เราสามารถบอกได้ว่าเศษส่วนเดิมของเรานั้นสามารถทอนให้อยู่ในรูปอย่างง่ายได้เป็น 3x2 + 9x - 1
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ประยุกต์ใช้ทักษะการทอนเพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทอนเศษส่วนโดยการหารด้วยตัวประกอบร่วม.
    ดังที่ตั้งข้อสังเกตไว้ด้านบน ถ้าหากตัวเศษและตัวส่วนของนิพจน์มีตัวประกอบร่วมกัน ตัวประกอบเหล่านี้สามารถยกออกมาจากเศษส่วนได้ทั้งหมด บางครั้งอาจต้องทำการแยกตัวประกอบจำนวนเศษ, จำนวนส่วน หรือทั้งคู่ (ดังเช่นโจทย์ตัวอย่างด้านบน) ในขณะที่บางทีก็เห็นตัวประกอบร่วมได้ในทันที โปรดสังเกตว่ามีทางเป็นไปได้ที่จะหารพจน์ที่เป็นเศษด้วยนิพจน์ในตัวส่วนแบบแยกจากกันเพื่อให้ได้นิพจน์ในแบบทอนรูปลงมา
    • สมมติโจทย์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การแตกตัวประกอบออกมา สำหรับเศษส่วน (5x2 + 10x + 20)/10, เราอาจต้องการหารทุกพจน์ในตัวเศษด้วย 10 ในตัวส่วนเพื่อทอนมันลง ถึงแม้ว่าสัมประสิทธิ์ "5" ใน 5x2 จะมีค่าน้อยกว่า 10 และจึงไม่สามารถมี 10 เป็นตัวประกอบได้
      • ทำเช่นนั้นเราจะได้ ((5x2)/10) + x + 2 ถ้าต้องการเรายังอาจเขียนพจน์แรกใหม่เป็น (1/2)x2 เพื่อให้ได้ (1/2)x2 + x + 2
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ตัวประกอบยกกำลังสองในการทอนเครื่องหมายกรณฑ์....
    ใช้ตัวประกอบยกกำลังสองในการทอนเครื่องหมายกรณฑ์. นิพจน์ที่อยู่ใต้เครื่องหมายกรณฑ์หรือติดรากนั้นเรียกว่านิพจน์ติดกรณฑ์ พวกมันสามารถทอนลงได้โดยการหาตัวประกอบยกกำลังสอง (ตัวประกอบที่ตัวมันเองเป็นตัวยกกำลังสองของจำนวนเต็ม) และทำการยกกำลังสองมันแยกออกมาเพื่อจะกำจัดมันออกไปจากเครื่องหมายกรณฑ์
    • สมมติตัวอย่างง่ายๆ - √(90) หากเราคิดถึงเลข 90 ว่าเป็นผลลัพธ์ของตัวประกอบสองตัวคือ 9 กับ 10, เราสามารถถอดรากที่สองของ 9 เพื่อให้ได้จำนวนเต็ม 3 และเอามันออกมาจากเครื่องหมายกรณฑ์ หรือพูดอีกอย่างก็คือ:
      • √(90)
      • √(9 × 10)
      • (√(9) × √(10))
      • 3 × √(10)
      • 3√(10)
  3. How.com.vn ไท: Step 3 บวกเลขยกกำลังเวลาคูณพจน์ยกกำลังสองจำนวนและลบถ้าเป็นการหาร....
    บวกเลขยกกำลังเวลาคูณพจน์ยกกำลังสองจำนวนและลบถ้าเป็นการหาร. นิพจน์พีชคณิตบางตัวต้องมีการคูณหรือหารพจน์ที่มีเลขยกกำลัง แทนที่จะมาคิดพจน์ยกกำลังแต่ละตัวแล้วค่อยทำการคูณหรือหารนั้น แค่ บวก เลขยกกำลังเวลาต้องคูณ และ ลบ เมื่อหารเพื่อประหยัดเวลา แนวคิดนี้สามารถใช้ทอนนิพจน์ที่ติดตัวแปรทั้งหลาย
    • ตัวอย่าง สมมติว่ามีนิพจน์ 6x3 × 8x4 + (x17/x15) ในแต่ละโอกาสที่จำเป็นต้องคูณหรือหารด้วยเลขยกกำลัง เราจะลบหรือบวกเลขยกกำลังนั้นก่อนตามลำดับเพื่อหาพจน์ที่ทอนให้ง่ายแล้ว ดูด้านล่างนี้:
      • 6x3 × 8x4 + (x17/x15)
      • (6 × 8)x3 + 4 + (x17 - 15)
      • 48x7 + x2
    • สำหรับคำอธิบายว่าทำไมมันถึงใช้ได้ ดูด้านล่างนี้:
      • การคูณพจน์ยกกำลังนั้นก็เหมือนการคูณพจน์ที่ไม่ได้ยกกำลังต่อเนื่องกันเป็นแถวยาว ตัวอย่างเช่น เนื่องจาก x3 = x × x × x และ x 5 = x × x × x × x × x, x3 × x5 = (x × x × x) × (x × x × x × x × x), หรือ x8
      • เช่นเดียวกัน การหารพจน์ยกกำลังก็เหมือนการหารพจน์ที่ไม่ได้ยกกำลังต่อเนื่องกันเป็นแถวยาว x5/x3 = (x × x × x × x × x)/(x × x × x) เนื่องจากพจน์แต่ละพจน์ในตัวเศษสามารถตัดออกได้ก็จากการมีพจน์ที่เหมือนกันในตัวส่วน เราจึงเหลือ x สองตัวในตัวเศษและไม่เหลืออะไรในตัวส่วน ทำให้เราได้คำตอบของ x2
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำไว้เสมอว่าคุณจะต้องคิดถึงจำนวนเหล่านี้ว่ามีเครื่องหมายบวกหรือลบ หลายคนมักติดอยู่กับการคิดว่า "ฉันควรจะใส่เครื่องหมายอะไรตรงนี้"
  • ร้องขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น!
  • การทอนนิพจน์พีชคณิตไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พอเริ่มจับทิศทางได้แล้ว คุณจะได้ใช้มันไปตลอดชีวิต
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เผลอบวกตัวเลขและเลขยกกำลังเพิ่มเข้าไปหรือไปเพิ่มการคิดที่ไม่ควรมีอยู่ตรงนั้น
  • มองหาพจน์ที่เหมือนกันเสมอและอย่าถูกเลขยกกำลังมาหลอกเราได้


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: David Jia
ร่วมเขียน โดย:
ติวเตอร์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย David Jia. เดวิด เจียเป็นติวเตอร์และผู้ก่อตั้ง LA Math Tutoring สถาบันกวดวิชาเอกชนซึ่งตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เดวิดสอนนักเรียนทุกวัยและทุกระดับชั้นในหลายวิชา ให้คำปรึกษาเรื่องการเข้ามหาวิทยาลัย และเตรียมสอบ SAT, ACT, ISEE และอื่นๆ โดยมีประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 10 ปี ในการสอบ SAT เขาได้คะแนนคณิตศาสตร์ 800 คะแนนเต็มและภาษาอังกฤษ 690 คะแนน เขาจึงได้รับทุนดิกคินสันจากมหาวิทยาลัยไมอามี เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ นอกจากนี้เดวิดยังได้ทำงานเป็นผู้สอนผ่านทางวีดีโอออนไลน์ให้แก่บริษัทผลิตตำราเรียนอย่างเช่น Larson Texts, Big Ideas Learning และ Big Ideas Math อีกด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 12,460 ครั้ง
หมวดหมู่: คณิตศาสตร์
มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,460 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา