ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เวลาหมกมุ่นก็เหมือนคุณกำลังอยู่ในอุโมงค์ คือสูญเสียความสามารถในการมองเห็นหรือใส่ใจในอะไรๆ รอบตัว เหลือแต่สิ่งที่คุณกำลังหมกมุ่นเท่านั้น อาการหมกมุ่นนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เชื่อมโยงกันกับความกลัว การหมกมุ่นนั้นแตกต่างจากการเสพติด เวลาคุณเสพติดอะไรคุณจะไม่เคยพอ ต้องเสพสิ่งนั้นต่อไปเรื่อยๆ[1] การเอาชนะความหมกมุ่นของคุณนั้นจะว่าง่ายก็ไม่ง่าย แต่ถ้ารู้จักตัดโอกาสการเข้าถึงสิ่งที่คุณหมกมุ่นและหันเหความสนใจไปยังคนและความสนใจใหม่ๆ อิสรภาพของคุณก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ลองอ่านขั้นตอนที่ 1 ดู ว่าจะเริ่มควบคุมอาการหมกมุ่นไม่ให้มีชัยเหนือคุณได้ยังไง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปลดปล่อยความคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เอาตัวออกห่างสิ่งที่คุณหมกมุ่น.
    เวลาคุณหมกมุ่นอยู่กับใครหรืออะไร ถ้ายังมัวอ้อยอิ่งอยู่ใกล้ๆ ก็ไม่มีทางเอาใจไปคิดเรื่องอื่นได้เลย ยิ่งคุณเอาตัวไปติดอยู่กับสิ่งนั้นมากเท่าไหร่ ก็ไม่มีทางหยุดคิดถึงมันได้หรอก ให้คุณเริ่มจากเอาตัวออกห่างจากสิ่งนั้นก่อน แล้วเดี๋ยวคุณก็จะเลิกสนใจมันได้เอง ตอนแรกจะทำได้ไม่ง่ายเลย แต่พอเริ่มทำแล้วไอ้แรงดึงดูดระหว่างคุณกับสิ่งนั้นที่เหมือนกับมนต์สะกดก็จะค่อยคลายหายไปเอง
    • ถ้าหมกมุ่นอยู่กับใคร นั่นเป็นสัญญาณบอกความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยจะปกติสักเท่าไหร่ ทางที่ดีให้ลดการพบปะพูดคุยกับคนคนนั้นลง หันไปใช้เวลากับอย่างอื่นแทน ทำตัวให้เป็นประโยชน์กว่านี้จะดีกว่า[2]
    • บางทีคุณก็พบว่าตัวเองหมกมุ่นอยู่กับงานอดิเรกบางอย่าง เช่น การเล่นเกมโปรด ถ้าเป็นแบบนั้นละก็ เอาเกมออกไปห่างๆ ตัวเลย อย่างการลบไปจากคอมหรือยกเครื่องเกมให้เพื่อนช่วยเอาไปเก็บไว้จนกว่าจะหายหมกมุ่นจนไม่ได้ทำงานทำการ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่าเปิดโอกาส.
    การเปิดโอกาสให้ตัวเองได้หมกมุ่นง่ายๆ นั้นจะทำให้คุณรู้สึกสุขจนบอกไม่ถูก ทำให้ยากมากต่อการถอนรากถอนโคน แค่คุณปล่อยใจไปคิดถึงมันมากแค่ไหน มันก็ยิ่งเกาะติดความคิดของคุณมากเท่านั้น จะทำลายคำสาปนี้ได้ คุณต้องตัดไฟแต่ต้นลม เช่น ถ้าคุณหมกมุ่นอยู่กับดารา ให้หยุดเม้าท์กับเพื่อนเรื่องดาราซะ เลิกเข้าไปส่อง IG ของเขาด้วย โดยเฉพาะอย่าเสียเวลาเพ้อว่าได้เป็นแฟนกับเขาสมใจ ยิ่งคุณเปลืองเนื้อที่สมองไปกับสิ่งที่คุณหลงใหลมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งครอบงำคุณง่ายขึ้นเท่านั้น[3]
    • เรารู้ว่าการเลิกยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่คุณหมกมุ่นมันยากขนาดไหน บางทีคุณก็เผลอใจอ่อนกับตัวเอง อย่างบอกตัวเองว่าไม่เป็นไร ขอส่อง Facebook ของคนคนนั้นอีกครั้งละกัน แต่ถ้าคิดจะเลิกหมกมุ่นจริงๆ คุณต้องหักดิบทันทีตอนที่กำลังอยากสุดๆ นั่นแหละ
    • บางทีความหมกมุ่นนั้นก็สตรองเกิ๊นจนคุณยากจะต่อกร ไม่ว่าจะพยายามหักดิบแค่ไหน ใจคุณก็ดิ่งกลับไปที่มันตลอด ถ้าเป็นแบบนั้นละก็ อย่าเพิ่งตีอกชกหัว คุณยังพอมีโอกาสอยู่ แค่ต้องใช้เวลามากขึ้นเท่านั้นเอง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดึงความสนใจไปที่อื่น.
    ไอ้การหักดิบน่ะมันพูดง่ายกว่าทำ ก็เวลาคิดหรือได้พูดถึงสิ่งนั้น มันช่างแสนสุขอะไรแบบนี้ใช่ไหมล่ะ? ให้คอยเตือนตัวเองอยู่ตลอดว่าทำไมคุณถึงอยากจะเลิกหมกมุ่น จะได้มีแรงฮึด เพราะมีอะไรดีๆ อีกหลายอย่างรอให้ไปดูไปทำอยู่ พอเรื่องหมกมุ่นผุดขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ ให้หาอย่างอื่นมาดึงความสนใจ จะได้ไม่ตกหลุมพรางอีกยังไงล่ะ[4] ข้างล่างนี่คือวิธีเบี่ยงเบนความสนใจที่เราอยากแนะนำ
    • ออกกำลังกายให้ทั้งตัวและหัวไม่ว่าง แต่วิ่งกับเดินอาจไม่ค่อยเหมาะ เพราะมีเวลาให้เผลอไปคิดนู่นนี่ได้ ลองปีนผา เข้าถ้ำ หรือเล่นกีฬากันเป็นทีมจะดีกว่า เพราะต้องคิดวิเคราะห์ตลอดเวลา
    • เรื่องแต่งนี่แหละตัวเบี่ยงเบน ลองหาหนังสือหรือหนังมาดูให้หัวไม่ว่าง แต่เอาเรื่องแนวที่คุณไม่ได้กำลังหมกมุ่นนะ
    • ถ้าถึงตาจน จิตกำลังจะหลุด ให้รีบหาตัวช่วยด่วนอย่างการเปิดเพลงดังๆ หรือโทรหาเพื่อน (แล้วคุยอะไรก็ได้ที่ ไม่ใช่ เรื่องที่คุณกำลังหมกมุ่นนะ) ไม่ก็อ่านข่าวหรือหางานอะไรมาทำก็ได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มุ่งพัฒนาอะไรที่คุณหลงลืม.
    พอคุณเอาแต่หมกมุ่น คุณก็เลยไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น อย่างทำงานให้ออกมาดีๆ ใช้เวลากับคนรู้ใจ หรือพัฒนาความสนใจด้านอื่นๆ นอกเหนือเรื่องที่คุณหมกมุ่น ถ้าคุณลองหันไปใช้เวลากับสิ่งต่างๆ ที่เหลือในชีวิต คุณจะลืมเรื่องที่คุณหมกมุ่นไปได้แบบไม่รู้ตัวเลยล่ะ
    • กลับไปสานต่อความสัมพันธ์ที่ละเลยมานานก็น่าสนใจ พี่น้องผองเพื่อนคิดถึงคุณจะแย่แล้ว จะได้กลับมาเม้าท์กันเรื่องสารทุกข์สุขดิบ หรือแชร์ไอเดียใหม่ๆ กระทั่งดราม่าร้อนๆ ถือเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ๆ ให้ใจได้สดใสซาบซ่าน!
    • หลายคนพบว่าการตั้งหน้าตั้งตาทำงานนี่แหละหักดิบเรื่องหมกมุ่นได้ดีที่สุด ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไรก็ตาม ทุ่มไปให้สุดตัวเลย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด.
    คุณเป็นพวกช่างฝันใช่ไหม? รู้ไหมว่าบางทีเสียเวลาเป็นชั่วโมงๆ เลยแค่คิดถึงใครหรืออะไรที่คุณหมกมุ่น ตัวคุณอยู่ตรงนี้ แต่ใจลอยไปถึงไหนๆ ทำให้คุณพลาดโอกาสรับรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่ตรงหน้าคุณ ถ้าคุณเบื่อจะหมกมุ่นแล้ว ต้องรู้จักทำสมาธิ อยู่กับปัจจุบัน หรือก็คือตื่นตัวรู้ตัวอยู่ตลอด แทนที่จะมัวนั่งคิดถึงแต่อดีตหรืออนาคต
    • ใช้สัมผัสทั้ง 5 รับรู้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัวคุณ. คุณได้กลิ่นอะไร มองเห็นอะไร ได้ยินอะไร และรับรสอะไรในขณะนี้? มีอะไรเกิดขึ้นตรงหน้าคุณบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ใจลอยตลอด
    • ตั้งใจฟังเวลาคุยกับคนอื่น ใส่ใจบทสนทนาระหว่างกัน แทนที่จะพยักหน้าไปงั้นๆ แต่หัวคิดไปถึงไหนต่อไหนแล้ว
    • อาจจะช่วยได้ถ้าหาคำใช้ท่องหรือภาวนาเวลารู้ตัวว่าหมกมุ่น อย่างท่องซ้ำไปมาว่า "หายใจเข้า หายใจออก" "สะอาด สว่าง สงบ" หรือ "ตั้งใจหน่อย" ก็พอจะช่วยดึงสติคุณกลับมาอยู่กับปัจจุบันได้[5]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เข้าร่วมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมหรือ CBT (Cognitive...
    เข้าร่วมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมหรือ CBT (Cognitive Behavior Therapy). วิธีการบำบัดแบบนี้ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะเลิกคิดถึงสิ่งที่คุณหมกมุ่น ที่ทำได้คือทำให้คุณคิดถึงสิ่งนั้นน้อยลงและลดตัวกระตุ้นที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน คุณจะได้ใช้ชีวิต คิด หรือทำอะไรอย่างอื่น และจัดการกับอาการหมกมุ่นของคุณได้ง่ายขึ้น[6]
    • CBT เป็นการสร้างคำหรือการกระทำที่ใช้ “พิชิต” อาการหมกมุ่น เปิดโอกาสให้คุณได้มุ่งความสนใจไปที่อย่างอื่นบ้าง[7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เสริมสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กระชับความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ.
    ถ้าคุณหมกมุ่นเรื่องคน วิธีเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดีที่สุดก็คือหันไปใช้เวลากับคนอื่นบ้าง เวลาและความสนใจที่เสียไปกับคนคนนั้นคนเดียวจะได้กระจายไปทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ให้ลองลงเรียนวิชาใหม่ๆ หรือจูงหมาไปเดินเล่นตามสวน หรือใส่ใจเพื่อนคนอื่นให้มากขึ้น การที่เราทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ ก็เหมือนการเปิดโลกที่กว้างไกลกว่าเรื่องเดียวที่คุณหมกมุ่นอยู่
    • อย่าเปรียบเทียบคนใหม่ๆ กับคนเก่าที่คุณหมกมุ่น ขอให้สนุกไปกับความแปลกใหม่ไม่เหมือนใครของเขา แทนที่จะมานั่งคาดหวังว่าเขาจะต้องมีบุคลิกลักษณะเหมือนคนที่คุณชอบ
    • ถึงคุณจะบอกว่าคุณหมกมุ่นสิ่งของ ไม่ใช่คน แต่การเปิดใจพบคนใหม่ๆ ก็ช่วยได้อยู่ดี เพราะจะเป็นการเปิดโลก เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้คุณได้รู้จักอะไรที่ไม่เคยพบมาก่อนไงล่ะ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาความสนใจใหม่ๆ.
    บางที "การลองอะไรใหม่ๆ" ก็ฟังดูเป็นสูตรสำเร็จจนเกินไป แต่ก็เพราะมันได้ผลไง เราถึงได้แนะนำ การฝึกฝนทักษะใหม่ๆ หรือกิจกรรมใหม่ๆ จะทำให้สมองของคุณตื่นตัว เป็นการเปลี่ยนมุมมอง ออกจากหล่มที่ติดมานาน แสดงให้เห็นกันไปเลยว่าคุณไม่ได้ถูกครอบงำอีกต่อไปด้วยการใช้เวลากับสิ่งอื่น อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่เรื่องเดิมๆ[8]
    • อย่างถ้าคนที่คุณหมกมุ่นเขาไม่ชอบพิพิธภัณฑ์ศิลปะและเกลียดหนังฝรั่ง คุณก็หันมาทำเรื่องพวกนั้นที่เขาไม่ชอบซะเลยหลังจากอุตส่าห์หลีกเลี่ยงมาซะนาน
    • ถ้าคุณหลงใหลได้ปลื้มอะไรเป็นพิเศษ ให้ลองเปลี่ยนขั้วไปลองทำอย่างอื่นแทน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน.
    ถ้าคุณหมกมุ่นเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน อย่างการไปทำงานแล้วต้องผ่านหน้าบ้านแฟนเก่าทุกวัน ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องลุกมาเปลี่ยนแปลง หยุดคิดสักหน่อย พฤติกรรมไหนต้องกำจัดเพราะสร้างเสริมอาการหมกมุ่นจนโงหัวไม่ขึ้นของคุณ? บางทีคำตอบอาจผุดขึ้นมาทันตาเห็น พยายามเปลี่ยนกิจวัตรของคุณหน่อย ตอนแรกน่ะยากแน่ แต่ไม่นานเดี๋ยวก็เห็นว่าแรงดึงดูดมันน้อยลง ข้างล่างนี่คือตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่อาจช่วยคุณถ่ายเทความสนใจได้
    • เปลี่ยนเส้นทางไปทำงานหรือไปโรงเรียน
    • เปลี่ยนไปออกกำลังกายในฟิตเนสอื่น หรือเปลี่ยนเวลาออกกำลังกาย จะได้ไม่เจอคนที่คุณหมกมุ่น
    • แทนที่ตื่นปุ๊บแล้วใช้เน็ตปั๊บ ไม่ว่าจะเช็คเมลหรือท่องเว็บก็เถอะ ให้เปลี่ยนมาเริ่มวันใหม่ด้วยการนั่งสมาธิ วิ่งจ็อกกิ้ง หรือพาหมาไปเดินเล่นแทน
    • หาที่เที่ยวใหม่ๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์
    • เวลาทำงานเปิดเพลงใหม่ๆ ฟังบ้าง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 แปลงโฉมชีวิต.
    ถ้าเบื่อจะหมกมุ่นกับอะไรต่อมิอะไรแล้ว ต้องเปลี่ยนตัวเองทวงคืนชีวิตคุณกลับมา อาจฟังดูเป็นเรื่องหนักหนาสาหัส แต่บางทีที่เราเปลี่ยนก็เพราะจะพิสูจน์ว่าเรามีความสามารถพอจะเปลี่ยนแปลงอะไรๆ ได้นี่แหละ เลือกมาสักอย่างที่เชื่อมโยงกับอาการหมกมุ่นของคุณ แล้วลุกมาเปลี่ยนแปลงให้สดใหม่ใสปิ๊ง
    • หรือบางทีอาจหมายถึงการแปลงโฉมตัวคุณเองนั่นแหละ ถ้าไว้ผมยาวมาตลอดเพราะคนที่คุณหมกมุ่นเขาชอบแบบนั้น ก็น่าจะลองตัดสั้นดูนะว่าไหม? เอาแบบสั้นๆ ปังๆ ให้ลืมเขาคนนั้นไปเลย
    • ถ้าใช้เน็ตทีไรก็แวะเวียนไปแต่เว็บเดิมๆ คงถึงเวลาแปลงโฉมห้องทำงานหรือออฟฟิศใหม่ซะแล้ว โยกย้ายเฟอร์นิเจอร์หน่อย หรือหาเฟอร์นิเจอร์ใหม่มาวาง จัดโต๊ะทำงานให้เรี่ยมแล้ววางรูปหรือของกระจุกกระจิกลงไป อะไรที่ชวนให้นึกถึงความหลังครั้งยังหมกมุ่นก็โละออกไปให้หมด แล้วแทนที่ด้วยอะไรที่สดใสรับวันใหม่ที่จะมาถึง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ.
    บางทีอาการหมกมุ่นของคุณก็ร้ายแรงเกินกว่าจะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ถ้าดูแล้วคุณควบคุมดูแลตัวเองไม่ค่อยได้ จนส่งผลต่อความสุขส่วนตัว คงต้องลองนัดพบนักบำบัดดู ที่ปรึกษามืออาชีพนี่แหละที่พร้อมแนะนำให้คำปรึกษาพร้อมเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยคุณทวงคืนความคิดและชีวิตของตัวเองได้ในที่สุด
    • ถ้าในหัวคุณมีแต่ความคิดซ้ำๆ ไม่ยอมหายไปไหน หรือชอบทำอะไรเดิมๆ จนเกือบจะเป็นพิธีกรรมส่วนตัว เป็นไปได้มากว่าคุณกำลังเป็นโรค OCD (obsessive-compulsive disorder) หรือโรคย้ำคิดย้ำทำนั่นเอง[9] ถ้าเป็นกรณีนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการบำบัดหรือยารักษาโรค OCD ต่อไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้ความหมกมุ่นให้เป็นประโยชน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หมกมุ่นให้เกิดประโยชน์.
    ใช่ว่าการหมกมุ่นจะเป็นเรื่องร้ายแรงเสมอไป จริงๆ แล้วยังมีคนมากมายที่เฝ้าตามหา "สิ่งที่ตัวเองหลงใหล" อะไรที่ทำให้เขาตื่นตัวจนอยากจะทำอีก รู้จักมันให้มากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ถ้าคุณเจออะไรที่หลงใหล ทำแล้วรู้สึกดีมีความหมาย คนเขาอาจมองว่าคุณโชคดีก็ได้ เช่น ถ้าคุณหายใจเข้าออกเป็นดาราศาสตร์ วันๆ ไม่อยากทำอะไรนอกจากอ่านและศึกษาเรื่องดวงดาว คุณอาจเปลี่ยนความหมกมุ่นนี้ของคุณให้กลายเป็นอาชีพเลยก็ได้
    • ถ้าเรื่องที่คุณหมกมุ่นไม่ได้ผลักดันคุณไปไกลขนาดจบดอกเตอร์ด้านดาราศาสตร์ แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างพวกข่าวซุบซิบดารา หรือคอลัมน์เจ๊าะแจ๊ะวงใน คุณก็ยังทำให้มันเกิดประโยชน์ได้ อย่างการเขียนบล็อก หรือ Twitter ซุบซิบดาราซะเองก็ได้ ใช่ไหมล่ะ?
    • หมกมุ่นอะไรมากเข้า ก็เอามันมาพัฒนาตัวเองซะเลย ถ้าคุณหมกมุ่นอยู่กับใครที่เขาไม่สนใจคุณ ก็อาจตัดสินใจปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเองซะเลย หาเหตุผลให้ได้ตื่นแต่เช้าเพื่อออกไปวิ่งก่อนไปทำงาน หรือเหตุผลที่ทำให้ต้องอ่านตำราที่ค้างคาจนจบครบถ้วน จะได้มีอะไรเจ๋งๆ ไปพูดหน้าชั้นยังไงล่ะ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เอาเรื่องที่คุณหมกมุ่นมาเปลี่ยนเป็นแรงบันดาลใจ....
    เอาเรื่องที่คุณหมกมุ่นมาเปลี่ยนเป็นแรงบันดาลใจ. ถ้าคุณหลงใหลได้ปลื้มใคร ก็เอาคนคนนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจสร้างงานศิลปะซะเลย รู้ไว้ใช่ว่า หนังสือ ศิลปะ และบทเพลงมากมายต่างก็มีที่มาจากแรงหลงใหลกันทั้งนั้น ถ้าคุณห้ามใจให้คิดถึงใครบางคนไม่ไหว ก็ยักย้ายถ่ายเทความรู้สึกที่เขาไม่ยอมตอบรับนั้นมาเป็นบทกวี บทเพลง หรือภาพวาดซะให้มันรู้แล้วรู้รอดไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หมกมุ่นกันเป็นหมู่.
    คุณอาจคิดว่าตัวเองผิดปกติ จนได้เจอเพื่อนร่วมหมกมุ่นคอเดียวกันนั่นแหละ ไม่ว่าคุณจะหลงใหลอะไรเป็นพิเศษ รับรองเลยว่าต้องมีสักคนที่รู้สึกเหมือนกับคุณ หาคนที่รักและหลงใหลสิ่งเดียวกับคุณให้เจอ คนที่จะแบ่งปันเรื่องราวและพูดคุยกันได้ไม่รู้จบ บางทีอาจจะเป็นนักฟุตบอลทีมโปรด หรือดาราที่คุณตามดูทุกเรื่อง ไม่ก็เกมที่ทำเอาเล่นโต้รุ่ง บอกเลยว่าต้องมีสักคนที่พูดปุ๊บก็จูนติดกันปั๊บเพราะคอเดียวกัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าให้ความหมกมุ่นปิดหูปิดตาคุณ.
    ความหมกมุ่นจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อคุณเริ่มทุ่มเทเวลาและพลังงานให้อะไรบางอย่างมากเกินไปเท่านั้น มากจนไม่เหลือที่ให้อะไรอย่างอื่น คุณเป็นคนเดียวเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าแค่ไหนถึงแปลว่ามากเกินไป ถ้าสิ่งนั้นที่คุณหมกมุ่นทำให้คุณมีความสุข โดยที่ไม่ได้ละเลยความต้องการพื้นฐานของตัวเอง รวมถึงยังคงความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงคนรอบข้างไว้ได้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ไม่ต้องกังวลอะไร แต่ถ้าสิ่งนั้นทำให้คุณรู้สึกถูกจำกัด พยายามตัดไฟแต่ต้นลมซะ หาโอกาสใหม่ๆ ให้ตัวเองได้ทดลองอะไรอย่างอื่นบ้างก็ดี
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เปลี่ยนไปลองทำอย่างอื่นบ้างเพื่อดึงความสนใจไปจากสิ่งที่หมกมุ่น อย่างออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆ อ่านหนังสือ หรือหัดเล่นดนตรี
  • อย่ากลบเกลื่อน ต้องกล้าเผชิญปัญหาแล้วแก้ไขมัน
  • ค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ไม่ว่ากัน ไม่ต้องถึงขนาดเลิกกิน "มาม่าดิบ" ก็ได้ แค่กินน้อยลงก็พอ
  • อย่ากลัวและอย่าอาย
  • คิดซะว่าเป็นเรื่องสนุกชวนท้าทาย แล้วลองเปลี่ยนตัวเองดู!
โฆษณา

คำเตือน

  • โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD กับอาการเสพติดนั้นถือเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับหลายคน ถ้าคุณควบคุมตัวเองไม่ได้ และ/หรือสิ่งนั้นมันทำร้ายตัวคุณหรือคนรอบข้าง ให้รีบขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Liana Georgoulis, PsyD
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Liana Georgoulis, PsyD. ดร.ลิอาน่า จอร์กูลิสเป็นนักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาตและประสบการณ์กว่า 10 ปี ตอนนี้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายคลินิกที่ศูนย์จิตวิทยาโคสต์ในลอสแองเจลิส เธอจบปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเพพเพอร์ไดน์ โดยการรักษาของเธอจะเป็นการบำบัดผู้ป่วยทางความคิดและพฤติกรรมทั้งในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และคู่สมรส บทความนี้ถูกเข้าชม 20,123 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,123 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา