วิธีการ หาเงินได้แม้เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การหาเงินอาจเป็นเรื่องยากสุดๆ ถ้าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม ความเครียดในการสัมภาษณ์งานอาจทำให้ได้งานยากเข้าไปใหญ่ และความวิตกกังวลก็อาจทำให้คุณทำงานต่อไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้างานนั้นต้องมีปฏิสัมพันธ์และต้องทำหลายอย่างพร้อมกันมากๆ อย่างไรก็ตามคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมสามารถประกอบอาชีพที่เจริญรุ่งเรืองได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ลองนึกถึง Bill Gates Albert Einstein J.K. Rowling หรือ Warren Buffett ดูสิ เพื่อให้คุณเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากที่สุด คุณจะต้องรับมือกับความวิตกกังวลของคุณ เลือกงานให้ถูกประเภท และเรียนรู้ที่จะนำเสนอตัวเองให้ว่าที่เจ้านายประทับใจ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เลือกงานที่เป็นมิตรกับความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้ว่าต้องมองหาอะไรในงาน.
    ถ้าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม การหางานที่ไม่เจอคนเลยไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะจะยิ่งแยกตัวคุณออกจากผู้คนและเพิ่มความกลัวให้คุณมากขึ้นไปอีก ให้คุณหางานที่ทำให้คุณได้ติดต่อกับคนอื่นทุกวันแต่ไม่มากจนเกินไป ให้หางานที่:[1][2]
    • ระดับความเครียดต่ำ เลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เคร่งเครียด แรงกดดันสูงที่จะทำให้คุณวิตกกังวลมากขึ้นกว่าเดิม
    • ระดับเสียงต่ำ สำหรับหลายคนเสียงดังกระตุ้นความวิตกกังวล
    • มีสิ่งรบกวนน้อย การทำงานหลายอย่างมากเกินไปเป็นอีกสิ่งที่มักกระตุ้นความวิตกกังวล หางานที่คุณสามารถจดจ่อกับงานได้ทีละอย่าง
    • มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นจำกัด แม้ว่าคุณจะไม่อยากได้งานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นตลอดเวลา (เช่นแคชเชียร์หรือพนักงานรับโทรศัพท์) คุณก็ไม่อยากทำงานที่โดดเดี่ยวด้วยเช่นกัน หางานที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับคนทีละคน
    • โปรเจ็กต์กลุ่มน้อย โปรเจ็กต์กลุ่มไม่ได้แค่บังคับให้คุณต้องมีปฏิสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังเพิ่มความไม่แน่นอนซึ่งเป็นอีกแหล่งที่มาของความวิตกกังวลด้วย[3]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หางานที่เป็นอิสระมากๆ.
    งานเขียนหรืองานที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานที่เหมาะกับธรรมชาติของคนขี้กังวล แต่คุณก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้างทุกวัน ไม่อย่างนั้นงานเหล่านี้จะยิ่งทำให้ความกลัวของคุณแย่ลงได้ ตัวอย่างงานที่มีปฏิสัมพันธ์ในระดับต่ำดีๆ ที่ยังให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้างได้แก่:[4]
    • นักวิเคราะห์ประจำห้องแล็บ
    • นักคณิตศาสตร์ประกันภัย/นักบัญชี
    • นักวิเคราะห์การเงิน
    • ผู้ควบคุมการก่อสร้าง
    • กราฟฟิกดีไซเนอร์
    • คนสร้างเว็บไซต์
    • พนักงานทำความสะอาด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หางานที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนทีละคน.
    คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมพบว่า ตัวเองสามารถรับมือกับการมีปฏิสัมพันธ์ได้มากกว่าถ้าเป็นปฏิสัมพันธ์ครั้งละ 1 คนและไม่มีความกดดันเรื่องเวลา ตัวอย่างงานที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับคนทีละคนและไม่มีอะไรมาแทรก ได้แก่:[5]
    • ติวเตอร์
    • ที่ปรึกษา
    • ผู้ให้คำแนะนำด้านการเงิน
    • ช่างไฟ ช่างประปา ช่างก่ออิฐ เป็นต้น
    • พี่เลี้ยงเด็กหรือผู้ดูแลคนป่วย/คนแก่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หางานที่เกี่ยวกับเด็ก สัตว์ หรือธรรมชาติ.
    การดูแลเด็กแม้จะดูเครียด แต่หลายคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมพบว่าการอยู่กับเด็กๆ นั้นง่ายกว่า เช่นเดียวกับการทำงานกับสัตว์ (สัตวแพทย์หรือศูนย์พักพิง) หรือกับธรรมชาติ (นักออกแบบภูมิทัศน์ ศูนย์เพาะพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ดูแลป่า) เป็นงานที่น่าสบายใจสำหรับคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม[6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หางาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เน้นที่ความสามารถ ไม่ใช่ความวิตกกังวล.
    กุญแจสำคัญของการหางานคือ ดูว่าคุณต้องให้อะไรเขา จำไว้ว่าการสมัครงานไม่ใช่ข้อตกลงทางเดียว คุณต้องทำให้เขาเชื่อว่าคุณเป็นผู้สมัครที่เหมาะกับตำแหน่งนี้ แต่พวกเขาก็ต้องทำให้คุณเชื่อด้วยว่างานนี้เหมาะกับคุณเช่นกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่าอดไม่ได้ที่จะบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม....
    อย่าอดไม่ได้ที่จะบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม. จดหมายแนะนำตัว เรซูเม และการสัมภาษณ์มีไว้แสดงความสามารถของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องพูดถึงหรือขอโทษขอโพยเรื่องความวิตกกังวลของตัวเอง จำไว้ว่า คนขี้อายและเงียบขรึมนั้นโดยทั่วไปมักจะถูกมองว่าเป็นคนที่น่าไว้ใจมากกว่า เพราะฉะนั้นการสงวนท่าทีของคุณอาจเป็นประโยชน์กับคุณตอนสัมภาษณ์งานก็ได้[7] แต่คุณจะพูดถึงเรื่องความวิตกกังวลก็ได้ถ้า:[8]
    • คุณสมัครงานในบริษัทมีชื่อเสียงด้านการต้อนรับคนพิการและสนับสนุนแรงงานที่หลากหลาย การเปิดใจคุยกับเจ้านายอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับพวกเขาง่ายขึ้นมาก[9]
    • คุณเชื่อว่าเจ้านายของคุณจะสังเกตได้ถึงความวิตกกังวลและตั้งคำถามในเรื่องนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้พูดถึงความวิตกกังวลของคุณและทำให้มันกลายเป็นเรื่องดี เช่น "วันนี้ดิฉันประหม่านิดหน่อยนะคะ แต่ว่าดิฉันก็อยากบังคับตัวเองให้ทำออกมาดีให้ได้แม้ว่าจะกังวล เพราะว่ามันเป็นวิธีที่ดีที่ดิฉันจะได้เติบโตและพัฒนาตัวเองค่ะ"[10]
    • คุณเชื่อว่าคุณต้องการที่ทำงานแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น บริเวณในออฟฟิศที่ไม่มีสิ่งรบกวน [11]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เตรียมพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์.
    ยาแก้พิษความประหม่าขณะสัมภาษณ์งานที่ดีที่สุดก็คือ คุณต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี จากนั้นถ้ามีความคิดลบเข้ามา เช่น ฉันประหม่ามากเลย...พังแน่งานนี้ ให้หยุดแล้วเตือนตัวเองว่า คุณเตรียมตัวมาดีแล้ว[12]
    • เตรียมพร้อมที่จะอธิบายช่องว่างในเรซูเมของคุณ เช่น "ใช่ค่ะ ดิฉันเคยทำงานพาร์ตไทม์มาหลายงาน จนดิฉันมานึกได้ว่าดิฉันจำเป็นต้องพัฒนาทักษะของตัวเอง ดิฉันก็เลยไปฝึกอบรมเพิ่มเติมมาค่ะ" คุณจะพูดถึงเรื่องการเรียนในช่วงระหว่างว่างงานด้วยก็ได้
    • เตรียมพร้อมตอบคำถามทั่วไป เช่น อะไรคือจุดอ่อนที่สุดของคุณ คุณคิดว่าอีก 5 ปีตัวคุณจะอยู่ที่ไหน ทำไมคุณถึงสนใจตำแหน่งนี้ ทำไมคุณถึงลาออก/จะลาออกจากที่ทำงานล่าสุด/ปัจจุบัน[13]
    • นำเสนอคำตอบด้วยรูปแบบของเรื่องสั้น คุณควรจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับเส้นทางการทำงานที่น่าตื่นเต้นหรือทักษะบางอย่างที่คุณได้เรียนมา ยกตัวอย่างเจาะจงจากสถานการณ์ทำงานจริงเสมอเพื่อให้สิ่งที่คุณพูดสมเหตุสมผล[14]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สร้างเครือข่าย.
    งานวิจัยชี้ว่าการให้คนอื่นอ้างอิงถึงเรานั้นมีประสิทธิภาพกว่าการสมัครงานโดยตรง 5 ถึง 10 เท่า แต่การสร้างเครือข่ายอาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมเป็นพิเศษ ตัวอย่างเคล็ดลับในการสร้างเครือข่ายก็เช่น :
    • ใช้ LinkedIn เชื่อมต่อกับคนที่สามารถช่วยคุณได้และอัปเดตโปรไฟล์อยู่เสมอ
    • จัดระเบียบ เขียนตารางข้อมูลติดต่อของคนที่คุณนับถือและอยากร่วมงานด้วย ในส่วนนี้ข้อมูลเชิงลึกนั้นสำคัญกว่าภาพกว้างๆ[15]
    • เขียนตารางติดตามผล จดไว้ในปฏิทินเพื่อเตือนคุณให้ติดต่อกับคนที่อยู่ในรายการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่โตอะไร แค่เขียนอีเมลทั่วไปเพื่อถามว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมีอะไรให้คุณช่วยบ้างไหมก็พอแล้ว[16]
    • ติดต่อกับคนที่อยู่ในรายการอย่างสร้างสรรค์ ติดต่อกับพวกเขาใน LinkedIn อยู่เรื่อยๆ ถ้าพวกเขาได้เลื่อนตำแหน่งหรือได้งานใหม่ ให้แสดงความยินดีกับพวกเขา ถ้าคุณบังเอิญไปเจอข่าวหรือบล็อกที่พวกเขาอาจจะสนใจ ก็ให้ส่งไปให้พวกเขา ถ้าคุณมีงานอดิเรกเดียวกัน ก็ส่งบทความเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ไปให้พวกเขาอ่านก็ได้[17]
    • อย่าลืมพูดขอบคุณคนในรายการทุกครั้งที่คุณได้รับคำแนะนำจากพวกเขาและคำแนะนำนั้นช่วยคุณได้ การแสดงความขอบคุณเล็กๆ น้อยๆ นั้นส่งผลระยะยาว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับมือกับโรคกลัวการเข้าสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พูดคุยกับนักบำบัด.
    การบำบัดความคิดและพฤติกรรมได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากในการลดความวิตกกังวลในการเข้าสังคม นักบำบัดช่วยให้คุณตระหนักถึงความกลัวของคุณ สอนเคล็ดลับการผ่อนคลายเพื่อรับมือกับความกลัว และช่วยให้คุณเอาชนะมันด้วยการเผชิญหน้ากับมันไปทีละขั้น ในกรณีรุนแรงนักบำบัดอาจสั่งยาต้านอาการซึมเศร้าเพื่อช่วยลดระดับความกังวลเพื่อที่การบำบัดจะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม การพูดคุยกับนักบำบัดอาจเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณทำ[18]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เรียนรู้เทคนิคการรับมือ.
    ไม่ว่าใครต่างก็รู้สึกกังวล เพราะมันเป็นการตอบสนองต่อความเครียดหรืออันตรายตามธรรมชาติของร่างกาย แต่บางคนก็อาจพัฒนาการตอบสนองนี้มากเกินไป โชคดีที่มีเทคนิคที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ควบคุมความวิตกกังวลได้[19]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 มาถึงที่ทำงานก่อนเวลา.
    การไปถึงที่ทำงานก่อนเวลาทำให้คุณมีเวลาตั้งตัวและเตรียมพร้อมสำหรับวันใหม่ นอกจากนี้คุณยังมีโอกาสเจอคนอื่นๆ ขณะที่เขาเข้ามาทีละคนมากกว่าที่จะเดินเข้าออฟฟิศโดยที่ทุกคนมากันหมดแล้ว[20]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 บันทึกและประเมินความคิดของคุณ.
    โรคกลัวการเข้าสังคมเกิดขึ้นจากความกลัวที่เกินจริง เช่น ทุกคนกำลังจ้องมาที่ฉัน...งานนี้เละแน่...ฉันฟังดูเหมือนเป็นยัยงั่งเลย การเขียนความคิดเหล่านี้ลงไปจะช่วยให้คุณระบุและต่อสู้กับความกลัวที่เกินจริงนั้นได้ และแทนที่มันด้วยการคาดการณ์ตามจริง
    • เช่น ถ้าคุณกำลังจะนำเสนองาน คุณอาจจะกังวลว่ามันจะแย่ คุณจะดูประหม่ามากเกินไป จะไม่มีใครฟังคุณ เป็นต้น แทนที่ความคิดเหล่านี้ด้วยการคาดการณ์ตามความจริงมากขึ้น เช่น ฉันเตรียมตัวมาดีและสิ่งที่ฉันจะนำเสนอก็ฟังดูมีเหตุผลอยู่ ถ้ามันออกมาไม่ดี โลกนี้ก็ยังไม่แตกสักหน่อย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 คิดว่าความวิตกกังวลคือความตื่นเต้น.
    อาการวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจที่เร็วขึ้น ความตื่นตัวพุ่งสูงขึ้น แนวโน้มที่จะเหงื่อแตกนั้นเหมือนกับอาการตื่นเต้นไม่มากก็น้อย มันอาจจะฟังดูไร้สาระ แต่วิธีที่คุณคิดว่าตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไรนั้นสำคัญ แทนที่จะคิดว่าคุณกังวล ให้คิดว่านี่คือความตื่นเต้น วิธีนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจแทนที่จะเป็นความกลัว
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ.
    การหายใจเข้าออกลึกๆ และสม่ำเสมอกระตุ้นปฏิกิริยาสงบที่ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และความตึงของกล้ามเนื้อ[21] ฝึกเทคนิคการหายใจเหล่านี้ที่บ้านเพื่อที่คุณจะได้มีเทคนิคต่อสู้กับความวิตกกังวลติดตัวไปด้วยทุกที่:
    • หายใจเข้าออกช้าๆ หายใจเข้านับถึง 4 ค้างไว้ 1 – 2 วินาที จากนั้นหายใจออกนับถึง 4 วิธีนี้ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทได้[22][23]
    • หายใจแบบมีแรงต้าน การสร้างแรงต้านขณะที่คุณหายใจออกนั้นช่วยสร้างความผ่อนคลาย วิธีนี้สามารถทำได้ด้วยการหายใจออกทางจมูก ห่อริมฝีปากขณะที่คุณหายใจออก (เหมือนว่ากำลังจะเป่าลม) หรือด้วยการทำเสียงเวลาที่คุณหายใจออก (เช่น "โอม" หรือคำว่า "ผ่อนคลาย")[24]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 สนใจสิ่งภายนอก.
    ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นขณะที่คุณเฝ้าสังเกตการทำงานของตัวเอง เช่น ฉันฟังดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือเลย มือฉันมีแต่เหงื่อ ฉันประหม่าสุดๆ ต้องพังเละแน่เลย การหันเหความสนใจไปที่สิ่งรอบข้างอาจช่วยคุณได้ วิธีนี้ช่วยดึงความสนใจของคุณออกจากตัวเองและทำให้คุณจดจ่อกับปัจจุบันมากกว่าจะกังวลถึงเรื่องในอนาคต[25]
    • บรรยายสิ่งของรอบตัวคุณ จดจ่อไปที่สภาพแวดล้อม พรม กำแพง เฟอร์นิเจอร์ บรรยายให้ละเอียด เช่น โต๊ะนี้ทำจากไม้โอ๊ก แข็งมาก เคลือบด้วยสีเข้ม บางครั้งการสัมผัสของที่คุณกำลังบรรยายก็ช่วยได้เหมือนกัน[26]
    • สนใจคนรอบข้าง ตั้งใจฟังว่าเขาพูดว่าอะไร สังเกตจริตจะก้านหรือเสื้อผ้าของพวกเขา [27]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ยอมรับความอึดอัดใจ.
    ไม่ว่าคุณจะรู้เทคนิคการรับมือกับความวิตกกังวลมากแค่ไหน ก็จะต้องมีช่วงที่คุณกังวลบ้างเป็นธรรมดา ใครๆ ก็เป็นกัน บางครั้งคุณต้องยอมรับความอึดอัดใจเพื่อทำบางอย่างที่คุ้มค่ากับความพยายาม พิจารณาว่าทำไมคุณถึงกำลังทำสิ่งนี้ เช่น "ฉันประหม่านะ แต่มันก็คุ้มกับการได้งานนี้" หรือ "ฉันกังวลนะ แต่ว่ามันก็คุ้มที่จะต่อยอดหน้าที่การงานของฉัน"[28]
    โฆษณา
  1. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201304/job-hunting-tips-people-anxiety
  2. http://www.adaa.org/managing-stress-anxiety-in-workplace/anxiety-disorders-in-workplace
  3. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201304/job-hunting-tips-people-anxiety
  4. http://money.usnews.com/money/blogs/outside-voices-careers/2011/01/24/the-10-most-common-job-interview-questions
  5. https://www.linkedin.com/pulse/20130911212503-15454-10-things-job-seekers-must-do-to-get-a-better-job
  6. http://www.thesimpledollar.com/maintaining-professional-bridges/
  7. http://www.thesimpledollar.com/maintaining-professional-bridges/
  8. http://www.itworld.com/article/2724674/careers/10-ways-to-maintain-your-professional-connections.html
  9. http://psychcentral.com/lib/social-anxiety-disorder-treatment/
  10. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201305/must-have-coping-strategies-social-anxiety
  11. http://overcomingsocialanxiety.com/how-to-manage-social-anxiety-at-work/
  12. http://www.anxieties.com/57/panic-step4# .VmM-f2CFE3Q
  13. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/07/22/reduce-your-anxiety-this-minute-3-different-types-of-deep-breathing/
  14. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/CalmBreathing.pdf
  15. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/07/22/reduce-your-anxiety-this-minute-3-different-types-of-deep-breathing/
  16. https://socialanxietyinstitute.org/focus-externally
  17. https://www.psychologytoday.com/blog/living-the-questions/201302/3-tricks-stop-anxiety-now
  18. https://www.psychologytoday.com/blog/living-the-questions/201302/3-tricks-stop-anxiety-now
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201305/must-have-coping-strategies-social-anxiety

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Trudi Griffin, LPC, MS
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Trudi Griffin, LPC, MS. ทรูดี้ กริฟฟินเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตในวิสคอนซิน เธอได้รับปริญญาโทด้านการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยมาร์เกว็ตต์ในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 5,516 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,516 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา