ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คนบางคนก็ช่างพูดช่างเจรจา เล่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้ชนิดน้ำไหลไฟดับ และเล่นมุกตลกออกมาได้อย่างไม่ขัดเขิน แต่ถ้าคุณเป็นคนเงียบๆ หรือเป็นคนเก็บตัว กว่าจะรวบรวมความกล้าหาญให้เปิดปากออกมาได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ว่านิสัยแต่เดิมของคุณจะเป็นอย่างไร คุณก็สามารถฝึกพูดให้มากขึ้นและมีสาระมากขึ้นได้จนกลายเป็นคนคุยเก่งขึ้น ฝึกการเริ่มต้นและดำเนินบทสนทนา ทั้งการพูดคุยกันสองคน เป็นกลุ่ม หรือในโรงเรียน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เริ่มบทสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เริ่มจากเรื่องที่คุณรู้ว่าคุณสองคนสามารถคุยกันได้....
    เริ่มจากเรื่องที่คุณรู้ว่าคุณสองคนสามารถคุยกันได้. อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่ทำให้เราไม่กล้าเริ่มพูดคุยกับใครก็คือ เรากลัวว่าเราจะเข้าไปหาเขา อ้าปาก แล้วก็ไม่รู้จะพูดอะไรดี แต่โชคดีที่ยังมีวิธีง่ายๆ ที่ทำให้คุณมั่นใจได้เสมอว่า หัวข้อที่คุณเลือกเป็นหัวข้อที่คุณสองคนสามารถคุยกันได้อย่างสบายใจ
    • ประเมินสถานการณ์ ถ้าอยู่ในห้องเรียน คุณก็อาจจะเริ่มจากการคุยกันเรื่องวิชาที่เรียน ถ้าคุณอยู่ในงานปาร์ตี้เดียวกัน ก็ชวนคุยเรื่องปาร์ตี้ เรื่องที่ชวนคุยไม่จำเป็นต้องซับซ้อน แม้แต่การถามว่า "คุณว่าแถวนี้เป็นไงบ้าง" ก็เป็นวิธีเริ่มบทสนทนาที่ดีเช่นกัน
    • อย่าพยายามเดินเข้าไปหาคนแปลกหน้าแล้วชวนคุยด้วยประโยคเลี่ยนๆ หรือมุกแป๊กเด็ดขาด เพราะถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ "หยาบคาย" แต่การถามอีกฝ่ายว่าหมีขั้วโลกหนักเท่าไหร่ก็ไม่ได้เป็นการเปิดบทสนทนาอยู่ดี มีแต่จะทำให้ไม่รู้จะคุยอะไรกันต่อ
  2. Step 2 ใช้ชุดคำถาม "FORM."
    FORM เป็นอักษรย่อที่นิยมใช้ในการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพูดคุย ซึ่งช่วยให้คุณจำได้ว่า หัวข้อไหนที่นำไปใช้เริ่มบทสนทนาได้ทุกโอกาสและคำถามต่างๆ สำหรับเกริ่นเข้าเรื่อง ไม่ว่าคุณจะรู้จักคนๆ นี้เป็นอย่างดีหรือเพิ่งเจอกัน โดยหลักการทั่วไปแล้วหัวข้อที่เหมาะเริ่มบทสนทนาได้แก่ ครอบครัว (Family) อาชีพ (Occupation) การพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) และแรงบันดาลใจ (Motivation) [1]
    • ครอบครัว
      • "คุณแม่สบายดีไหม" หรือ "พ่อแม่เป็นยังไงบ้าง"
      • "คุณมีพี่น้องกี่คน" หรือ "คุณสนิทกันหมดเลยหรือเปล่า"
      • "ไปเที่ยวกับครอบครัวครั้งไหนที่ประทับใจที่สุด/แย่ที่สุด"
    • อาชีพ
      • "คุณทำงานอะไร" หรือ "งานใหม่เป็นยังไงบ้าง"
      • "ปัญหาใหญ่ที่เจอในที่ทำงานตอนนี้คืออะไร" หรือ "งานที่น่าสนใจที่สุดในสัปดาห์นี้คืออะไร"
      • "คนที่ทำงานเป็นไง"
    • การพักผ่อนหย่อนใจ
      • "คุณชอบทำอะไรสนุกๆ เหรอ" หรือ "แถวนี้มีอะไรสนุกๆ ให้ทำบ้าง"
      • "คุณทำมานานแค่ไหนแล้ว"
      • "คุณมีกลุ่มคนที่มาทำด้วยกันเป็นประจำหรือเปล่า"
    • แรงบันดาลใจ
      • "เรียนจบแล้วอยากทำอะไร" หรือ "คุณคิดว่าจะทำงานนั้นไปอีกยาวเลยไหม งานในฝันของคุณคืออะไร"
      • "ในอนาคตคุณอยากทำอะไร"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถามคำถามปลายเปิด.
    คุณต้องเริ่มบทสนทนาโดยการให้อีกฝ่ายมีโอกาสได้พูดและตอบเขากลับไป สิ่งนี้คือลักษณะของคนคุยเก่ง ไม่ใช่การที่คุณเอาแต่พล่ามเรื่องตัวเองไม่หยุด คำถามปลายเปิดทำให้อีกฝ่ายมีโอกาสที่จะได้พูดคุยและทำให้คุณมีเรื่องให้ตอบกลับไปมากขึ้น แถมยังมีเรื่องให้คุยกันมากขึ้นด้วย[2]
    • คุณสามารถถามคำถามปลายเปิดต่อจากคำถามปลายปิดได้ ถ้าอีกฝ่ายลังเลที่จะพูดและบอกว่า "ก็สบายดีแหละ" เมื่อคุณถามว่า "เป็นไงบ้าง" ให้ถามต่อว่า "วันนี้ทำอะไรบ้าง" และตามด้วย "แล้วเป็นไง" เพื่อให้เขาคุยต่อ
    • คำถามปลายเปิดต้องมีการแสดงความคิดเห็น คุณไม่สามารถตอบคำถามปลายเปิดด้วยคำว่าใช่หรือไม่ใช่ได้ อย่าถามคำถามปลายปิด เช่น "คุณชื่ออะไรคะ" หรือ "คุณมาที่นี่บ่อยไหม" เพราะมันไม่มีอะไรให้คุยต่อ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นึกถึงบทสนทนาก่อนหน้า.
    บางครั้งการพูดคุยกับคนที่คุณรู้จักผิวเผินจริงๆ แล้วนั้นยากกว่าการคุยกับคนแปลกหน้าเสียอีก ถ้าคุณรู้ประวัติครอบครัวและเรื่องราวของเขาโดยทั่วไปอยู่แล้ว คุณก็อาจจะพยายามนึกถึงตอนคุยกันครั้งก่อนเพื่อดูว่ามีอะไรให้ถามต่อไหม ถ้าอยากรู้ว่าตอนนี้เขาทำอะไรอยู่ ให้ถามว่า:
    • "วันนี้ทำอะไร" หรือ "หลังจากเจอกันครั้งที่แล้วได้ทำอะไรบ้าง"
    • "โปรเจ็กต์ที่โรงเรียนเป็นยังไงบ้าง ออกมาดีไหม"
    • "รูปไปเที่ยวที่ลงใน Facebook สวยดีนะ สนุกไหม"
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีควบคู่ไปกับการพูด....
    ฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีควบคู่ไปกับการพูด. บทสนทนาที่ดีไม่ใช่แค่การขยับเหงือกเพียงอย่างเดียว ถ้าคุณอยากเป็นคนคุยเก่ง คุณต้องฝึกทักษะการฟังที่ดี ไม่ใช่แค่รอให้ถึงตาตัวเองพูดอย่างเดียว
    • สบตาอีกฝ่ายและใช้ภาษาท่าทาง พยักหน้าเมื่อเห็นด้วยและตั้งใจฟังบทสนทนา แล้วพูดต่อว่า "โฮ้โห สุดยอด แล้วยังไงต่อ" หรือ "แล้วสุดท้ายเป็นยังไง"
    • ตั้งใจฟังและตอบสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูด ฝึกการเรียบเรียงคำพูดขึ้นมาใหม่โดยการพูดว่า "ที่ฉันได้ยินก็คือ..." และ "ฟังดูเหมือนว่าเธอกำลังบอกว่า..."
    • อย่าทำตัวช่างคุยโดยการเป็นฝ่ายพูดอยู่คนเดียวหรือตอบกลับในสิ่งที่เขาพูดด้วยการพูดเรื่องตัวเองตลอดเวลาเด็ดขาด แต่ให้ฟังและตอบกลับไป
  6. How.com.vn ไท: Step 6 อ่านภาษาท่าทางของเขาเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่บอกเป็นนัย....
    อ่านภาษาท่าทางของเขาเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่บอกเป็นนัย. บางคนก็ไม่ได้อยากคุย และถึงจะฝืนไปก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น สังเกตคนที่แสดงภาษาท่าทางแบบปิดและไม่ได้สนใจที่จะคุยด้วย แล้วเลือกฝึกทักษะการคุยกับคนอื่นแทนดีกว่า
    • ภาษาท่าทางแบบปิดได้แก่ การมองขึ้นไปเหนือศีรษะของคุณและรอบห้องราวกับว่ากำลังหาทางออก การเอาแขนซ้อนกันหรือยืนกอดอกบางครั้งก็เป็นสัญญาณของภาษาท่าทางแบบปิดเช่นเดียวกัน รวมถึงการเอียงตัวไปหาคุณหรือออกห่างจากคุณด้วย
    • ภาษาท่าทางแบบเปิดได้แก่ การเอียงตัวเข้าหาคุณ สบตา และฟังอีกฝ่ายพูด
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ยิ้ม.
    การสนทนาหลายครั้งก็ไม่ใช้คำพูด และคนเราจะอยากพูดคุยกับคนที่มีความสุข เปิดกว้าง และดูเป็นมิตรมากกว่า ถ้าคุณใช้ภาษาท่าทางแบบเปิดและยิ้ม คุณจะสามารถกระตุ้นให้คนอื่นเข้ามาพูดคุยและมีส่วนร่วมกับคุณได้มากเลยทีเดียว
    • คุณไม่จำเป็นต้องยิ้มเหมือนคนบ้า แค่ทำเหมือนว่าคุณมีความสุขในที่ๆ ยืนอยู่แม้ว่าคุณจะรู้สึกอึดอัดก็ตาม ไม่ขมวดคิ้วและทำหน้าบูดบึ้ง ยักคิ้วขึ้นและเชิดหน้าตรง ยิ้ม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

พูดคุยกันสองคน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มองหาช่องทางในการพูดคุย.
    คนคุยเก่งจะมองหาช่องทางเหล่านี้ได้ไม่ยาก แม้แต่กับคนที่ไม่ค่อยจะเปิดโอกาสให้คนอื่นเท่าไหร่ คุณก็ยังสามารถเรียนรู้ที่จะมองหาช่องทางเข้าสู่ประเด็นและหนทางอื่นๆ ได้ด้วยการมองหาความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลที่ทำให้คุณมีเรื่องคุยกัน มันเป็นเหมือนศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ก็มีเคล็ดลับที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างมันขึ้นมาในตัวเองได้
    • ถามเรื่องราวในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ถ้าเขาพูดเรื่องไปวิ่ง ให้ถามว่าเขาวิ่งมานานแค่ไหนแล้ว ชอบหรือเปล่า ไปวิ่งที่ไหน และคำถามที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
    • ถามความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าเขาบอกว่าเคยทำงานที่ Burger King สมัยเรียนมัธยม ให้ถามว่าเป็นยังไงบ้าง พยายามให้เขาแสดงความคิดเห็นออกมา
    • ถามต่อเสมอ คุณอาจจะถามต่อว่า "ทำไมล่ะ" หรือ "ยังไงนะ" เวลาที่อีกฝ่ายตอบกลับมาสั้นๆ และยิ้มเพื่อไม่ให้ดูเหมือนว่าคุณกำลังสอดรู้สอดเห็นเรื่องของเขาอยู่ แต่คุณแค่สงสัยเท่านั้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่ากลัวที่จะเจาะลึก.
    คนเราชอบพูดเรื่องตัวเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอย่ากลัวที่จะถามความคิดเห็นหรือซอกซอกเข้าไปในความคิดของเขาสักหน่อย แม้ว่าคนที่ตั้งกำแพงไว้สูงเขาอาจจะไม่ค่อยอยากเปิดปากพูดเท่าไหร่ แต่ก็มีคนที่สนุกกับการได้แสดงความคิดเห็นกับใครสักคนที่อยากรู้เฉยๆ
    • คุณสามารถถามย้อนไปได้เสมอถ้าจำเป็น และพูดว่า "ขอโทษทีค่ะ ดิฉันไม่ได้ตั้งใจจะละลาบละล้วงนะคะ แค่สงสัยเฉยๆ"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คิดออกมาดังๆ.
    อย่าเงียบระหว่างคิดหาคำตอบที่อีกฝ่ายถาม แค่เริ่มจากการเรียบเรียงสิ่งที่อีกฝ่ายพูดก่อนและปล่อยให้ตัวเองเริ่มพูดออกมา ถ้าปกติคุณเป็นคนขี้อายอยู่แล้ว คุณอาจจะคิดมากเกินไปกว่าจะพูดออกมาได้ ซึ่งบ่อยครั้งมันก็ไม่ได้เสียหายอะไรหรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ ยิ่งคุณปิดกั้นตัวเองน้อยเท่าไหร่ คุณก็จะปล่อยให้ตัวเองพูดออกมาได้มากขึ้นเท่านั้น
    • หลายคนกังวลว่าตัวเองจะ "ฟังดูโง่" หรือว่าพูดในสิ่งที่ไม่ "ถูกต้อง" ออกมา ซึ่งมักทำให้คุณพูดออกมาได้ไม่เป็นธรรมชาติและจังหวะติดขัด ถ้าคุณอยากเป็นคนคุยเก่งมากกว่านี้ ให้ฝึกตอบคำถาม แม้ว่าคุณจะไม่แน่ใจว่าตัวเองจะพูดอะไรก็ตาม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนเรื่อง.
    บางครั้งเรื่องที่คุยกันอยู่ก็จบลงไปและความกระอักกระอ่วนก็จะเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว ถ้าคุณไม่รู้จะคุยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อย่ากลัวที่จะกระโดดไปคุยเรื่องอื่นแม้ว่ามันจะไม่ใช่เรื่องที่ต่อกันก็ตาม
    • ถ้าคุณกำลังดื่มและคุยเรื่องฟุตบอลกันอยู่ แล้วเรื่องฟุตบอลก็จบไป ให้ชี้ไปที่เครื่องดื่มแล้วถามประมาณว่า "อร่อยไหม ดื่มอะไรอยู่นะ" แล้วคุยเรื่องเครื่องดื่มสักพักระหว่างที่คุณหาเรื่องอื่นมาคุย
    • พูดในสิ่งที่คุณอยากพูดและในเรื่องที่คุณรู้ดี หัวข้อที่คุณเชี่ยวชาญนั้นน่าสนใจสำหรับคนอื่น อย่างน้อยก็สำหรับคนที่มีค่าพอที่คุณจะคุยด้วย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ติดตามเหตุการณ์ปัจจุบัน.
    ถ้าคุณไม่รู้จะพูดอะไรแล้ว คุณก็ควรรู้เรื่องเหตุการณ์ปัจจุบัน หัวข้อทั่วไป และพาดหัวข่าวดังๆ บ้าง คุณจะได้คุยเรื่องที่คู่สนทนาน่าจะพอได้ยินมาบ้างและสามารถหาเรื่องคุยกันได้
    • คุณสามารถชวนอีกฝ่ายคุยเรื่องนั้นได้แม้ว่าคุณจะไม่ได้รู้ลึกก็ตาม พูดประมาณว่า "เรื่องวุฒิสภาชุดใหม่ที่เขาเถียงกันอยู่มันเป็นยังไงนะ ฉันไม่ค่อยได้ยินรายละเอียดเท่าไหร่ คุณพอจะรู้บ้างหรือเปล่า"
    • ถึงคุณจะไม่ได้เป็นผู้ชาย แต่ก็อาจจะตกหลุม "ผู้ชายรู้ดี" เข้าก็ได้ อย่าคิดว่าคนที่คุณคุยด้วยเขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่คุยอยู่เลย แม้ว่ามันจะไม่เป็นที่รู้จักหรือเจาะจงมากก็ตาม ไม่อย่างนั้นมันจะดูเหมือนว่าคุณดูถูกเขา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

พูดคุยกันเป็นกลุ่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พูดดังๆ.
    ถ้าลำพังคุยกันแค่สองคนคุณก็ไม่ใช่คนช่างคุยเท่าไหร่อยู่แล้ว การคุยกันเป็นกลุ่มใหญ่จะยิ่งเป็นความท้าทายยิ่งกว่า แต่ถ้าคุณอยากให้คนอื่นได้ยินคุณพูด สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ หัดพูดให้เสียงดังพอที่คนอื่นจะได้ยินได้ง่าย
    • คนที่สงวนท่าทีหลายคนมักจะเป็นคนเงียบๆ และเก็บตัวอยู่ประมาณนึงด้วย การคุยเป็นกลุ่มใหญ่มักจะเหมาะกับคนเปิดเผยและคนที่พูดเสียงดัง ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องปรับเสียงสักเล็กน้อยเวลาที่คุยกันเป็นกลุ่ม
    • ลองทำแบบนี้: ทำให้คนอื่นหันมาฟังคุณด้วยการพูดเสียงให้ดังเท่าคนอื่น แต่ให้ลดเสียงลงในระดับปกติเวลาที่คนอื่นกำลังฟัง คุณจะได้ไม่ต้องแกล้งพูดเสียงดัง ให้พวกเขาเข้าหาคุณ ไม่ใช่คุณเข้าหาเขา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่ารอจนกว่าจะถึงจังหวะที่ทุกคนเงียบ.
    บางครั้งการคุยกันเป็นกลุ่มก็เหมือนการเล่นเกม Frogger คุณกำลังมองออกไปที่ถนนใหญ่ รถติดมาก และพยายามหาช่องที่ไม่เคยมี แต่ความลับของเกมนั้นก็คือคุณแค่ต้องกระโดดลงไป จังหวะที่เงียบนั้นเวลาที่มันมามันจะไม่เคยมาแบบชัดเจน เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องเสี่ยงที่จะพูดแทรกใครสักคนแทนที่จะรอจนกว่าทุกคนจะเงียบกริบแล้วค่อยพูด
    • พยายามอย่าขัดจังหวะคนอื่นด้วยการพูดในระหว่างที่เขากำลังพูดอยู่ แต่ให้ใช้คำพูดสอดก่อนที่เขาจะพูดจบ เช่น "เพราะฉะนั้น..." หรือ "เดี๋ยวนะ..." หรือแม้แต่ "ฉันมีเรื่องจะพูด" จากนั้นก็รอจนกว่าเขาจะพูดจบ แล้วทุกคนก็จะหันมาฟังคุณโดยที่คุณไม่ต้องพูดแทรกคนอื่นทั้งหมด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ภาษาท่าทางแสดงออกว่าคุณต้องการพูด.
    ถ้าคุณมีบางอย่างจะพูด ให้มองไปยังคนที่กำลังพูด โน้มตัวไปหา และใช้ภาษาท่าทางแบบเปิดที่สื่อว่า คุณตั้งใจฟังบทสนทนาและอยากจะพูดอะไรบางอย่าง บางคนอาจจะเปิดโอกาสให้คุณได้พูดด้วยการถามความเห็นจากคุณ ถ้าคุณแสดงออกว่าคุณอยากพูด
    • บางครั้งถ้าคุณรู้สึกว่าคุณโดนอื่นพูดแทรกตลอด คุณก็อาจจะหงุดหงิดและไม่สนใจบทสนทนาไปเลย แต่การทำแบบนี้มีแต่จะทำให้คุณไม่มีโอกาสได้พูด และทำให้คนอื่นไม่รู้ด้วยว่าคุณอยากพูด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เสนอทางเลือก.
    ในการพูดคุยกันเป็นกลุ่ม บทสนทนาจะเริ่มน่าเบื่อขึ้นมาทันทีถ้าทุกคนพูดเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นในบางครั้งคุณก็ต้องเล่นเกม Devil’s Advocate บ้างถ้าโอกาสเอื้ออำนวย ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของกลุ่ม ลองพูดออกไปอย่างนุ่มนวลว่าคุณไม่เห็นด้วย
    • คุณต้องแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างนุ่มนวลด้วยการขึ้นต้นว่า "ดิฉันคิดว่าดิฉันเห็นต่างออกไปเล็กน้อยค่ะ..." หรือ "เป็นความคิดที่ดีนะคะ แต่ดิฉันไม่แน่ใจว่าเห็นด้วยหรือเปล่า"
    • คุณไม่จำเป็นต้องเสนอความคิดหรือความคิดเห็นที่ไม่ใช่ของคุณเองเพียงเพื่อที่จะได้พูดอะไรสักอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่มีเหตุผลมารองรับ แต่ถ้าคุณไม่เห็นด้วย ก็พูดออกไปเลย การพูดคุยไม่ใช่ลัทธิที่จะลงโทษคนเห็นต่างอยู่แล้ว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ถ้าจำเป็นให้คุยกับคนในกลุ่มกันแค่สองคน.
    บางคนก็ไม่ถนัดการพูดคุยเป็นกลุ่มใหญ่แต่จะพูดคุยได้อย่างลื่นไหลเวลาที่คุยกันแค่สองคน ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ผิดปกติอะไร งานวิจัยด้านบุคลิกภาพเมื่อไม่นานมานี้พบว่า หลายคนจะจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แล้วแต่ว่าเขาถนัดพูดคุยเป็นกลุ่มใหญ่หรือคุยกันแค่สองคนมากกว่า สองกลุ่มนี้ก็คือ กลุ่มคู่และกลุ่มสาม[3]
    • อย่าพยายามหาช่องในการพูดคุยกับคนกลุ่มใหญ่ ถ้าคุณอยากหาคนคุยแต่ไม่ถนัดคุยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ให้แยกคุยกับคนใดคนหนึ่งต่างหาก จากนั้นก็คุยกับคนอื่นๆ ในกลุ่มกันสองคนเพื่อเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของตัวเอง ซึ่งจะไม่ดูหยาบคายถ้าคุณคุยกับทุกคน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

พูดที่โรงเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วางแผนว่าจะแสดงความคิดเห็นอย่างไร.
    การพูดคุยในห้องเรียนนั้นถือเป็นคนละเรื่องกันเลย และแม้ว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะกระอักกระอ่วนหรือประหลาดเวลาคุยกันแบบไม่เป็นทางการนั้น บางครั้งกลับเป็นสิ่งที่เหมาะสมและควรพูดในห้องเรียนด้วยซ้ำ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือการอภิปรายกลุ่ม ซึ่งเหมาะที่จะเขียนหรือวางแผนก่อนแสดงความคิดเห็นว่า คุณอยากจะออกความเห็นอะไรในห้องเรียน
    • โดยทั่วไปแล้วคุณก็อาจจะลืมพูดประเด็นที่คุณนึกถึงระหว่างอ่านหนังสือวิชาภาษาอังกฤษ หรือคำถามเกี่ยวกับการบ้านระหว่างเรียนคณิตศาสตร์ เพราะฉะนั้นให้เขียนประเด็นหรือคำถามเหล่านี้ออกมาแล้วพูดในคาบเรียนครั้งหน้า ที่โรงเรียนคุณสามารถพูดตามสคริปต์ได้อยู่แล้ว
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถามคำถาม.
    การมีส่วนร่วมในห้องเรียนที่ดีที่สุดก็คือ การถามคำถาม เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณไม่เข้าใจหรือไม่แน่ใจในประเด็นหรือหัวข้ออะไรก็แล้วแต่ ให้ยกมือขึ้นและถามคำถาม โดยทั่วไปแล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่มีเด็กนักเรียนสักคนไม่เข้าใจ ก็อาจจะมีอีก 5 คนที่ไม่เข้าใจเหมือนกันแต่ว่าไม่กล้ายกมือถาม จงเป็นคนที่กล้า
    • ถามเฉพาะคำถามที่มีประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับคนในกลุ่ม แต่ไม่ควรยกมือถามว่า "ทำไมอันนี้หนูได้ B ล่ะคะ"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคนอื่น.
    ถ้าคุณต้องอภิปรายกลุ่มและไม่รู้จะพูดอะไร ก็มักจะมีจังหวะให้คุณได้อาศัยความคิดเห็นของคนอื่น ซึ่งจะดูเหมือนว่าคุณกำลังแสดงความคิดเห็นอะไรบางอย่าง แต่จริงๆ แล้วเปล่าเลย
    • รอจนกว่าจะมีใครพูดอะไรเข้าท่าออกมา แล้วก็ร่วมวงกับเข้าไปเลยว่า "ผมเห็นด้วยครับ" แล้วก็มาเรียบเรียงใหม่เป็นคำพูดของตัวเอง แค่นี้ก็ได้คะแนนการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนแล้ว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เรียบเรียงคำพูดใหม่.
    ฝึกนำสิ่งที่พูดไปแล้วมาตีความใหม่ให้เป็นคำพูดของคุณเองจนเป็นนิสัย และเติมนั่นนิดนี่หน่อยลงไปด้วย วิธีนี้เป็นการแสดงการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยที่ไม่ต้องพูดในสิ่งที่คนอื่นยังไม่ได้พูดออกมา แน่นอนว่ามันจะดีกว่าถ้าคุณเพิ่มเติมความคิดเห็นสักเล็กน้อยเพื่อให้คุ้มค่ากับที่ครูรอฟัง
    • ถ้ามีคนพูดว่า "หนูคิดว่าหนังสือเล่มนี้จริงๆ แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวและสิ่งเลวร้ายที่ทุกคนปกปิดเอาไว้ค่ะ" ให้เตรียมตีความและเกลาความคิดเห็นของคุณได้เลย พูดว่า "หนูเห็นด้วยค่ะ หนูว่าเราเห็นอิทธิพลของแนวคิดชายเป็นใหญ่ในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกชายที่ปรากฏในนิยาย โดยเฉพาะในจุดจบของตัวละครที่เป็นชื่อเรื่อง"
    • คุณจะได้คะแนนเพิ่มหากคุณชี้รายละเอียดที่เจาะจง หาคำพูดอ้างอิงหรือปัญหาในหนังสือที่เป็นตัวอย่างของประเด็นที่คนอื่นพูดไปแล้ว
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พยายามพูดอย่างน้อยคาบละ 1 ครั้ง.
    โดยทั่วไปคุณไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่คุยเก่งที่สุดในห้องเรียนก็ได้ แต่ก็ต้องช่างคุยมากพอที่คนอื่นจะรู้ว่าคุณอยู่ในห้องด้วย ส่วนใหญ่แล้วก็คือควรพูดอย่างน้อยคาบละ 1 ครั้ง ซึ่งจะมีผลทำให้ครูไม่เรียกคุณตอบทีหลังเวลาที่ทั้งห้องเงียบกันหมด วางแผนสิ่งที่จะพูด พูดไปให้จบๆ ที่เหลือก็นั่งฟังสบายๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทำในสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดี แต่งตัวให้ดูดี แต่งหน้า แปรงฟัน เคี้ยวหมากฝรั่ง ฉีดน้ำหอม หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้คุณรู้สึกมั่นใจขึ้นมาเล็กน้อย!
  • อย่าซ้อมสิ่งที่คุณจะพูดออกมา อย่าเขียนบทพูดและไม่ต้องระวังทุกคำพูด ไม่อย่างนั้นจะพูดไม่ออกเลย
  • แค่เป็นตัวของตัวเอง เป็นมิตร และมีความสุข
  • ไหลไปตามน้ำ ทำให้เป็นธรรมชาติ พูดเรื่องสิ่งรอบตัวหรือหัวข้อประจำวันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ จงใช้เสรีภาพในการพูด
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพูดกับคนที่ดูไม่เป็นมิตรเลยเพื่อพิสูจน์กับตัวเองว่าคุณเป็นคนคุยเก่ง เพราะเขาอาจจะเป็นน่ารักกลับมาหรือไม่ก็ได้
  • ถ้าคุณเป็นคนเก็บตัวและชอบอยู่ตามลำพัง อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองมากมาย แค่ทำในสิ่งที่เข้ากับนิสัยของคุณก็พอ
  • คนที่พูดน้อยและคนเก็บตัวไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองตามคำแนะนำเหล่านี้เท่านั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Patrick Muñoz
ร่วมเขียน โดย:
โค้ชด้านวาทวิทยา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Patrick Muñoz. แพทริกเป็นโค้ชด้านเสียงและการพูดที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ โดยเน้นที่การพูดต่อหน้าสาธารณะ การใช้พลังเสียง สำเนียงการพูด การลดสำเนียง การพากย์ การแสดงและการบำบัดเสียง เขามีลูกค้าอย่างเพเนโลปี้ ครูซ, อีวา ลองโกเรีย และโรสลีน ซานเชส เขาได้รับการโหวตให้เป็นโค้ชด้านเสียงและสำเนียงที่เป็นที่นิยมที่สุดในลอสแองเจลิสจากนิตยสาร BACKSTAGE ในปี 2011 เขาจบด้านการแสดงจากมหาวิทยาลัยเทมเพิลและเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ฝึกการใช้เสียงแห่งอเมริกา (VASTA) บทความนี้ถูกเข้าชม 15,034 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,034 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา