วิธีการ แก้ท้องผูกด้วยน้ำมันละหุ่ง

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

น้ำมันละหุ่งเป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง ใช้เป็นยาธรรมชาติเพื่อใช้บรรเทาอาการท้องผูก น้ำมันละหุ่งช่วยกระตุ้นการระบายและหล่อลื่นลำไส้โดยไม่ดูดซับความชุ่มชื้นจากผนังลำไส้ หากคุณท้องผูกบ้างเป็นบางครั้ง น้ำมันละหุ่งอาจช่วงบรรเทาอาการของคุณได้ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์และไม่ปลอดภัยสำหรับคนบางคน ฉะนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้น้ำมันละหุ่งแก้ท้องผูกเสมอ[1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวก่อนกินน้ำมันละหุ่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บอกแพทย์หรือเภสัชกรว่าคุณกำลังกินยาอะไรอยู่บ้างทั้งหมด....
    บอกแพทย์หรือเภสัชกรว่าคุณกำลังกินยาอะไรอยู่บ้างทั้งหมด. น้ำมันละหุ่งอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ฉะนั้นคุณควรมั่นใจก่อนว่าคุณจะไม่ได้รับผลเสียจากปฏิกิริยาของยาก่อนกินน้ำมันละหุ่ง[2]
    • แจ้งเภสัชกรว่าคุณอาจเป็นภูมิแพ้อะไรบ้าง เพราะน้ำมันละหุ่งมีส่วนประกอบบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณหากคุณแพ้มัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่ากินน้ำมันละหุ่งหากคุณตั้งครรภ์อยู่.
    ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงให้นมบุตร หรือมีประจำเดือนอยู่ไม่ควรกินน้ำมันละหุ่ง คนประเภทอื่นที่ไม่ควรกินน้ำมันละหุ่งเพื่อรักษาอาการท้องผูกได้แก่:[3]
    • คนที่ปวดท้องหนักมากๆ
    • คนที่ลำไส้อุดตันหรือเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
    • คนที่คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • คนที่ปวดท้องหรือมีเลือดออกทางทวารหนักและยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอาการ
    • ไม่ควรกินน้ำมันละหุ่งกับยาขับปัสสาวะ นอกจากมีแพทย์คอยดูแล เพราะอาจทำให้เกลือแร่ (โดยเฉพาะโพแทสเซียม) ในร่างกายไม่สมดุล
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ศึกษาว่าอาจเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง.
    คนส่วนใหญ่สามารถกินน้ำมันละหุ่งได้โดยไม่มีปัญหา แต่คุณควรเตรียมตัวเจอผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักไม่อันตรายและจะหายไปในเวลาไม่นาน แต่ผลข้างเคียงบางประการก็อันตรายกว่าผลอื่นๆ[4]
    • ผลข้างเคียงที่ไม่หนัก ได้แก่ อาการปวดท้อง เป็นตะคริวที่ท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย และรู้สึกอ่อนแรง ส่วนใหญ่มักจะเป็นไม่นาน แต่หากไม่หาย ก็ให้ปรึกษาแพทย์
    • ผลข้างเคียงที่หนักขึ้น ได้แก่ อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาการมึนหัว และรู้สึกสับสน คอยสังเกตด้วยว่ามีผื่นขึ้นหรือรู้สึกคันเป็นบริเวณใหญ่บนร่างกายหรือไม่ เพราะอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณเกิดอาการแพ้อยู่ หากมีอาการต่างๆ เหล่านี้ให้เลิกใช้น้ำมันละหุ่งและปรึกษาแพทย์ทันที
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กินน้ำมันละหุ่งครั้งแรก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ซื้อน้ำมันละหุ่ง.
    ถึงแม้ปัจจุบันคนจะไม่กินน้ำมันละหุ่งกันเป็นธรรมดาเหมือนในอดีต แต่ร้านขายยาและซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ก็ยังขายน้ำมันละหุ่งอยู่ น้ำมันละหุ่งมักบรรจุอยู่ในขวดเล็กๆ สีน้ำตาล และวางขายอยู่ในแผนกยาสำหรับระบบทางเดินอาหาร
    • เวลาซื้อน้ำมันละหุ่ง ให้หาคำบนฉลากว่า สกัดเย็น ผ่านกระบวนการเย็น บริสุทธิ์ 100% และมีเครื่องหมาย USP รับรอง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง[5]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คำนวณปริมาณน้ำมันที่ควรกิน.
    มีวิธีคำนวณปริมาณน้ำมันละหุ่งที่ควรกินหลายวิธี
    • หากคุณกินน้ำมันละหุ่งภายใต้การกำกับของแพทย์ ให้กินตามปริมาณที่แพทย์สั่ง
    • น้ำมันละหุ่งบางขวดอาจมีคำสั่งปริมาณการกินมาด้วย ให้อ่านฉลากเพื่อดูว่ามีปริมาณที่แนะนำหรือไม่
    • หากแพทย์ไม่ได้สั่งปริมาณน้ำมันมาให้ และฉลากบนขวดน้ำมันไม่ได้มีปริมาณที่แนะนำ กฎทั่วไปคือน้ำมัน 15-60 มล. สำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปี 5-15 มล. สำหรับเด็กที่อายุระหว่าง 2-11 ปี และ 1-5 มล. สำหรับเด็กที่อายุต่ำว่า 2 ปี[6]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินน้ำมันละหุ่งตอนท้องว่าง.
    แบบนี้จะทำให้น้ำมันออกฤทธิ์เร็วขึ้น แต่ถ้าอยากให้ออกฤทธิ์ช้าลง ให้กินน้ำมันกับอาหาร[7]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ตวงปริมาณน้ำมันที่ถูกต้องโดยใช้ช้อนหรือถ้วยตวง....
    ตวงปริมาณน้ำมันที่ถูกต้องโดยใช้ช้อนหรือถ้วยตวง. คุณจะต้องไม่ใช้ช้อนธรรมดาแทนช้อนหรือถ้วยตวง เพราะช้อนทั่วไปไม่ได้มีขนาดมาตรฐานและอาจทำให้ตวงปริมาณน้ำมันออกมาผิดได้[8]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ผสมน้ำมันละหุ่งที่ตวงออกมากับน้ำผลไม้.
    เป็นที่รู้กันดีว่าน้ำมันละหุ่งรสชาติแย่และขมมาก คุณสามารถทำให้การกินน้ำมันละหุ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีขึ้นได้โดยผสมน้ำมันกับน้ำผลไม้ให้รสชาติเจือจางลง
    • ให้ใช้แค่น้ำแครนเบอร์รี น้ำส้ม น้ำลูกพรุน หรือน้ำขิงเท่านั้น เพราะน้ำผลไม้อื่นอาจทำให้ฤทธิ์ระบายของน้ำมันเจือจางลงได้[9]
    • คุณจะแช่น้ำมันละหุ่งอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนกินเพื่อทำให้รสชาติอ่อนลงก็ได้[10]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เตรียมตัวปวดท้องเข้าห้องน้ำภายใน 2-3 ชั่วโมง.
    น้ำมันละหุ่งอาจออกฤทธิ์เร็วถึงภายใน 2 ชั่วโมงหรืออาจต้องรอนานถึง 6 ชั่วโมง หากคุณไม่รู้สึกปวดท้องภายในเวลานี้ คุณอาจมีปัญหาที่หนักกว่า เช่นลำไส้อุดตัน หรือภาวะอุจจาระอุดแน่น ให้ปรึกษาแพทย์ทันที[11]
    • อย่ากินน้ำมันละหุ่งตอนกลางคืน เพราะฤทธิ์ระบายมักเกิดขึ้นเร็วมาก[12]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เตรียมตัวไว้ว่าจะไม่ปวดท้องเข้าห้องน้ำ 2-3 วันหลังจากกินน้ำมันละหุ่งไปแล้ว....
    เตรียมตัวไว้ว่าจะไม่ปวดท้องเข้าห้องน้ำ 2-3 วันหลังจากกินน้ำมันละหุ่งไปแล้ว. น้ำมันละหุ่งจะทำความสะอาดลำไส้ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ลำไส้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นธรรมดาที่คุณจะไม่ปวดท้องเข้าห้องน้ำในช่วง 2-3 วันหลังจากคุณแก้ปัญหาท้องผูกได้แล้ว[13]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

กินน้ำมันละหุ่งซ้ำๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เตรียมน้ำมันตามปริมาณ.
    ทำตามขั้นตอนในส่วนบน เรื่องการกินน้ำมันละหุ่งครั้งแรก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินน้ำมันละหุ่งตามเวลาเดิมทุกวัน.
    การกินน้ำมันละหุ่งอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณปวดท้องเข้าห้องน้ำเป็นเวลา คุณควรกินน้ำมันละหุ่งตั้งแต่เช้าหลังตื่นนอน ดีกว่าตอนก่อนนอน เพราะน้ำมันละหุ่งมักจะออกฤทธิ์ภายใน 2-3 ชั่วโมง[14]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เลิกกินหลังจากเวลาผ่านไป 7 วัน.
    น้ำมันละหุ่งเป็นเพียงยารักษาอาการท้องผูกชั่วคราว และไม่ควรกินระยะยาว คุณไม่ควรกินน้ำมันละหุ่งติดกันเกินทีละ 7 วันนอกเสียจากว่ามีแพทย์ดูแลอยู่ เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการกินยาเกินขนาดหรือทำให้ต้องพึ่งน้ำมันละหุ่งตลอดเวลาเพื่อให้เข้าห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ[15]
    • การกินน้ำมันละหุ่งมากเกินไปก็อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกิดภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 คอยสังเกตอาการกินน้ำมันเกินขนาด.
    ตราบใดที่คุณกินน้ำมันละหุ่งตามคำสั่งก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากคุณมีอาการเหล่านี้ คุณควรเลิกกินน้ำมันละหุ่งและปรึกษาแพทย์[16]
    • ท้องเสียเรื้อรัง
    • ปวดท้องมากๆ
    • รู้สึกมึนงงหรือสับสน
    • อาเจียน
    • หายใจถี่หรือเจ็บหน้าอก
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาแพทย์หากคุณยังคงท้องผูกอยู่.
    หากคุณกินน้ำมันละหุ่งแล้วแต่ยังคงมีปัญหาการย่อยอาหาร คุณอาจจะเป็นอะไรมากกว่าแค่ท้องผูกเฉยๆ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีสาเหตุอื่นที่ทำให้คุณท้องผูกหรือไม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • นอกจากการกินน้ำมันละหุ่งแล้ว คุณอาจควรลองเปลี่ยนการกินอาหารดู การกินใยอาหารเพิ่มขึ้นเป็นวิธีการระยะยาวกว่าเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของระบบย่อยอาหาร
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ช้อนหรือถ้วยตวง
  • น้ำมันละหุ่ง
  • น้ำผลไม้ (ไม่จำเป็น)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Zora Degrandpre, ND
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์แนวธรรมชาติบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Zora Degrandpre, ND. ดร.เดกรองด์เปรเป็นแพทย์แนวธรรมชาติบำบัดที่มีใบอนุญาตในวอชิงตัน เธอได้รับปริญญาโทจากวิทยาลัยแห่งยาธรรมชาติแห่งชาติในปี 2007 บทความนี้ถูกเข้าชม 51,622 ครั้ง
หมวดหมู่: ยาทางเลือก

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบทางการแพทย์

เนื้อหาของบทความชิ้นนี้มิได้มีเจตนาที่จะใช้ทดแทนคำแนะนำ การตรวจ วินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือมืออาชีพทางการดูแลสุขภาพที่ได้รับอนุญาตเสมอ ก่อนที่จะทำการเริ่มต้น เปลี่ยนแปลง หรือหยุดการดูแลสุขภาพไม่ว่าประเภทใด

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,622 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา