วิธีการ ตอบกลับเวลามีคนถามว่าสบายดีไหม

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เวลาคุยกับคนอื่น เขาก็มักจะถามเราว่า “สบายดีไหม” เพื่อเป็นการทักทายและชวนเราคุย การตอบคำถามเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณก็อาจจะไม่แน่ใจว่าควรจะตอบกลับไปอย่างไรจึงจะดีที่สุด ในสถานการณ์ที่เป็นทางการในที่ทำงานหรือกับคนรู้จัก คุณก็อาจจะตอบกลับไปสั้นๆ แบบสุภาพ แต่ถ้าเป็นในกรณีอื่นๆ ที่คุณคุยอยู่กับเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว คำตอบของคุณก็อาจจะยาวและชวนเขาคุยต่อ แค่คิดทบทวนสักหน่อย คุณก็จะสามารถตอบคำถามทั่วไปนี้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ตรงหน้ามากขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ตอบตามมาตรฐานสั้นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Step 1 ตอบกลับว่า “สบายดีครับ/ค่ะ” หรือ “ดีครับ/ค่ะ".
    คุณสามารถตอบแบบนี้ได้ถ้าคุณกำลังคุยกับใครในสถานการณ์ทางสังคมที่คุณไม่คุ้นเคย เช่น คุยกับคนรู้จักที่งานปาร์ตี้หรือคนที่คุณพบปะระหว่างท่องเที่ยว[1]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถตอบแบบนี้ได้ถ้าคุณคุยอยู่กับอีกฝ่ายในที่ทำงาน เช่น เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือหัวหน้า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตอบว่า “ก็ดีครับ/ค่ะ” หรือ...
    ตอบว่า “ก็ดีครับ/ค่ะ” หรือ “ก็เรื่อยๆ ครับ/ค่ะ” ถ้าคุณอยากดูเป็นคนมองโลกในแง่ดีและอัธยาศัยดี. หรือคุณจะตอบว่า “โอเคอยู่ครับ/ค่ะ” หรือ “ได้อยู่ครับ/ค่ะ” การตอบแบบนี้เป็นการแสดงท่าทีที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หัวหน้า หรือคนรู้จัก
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พูดว่า “ก็พอได้อยู่ครับ/ค่ะ” ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่แต่อยากให้ฟังดูสุภาพ....
    พูดว่า “ก็พอได้อยู่ครับ/ค่ะ” ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่แต่อยากให้ฟังดูสุภาพ. ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยสบายหรือป่วยนิดหน่อย คุณสามารถตอบแบบนี้เพื่อให้อีกฝ่ายรู้ได้เองแบบสุภาพ อีกฝ่ายก็อาจจะคุยต่อหรือไม่ก็ถามคำถามที่เจาะจงไปเลย[2]
    • คำตอบนี้เหมาะกับเวลาที่คุณไม่อยากโกหกเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะตอบตรงๆ หรือตอบแบบกันเองมากเกินไปนัก
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สบตาอีกฝ่ายเวลาที่คุณตอบ.
    ให้ความสนใจแก่เขาด้วยการสบตาเขาเวลาที่คุณตอบคำถาม แม้ว่าคุณจะพยายามตอบแบบสุภาพหรือตอบสั้นๆ ก็ตาม ปล่อยแขนตามสบายข้างๆ ลำตัวและโน้มตัวไปหาอีกฝ่ายเพื่อแสดงถึงภาษาท่าทางเชิงบวก วิธีนี้จะทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะคุยกับคุณมากขึ้น[3]
    • นอกจากนี้ถ้าคุณอยากดูเป็นคนอัธยาศัยดี ก็ให้ยิ้มหรือพยักหน้าไปด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ตอบคำถามที่ทำให้สามารถคุยต่อได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตอบคำถามอย่างละเอียดเมื่ออีกฝ่ายเป็นเพื่อนสนิท คนในครอบครัว หรือคนรัก....
    ตอบคำถามอย่างละเอียดเมื่ออีกฝ่ายเป็นเพื่อนสนิท คนในครอบครัว หรือคนรัก. เป็นไปได้ว่าบุคคลเหล่านี้จะเป็นคนที่สนิทกับคุณและคุณไว้ใจเขาเป็นการส่วนตัว บอกเล่าความรู้สึกที่สำคัญอย่างละเอียดให้เขาฟัง
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะตอบเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้างที่คุณสนิทด้วยออกไปตรงๆ ว่าจริงๆ แล้วคุณรู้สึกอย่างไร
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตอบไปว่าคุณรู้สึกอย่างไร.
    ตอบกลับไปว่า “จริงๆ แล้วฉันรู้สึกว่า…” หรือ “ก็ ฉันรู้สึกเหมือนว่า…” ถ้าคุณกำลังหดหู่หรือเผชิญหน้ากับช่วงเวลาที่ยากลำบาก คุณอาจจะพูดถึงปัญหาด้วยเพื่อให้คนที่คุณรักช่วยคุณได้[4]
    • เช่น คุณอาจจะตอบไปว่า “จริงๆ แล้วช่วงที่ผ่านมาก็รู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ฉันว่าฉันเครียดแล้วก็วิตกกังวล” ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดีหรือไม่เป็นตัวของตัวเองเท่าไหร่
    • คุณอาจจะตอบไปว่า “ฉันรู้สึกดีมากเลย สุดท้ายฉันก็ได้งานที่ฉันชอบและช่วงนี้ฉันก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น” ถ้าคุณรู้สึกดีและมีความสุข
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตอบคำถามอย่างละเอียดเวลาที่หมอถามว่า “เป็นยังไงบ้างครับ/ค่ะ”....
    ตอบคำถามอย่างละเอียดเวลาที่หมอถามว่า “เป็นยังไงบ้างครับ/ค่ะ”. บอกให้หมอรู้หากคุณรู้สึกไม่ค่อยสบายหรือมีปัญหาสุขภาพที่กวนใจคุณ เพราะมันจะช่วยให้หมอรักษาคุณได้อย่างตรงจุด[5]
    • นอกจากนี้คุณก็ควรตอบคำถามบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เช่น พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างตรงไปตรงมาด้วย เพราะถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดี พวกเขาก็จะต้องรู้เพราะว่าเขาจะได้ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พูดว่า “ไม่ค่อยดีเท่าไหร่” หรือ...
    พูดว่า “ไม่ค่อยดีเท่าไหร่” หรือ “ฉันว่าฉันไม่ค่อยสบายน่ะ” ถ้าคุณรู้สึกไม่สบาย. การตอบแบบนี้จะทำให้คุณได้ตอบตามความจริงและทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณรู้สึกไม่ค่อยดี จากนั้นเขาก็อาจจะถามคำถามคุณมากขึ้นและแสดงความเห็นอกเห็นใจที่คุณรู้สึกแบบนั้น[6]
    • ตอบแบบนี้ก็ต่อเมื่อคุณอยากจะพูดถึงอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของตัวเองเท่านั้น เพราะมันมักจะเป็นคำตอบที่ทำให้อีกฝ่ายต้องถามคำถามมากขึ้นและพยายามทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปิดท้ายคำตอบด้วยการพูดว่า “ขอบคุณนะที่ถามไถ่”....
    ปิดท้ายคำตอบด้วยการพูดว่า “ขอบคุณนะที่ถามไถ่”. ทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณซาบซึ้งที่เขาถามและเต็มใจที่จะฟังคุณตอบคำถามยาวๆ การพูดแบบนี้จะเป็นการปิดท้ายคำตอบในเชิงบวก แม้ว่าคำตอบของคุณจะเป็นเรื่องที่คุณรู้สึกไม่ดีหรือไม่ค่อยสบายก็ตาม
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะพูดว่า “ขอบคุณมากนะที่ถามไถ่ว่าฉันเป็นยังไงบ้าง” หรือ “ขอบคุณที่รับฟังนะ”
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ถามอีกฝ่ายกลับไปว่าเขาเป็นอย่างไรบ้าง.
    แสดงให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณอยากจะชวนคุยมากขึ้นด้วยการถามกลับไปว่า “คุณสบายดีไหม” หลังจากที่คุณตอบคำถามเขาไปแล้ว[7]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ฉันสบายดี ขอบคุณนะที่ถามไถ่ คุณสบายดีไหม” หรือ “ก็พอได้อยู่ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ แล้วคุณล่ะ”
    • สำหรับบางคน ถ้าคุณถามคำถามเดียวกันกลับไป เขาก็อาจจะพยักหน้าแล้วพูดว่า "ก็ดีค่ะ" หรือ "สบายดีค่ะ" แล้วก็จากไป ซึ่งก็ไม่ต้องเก็บมาคิดมาก เพราะบางครั้งการถามอีกฝ่ายว่าคุณเป็นอย่างไรบ้างก็อาจจะไม่ได้เป็นการชวนคุยต่อจริงๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

อ่านสถานการณ์ให้ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเขา.
    ถ้าคุณสนิทกับคนๆ นี้และเคยพูดคุยเรื่องประสบการณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวกับเขามากแล้ว คุณก็สามารถตอบคำถามเขากลับไปแบบละเอียดได้ แต่ถ้าคุณไม่ได้รู้จักเขาดี เช่น เป็นคนที่คุณทำงานด้วยหรือรู้จักผ่านเพื่อนหรือคนในครอบครัวอีกที คุณก็อาจจะตอบแค่สั้นๆ อย่างสุภาพ[8]
    • คุณอาจจะตอบคำถามแบบละเอียดได้ถ้าคุณอยากจะพัฒนาความสัมพันธ์กับคนๆ นั้นในระดับที่ลึกซึ้งและอยากจะสนิทกับเขามากขึ้น
    • ระวังระมัดการตอบแบบหมดเปลือกแค่เพราะว่าคุณรู้สึกกระอักกระอ่วนและไม่ได้อยากจะสนิทกับเขามากขึ้นจริงๆ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สังเกตว่าเขาถามว่า “คุณสบายดีไหม” ที่ไหนและเมื่อไหร่....
    สังเกตว่าเขาถามว่า “คุณสบายดีไหม” ที่ไหนและเมื่อไหร่. ถ้าคนที่ถามคุณเขายืนอยู่ตรงเครื่องชงกาแฟในที่ทำงาน เขาก็อาจจะคาดหวังคำตอบสั้นๆ ที่สุภาพและเหมาะกับสภาพแวดล้อมในออฟฟิศ แต่ถ้าเขาถามคุณตอนไปดื่มหรือตอนกินมื้อเย็นหลังเลิกงานหรือเลิกเรียน คุณก็อาจจะตอบคำตอบอย่างละเอียดและเป็นส่วนตัวมากขึ้น
    • ถ้าคุณอยู่กับคนอื่นๆ เป็นกลุ่ม คุณก็อาจจะเลือกตอบคำถามแบบสั้นๆ และสุภาพ เพราะการตอบคำถามยืดยาวหรือเป็นส่วนตัวต่อหน้าคนอื่นๆ อาจจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่
    • ในกรณีส่วนใหญ่ ถ้าคุณอยู่กับกลุ่มเพื่อนหรือคนในครอบครัว การตอบคำถามแบบละเอียดก็เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ถ้าคุณอยู่กับกลุ่มเพื่อนร่วมงาน คนรู้จัก หรือผู้ที่มีอำนาจ คำตอบสุภาพสั้นๆ ก็อาจจะเหมาะสมกว่า
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตภาษาท่าทางของอีกฝ่าย.
    สังเกตว่าอีกฝ่ายสบตากับคุณและยืนนิ่งๆ หันมาหาคุณหรือเปล่า เพราะมันมักเป็นสัญญาณที่บอกว่า อีกฝ่ายอยากจะสานสัมพันธ์กับคุณในระดับที่ลึกซึ้งขึ้นและอยากจะคุยกับคุณ[9]
    • ถ้าอีกฝ่ายไม่สบตาหรือสบตาแค่ครู่เดียวและกำลังจะเดินผ่านคุณไป เขาก็อาจจะไม่ได้อยากจะคุยกับคุณนาน ในกรณีแบบนี้ คุณก็อาจจะตอบกลับไปแค่สั้นๆ กระชับๆ เพื่อไม่ให้สถานการณ์กระอักกระอ่วน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Klare Heston, LCSW
ร่วมเขียน โดย:
นักสังคมสงเคราะห์ทางแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Klare Heston, LCSW. แคลร์ เฮสตันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ทางแพทย์อิสระที่มีใบอนุญาตในโอไฮโอ เธอได้รับปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียคอมมอนเวลธ์ในปี 1983 บทความนี้ถูกเข้าชม 25,449 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,449 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา