วิธีการ ดูแลตัวเองเมื่อเป็นตะคริว

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ตะคริว หรือ muscle cramp นั้นคือเวลาที่กล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายๆ ส่วนหดเกร็งขึ้นมากะทันหันแบบควบคุมไม่ได้ ถ้าหดเกร็งทันทีทันใดเรียกว่า muscle spasm หรืออาการกล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง แต่ถ้าหดเกร็งต่อไปก็จะกลายเป็น cramp หรือตะคริว เวลาเป็นตะคริวแล้วกล้ามเนื้อของคุณจะแข็งเป็นก้อนขึ้นมาให้เห็นและรู้สึกได้ชัดเจน จะแก้ตะคริวยังไงนั้นก็แล้วแต่ว่าคุณเป็นที่จุดไหน และเป็นนานเท่าไหร่นั่นเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ดูแลตัวเองเมื่อเป็นตะคริว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ.
    ส่วนที่เป็นตะคริวจะคลายลงได้ถ้าคุณยืดเหยียด หรือ stretch อย่างถูกวิธี ยืดเส้นยืดสายวอร์มกล้ามเนื้อเป็นประจำ จะทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers) ยืดยาวขึ้น ทีนี้พอออกกำลังกายก็ยืดหดได้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวเป็นตะคริวบ่อยๆ ทั้งนี้ก็อย่า stretch จนเจ็บแล้วกัน ถ้ารู้สึกเจ็บแปลบหรือเหมือนอะไรแทง ให้คลายลงอย่าเหยียดตึงมาก [1]
    • ถ้าคุณเป็นตะคริวที่น่อง ให้ยืนกางขา ยืดขาข้างที่เป็นไว้ข้างหน้ารวมถึงถ่ายน้ำหนักไปที่ขาข้างนี้โดยงอเข่าเล็กน้อย กดส้นเท้าทั้งสองข้างให้ราบไปกับพื้น ทำท่านี้ค้างไว้ 15 – 30 วินาที
    • อีกท่าที่ช่วยยืดเส้นที่น่องก็คือนั่งลงแล้วยืดสองขาไปข้างหน้า ทำเท้าสบายๆ แต่ให้หลังตรง สองมือวางบนพื้นข้างขาทั้งสองข้าง จากนั้นค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้า เข้าหาปลายเท้า พอก้มไปมากเท่าที่จะทำได้ ก็ให้ค้างไว้ 30 วินาที
    • ยืดเส้นต้นขาทีละข้าง เริ่มจากยืนขึ้น งอเข่าข้างหนึ่งให้ส้นเท้าแนบก้นโดยใช้มือยึดข้อเท้าหรือหลังเท้าไว้ พยายามกดเท้าไว้กับก้นให้ได้มากที่สุด ทำท่านี้ค้างไว้ 30 วินาทีเพื่อ stretch กล้ามเนื้อต้นขา ถ้ากลัวล้มหรือทรงตัวไม่ค่อยอยู่จะเอามืออีกข้างเกาะกำแพงหรือพนักเก้าอี้ไว้ด้วยก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ประคบเย็นหรือร้อน.
    ใช้ heating pad หรือผ้ามาประคบร้อน กับใช้น้ำแข็งหรือเจลแพ็คมาประคบเย็น ช่วยบรรเทาอาการปวดจากตะคริวได้ จะประคบเย็นหรือร้อนขอให้ทำครั้งละ 20 นาที ห้ามเอาเจลแพ็คหรือน้ำแข็งมาประคบที่ผิวโดยตรงเด็ดขาด ให้เอาผ้าหรืออะไรมาห่อไว้ก่อน ถ้าคุณใช้แผ่นหรือผ้าห่มไฟฟ้าประคบร้อนตอนนอน ห้ามผล็อยหลับเด็ดขาดเพราะอาจไฟไหม้ได้ [2]
    • ถ้าคุณแก้ตะคริวด้วยการอาบน้ำอุ่น ขอให้เอาส่วนที่เป็นรองน้ำจากฝักบัวไว้ ถ้ามีระบบน้ำแรงดันสูง ก็ยิ่งดีเพราะเหมือนได้นวดไปในตัว
    • ถ้าบาดเจ็บ ประคบเย็นจะดีที่สุด หากคุณเจ็บปวดรุนแรงและร้อนที่ผิวบริเวณนั้น ให้ใช้น้ำแข็งประคบจะดีที่สุด แต่ถ้าปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเพราะความตึงเครียดหรือมีอาการเรื้อรัง ให้ประคบร้อนจะดีกว่า [3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นวดแก้ตะคริว.
    ถ้าคุณเป็นตะคริวในจุดที่เอื้อมถึง เช่น ที่ขา ให้ลองนวดคลายกล้ามเนื้อดู จับขาให้ถนัดทั้งสองมือ แล้วบีบนวดลึกๆ อย่างมั่นคงเพื่อคลายกล้ามเนื้อ [4]
    • หรือจะหาคนมาช่วยนวดก็ได้ถ้าเป็นตะคริวในส่วนที่เอื้อมไม่ถึง ใครก็ได้ที่สะดวก ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอนวดมืออาชีพแต่อย่างใด แค่บีบนวดให้ลึกๆ บ่อยๆ ก็ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้แล้ว
    • อย่านวดแรงจนเจ็บ ประเมินอาการตัวเองก่อน เพราะถ้าเป็นตะคริวหนักจนกล้ามเนื้อแข็งไปหมด การนวดบางวิธีอาจทำให้คุณบาดเจ็บได้ ถ้าเจ็บเมื่อไหร่ให้หยุด (หรือบอกคนที่ช่วยนวด) ห้ามฝืนต่อไปเด็ดขาด
    • หมอนวดส่วนใหญ่จะนวดแก้ตะคริวแบบ deep tissue relaxation หรือนวดเนื้อเยื่อส่วนลึก รวมถึง therapeutic treatment คือการนวดแบบบำบัดรักษา ถ้าคุณเป็นตะคริวหรือกล้ามเนื้อหดเกร็งแบบเรื้อรัง รักษาเองก็ไม่หาย ควรพิจารณาไปนวดกับผู้เชี่ยวชาญทุกอาทิตย์หรือทุกเดือน
    • หรือจะนวดด้วย foam roller ก็ได้ โดยให้วาง foam roller รองไว้ใต้บริเวณที่เป็นตะคริว แล้วออกแรง (ไม่ต้องมาก) คลึงส่วนนั้นไปมากับ foam roller ประมาณ 5 - 10 นาที ถ้าไม่มี จะใช้ลูกเทนนิสแทนก็ได้ผลเหมือนกัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้ยาแก้ปวด.
    กินยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ibuprofen (Advil, Motrin IB และอื่นๆ) หรือ naproxen sodium (Aleve) จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเพราะตะคริวได้อย่างเห็นผล ถึงจะไม่ใช่ยารักษาตะคริวโดยตรงก็ตาม [5]
    • แต่ปรึกษาคุณหมอก่อนก็ดี เผื่อคุณมีโรคประจำตัวแล้วกระทบกับการใช้ยาแก้ปวด หรือในกรณีที่คุณดื่มแอลกอฮอล์เกิน 3 แก้วต่อวัน
    • ยาคลายกล้ามเนื้ออย่าง cyclobenzaprine (Flexeril), orphenadrine (Norflex) และ baclofen (Lioresal) ก็ช่วยคลายอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจากตะคริวได้ดี แต่ก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเช่นกัน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 แก้ตะคริวง่ายๆ ด้วยตัวเอง.
    ถ้าวิธีที่ว่ามาทั้งหมดไม่เห็นผล ก็ลองวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้านดู อาจจะเผื่อใจไว้บ้างว่าบางทีก็ไม่ได้ผลเสมอไป ยังไงก็ลองดูก่อนแล้วกัน
    • ผสมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt) ครึ่งถ้วยลงในน้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำ พอละลายเข้ากันดีก็ลงไปแช่ตัวประมาณ 20 นาที [6]
    • ผสมน้ำมันระกำ (wintergreen oil) 1 ส่วน กับน้ำมันพืช 4 ส่วน จากนั้นเอาไปนวดส่วนที่เป็นตะคริวก่อนเข้านอน [7]
    • มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าวิตามินอีช่วยลดการเป็นตะคริวตอนนอนได้ แต่ปรึกษาคุณหมอก่อนก็ดี ไม่ว่าจะเริ่มกินอาหารเสริมหรือวิตามินตัวไหน [8]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

แก้ที่ต้นเหตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดื่มน้ำให้มากขึ้น.
    หนึ่งในสาเหตุยอดนิยม (ที่โชคดีว่าแก้ได้ง่ายๆ) ของตะคริว ก็คือการขาดน้ำนี่แหละ ให้คุณพยายามดื่มน้ำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลังกาย รวมถึงถ้าระหว่างวันคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอ ก็ทำเอาเป็นตะคริวได้เหมือนกัน [9]
    • พยายามดื่มน้ำให้ได้ 16 – 24 ออนซ์ (3 แก้ว) ก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จะได้มั่นใจว่าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
    • ระหว่างออกกำลังกายก็ให้วางน้ำไว้ใกล้มือเสมอ
    • พอออกกำลังกายเสร็จก็ต้องดื่มน้ำเยอะๆ หรือจะดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ (sports drink) เพื่อเติมอิเล็กโทรไลต์ให้ร่างกายด้วยก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน.
    บางทีคุณก็เป็นตะคริวเพราะอิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุล เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม ถ้าคุณเป็นตะคริวหรือเป็นบ่อยๆ ลองเปลี่ยนแปลงอาหารการกินดู
    • แต่ก็ใช่ว่าการกินอาหารเสริมจะเป็นเรื่องดีเสมอไป ลองปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีกว่า เพราะบางชนิดถ้ากินมากไปก็อันตรายเหมือนกัน [10]
    • วิธีที่สร้างสมดุลให้อิเล็กโทรไลต์ได้ดีที่สุด ก็คือกินอาหารให้ครบหมู่ พยายามกินผักผลไม้หลากสีหลายชนิด โดยเฉพาะพวกผักใบเขียวอย่าง ผักกาดหอมและปวยเล้ง (spinach) กล้วยก็กินแล้วดี เพราะโพแทสเซียมสูงน่าดู [11]
    • นอกจากนี้คือให้กินอาหารก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สำรวจยาที่กินอยู่.
    ยาที่คุณหมอจ่ายให้บางตัวก็มีผลข้างเคียงทำให้คุณเป็นตะคริวได้เหมือนกัน ถ้าหลังจากกินยาตัวใหม่ได้ไม่นานคุณก็เป็นตะคริวบ่อยๆ แสดงว่ายาตัวนั้นอาจเป็นตัวการ ลองอ่านฉลากหาคำเตือนเรื่องผลข้างเคียงดู และถ้ายังเป็นตะคริวอยู่เรื่อยๆ ให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อลดปริมาณหรือเปลี่ยนตัวยาจะดีกว่า [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทำยังไงไม่ให้เป็นตะคริว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วอร์มอัพและยืดเส้นยืดสายก่อนออกกำลังกาย รวมถึง cool...
    วอร์มอัพและยืดเส้นยืดสายก่อนออกกำลังกาย รวมถึง cool down เมื่อออกกำลังกายเสร็จ. เวลาจะออกกำลังกายให้วอร์มร่างกายและ stretch ยืดเส้นก่อน ปิดท้ายด้วย cool down หลังเสร็จสิ้น แค่นี้ก็ไม่เสี่ยงเป็นตะคริวแล้ว ให้เริ่มจากออกกำลังกายเบาๆ สัก 10 นาทีพร้อม stretch ก่อนออกกำลังกายจริงทุกครั้ง ที่ต้อง stretch หลังวอร์มอัพ ก็เพื่ออบอุ่นกล้ามเนื้อไม่ให้ตึงเกร็ง หลังออกกำลังกายเสร็จให้ stretch อีกรอบประมาณ 5 - 10 นาที รวมถึง cool down [13]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถ้าคุณท้องอยู่ควรเสริมแมกนีเซียมและแคลเซียม....
    ถ้าคุณท้องอยู่ควรเสริมแมกนีเซียมและแคลเซียม. หลายคนท้องแล้วมักเป็นตะคริวบ่อยๆ ให้ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องกินอาหารเสริมเพิ่มแมกนีเซียมหรือแคลเซียมดูน่าจะช่วยได้บ้าง [14]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใส่รองเท้าให้เหมาะสม.
    พวกส้นสูงกับรองเท้าสวยๆ แต่ใส่ไม่ค่อยสบายทั้งหลายนั่นแหละอีกตัวการก่อตะคริว แต่ไม่ว่าแบบไหนก็ขอให้คุณเลือกรองเท้าที่พอเหมาะพอเจาะกับเท้าของตัวเอง ถ้าไม่แน่ใจเรื่องขนาดเท้า ก็ให้พนักงานช่วยวัดให้ก่อนก็ได้ [15]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ถ้าเป็นตะคริวแล้วยิ่งเดินยิ่งแย่ ให้รีบไปหาหมอ....
    ถ้าเป็นตะคริวแล้วยิ่งเดินยิ่งแย่ ให้รีบไปหาหมอ. ถ้าคุณเป็นตะคริวแล้วพอยิ่งเดินอาการก็ยิ่งหนัก แสดงว่าคุณมีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือดแล้วล่ะ ตะคริวที่เป็นนานไม่หายสักทีนี่แหละสัญญาณบอกว่าเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ยิ่งถ้าลงลึกไปอีกอาจชี้ว่าคุณมีโรคหรืออาการเจ็บป่วยอื่นๆ ไม่รู้ตัว ทางที่ดีรีบนัดคุณหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกายจะดีกว่า
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณเป็นตะคริวบ่อยๆ ไม่หายซะที หรือเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ให้รีบไปหาหมอ เพราะตะคริวอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคและอาการผิดปกติอื่นๆ ก็ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Eric Christensen, DPT
ร่วมเขียน โดย:
นักกายภาพบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Eric Christensen, DPT. เอริก คริสเตนเซนเป็นนักกายภาพบำบัดซึ่งอยู่ที่แชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา เอริกทำงานทั้งในด้านออร์โทพีดิกส์และประสาทวิทยา เชี่ยวชาญในการกำหนดกายอุปกรณ์เสริมเท้าให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนและการหล่อแบบเพื่อสร้างกายอุปกรณ์เสริมเท้า การฟื้นฟูระบบการทรงตัว และการบำบัดด้วยมือ เขาจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายโดยมุ่งเน้นด้านเวชศาสตร์การกีฬาจากมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดและปริญญาเอกด้านกายภาพบำบัด ในการทำงานเอริกจะเข้าสู่การฟื้นสมรรถภาพร่างกายของคนไข้ให้ดีขึ้นโดยใช้การประเมินสมรรถภาพการเคลื่อนไหวเพื่อหาว่าบริเวณใดของร่างกายทำงานผิดปกติ เขาใช้วิธีเลียนแบบการเคลื่อนไหวตามปกติและการบำบัดด้วยมือเพื่อให้ร่างกายคนไข้กลับมาทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม บทความนี้ถูกเข้าชม 2,592 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,592 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา