วิธีการ จดบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จในการเรียนหรือมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน การจดบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพเป็นทักษะที่สำคัญ เพราะการจดบันทึกทำให้เราสามารถเก็บ จดจำ อ่าน และนึกข้อมูลสำคัญออก ถ้าเราทำตามขั้นตอนและกลวิธีง่ายๆ ของบทความนี้ ไม่เพียงเราจะได้เรียนรู้วิธีจดบันทึกข้อมูลเท่านั้น แต่ยังสามารถจดบันทึกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดจนสามารถนำความรู้และเนื้อหาที่จดบันทึกไว้มาใช้งานได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวจดบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เตรียมอุปกรณ์สำหรับจดบันทึกให้พร้อม.
    ขั้นตอนนี้อาจเห็นว่าทำได้ง่ายก็จริง แต่ก็เป็นขั้นตอนสำคัญ เราต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับจดบันทึกให้พร้อม ก่อนเริ่มเรียน ประชุม หรือฟังบรรยาย วางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเพื่อจะได้หยิบใช้งานง่าย
    • ถ้าเราจะใช้ปากกาและกระดาษในการจดบันทึก เราก็ต้องเตรียมสมุดขนาด A4 ซึ่งมีหน้าว่างเยอะๆ และปากกาสีสองด้าม ถ้าเราใช้แล็ปท็อปในการจดบันทึก ก็ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มหรือนั่งใกล้เต้ารับ
    • ถ้าเรามีปัญหาด้านสายตาและต้องใส่แว่นตา ก็อย่าลืมพกแว่นตามาด้วย หากอาจารย์หรือผู้บรรยายเขียนเนื้อหาสำคัญลงกระดาษดำหรือไวท์บอร์ด จะได้มองเห็นชัดเจน เมื่อต้องพกแว่นตา ก็อย่าลืมพกผ้าไมโครไฟเบอร์เพื่อใช้ทำความสะอาดเลนส์แว่นตามาด้วย และอย่าลืมนั่งในบริเวณที่สามารถเห็นหรือได้ยินผู้พูดชัดเจน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการจดบันทึก.
    ก่อนที่จะเข้าเรียน ฟังบรรยาย หรือเข้าประชุม เราต้องทบทวนเนื้อหาที่จดไว้คราวก่อนด้วย การทบทวนเนื้อหาที่เคยจดไว้จะทำให้รู้ว่าเราจดถึงไหนแล้วและจะเริ่มการจดได้เร็วขึ้น
    • ถ้าอาจารย์แนะนำให้เราไปอ่านเนื้อหาบางอย่างมาล่วงหน้าเพื่อให้พร้อมสำหรับชั่วโมงเรียนครั้งถัดไป เราก็ต้องทำตามที่อาจารย์แนะนำ การอ่านเนื้อหามาล่วงหน้าจะทำให้เราเข้าใจสาระสำคัญ แนวคิด หรือความคิดที่อาจารย์หรือผู้บรรยายสอนหรือนำเสนอในชั้นเรียน เราอาจเขียนสรุปเนื้อหาของตอนนั้น บทความ หรือทั้งบทมาก่อนล่วงหน้าก็ได้ เขียนสรุปไว้ที่ด้านหนึ่งของกระดาษ เราจะได้เขียนข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้จากการเรียนในห้องไว้อีกด้านหนึ่งของหน้ากระดาษเดียวกันนั้น[1]
    • พึงระลึกถึงภาษิตที่ว่า "การไม่ยอมเตรียมพร้อมคือการพร้อมรับความล้มเหลว"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฟังและทำความเข้าใจเนื้อหา.
    เมื่อจดเนื้อหา คนจำนวนมากมักจะทำผิดพลาดด้วยการจดคำพูดทุกคำ โดยไม่ทำความเข้าใจเนื้อหาที่ได้ยินเลย
    • การไม่พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาในชั่วโมงเรียนเป็นการทำผิดพลาด ถ้าเราไม่พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาในชั่วโมงเรียน เราจะเสียโอกาสที่จะได้เข้าใจบทเรียนนั้นไป
    • ฉะนั้นควรพยายามซึมซับข้อมูลที่เราได้ฟังครั้งแรกก่อน เราจะได้ไม่ต้องมาลำบากเสียเวลาทำความเข้าใจมากหรือสับสนในตอนที่นั่งทบทวน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 บันทึกเนื้อหาด้วยลายมือของตนเอง.
    ถึงแม้การพิมพ์ข้อมูลลงในแล็ปท็อปจะสะดวกกว่า แต่ผลการศึกษาซึ่งดำเนินการที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันได้แสดงให้เห็นว่าการจดข้อมูลด้วยลายมือตนเองจะทำให้ผู้บันทึกจดจำข้อมูลได้ดีกว่า
    • ที่ผลการศึกษาเป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้ใช้แล็ปท็อปบันทึกข้อมูลมักจะถอดความเนื้อหาที่ได้ยินเป็นคำต่อคำ โดยไม่ได้กลั่นกรองเนื้อหาที่ได้ยินเลย
    • ในทางกลับกันผู้ที่จดบันทึกด้วยลายมือตนเองไม่สามารถเขียนได้เร็วพอที่จะจดได้หมดทุกคำ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งใจฟังมากขึ้นเพื่อที่ได้จะเลือกจดเฉพาะข้อมูลที่สำคัญที่สุดหรือเกี่ยวข้องแทน[2]
    • ฉะนั้นเราจึงควรพยายามจดเนื้อหาด้วยลายมือตนเองจะดีกว่า
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ถ้ามีข้อสงสัย ให้ถาม.
    เมื่อเกิดข้อสงสัยและมีเนื้อหาที่เราไม่เข้าใจ อย่าเอาแต่จดและบอกตนเองว่าจะกลับมาตรวจดูภายหลัง ให้ถามอาจารย์หรือผู้บรรยายเพื่อจะได้เข้าใจอย่างกระจ่างในทันที
    • ลองคิดซะว่าถ้าเราพบอะไรที่ไม่เข้าใจในตอนนี้ ถามให้เข้าใจไปเลยดีกว่ากลับมาทบทวนอีกรอบแล้วสับสนหนักเป็นสองเท่า
    • อย่ากลัวที่จะขอให้อาจารย์หรือผู้บรรยายทวนซ้ำอีกรอบ โดยเฉพาะถ้าเรารู้สึกว่าเนื้อหาส่วนนั้นสำคัญ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตั้งใจจดบันทึกให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เน้นจดบันทึกคำสำคัญและแนวคิด.
    เราจะจดได้ดีขึ้น ถ้าเราเน้นจดแต่คำสำคัญและแนวคิด
    • รู้ว่าข้อมูลไหนเกี่ยวข้องกับหัวข้อมากที่สุด จดบันทึกคำหรือวลีสำคัญ ลงไป ถ้าเห็นว่าคำและวลีเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อมากที่สุด ตัวอย่างข้อมูลสำคัญ เช่น วันเดือนปี ชื่อ ทฤษฎี คำนิยามต่างๆ เป็นต้น ควรจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญที่สุดเท่านั้น อย่าใช้คำฟุ่มเฟือยและจดบันทึกรายละเอียดที่ไม่สำคัญเท่าไรนัก ถ้าเราอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านจากตำราเรียนได้
    • ลองคิดซิว่าเราต้องการ ได้ข้อมูลอะไรบ้าง ทำไมถึงเรียนวิชานี้ ทำไมถึงเข้าฟังสัมมนานี้ ทำไมนายจ้างถึงให้มาเข้าฟังการประชุมครั้งนี้ ถึงแม้สัญชาตญาณแรกของเราคือการพยายามจดบันทึกสิ่งที่ได้ยินหรือเห็นทุกถ้อยคำ แต่เราต้องพึงระลึกไว้ว่าเรากำลังจดบันทึกเพื่อเรียนรู้อะไรบางอย่างจากการฟังด้วย เราไม่ได้กำลังเขียนนวนิยายขนาดสั้นอยู่
    • ให้ความสำคัญกับข้อมูล "ใหม่" อย่าเสียเวลาจดบันทึกข้อมูลที่เรารู้อยู่แล้ว เพราะไม่มีประโยชน์และจะทำให้เราเสียเวลา เน้นจดบันทึกข้อมูลใหม่ที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน การทำแบบนี้จะทำให้การจดบันทึกของเราคุ้มค่ามากกว่า
  2. Step 2 ใช้วิธี "คำถาม คำตอบ หลักฐาน".
    วิธีนี้เป็นวิธีจดบันทึกที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้เราต้องพยายามเชื่อมโยงเนื้อหาขณะที่จดบันทึกและอธิบายหัวข้อนั้นด้วยภาษาของตนเอง เทคนิคการย่อความนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยนักเรียนนักศึกษาให้เข้าใจเนื้อหาและจดจำข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น[3]
    • แทนที่จะจดบันทึกข้อมูลลงไปทีละบรรทัด ให้ตั้งใจฟังดีๆ ว่าผู้พูดกล่าวว่าอะไรบ้างและพยายามทำความเข้าใจเรื่องที่เขาพูดนั้น พอตั้งใจฟังและทำความเข้าใจเนื้อหาแล้ว ให้นำเรื่องที่ฟังนั้นมาเขียนเป็นคำถามและเขียนคำตอบให้กับคำถามเหล่านั้น
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคำถามคือ "แก่นเรื่องโรเมโอและจูเลียต ของวิลเลียม เชกสเปียร์คือเรื่องอะไร" คำตอบก็อาจเป็น "เรื่องราวความรักที่กลายเป็นโศกนาฏกรรม" "โรเมโอและจูเลียต เป็นเรื่องราวที่สอนให้เห็นถึงผลของความเคียดแค้นชิงชัง"
    • เมื่อตอบคำถามแล้ว เราสามารถให้เหตุผลสำหรับข้อสรุปของเราด้วยการแสดงตัวอย่างจากเนื้อหาที่ฟัง เราจะพยายามจดบันทึกข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องให้กระชับและอ่านง่าย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้อักษรย่อ.
    นักเรียนนักศึกษาโดยเฉลี่ยเขียนได้ 1/3 คำต่อวินาที ขณะที่ผู้พูดจะพูดโดยเฉลี่ย 2/3 ต่อวินาที ฉะนั้นพยายามคิดระบบการย่อคำในแบบของตนเองขึ้นมา จะสามารถช่วยให้เราจดบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพและเร็วขึ้นได้
    • พยายามจดเป็นคำย่อแทนคำเต็ม เช่น "กทม." ย่อมาจาก "กรุงเทพมหานคร" "ค.ร.น." ย่อมาจาก "คูณร่วมน้อย" "จยย." ย่อมาจาก "จักรยานยนต์" พยายามย่อคำยาวๆ ที่ได้ยินหลายครั้งในชั้นเรียนหรือการบรรยายให้สั้นลง ตัวอย่างเช่น ถ้าได้ยินคำว่า "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" ถึง 25 ครั้งในชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์ เราอาจเขียนอย่างย่อๆ ว่า"อำนาจอธิป"
    • เราต้องสามารถถอดคำย่อออกเป็นคำเต็มได้ด้วย ถ้าเห็นว่าจะถอดคำย่อออกมาเป็นคำเต็มได้อย่างลำบาก เพราะเกรงว่าตนเองจะจำไม่ได้ทั้งหมด ก็พยายามเขียนคำเต็มกำกับไว้กับคำย่อนั้นไว้ที่หลังกระดาษหน้าปกของสมุดจดด้วย เราจะได้สามารถนำคำย่อเหล่านั้นมาเขียนเป็นคำเต็มหลังเลิกเรียน
    • ถ้าผู้พูดยังคงพูดเร็วเกินไปจนถึงแม้เราจะพยายามเขียนเป็นอักษรย่อแล้ว ก็ยังจดไม่ทัน ให้นำเครื่องบันทึกเสียงมาใช้ในชั่วโมงเรียนคราวหน้า เพราะเราจะได้ฟังเนื้อหาอีกครั้งและเติมเต็มเนื้อหาส่วนที่หายไป
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จดบันทึกให้น่าอ่าน.
    เราคงไม่อยากกลับไปอ่านเนื้อหาที่จดไว้ ถ้าสิ่งที่เราจดไว้นั้นยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ และอ่านยาก ฉะนั้นการจดบันทึกให้น่าอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก! ขอแนะนำเคล็ดลับในการจดบนทึกให้ออกมาน่าอ่านมากขึ้น เคล็ดลับมีดังนี้
    • เริ่มหน้าใหม่เสมอ เนื้อหาที่เราจดไว้จะอ่านง่ายขึ้น ถ้าเราเริ่มจดหน้าใหม่ทุกครั้งที่เราเปลี่ยนวิชาหรือเรียนเรื่องใหม่ ใส่วันที่ไว้ที่มุมขวาบน ถ้าปากกาของเรามีหมึกที่เข้มมาก ให้จดบันทึกเนื้อหาใส่กระดาษแค่แผ่นละหน้า
    • พยายามเขียนด้วยลายมือที่อ่านง่าย การจดบันทึกจะกลายเป็นเรื่องเสียเวลาไปเลย ถ้าเราไม่สามารถอ่านเนื้อหาออกหลังจากนั้น! ไม่ว่าเราจะเขียนเร็วแค่ไหน เราควรพยายามจดบันทึกด้วยลายมือที่เรียบร้อย อ่านง่าย และชัดเจน ถ้าทำได้ อย่าเขียนเรียงติดกันเป็นพืด
    • มีขอบกระดาษที่กว้าง ใช้ดินสอและไม้บรรทัดตีเส้นขอบกระดาษแต่ละหน้า เว้นที่และตีเส้นขอบกระดาษด้านซ้ายมือให้กว้างๆ การมีขอบกระดาษที่กว้างจะช่วยป้องกันไม่ให้จดบันทึกจนตัวอักษรแน่นเกินไปและมีเนื้อที่เหลือพอที่จะเขียนข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อกลับมาอ่านเนื้อหาที่จดบันทึกไว้อีกครั้ง
    • ใช้สัญลักษณ์และแผนภาพ สัญลักษณ์อย่างเช่น ลูกศร จุด กล่องข้อความ แผนภาพ แผนภูมิ และภาพอื่นๆ จะช่วยทำให้เราสามารถเชื่อมโยงและจดจำแนวคิดสำคัญได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเป็นคนที่เรียนรู้ได้ดีจากมองเห็น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เพิ่มสีสันให้กับข้อความต่างๆ .
    ผู้คนจำนวนมากเห็นว่าการเพิ่มสีสันให้กับข้อความจะช่วยทำให้เราอ่านและจดจำข้อมูลได้ง่ายขึ้น
    • เนื่องจากสีจะช่วยกระตุ้นสมองด้านความคิดสร้างสรรค์ จึงช่วยทำให้เนื้อหาที่เราจดบันทึกไว้น่าสนใจ ฉะนั้นเราจึงจดจำข้อมูลได้ง่ายขึ้น การเพิ่มสีสันให้กับความข้อความต่างๆ จะช่วยเรานำสีมาเชื่อมโยงกับความทรงจำ ทำให้เราจดจำเนื้อหาที่จดไว้ได้โดยไม่ลำบากมากนัก[4]
    • พยายามจดบันทึกเนื้อหาส่วนต่างๆ โดยใช้ปากกาสีที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เราจดบันทึกคำถามด้วยปากกาสีแดง จดบันทึกคำนิยามด้วยปากกาสีดำ และจดบันทึกข้อสรุปด้วยปากกาสีเขียว
    • เราควรใช้ปากกาเน้นข้อความมาเน้นคำสำคัญ วันเดือนปี และนิยาม แต่อย่าใช้ปากกาเน้นข้อความเยอะเกินไป เพราะผิดวัตถุประสงค์การของเน้นข้อความ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 จดบันทึกเนื้อหาจากตำราเรียน.
    หลังจากโรงเรียนเลิกหรือจบการบรรยาย เราอาจต้องการจดบันทึกข้อมูลจากหนังสือเพิ่มเติม การจดบันทึกเนื้อหาจากหนังสือก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่เป็นประโยชน์และควรฝึกให้เชี่ยวชาญ
    • ดูเนื้อหาอย่างคร่าวๆ: ก่อนที่จะเริ่มอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง ดูเนื้อหาอย่างคร่าวๆ เพื่อจะได้รู้ว่าเนื้อหาที่จะอ่านนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อ่านบทนำและบทสรุป หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย บรรทัดแรกและบรรทัดสุดท้ายของทุกย่อหน้า อย่าลืมดูแผนภูมิ ภาพประกอบ หรือแผนภาพด้วย
    • ตั้งใจอ่านเนื้อหา: คราวนี้กลับไปอ่านเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ พออ่านจบไปหนึ่งย่อหน้า กลับไปใช้ปากกาเน้นขอความขีดคำสำคัญ ข้อเท็จจริง แนวคิด หรือคำกล่าวอ้าง มองหาเนื้อหาที่มีลักษณะสะดุดตาอย่างเช่น ทำเป็นตัวหนาหรือตัวเอน ใช้สีหรือมีสัญลักษณ์นำหัวข้อเพื่อเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญ
    • จดบันทึกเนื้อหา: พออ่านเนื้อหาจบแล้ว ให้กลับไปจดบันทึกข้อมูลที่เราใช้ปากกาเน้นข้อความไว้ พยายามอย่าคัดลอกเนื้อหามาทั้งประโยค เพราะเสียเวลา พยายามถอดความเป็นคำพูดของเราเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้[5]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทบทวนเนื้อหาที่จดบันทึกไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทบทวนเนื้อหาที่จดบันทึกไว้ในแต่ละวัน.
    การทบทวนเนื้อหาที่เราจดบันทึกไว้หลังเลิกเรียนหรือภายหลังในแต่ละวันจะช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราไม่จำเป็นต้องทบทวนอย่างคร่ำเคร่ง แค่ใช้เวลา 15 ถึง 20 นาทีทบทวนเนื้อหาที่จดบันทึกไว้ในแต่ละคืนก็พอ
    • จดบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม ระหว่างที่อ่านเนื้อหาถ้าเกิดนึกขึ้นมาได้ว่ามีข้อมูลที่ได้จากการเรียนในชั้นหรือการบรรยายเพิ่มเติม ให้จดบันทึกข้อมูลนั้นลงไป
    • เขียนบทสรุป วิธีการที่จะทำให้เราจำเนื้อที่อยู่ในสมุดจดบันทึกได้ดีคือสรุปข้อมูลที่ได้จากการอ่านเนื้อหานั้นไว้ที่ท้ายหน้ากระดาษ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทดสอบตัวเอง.
    ทดสอบตนเองว่าเข้าใจเนื้อหาไหมด้วยการปิดเนื้อหาที่จดบันทึกนั้นไว้และพยายามอธิบายเนื้อหาให้ตนเองฟัง จะอธิบายเสียงดังหรืออธิบายในใจก็ได้
    • ทดสอบสิว่าเราสามารถจดจำรายละเอียดของเนื้อหาได้มากแค่ไหน อ่านเนื้อหาที่จดบันทึกไว้อีกครั้งเพื่อจะได้นำข้อมูลที่เราขาดไปมาปะติดปะต่อเข้ากับข้อมูลอื่นๆ อีกครั้ง
    • อธิบายเนื้อหาให้เพื่อนฟัง การสอนหรืออธิบายให้เพื่อนฟังเป็นการทดสอบตนเองว่าเราเข้าใจเนื้อที่จดบันทึกไว้อย่างถ่องแท้หรือไม่และเนื้อหาที่เราจดไว้นั้นครอบคลุมหัวข้อนั้นไหม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 จดจำเนื้อหาที่จดบันทึกไว้.
    เราจะเห็นประโยชน์ของการจดบนทึกอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ก็ต่อเมื่อการสอบมาถึงและต้องพยายามจดจำเนื้อหาทั้งหมด ถ้าเราทบทวนเนื้อหาที่จดไว้อย่างสม่ำเสมอวันละ 20 ถึง 30 นาที เราก็จะจดจำเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น นี้เป็นเทคนิคการจำที่ขอแนะนำให้ลองทำดู
    • จดจำเนื้อหาทีละบรรทัด: ถ้าเราต้องจดจำข้อความเป็นย่อหน้า มีเทคนิคคือให้อ่านบรรทัดแรกสองครั้ง จากนั้นพยายามพูดย้ำเนื้อหาบรรทัดแรกออกมาดังๆ โดยไม่มองเนื้อหา อ่านบรรทัดที่สองสองครั้ง จากนั้นพูดย้ำเนื้อหาบรรทัดแรกและบรรทัดที่สองออกมาดังๆ โดยไม่มองเนื้อหานั้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพูดย้ำเนื้อหาได้ครบทุกบรรทัดโดยไม่ต้องมองเนื้อหา
    • จดจำเนื้อหาด้วยการนำมาแต่งเรื่อง: ถ้าเลือกใช้วิธีนี้ ให้นำข้อมูลที่เราต้องจดจำมาแต่งเป็นเรื่องราวที่ทำให้สามารถจดจำเนื้อหานั้นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการจดจำธาตุสามตัวแรกกลุ่มที่หนึ่งของตารางธาตุ (ไฮโดรเจน ฮีเลียม และลิเธียม) เราอาจแต่งเป็นประโยคภาษาอังกฤษว่า "(H)arriet and (He)nry went to the (Li)brary" เรื่องที่แต่งขึ้นไม่จำเป็นต้องสร้างจากข้อเท็จจริงก็ได้ ยิ่งดูไร้สาระ ยิ่งดี
    • ใช้เทคนิคช่วยจำ: การใช้เทคนิคช่วยจำจะช่วยในการจดจำรายชื่อคำที่ต้องจดจำไปตามลำดับ เมื่อเลือกใช้เทคนิคช่วยจำ ให้นำอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่เราต้องจำมาแต่งเป็นประโยคที่ตัวอักษรแรกของแต่ละคำในประโยคเป็นตัวอักษรเดียวกับอักษรตัวแรกของคำที่เราต้องจำนั้น ตัวอย่างเช่น เราต้องการจำโน้ตดนตรีของบรรทัดกุญแจซอล EGBDF เราสามารถใช้ประโยคภาษาอังกฤษ "Every Good Boy Does Fine" มาเป็นหลักในการจำได้ [6]
    • ถ้าอยากรู้รายละเอียดเทคนิคการจำเพิ่มเติมว่าวิธีไหนบ้างที่ได้รับความนิยมและได้ผล ลองอ่านบทความนี้ดู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อจดบันทึกเนื้อหา อย่าลืมขีดเส้นใต้คำสำคัญที่คิดว่าอาจจะออกข้อสอบด้วย
  • ถ้าผู้พูดย้ำเนื้อหาบางอย่างเกินสองครั้ง แสดงว่าข้อมูลนั้นน่าจะมีความสำคัญและควรตั้งใจฟังให้ดี
  • เราต้องมีสมุดจดหรือกระดาษจดสำหรับแต่ละวิชา อย่านำสมุดหรือกระดาษของแต่ละวิชามาใช้จดบันทึกปะปนกัน
  • ถ้าโรงเรียนอนุญาต ให้นำปากกาเน้นข้อความสีต่างๆ มาด้วย การเน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆ จะทำให้ตำราเรียนของเราน่าอ่านขึ้น อย่างไรก็ตามอย่าใช้ปากกาเน้นข้อความทุกข้อความ!
  • ถ้าอาจารย์หรือผู้บรรยายอนุญาตให้บันทึกเสียงได้ เราสามารถใช้แอปต่างๆ มาบันทึกเสียงบรรยายในชั่วโมงเรียนได้
  • ถึงแม้การใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเนื้อหาจะสะดวกและง่ายกว่าการจดด้วยลายมือตนเอง แต่ก็ขอแนะนำให้จดบันทึกเนื้อหาด้วยลายมือตนเองดีกว่า เพราะผลการศึกษาได้พิสูจน์แล้วว่าการจดบันทึกด้วยลายมือตนเองจะช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น (เพิ่มความเร็วในการเขียนด้วย)
  • อย่าลืมใส่ชื่อหัวข้อและใส่หมายเลขหน้าของเนื้อหาที่จดบันทึกไว้ด้วย การใส่หัวข้อจะทำให้เรารู้ว่าเนื้อหาที่จดบันทึกไว้นั้นเป็นเรื่องอะไรและสามารถนำกลับมาทบทวนได้ง่ายเมื่อการสอบกำลังจะมาถึง
  • ต้องพกดินสอหรือปากกาไว้หลายแท่ง ถ้าหากดินสอหักหรือสั้นกุดเกินไป หมึกของปากกาอุดตันหรือหมด จะได้เปลี่ยนไปใช้ดินสอหรือปากกาแท่งอื่น
  • จะบันทึกเนื้อหาในชั่วโมงเรียนด้วยการพิมพ์ใส่คอมพิวเตอร์ไว้ก็ได้ แต่เมื่อถึงบ้านแล้ว ให้นำเนื้อหาที่พิมพ์ไว้มาเขียนใส่กระดาษ
  • ตั้งใจเรียนและใช้ปากกาเน้นข้อความที่คิดว่าสำคัญไว้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าคุยกับเพื่อนในชั่วโมงเรียน
  • เตรียมกระดาษไว้อีกแผ่นหรือใช้กระดาษโน้ตกาวก็ได้ ใส่ตัวเลขหน้าข้อมูลที่จดบันทึกไว้และนำข้อมูลเหล่านั้นมาเชื่อมโยงกัน (ทำหรือไม่ทำก็ได้)
  • ขออนุญาตอาจารย์หรือผู้บรรยายก่อนอัดเสียง
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ปากกาหรือดินสออย่างน้อยสองแท่ง
  • ยางลบดินสอ ถ้าดินสอแท่งนั้นไม่มียางลบติดมาด้วย
  • แว่นตาหรืออุปกรณ์ช่วยในการจดบันทึกอื่นๆ
  • กระดาษหลายแผ่น
  • ปากกาเน้นข้อความ หรือปากกาสี (อย่างน้องสองสี)
  • กระดาษโน้ตกาวสีต่างๆ อย่างน้อยหนึ่งแพ็ค
  • แฟ้มสำหรับจัดเก็บเอกสาร (เพื่อความเป็นระเบียบ)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 126 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 54,538 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 54,538 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา