วิธีการ จดบันทึกคำบรรยาย

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การจดบันทึกที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่การจดบันทึกทุกตัวอักษร แต่เป็นการพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาที่ผู้บรรยายอธิบายอย่างรวดเร็ว จดบันทึกเฉพาะเนื้อหาสำคัญให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของเรา เมื่อพร้อมที่จะจดคำบรรยายแล้ว ก็ตั้งใจฟังและตั้งใจจดบันทึกไว้ให้ดี ถ้าเราทำตามขั้นตอนการจดบันทึกคำบรรยายของบทความนี้รวมทั้งมีการปรับแก้และเรียบเรียงสิ่งที่เขียนใหม่ เราก็จะสามารถนำเนื้อหาที่จดไว้มาใช้งานในภายหลังได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เตรียมตัวเข้าฟังบรรยาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อ่านเนื้อหามาล่วงหน้า.
    อาจารย์อาจมอบหมายให้เราอ่านเนื้อหามาล่วงหน้าเพื่อเราจะได้มีความคุ้นเคยกับหัวข้อนั้นก่อนที่จะมาฟังบรรยายในห้องเรียน ถ้าเราอ่านเนื้อหามาล่วงหน้า เราก็จะรู้รายละเอียดของเนื้อหาที่จะเรียน และสามารถเน้นจดแต่เนื้อหาที่สำคัญได้ .
    • อ่านเนื้อหาที่จดไว้ในชั่วโมงก่อนด้วย เราจะได้รู้ว่าตนเองจดถึงไหนแล้วและจะได้เริ่มจดต่อจากที่ค้างไว้[1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดูเอกสารประกอบการเรียนและสรุปเนื้อหาทางอินเตอร์เน็ต....
    ดูเอกสารประกอบการเรียนและสรุปเนื้อหาทางอินเตอร์เน็ต. ถ้าอาจารย์มีเอกสารประกอบการเรียน สไลด์พาวเวอร์พอยท์ หรือสรุปเนื้อหาของบทเรียนล่วงหน้า ให้เข้ามาดูก่อน เอกสารและสรุปเนื้อหาเหล่านี้จะเปรียบเสมือนโครงร่างที่สามารถนำมาเขียนต่อเติมให้สมบูรณ์ได้ในภายหลัง
    • เราอาจจะอยากพิมพ์สรุปเนื้อหา สไลด์ หรือรูปภาพใส่กระดาษเพื่อจะได้ไม่ต้องจดเนื้อหาในชั่วโมงเรียน หรือแค่เติมเนื้อหาลงไปตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อย แต่ขอแนะนำให้ใช้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเค้าโครงในการจดเนื้อหาจะดีกว่า เพราะจะช่วยให้เรามีโอกาสประมวลผลข้อมูลและนี้คือหัวใจสำคัญของการจดเนื้อหา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้ข้อดีข้อเสียของการจดเนื้อหาด้วยคอมพิวเตอร์....
    รู้ข้อดีข้อเสียของการจดเนื้อหาด้วยคอมพิวเตอร์. นักศึกษาหลายคนชอบพิมพ์เนื้อหาใส่คอมพิวเตอร์มากกว่าเขียน แต่ก็ยังคงมีเหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นว่าการจดเนื้อหาด้วยมือตนเองนั้นให้ผลดีกว่า มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักศึกษาที่จดบันทึกเนื้อหาด้วยมือตนเองสามารถเข้าใจและจำเนื้อหาได้ดีกว่าคนที่พิมพ์เนื้อหาใส่คอมฯ แถมการพิมพ์เนื้อหาลงคอมฯ ยังทำให้ผลอพิมพ์ทุกตัวอักษร กลายเป็นว่าเราพิมพ์ทุกอย่างที่อาจารย์สอนแทนที่จะแยกแยะว่าเนื้อหาตรงไหนสำคัญแล้วค่อยจดลงไป การเขียนจะทำให้เราจดจ่อกับการเรียนมากกว่าด้วย[2]
    • แต่ข้อดีของการพิมพ์เนื้อหาลงคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คือสามารถจัดหน้า บันทึก ปรับแก้ แบ่งปัน และอ่านเนื้อหาได้ง่าย (โดยไม่ต้องยุ่งยากกับการถอดลายมืออันแสนยุ่งเหยิง)
    • แล็ปท็อปมีตัวช่วยในการจดบันทึกให้ใช้งานมากมายอย่างเช่น การจัดรูปแบบ “notebook layout” ในไมโครซอฟท์เวิร์ด ซอฟต์แวร์ที่เชื่อมโยงการบันทึกเสียงคำบรรยายกับเนื้อหาซึ่งจดเอาไว้ โปรแกรมจัดระเบียบบันทึกที่ช่วยรวบรวมเนื้อหาหลายรูปแบบอย่างเช่น อีเมล PDF ไว้ด้วยกัน แพลตฟอร์มการจดบันทึกร่วมกันที่ให้เรากับผู้อื่นช่วยกันจดบันทึกเนื้อหาในเวลาเดียวกัน ตัวช่วยเหล่านี้อาจช่วยเราได้มากจริงๆ หรือเป็นอุปสรรคขัดขวางการจดบันทึกของเราก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราแล้ว
    • อาจารย์บางท่านและสถาบันบางแห่งอนุญาตให้ใช้แล็ปท็อปในห้องเรียนได้ แต่ก็อย่าลืมลองจดเนื้อหาด้วยมือของตนเองดูบ้าง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นั่งใกล้หน้าห้อง.
    เลือกนั่งในจุดที่ไม่มีอะไรสามารถมารบกวนเราได้ เราจะได้ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่และจดบันทึกเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราควรนั่งในจุดที่สามารถได้ยินและเห็นอาจารย์ได้ชัดเจน มองเห็นกระดานได้ชัดเจน มาเข้าห้องเรียนก่อนเวลาสักหน่อย เราจะได้สามารถเลือกที่นั่งได้
    • ถ้าจุดที่เรานั่งมีเพื่อนคุยกันเสียงดัง เป็นจุดที่แอร์เย็นมาก หรือมองเห็นภาพที่จอโปรเจคเตอร์ไม่ชัด ย้ายที่นั่ง ถ้าสามารถทำได้โดยไม่รบกวนผู้อื่นมากนัก หรือไม่อย่างนั้นทนนั่งที่เดิมไปก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนที่นั่งในคราวหน้า
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เตรียมอุปกรณ์การเขียนให้พร้อม.
    ถ้าต้องการจดบันทึกคำบรรยายด้วยมือตนเอง เราก็ต้องเตรียมกระดาษและปากกาให้พร้อม แต่ถ้าต้องการพิมพ์เนื้อหาใส่คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ ก็ต้องชาร์จแบตเตอร์รี่ไว้ให้เต็มและเปิดเครื่องเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
    • บางคนอาจเลือกจดใส่กระดาษ เพราะสามารถวางปึกกระดาษเปล่าไว้บนโต๊ะหรือบนพื้นเวลาเรียนได้ บางคนเลือกจดใส่สมุดเพราะว่าดูเรียบร้อยกว่า
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เขียนวันเดือนปีและหัวข้อไว้ที่หัวกระดาษด้วย....
    เขียนวันเดือนปีและหัวข้อไว้ที่หัวกระดาษด้วย. เราต้องเขียนชื่อหัวข้อให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการอ้างอิงภายหลัง เขียนวันเดือนปีที่เข้าฟังบรรยายและชื่อหัวข้อไว้ที่หัวกระดาษ[3]
    • ถ้าหัวข้อเดียวกันมีเนื้อหาหลายหน้า ใส่เลขหน้าไว้ด้วย เราจะได้เรียงลำดับถูกว่าเนื้อหาไหนมาก่อนมาหลัง
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เลือกรูปแบบเค้าโครงในการจดบันทึก.
    ยิ่งจดเนื้อหาเป็นระเบียบมากเท่าไหร่ตั้งแต่ต้น ก็จะยิ่งเข้าใจเนื้อหา นำมาปรับแก้ และทบทวนได้ง่ายขึ้น รูปแบบเค้าโครงในการจดบันทึกที่ขอนำเสนอคือรูปแบบโครงร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคำบรรยายนั้นมีโครงสร้างที่ชัดเจนหรือนำเสนออย่างมีแบบแผน รูปแบบโครงร่างจะประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ ใต้หัวข้อใหญ่แต่ละหัวข้อจะมีหัวข้อย่อย และใต้หัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อก็จะมีหัวข้อแยกย่อยออกไปอีก เลือกเขียนเป็นเค้าโครงแบบนี้ดีกว่าเขียนทุกอย่างเป็นหัวข้อใหม่
    • บางครั้งผู้บรรยายก็ไม่ได้พูดเรียงตามลำดับหัวข้อ ฉะนั้นอย่าลืมกลับมาเรียบเรียงเนื้อหาใหม่หลังจากหมดชั่วโมงบรรยายแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ตั้งใจฟังและตั้งใจจดบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อย่าจดคำบรรยายทุกตัวอักษร.
    ในการจดบันทึกเราต้องเป็น “ผู้ฟังที่ดี” หมายความว่าเราไม่ใช่แค่จดสิ่งที่ผู้บรรยายกล่าวเท่านั้น แต่ควรพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาและคิดสิว่าอะไรคือองค์ประกอบสำคัญของเรื่องที่กล่าวมานั้น
    • ตัวอย่างเช่น แทนที่จะจดบันทึกการดำเนินนโยบายต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีอย่างละเอียด พยายามหาแนวคิดหลักของนโยบายการต่างประเทศทั้งหมดของนายกรัฐมนตรีและหาตัวอย่างมาสนับสนุนแนวคิดหลักนั้น แค่นี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเรานั้นเริ่มเรียนรู้และทำความเข้าใจแล้ว (พูดอีกอย่างหนึ่งคือศึกษา)
    • นี้เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้เชี่ยวชาญหลายท่านถึงไม่แนะนำให้จดทุกตัวอักษร เพราะการเลือกจดแต่ประเด็นสำคัญทำให้เราเกิดการเรียนรู้และความเข้าใจ[4][5]
    • ถ้าต้องการบันทึกเสียง แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำได้ไหม ขออนุญาตอาจารย์ผู้สอนก่อนว่าท่านอนุญาตให้บันทึกเสียงไหม เพราะถ้อยคำบรรยายเนื้อหาถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของครูผู้สอนและบางสถาบันก็มีระเบียบการบันทึกเสียงคำบรรยายด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ฟังการเกริ่นเข้าสู่เนื้อหาอย่างตั้งใจ.
    อย่าเพิ่งจดตั้งแต่ต้นชั่วโมง แต่เตรียมตัวให้พร้อมที่จะจดเนื้อหาสำคัญ
    • ผู้บรรยายมักจะเริ่มด้วยการบอกว่าจะพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง หรืออย่างน้อยก็ “เกริ่นนำ” เป็นนัยว่าจะพูดเรื่องอะไรต่อไป ตั้งใจฟังคำเกริ่นนำเข้าสู่เนื้อหาเพื่อจะได้คำบอกใบ้ที่สามารถช่วยเราจัดระเบียบและเข้าใจว่าอะไรเป็นข้อมูลที่สำคัญ
    • อย่าไปสนใจเพื่อนที่มาเข้าห้องสายหรือคนที่ยังไม่พร้อมจดบันทึกเนื้อหา
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คัดลอกเนื้อหาที่อยู่บนกระดานลงไป.
    ผู้บรรยายมักจะเรียงลำดับเนื้อหาตามเค้าโครงการสอน ถึงแม้จะไม่ได้เคร่งครัดมากนักก็ตาม ข้อมูลซึ่งได้แก่สไลด์ที่ใช้ในการบรรยายจะช่วยให้เราเห็นว่าควรเรียงลำดับเนื้อหาที่จดไว้อย่างไร
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สังเกตกิริยาท่าทางของผู้บรรยาย.
    ผู้บรรยายมักจะใช้น้ำเสียง ทำไม้ทำมือ และแสดงสัญญาณอื่นๆ เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่าเนื้อหาส่วนนั้นเป็นส่วนสำคัญ ฉะนั้นเราจึงควรสังเกตกิริยาท่าทางของผู้บรรยายไว้เพื่อจะได้แยกออกว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลที่สำคัญ[6]
    • แยกใจความหลักด้วยการหาคำบอกใบ้และวลีที่บ่งชี้ว่าเนื้อหาที่สำคัญกำลังจะตามมา ผู้บรรยายคงจะไม่เข้าเรื่องไปเลยเมื่อกล่าวถึงประเด็นใหม่ที่สำคัญหรือให้ตัวอย่าง แต่ผู้บรรยายจะให้สัญญาณเพื่อบอกว่ากำลังจะพูดเรื่องอะไรต่อไป ผู้พูดที่ดีมักจะทำแบบนี้และเราก็ควรสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น
      • มีเหตุผลสามประการว่าทำไม...
      • ประการแรก...ประการที่สอง...ประการที่สาม
      • สิ่งสำคัญคือ...
      • ผลกระทบคือ...
      • จากตรงนี้เราจะเห็นว่า...
    • ดูกิริยาท่าทางประกอบด้วย เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นสำคัญ ผู้บรรยายอาจพูดช้าลงหรือดังขึ้น พูดคำหรือวลีซ้ำไปมา หยุดชะงักนานก่อนที่จะกลับมาพูดใหม่ (อาจดื่มน้ำก่อนพูดต่อ) ขยับมือขยับไม้มากขึ้นเพื่อจะได้อธิบายได้อย่างชัดเจน หยุดเดินไปรอบๆ หรือจ้องผู้ฟังเขม็ง เป็นต้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สร้างชวเลขในแบบของตนเอง.
    การเขียนชวเลขคือการเขียนข้อความอย่างย่อเพื่อให้เราไม่ต้องเขียนคำทุกคำ จึงทำให้เราเขียนได้เร็วมากขึ้น การเขียนชวเลขเป็นทักษะที่จำเป็นเมื่อต้องเข้าฟังบรรยายในห้องเรียน แต่เมื่อจะใช้วิธีนี้ในการจดเนื้อหา เราไม่จำเป็นต้องใช้ชวเลขอย่างที่ใช้กันจริงๆ ก็ได้ เพราะเมื่อถอดความออกมา จะได้ข้อความที่ยาวมาก ให้ออกแบบชวเลข อักษรย่อ สัญลักษณ์ ภาพร่างในแบบของตนขึ้นมา ถึงแม้จะไม่มีใครรู้ว่าชวเลขของเราหมายถึงอะไร แต่ให้เราเข้าใจความหมายของชวเลขตนเองก็พอ[7]
    • ใช้อักษรย่อและตัดคำที่ไม่สำคัญออกไปเพื่อจะได้จดเนื้อหาได้เร็วขึ้น จดเฉพาะคำสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจแนวคิดสำคัญนั้น ตัดคำที่ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษต่อเนื้อหาที่จดทิ้ง คิดอักษรย่อขึ้นมาเพื่อช่วยให้ตนเองจดได้เร็วขึ้น อย่างเช่น ใช้ลูกศรแทนการเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือแสดงสาเหตุ หรือหาคำย่อให้กับคำสำคัญที่กล่าวถึงซ้ำบ่อยๆ (เช่น ส.ป.ก สารประกอบ)
    • เวลาจดให้ถอดความเป็นภาษาของตนเอง ยกเว้นผู้บรรยายบอกสูตรหรือนิยามเฉพาะหรือข้อเท็จจริงซึ่งน่าจะออกข้อสอบ
    • ขีดเส้นใต้ วงกลม ใส่ดอกจัน ใส่แถบสี เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวอย่าง นิยาม หรือเนื้อหาส่วนนั้นมีความสำคัญ คิดรหัสขึ้นมาเองเพื่อแยกเนื้อหาแต่ละประเภทออกจากกัน
    • นำเนื้อหาที่เรายังไม่สามารถอธิบายหรือเข้าใจได้เลยมาวาดแผนภาพหรือรูปภาพ ตัวอย่างเช่น วาดแผนภูมิวงกลมเพื่อจะได้เห็นความแข็งแกร่งของแต่ละพรรคในการเลือกตั้งอย่างชัดเจน วาดภาพหรือแผนภาพแทนการเขียนออกมาเป็นตัวอักษร
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เขียนให้อ่านออกง่าย.
    เขียนให้ชัดเจนและเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อตนเองจะได้สามารถนำมาอ่านได้ง่ายในภายหลัง การอ่านลายมือของตนเองไม่ออกโดยเฉพาะตอนที่การสอบครั้งสำคัญกำลังจะมาถึงนั้นเป็นอะไรที่น่าท้อแท้และหงุดหงิด
  7. How.com.vn ไท: Step 7 มีพื้นที่ว่างให้ปรับแก้ในภายหลัง.
    อย่าพยายามเขียนติดกันเป็นพืดจนไม่เหลือพื้นที่ว่างไว้เลย [8] ควรเหลือพื้นที่ว่างไว้ให้มาก เราจะใช้พื้นที่ว่างนี้ปรับแก้และใส่คำอธิบายประกอบในภายหลัง การจดบันทึกแบบนี้จะทำให้เราอ่านและเข้าใจข้อมูลได้ง่ายเมื่อต้องทบทวนเนื้อหา
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ตั้งใจฟังเนื้อหาช่วงท้ายของการบรรยายด้วย.
    เมื่อใกล้หมดชั่วโมงเรียน เราก็ยิ่งสมาธิหลุดได้ไง นักศึกษาคนอื่นอาจเริ่มเก็บข้าวของและพูดคุยกับเพื่อนว่าจะไปกินข้าวกันที่ไหนดี แต่ขอให้พยายามตั้งใจฟังเนื้อหาช่วงท้ายก่อน เพราะบทสรุปของการบรรยายนั้นสำคัญมากพอๆ กับช่วงเกริ่นนำ ทั้งสองอย่างนี้จะทำให้เราเห็นภาพรวม สาระสำคัญ และแนวคิดหลัก
    • ถ้ามีการสรุปช่วงท้ายของการบรรยาย ตั้งใจฟัง เราสามารถใช้บทสรุปนี้ตรวจสอบความเป็นระเบียบของเนื้อหาที่จดได้ ถ้าเห็นว่าเนื้อหาที่จดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย คัดลอกประเด็นหลักในบทสรุปนั้นลงไป จะได้นำมาใช้เป็นหลักในการปรับแก้เนื้อหาในภายหลัง[9]
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ถามคำถาม.
    ในชั่วโมงเรียนและตอนจบชั่วโมงเรียนถ้ามีเรื่องไหนที่ไม่เข้าใจ ให้ถามอาจารย์ ถึงแม้คนถามจะเป็นนักศึกษาคนอื่นก็ตาม แต่ถ้าเขาสงสัยเรื่องเดียวกันกับเรา อย่าลืมจดคำถามของเขาและคำตอบของอาจารย์ด้วย[10] ข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมมานี้อาจเป็นคำตอบของคำถามเราด้วยเช่นกัน
    • ถ้าเรามีคำถามมากมายที่จะถามอาจารย์และเกรงว่าจะทำให้เวลาเลิกชั้นล่าช้าออกไป (รวมทั้งอาจรบกวนเพื่อนคนอื่นที่อยากจะรีบออกไปทำธุระ) ให้ถามอาจารย์หลังเลิกเรียน อาจมีเพื่อนคนอื่นทำเช่นเดียวกับเราก็ได้ เราก็จะได้รับความรู้เพิ่มจากการฟังเพื่อนและอาจารย์สนทนากันด้วย
    • เราอาจเตรียมคำถามมาถามอาจารย์ที่ห้องพักอาจารย์ภายหลังก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ทบทวนเนื้อหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทบทวนเนื้อหาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้.
    ให้ทบทวนเนื้อหาภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากจบการบรรยายแล้ว เพราะภายในระยะเวลานี้เราอาจลืมเนื้อหาที่เรียนไป 80% แล้ว[11]ทบทวนสิ่งที่เรียนไปแทนการเรียนเนื้อหาใหม่ทั้งหมด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรับแก้สิ่งที่จดไว้ให้อ่านง่ายขึ้น.
    ให้ถือว่าบันทึกคำบรรยายฉบับแรกเป็นแค่ฉบับร่าง และให้ฉบับนี้เป็นฉบับที่ได้รับการแก้ไขแล้ว เราจะนำบันทึกฉบับแรกมาปรับแก้เป็นฉบับใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าฉบับแรกนั้นดูยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ หรืออ่านยาก เราจะไม่เอาฉบับแรกมาเขียนใหม่เท่านั้น แต่เราจะปรับแก้ให้ถูกต้องและอ่านง่านขึ้นด้วย[12]
    • ใช้คำบอกใบ้ที่ได้จากการฟังบรรยายรวมทั้งโครงสร้างและแนวคิดหลักมาจัดระเบียบสิ่งที่เขียนใหม่
    • เติมเนื้อหาที่ไม่ชัดเจนหรือขาดหายไปด้วยเนื้อหาจากในตำราเรียน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ปากกาเน้นเนื้อหาส่วนที่สำคัญไว้.
    ตอนที่กำลังปรับแก้เนื้อหา ควรใช้โอกาสนี้นำปากกามาเน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้เนื้อหาที่สำคัญ ใช้ปากกาเน้นข้อความสีต่างๆ หรือใช้ปากกาสีกับแนวคิดที่มักถูกกล่าวถึงซ้ำๆ การใช้ปากกาเน้นข้อความที่สำคัญเอาไว้จะมีประโยชน์มากเมื่อเราต้องทบทวนบทเรียนตอนสอบ เราจะสามารถจำข้อมูลสำคัญได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ตามให้ทันเพื่อนหากขาดเรียน.
    ถ้าหากต้องขาดเรียนเพราะไม่สบายหรือติดธุระสำคัญ ก็ควรติดตามเนื้อหาที่ขาดไปจากเพื่อนร่วมห้อง พูดคุยกับอาจารย์เพื่อจะได้เข้าใจเนื้อหาในวันนั้นมากขึ้น
    • อย่าไปใช้บริการซื้อขายเลคเชอร์ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีนโยบายต่อต้านบริการประเภทนี้[13] เพราะการซื้อขายเลคเชอร์ไม่ใช่ “การเรียนรู้ที่ดี” ไม่ช่วยให้เข้าใจและจดจำเนื้อหาได้
    • ถ้าเรามีความพิการทางร่างกายหรือมีสภาพร่างกายที่ทำให้จดบันทึกเนื้อหาได้ยากลำบาก ให้ปรึกษาอาจารย์ผู้สอนและกองกิจการนักศึกษาของสถาบัน เราอาจได้รับความช่วยเหลือต่างๆ เช่น หลักในการจดบันทึกคำบรรยาย บริการช่วยจดบันทึก อนุญาตให้บันทึกเสียงอาจารย์ผู้สอน หรือติวหนังสือ เป็นต้น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ใช้การจดบันทึกแบบคอร์เนล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แบ่งกระดาษออกเป็นสามส่วน.
    การจดบันทึกแบบคอร์เนลเป็นวิธีจดบันทึกแบบหนึ่งโดยที่เราต้องจดบันทึกเนื้อหาลงไปก่อนแล้วจากนั้นค่อยตั้งคำถามจากสิ่งที่จดนั้น แบ่งกระดาษของเราออกเป็นสามส่วนด้วยการลากเส้นตรงให้อยู่ห่างจากขอบซ้ายของกระดาษ 2.5 นิ้ว ลากเส้นตรงจนกระทั่งห่างจากขอบล่างของกระดาษสองนิ้ว ลากเส้นในแนวนอนให้อยู่ห่างจากขอบล่างของกระดาษสองนิ้ว
    • ถ้าใช้แล็ปท็อปในการบันทึก จะมีโปรแกรมที่ช่วยจัดหน้ากระดาษของเราให้อยู่ในรูปแบบการจดบันทึกแบบคอร์เนล
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จดประเด็นสำคัญของเนื้อหานั้นลงไป.
    บันทึกประเด็นสำคัญลงไปในส่วนที่ใหญ่ที่สุดของหน้ากระดาษ ควรเว้นที่ว่างไว้เพื่อจะได้มาปรับแก้ภายหลังด้วย
    • เพิ่มตัวอย่าง แผนภาพ แผนภูมิ และอะไรอื่นที่ผู้บรรยายนำเสนอในชั่วโมงเรียน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตั้งคำถามถามตนเองหลังจากจบการบรรยาย.
    ส่วนที่อยู่ด้านซ้ายของกระดาษจะเป็นพื้นที่ในการเขียนคำถามที่ได้จากเนื้อหาที่จดไว้นั้น คำถามเหล่านี้อาจช่วยทำให้เราเข้าใจประเด็น นิยาม และเนื้อหามากขึ้น ทบทวนเนื้อหาที่จดไว้ภายในหนึ่งหรือสองวันเพื่อทำให้เราสามารถจดจำข้อมูลต่างๆ ได้แม่นยำขึ้น
    • เราอาจลองคิดคำถามที่น่าจะออกข้อสอบแล้วเขียนลงไป คิดว่าอาจารย์จะถามอะไรบ้างตอนสอบ
    • เมื่อต้องทบทวนเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวสอบ ปิดฝั่งขวาของบันทึกไว้ ดูสิว่าเราสามารถตอบคำถามซึ่งเขียนไว้ที่ฝั่งซ้ายของบันทึกได้หรือเปล่า
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สรุปเนื้อหาที่ด้านล่างของบันทึก.
    สรุปเนื้อหาของหน้านี้ไว้ที่ส่วนล่างของบันทึก การสรุปเนื้อหาของแต่ละหน้าไว้ที่ด้านล่างจะช่วยให้เรานึกข้อมูลที่สำคัญของเนื้อหาหน้านั้นออก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าไม่ได้มาเรียน ให้จดไว้ในบันทึกด้วย เราจะได้ไม่ลืม เราจะได้ตามเนื้อหาส่วนที่ขาดไปกับเพื่อนถูกและเรียนตามทันเพื่อน
  • มีทัศนคติที่ดีในการฟัง การฟังที่ดีคือการตั้งใจฟังที่ผู้อื่นพูด เปิดใจรับฟังในสิ่งที่ผู้บรรยายพูด ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูดก็ตาม
  • รวบรวมเนื้อหาแต่ละวิชาที่จดไว้ในที่เดียวกัน แต่เวลาจดให้จดแยกเป็นสมุดละวิชาหรือแยกเป็นส่วนละวิชา เรียงเนื้อหาที่จดไว้ไปตามลำดับเวลาและหัวข้อ ใช้สมุดจดแบบฉีกได้แทนการใช้สมุดจดเป็นเล่ม เราจะสามารถจัดเรียงเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพหากถึงคราวต้องทบทวนเพื่อเตรียมสอบ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าทำอะไรที่เป็นการทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเสียสมาธิในการจดบันทึก เช่น ขีดเขียนอะไรขยุกขยิก หรือควงปากกา การทำแบบนี้จะทำให้สายตาไปจดจ่อกับสิ่งอื่นและทำให้เราเสียสมาธิ แถมยังเป็นการรบกวนผู้อื่นด้วย ฉะนั้นถ้าหากเห็นว่าเราจะเรียนได้ดีขึ้นตอนที่ขีดเขียนอะไรขยุกขยิก หรือเคาะเท้า ให้นั่งกับคนที่เป็นแบบเดียวกันหรือไปนั่งอยู่ห่างจากผู้อื่น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Mary Erickson, PhD
ร่วมเขียน โดย:
ปริญญาเอกทางนิเทศศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Mary Erickson, PhD. แมรี่ อีริกสันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นวอชิงตัน เธอสำเร็จปริญญาเอกทางนิเทศศาสตร์และสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอเรกอนในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 7,542 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,542 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา