ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ตับของเราเป็นอวัยวะที่เฉพาะตัวมากๆ ถือเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นหนึ่งในไม่กี่อวัยวะภายในที่ฟื้นตัวได้จำกัด[1] ตับมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่ขับพิษและของเสีย ไปจนถึงช่วยเรื่องการย่อย ถ้าตับทำงานหนักเกินไปก็มีล้าได้เหมือนกัน การที่เอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น เป็นสัญญาณว่าคุณใช้งานตับหนักเกินไป แต่ก็แก้ได้ง่ายๆ โดยเปลี่ยนอาหารการกิน เพื่อให้ระดับเอนไซม์ของตับกลับมาเป็นปกติ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สังเกตอาการโรคตับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตับทำอะไรให้ร่างกายบ้าง.
    [2] ตับช่วยทั้งเรื่องการทำงานของต่อมและระบบอวัยวะภายในต่างๆ คอยป้องกันร่างกายโดย detox หรือขับฮอร์โมนส์ ยา และโมเลกุลชีวภาพต่างๆ ที่ร่างกายไม่ได้ผลิต นอกจากนี้ตับยังสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและโปรตีนต่างๆ ที่อาจอุดตันหรืออักเสบด้วย ตับช่วยกักเก็บวิตามิน แร่ธาตุ และน้ำตาล ในขณะที่กำจัดแบคทีเรียออกไป
    • ตับนั้นมีบทบาทในหลายๆ การทำงานสำคัญของร่างกาย เพราะงั้นก็อาจถูกใช้งานหนักเกินไปจนล้าหรือตับพังได้เหมือนกัน
    • เลยสำคัญมากว่าต้องลดระดับเอนไซม์ ฟื้นฟูตับที่ทำงานหนักเกินพิกัด ให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์ตามเดิม แบบนี้ถึงจะแน่ใจได้ว่าตับจะทำงานเต็มประสิทธิภาพต่อไป
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ศึกษาหาความรู้ว่าอะไรทำตับล้าตับพังได้บ้าง....
    ศึกษาหาความรู้ว่าอะไรทำตับล้าตับพังได้บ้าง. ส่วนหนึ่งก็เพราะตับมีหน้าที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เลยเสี่ยงเกิดหลายโรคตามมา ต่อไปนี้คือบรรดาโรคต่างๆ ที่ทำให้ระดับเอนไซม์ของตับพุ่งสูงขึ้นได้[3]
    • โรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Non-Alcoholic Steatohepatitis (NASH)) หรือไขมันสะสมคั่งในตับ (Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD)) - ไขมันอย่างไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) และคอเลสเตอรอล จะสะสมในตับได้
    • โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis viruses) - ไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D และ E ต่างก็มีสาเหตุแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าชนิดไหนก็อันตรายต่อตับทั้งนั้น
    • การติดเชื้ออื่นๆ ที่ส่งผลต่อตับก็เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอสิส (mononucleosis), อดีโนไวรัส (adenoviruses) และโรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (cytomegalovirus) นอกจากนี้ถ้าเห็บกัดหรือมีปรสิต ก็ทำให้เกิดโรคร้ายแรงอย่าง Rocky Mountain Spotted Fever และ toxoplasmosis ได้ด้วย
    • มะเร็งที่พัฒนามาจากการติดเชื้อไวรัสหรือภาวะตับแข็ง
    • โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
    • ดีซ่าน
    • ตับแข็งหรือแผลเป็นในตับขั้นรุนแรง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตอาการของโรคตับ.
    อย่างที่รู้ว่าตับมีหลายหน้าที่เหลือเกิน เลยทำให้ไม่มีอาการที่ฟันธงโรคตับได้แน่ชัด โชคดีที่แต่ละโรคที่เกิดกับตับจะมีอาการเฉพาะตัวและอาการร่วมกัน ถ้าพบอาการต่อไปนี้ แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอโดยเร็วจะดีที่สุด[4]
    • ตัวเหลือง ตาเหลือง น่าจะเกิดจากดีซ่าน
    • ปวดท้อง ท้องโต
    • ขาและข้อเท้าบวม
    • คันตามตัว
    • ฉี่สีเหลืองเข้มหรือออกแดง
    • อึสีซีดหรือมีเลือดปน หรืออึเหนียวเหมือนยางมะตอย
    • อ่อนเพลียเรื้อรัง
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • ไม่ค่อยอยากอาหาร
    • น้ำหนักลด
    • ปากแห้ง หิวน้ำบ่อย
    • ฟกช้ำง่าย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ไปหาหมอตรวจร่างกาย.
    ไปตรวจร่างกายกับคุณหมอ คุณหมอจะนำผลไปวินิจฉัยรวมกับประวัติสุขภาพของคุณ และลักษณะอาการที่คุณบอกเล่า คุณหมออาจจะขอเจาะเลือดไปตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test (LFT)) ร่วมด้วย LFT ใช้วัดระดับของเอนไซม์และโปรตีนต่างๆ ของตับ หลังจากนี้คุณหมอจะนำไปวินิจฉัยโรคต่อไป การตรวจเอนไซม์ที่ว่าก็เช่น[5]
    • AST (Aspartate aminotransferase): ตรวจวัดระดับ AST เพื่อเช็คว่ามีแนวโน้มเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลันหรือเปล่า[6]
    • ALT (Alanine aminotransferase): ALT ใช้ตรวจหาหรือติดตามระยะของโรคตับอักเสบและอาการบาดเจ็บที่ตับ[7] คนที่ค่านี้สูงๆ ก็เช่น ติดเหล้า เป็นไวรัสตับอักเสบ และเบาหวาน
    • หาสัดส่วนระหว่างค่า AST/ALT จะได้รู้ว่าโรคตับเกิดเพราะติดเชื้อ อักเสบ หรือแอลกอฮอล์[8]
    • ALP (Alkaline phosphatase): ใช้หาโรคกระดูก โรคตับ และโรคถุงน้ำดี[9]
    • GGT (Gamma-glutamyl transferase): ถ้าตรวจร่วมกับ ALP จะรู้ได้ว่าเป็นโรคตับหรือกระดูก GGT นั้นยังใช้เช็คประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย เพราะจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 75% ในคนที่ติดสุราเรื้อรัง[10]
    • LD (Lactic dehydrogenase): LD (บางทีก็เรียก LDH) จะใช้วินิจฉัยร่วมกับค่า LFT อื่นๆ เพื่อติดตามผลการรักษาโรคตับและอื่นๆ คนที่ค่าสูงๆ มักเป็นโรคต่างๆ เกี่ยวกับตับ โลหิตจาง โรคไต และอาการติดเชื้อ[11]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 วัดระดับเอนไซม์ของตับ.
    ถ้าคุณเคยเป็นโรคตับ ก็ต้องเช็คตับทุกเดือนหรือทุก 6 - 8 อาทิตย์ โดยติดตามผลให้ดีๆ ถ้าผลแล็บมีค่าลดลงต่อเนื่องในระยะเวลา 6 - 12 เดือน แสดงว่าดูแลตับได้ผลดี ถ้าใช้อาหารเสริมไหนอยู่ต้องแจ้งให้คุณหมอประจำตัวทราบเสมอ รวมถึงถ้าลักษณะอาการเปลี่ยนแปลงไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินผักใบเขียวเยอะๆ.
    ผักใบเขียวมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่นๆ สูง ซึ่งดีต่อการทำงานของตับตรงที่ช่วยลดการสะสมของไขมันในตับได้[12] ผักใบเขียวที่ว่าก็เช่น ปวยเล้ง/ผักโขม คะน้า หัวบีท หัวผักกาด ผักกาดเขียวปลี เคล ผักตระกูลกะหล่ำปลี (กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี บร็อคโคลี กะหล่ำดาว) สวิสชาร์ด ใบแดนดิไลออน ผักกาดหอม และผักสลัดทั้งหลาย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง.
    หัวบีทอย่างเดียวช่วยลดเอนไซม์ของตับไม่ได้ แต่จะมี "flavonoids" สูง ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องการทำงานของตับ[13][14] อะโวคาโดก็มีประโยชน์ เพราะมีวิตามินอีสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ทั้งอะโวคาโดและวอลนัทมีตัวตั้งต้นของสารต้านอนุมูลอิสระหลักในร่างกาย อย่างกลูตาไธโอน (glutathione) นั่นเอง[15]
    • นอกจากนี้วอลนัทยังเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 ชั้นดี ที่ช่วยลดการอักเสบของตับได้
    • ถั่วอื่นๆ เช่น วอลนัท ถั่วบราซิล ถั่วพีแคน และอัลมอนด์ ก็มีวิตามินบีและแร่ธาตุสูงเช่นกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ร่างกายต้องได้รับไฟเบอร์ (กากใย) วันละ...
    ร่างกายต้องได้รับไฟเบอร์ (กากใย) วันละ 35 – 50 กรัม. อาหารที่ไฟเบอร์สูงจะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมคอเลสเตอรอล พอลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ตับต้องจัดการแล้ว เอนไซม์ของตับก็จะลดลง ตับแข็งแรงสุขภาพดีขึ้น[16] นอกจากนี้ไฟเบอร์ยังช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีของตับ ทำให้ย่อยไขมันได้ดีขึ้น และป้องกันโรคตับต่างๆ อาหารที่ไฟเบอร์สูงก็เช่น[17]
    • ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวโพด และรำข้าว
    • ถั่วฝัก (ถั่วลิมา ถั่วแดงญี่ปุ่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วคิดนีย์ ถั่วขาว ถั่วเนวี และถั่วปินโต) ถั่วเลนทิล (แดง น้ำตาล และเหลือง) รวมถึงถั่วเมล็ดกลม (peas)
    • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (ราสเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ โลแกนเบอร์รี่ กูสเบอร์รี่ บอยเซนเบอร์รี่ และแซลมอนเบอร์รี่)
    • โฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด (ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวเทฟ ข้าวบัควีท ข้าวกล้อง)
    • ผักใบเขียว (ใบเทอร์นิพ มัสตาร์ด คะน้า บีท สวิสชาร์ด เคล และปวยเล้ง/ผักโขม)
    • ถั่วเปลือกแข็ง หรือ nuts (อัลมอนด์ พิสทาชิโอ มะม่วงหิมพานต์ และวอลนัท) รวมถึงเมล็ดพืชต่างๆ (งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดทานตะวัน)
    • ผลไม้ต่างๆ (โดยเฉพาะที่กินทั้งเปลือก เช่น ลูกแพร์ แอปเปิ้ล พรุน พลัม พีช และแอพริคอต)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ดื่มน้ำผลไม้รสเปรี้ยวที่วิตามินซีสูง.
    วิตามินซีช่วยเรื่องซ่อมแซมเนื้อเยื่อและรักษาแผล ถ้ากินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จะช่วยฟื้นฟูตับ ปรับระดับเอนไซม์ของตับกลับมาปกติ นอกจากนี้ผลไม้รสเปรี้ยวยังขึ้นชื่อเรื่องลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับด้วย[18] พยายามกินส้ม เกรปฟรุต เลมอน และมะนาวร่วมกับอาหารประจำวัน ส่วนใครชอบดื่มน้ำผลไม้ ก็ต้องเลือกที่มีการ fortify เพิ่มวิตามินซีเข้าไปด้วย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินผักตระกูลกะหล่ำให้มากขึ้น.
    ผักตระกูลกะหล่ำ หรือ "cruciferous vegetables" นั้นขึ้นชื่อเรื่องช่วยปรับสมดุลการสร้างเอนไซม์ดีท็อกซ์ตับ ซึ่ง "เอนไซม์ดีท็อกซ์ระดับ 2" นี้จะไปยับยั้งสารก่อมะเร็งในร่างกาย ผักตระกูลนี้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และไฟเบอร์เลย[19]
    • บร็อคโคลี่
    • กะหล่ำดาว
    • กะหล่ำดอก
    • แรดิช
    • ฮอร์สแรดิช
    • รูทาบากา (rutabaga) และเทอร์นิพ (turnip)
    • วาซาบิ
    • ผักสลัดน้ำ (watercress)
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปรึกษาคุณหมอเรื่องปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน....
    ปรึกษาคุณหมอเรื่องปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน.[20] โปรตีนนี่แหละกุญแจสำคัญสู่การซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกาย เพราะงั้นคุณอาจคิดว่าต้องเพิ่มโปรตีนเพื่อรักษาตับ แต่อย่าลืมว่าตับเป็นอวัยวะที่ต้องจัดการกับโปรตีน ถ้าโปรตีนมากไป ตับจะทำงานหนักกว่าเดิมได้ ระดับเอนไซม์ก็จะสูงขึ้นด้วย
    • ปรึกษาคุณหมอและ/หรือนักโภชนาการว่าคุณควรได้รับโปรตีนในแต่ละวันมากแค่ไหน จะได้รู้ตารางอาหารหรือปริมาณที่แนะนำตามความเหมาะสม
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ร่างกายต้องได้รับน้ำเพียงพอ.
    ดื่มน้ำให้พอ ตับจะได้ขับของเสียและสารพิษได้ดีมีประสิทธิภาพ ไม่ล้าหรือพังเร็ว[21] แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 10 แก้ว (แก้วละ 8 ออนซ์) เวลาที่แนะนำให้ดื่มน้ำก็เช่น[22]
    • ตื่นนอน
    • ก่อนและระหว่างกินข้าว
    • ก่อนและหลังออกกำลังกายหรือออกแรง
    • ก่อนนอน
  8. How.com.vn ไท: Step 8 หลีกเลี่ยงอาหารที่อันตรายต่อตับ.
    [23] อาหารดีมีประโยชน์ช่วยให้ตับทำงานเต็มประสิทธิภาพ ส่วนอาหารไม่มีประโยชน์ก็ทำร้ายตับ อาหารที่ว่าก็เช่น อาหารที่ไขมันสูง หรืออาหารที่มัน เค็ม หวานมากไป พวกนี้เป็นภาระหนักตับทั้งนั้น ถ้าปกติเอนไซม์ตับของคุณสูงอยู่แล้ว ก็ยิ่งต้องรีบพักตับโดยด่วน โดยหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้เพื่อปรับระดับเอนไซม์ของตับให้สมดุล
    • อาหารไขมันสูง เช่น เนื้อแกะ เนื้อวัว หนังไก่ อาหารที่ปรุงด้วยเนยขาวหรือน้ำมันหมู และน้ำมันพืช[24]
    • อาหารเค็มๆ เช่น อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปส่วนใหญ่ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เช่น มันฝรั่ง ขนมถุง ไปจนถึงอาหารกระป๋อง
    • อาหารหวานๆ เช่น เค้ก พาย และคุกกี้
    • อาหารทอดๆ
    • สัตว์น้ำเปลือกแข็งดิบๆ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ (เพราะอาจมีสารพิษที่อันตรายต่อตับ)
    • แอลกอฮอล์ (ถึงจะไม่ใช่อาหารก็เถอะ) ก็ต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคตับอยู่แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้อาหารเสริมและสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดื่มชาหรือน้ำสมุนไพรช่วยบำรุงตับ.
    มีสมุนไพรหลายชนิดที่คนนิยมใช้บำรุงตับกันมานาน ถึงจะยังไม่ค่อยมีหลักฐานงานวิจัยรับรองให้แน่ชัด ว่าสมุนไพรพวกนี้ออกฤทธิ์หรือทำงานยังไง แต่ก็มักเป็นสูตรที่ใช้ต่อๆ กันมานาน หลายคนก็ว่าได้ผลและปลอดภัยดี ส่วนใหญ่จะเป็นการนำสมุนไพรพวกนี้ไปชงชาหรือทำน้ำสมุนไพรดื่ม โดยที่ไม่ระบุขนานชัดเจน ต้องอ้างอิงจากผู้ผลิตหรือปรึกษาคุณหมอเรื่องปริมาณที่เหมาะสมอีกที ปริมาณที่แนะนำต่อไปนี้แค่คร่าวๆ เท่านั้น
    • Milk thistle: เขาวิจัยกันมาแล้วว่าช่วยเรื่องโรคตับจากแอลกอฮอล์มากที่สุด รวมถึงโรคตับแข็ง และตับอักเสบ ปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 160 - 480 มก.
    • อึ่งคี้/ปักคี้ (Astragalus):[25] ปริมาณสารสกัดที่แนะนำคือ 20 – 500 มก. 3 - 4 ครั้งต่อวัน
    • รากแดนดิไลออน (Dandelion/Taraxacum): ช่วยลดคอเลสเตอรอล ให้ตับไม่ต้องรับภาระทำงานหนัก โดยดื่มชารากแดนดิไลออน 2 - 4 ถ้วยต่อวัน ถ้าเป็นรากก็ต้อง 2 - 4 กรัมต่อวัน[26]
    • สมุนไพรรวม: เดี๋ยวนี้มีขายทั่วไปมากมายหลายสูตร แต่ส่วนใหญ่จะยังไม่ได้รับการทดสอบทางคลินิก ตัวอย่างสมุนไพรรวมพวกนี้ก็เช่น Liver Detoxifier and Regenerator ของ NOW, Gaia Herbs Deep Liver Support และ Wild Harvest Milk Thistle Dandelion ของ Oregon
    • ชาเขียว: ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคตับ แต่บางคนก็กินแล้วมีปัญหาตับมากกว่าเดิม แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อนกินจะดีที่สุด ปริมาณที่แนะนำตามปกติคือชาเขียว 2 - 4 ถ้วย เพราะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคตับได้[27]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรุงอาหารด้วยกระเทียมกับขมิ้น.
    นอกจากเป็นสมุนไพรรสดีแล้ว ยังช่วยบำรุงตับให้แข็งแรงยิ่งขึ้น อาจจะปรุงรสอาหารด้วย 2 อย่างนี้ ขอให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 อย่างก็ยังดี
    • กระเทียมช่วยป้องกันมะเร็งตับและโรคหัวใจได้ด้วย แถมช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ขมิ้นมีสรรพคุณต้านการอักเสบ เลยทำให้ตับแข็งแรงขึ้นได้โดยลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบ NASH มะเร็งตับ และตับแข็ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินอาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระ.
    จริงๆ แล้วก็มีอาหารหลายชนิดช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายได้ แต่ถ้ากินอาหารเสริมก็ยิ่งเข้มข้น กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-Lipoic acid (ALA)) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เขาค้นคว้าวิจัยถึงผลที่มีต่อโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคตับ แล้วพบว่าช่วยให้ตับย่อยน้ำตาลได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันโรคตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ปริมาณที่แนะนำตามปกติคือ 100 มก. 3 ครั้งต่อวัน[28][29] ส่วน N-acetyl cysteine (NAC) จะทำหน้าที่เป็นตัวตั้งต้นของกลูตาไธโอน (glutathione) อันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหลักของร่างกาย ปริมาณที่แนะนำตามปกติ ใช้แล้วดีต่อตับ คือ 200 – 250 มก. วันละ 2 ครั้ง
    • ALA (กรดอัลฟาไลโปอิค) อาจมีผลกับยาเบาหวานได้ เพราะงั้นต้องปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อน ถึงปริมาณที่เหมาะสม จะปลอดภัยที่สุด
    • มีผู้ป่วยบางเคสที่ใช้ NAC ปริมาณมากแล้วทำให้เอนไซม์ของตับเพิ่มสูงขึ้นแทน[30]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แนะนำให้ตรวจการทำงานของตับทุก 6 เดือน หรือตามที่คุณหมอแนะนำ จนกว่าเอนไซม์ตับจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม
โฆษณา

คำเตือน

  • ใครเอนไซม์ตับสูง ไม่ควรกินยา statin ลดไขมันในเลือด แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเรื่องยาที่ใช้อยู่ จะได้แน่ใจว่าไม่มียากลุ่มนี้ปนอยู่
โฆษณา
  1. https://labtestsonline.org/understanding/analytes/ggt/tab/test/
  2. https://labtestsonline.org/understanding/analytes/ldh/tab/test/
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24192144
  4. http://www.hindawi.com/journals/omcl/2012/165127/
  5. Xiao J, Högger P., Metabolism of dietary flavonoids in liver microsomes. Curr Drug Metab. 2013 May;14(4):381-91.
  6. http://www.sciencedaily.com/releases/2000/12/001219074822.htm
  7. http://healthyeating.sfgate.com/foods-eat-good-liver-health-4150.html
  8. http://www.todaysdietitian.com/newarchives/063008p28.shtml
  9. http://www.sciencedaily.com/releases/2015/01/150119082958.htm
  10. http://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/diet/cruciferous-vegetables-fact-sheet
  11. http://www.liversupport.com/influencing-liver-disease-with-diet/
  12. http://www.dailymail.co.uk/health/article-116157/Love-liver.html
  13. http://www.liversupport.com/for-your-livers-sake-the-best-times-to-drink-water/
  14. http://www.liverfoundation.org/education/liverlowdown/ll0813/healthyfoods/
  15. http://nutritiondata.self.com/foods-000015000000000000000-w.html
  16. Zhang, B. Z., Ding, F., and Tan, L. W. [Clinical and experimental study on yi-gan-ning granule in treating chronic hepatitis B]. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1993;13(10):597-9, 580.
  17. Sannia, A. [Phytotherapy with a mixture of dry extracts with hepato-protective effects containing artichoke leaves in the management of functional dyspepsia symptoms]. Minerva Gastroenterol Dietol. 2010;56(2):93-99.
  18. http://www.medscape.com/viewarticle/578882
  19. Podymova S. D., Davletshina I. V. [Efficacy of using alpha-lipoic acid (berlition) in patients with nonalcoholic steatohepatitis]. Eksp Klin Gastroenterol 2008;(5):77-84.
  20. Schimmelpfennig W, Renger F, Wack R, and et al. [Results of a prospective double-blind study with alpha-lipoic acid against placebo in alcoholic liver damage] (Ergebnisse einer prospektiven Doppelblindstudie mit Alpha-Liponsäure gegen Plazebo bei alkoholischen Leberschäden). Dtsch Gesundheitswes 1983;38(18):690-693.
  21. Badawy, A. H., Abdel Aal, S. F., and Samour, S. A. Liver injury associated with N-acetylcysteine administration. J Egypt.Soc Parasitol. 1989;19(2):563-571.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Lyssandra Guerra
ร่วมเขียน โดย:
ที่ปรึกษาด้านโภชนาการและสุขภาพที่มีใบรับรอง
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Lyssandra Guerra. ลิสซานดรา เกวราเป็นที่ปรึกษาด้านโภชนาการและสุขภาพที่มีใบรับรองและเป็นผู้ก่อตั้ง Native Palms Nutrition ในโอ๊คแลนด์ เธอมีประสบการณ์กว่าห้าปีและเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือในเรื่องระบบการย่อยอาหาร การแพ้อาหาร การโหยหาน้ำตาล และประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เธอได้รับประกาศนียบัตรจากคณะโภชนาศาสตร์แบบธรรมชาติจากวิทยาลัยบาวแมนในปี 2014 บทความนี้ถูกเข้าชม 1,828 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,828 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา