ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การกรีดข้อมือตัวเอง เป็นวิธีการทำร้ายตัวเองประเภทหนึ่ง โดยผู้ที่จงใจทำร้ายตัวเองนั้น มักทำไปเพื่อรับมือกับความรู้สึกเจ็บปวด รวมถึงสถานการณ์หรือประสบการณ์บางอย่างที่กำลังรุมเร้า แม้ว่าคุณอาจจะรู้สึกดีขึ้น หรือสงบลงหลังจากได้กรีดข้อมือตัวเอง แต่ในระยะยาวนั้น มันจะยิ่งทำให้คุณรู้สึกแย่ และอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายร้ายแรงกว่าเดิม ทั้งนี้ ไม่มียาวิเศษใดๆ ที่จะช่วยให้อาการทำร้ายตัวเองเช่นนี้หายไป แต่คุณสามารถแก้ไขได้ ด้วยการเลิกทำพฤติกรรมซ้ำเติมตัวเอง และหันมารู้จักเมตตาต่อตัวเอง ซึ่งหากคุณต้องการเอาชนะมันให้ได้อย่างเด็ดขาดล่ะก็ ขอให้อ่านบทความนี้

หากคุณหรือคนรู้จัก กำลังคิดจะกรีดข้อมือหรือทำร้ายตัวเอง กรุณาดูในส่วน ข้อมูลเพิ่มเติม ด้านล่าง เพื่อขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

เอาชนะแรงกระตุ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ออกไปอยู่ในที่ๆ ทำร้ายตัวเองไม่ได้.
    หากคุณรู้สึกอยากทำร้ายตัวเองขึ้นมา พยายามไปอยู่ในที่ๆ สภาพการณ์ไม่เอื้ออำนวยนัก เช่น ในร้านกาแฟ หรือบริเวณห้องนั่งเล่น หรือโถงส่วนกลางที่มีคนอื่นอยู่ด้วย โดยเฉพาะคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมห้องของคุณเอง ที่ทั้งรักและห่วงใยคุณ[1] ซึ่งจะช่วยให้คุณกระทำการดังกล่าวไม่สะดวก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 โทรหาใครสักคน.
    หากคุณอยู่ตัวคนเดียวในบ้านหรือในห้อง ซึ่งไม่สะดวกที่จะออกมาข้างนอก คุณอาจโทรหาใครสักคน เช่นสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท และบริการสายด่วนต่างๆ ดังนั้น คุณควรบันทึกหมายเลขโทรศัพท์เหล่านั้น เอาไว้ให้กดโทรออกได้ง่ายๆ
    • มีหลายหน่วยงานที่ให้บริการสายด่วน เช่น ที่หมายเลข 1667 ของกรมสุขภาพจิต รวมถึงหมายเลข 1323 ด้วย โดยทั้งสองหมายเลข ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะหมายเลข 1667 ที่สามารถโทรฟรีทั้งโทรศัพท์บ้านและมือถือ ส่วน 1323 นั้น โทรฟรีได้เฉพาะโทรศัพท์บ้าน
    • คุณสามารถโทรแจ้งหมายเลข 1554 ของหน่วยแพทย์วชิระพยาบาล ในกรณีที่คุณหรือคนรอบข้างพลั้งเผลอทำร้ายตัวเองไปแล้ว และต้องการเข้ารับการรักษา
    • นอกจากนี้ ยังมีหมายเลข (02) 713-6793 ของสมาคมสะมาริตันส์ไทย เรียกว่า สายด่วนคลายทุกข์ เปิดให้บริการฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ถึง 22.00 น.
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาอะไรทำ.
    วิธีที่ได้ผลดีอีกอย่าง คือ การหากิจกรรมอื่นๆ ทำ ในช่วงที่รู้สึกอยากทำร้ายตัวเอง ทั้งนี้ คุณอาจต้องใช้เวลาในการค้นหาสิ่งที่พอจะดึงความสนใจคุณได้เป็นพิเศษ เพราะบางครั้งตัวการที่มากระตุ้นให้คุณทำร้ายตัวเอง อาจแตกต่างกันไปในหลากหลายสถานการณ์ ดังนั้น การป้องกันก็ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาวการณ์เฉพาะหน้าด้วย [2]
    • ลองเทคนิควาดผีเสื้อ เมื่อคุณอยากกรีดข้อมือตัวเองขึ้นมา ลองเอาปากกามาวาดรูปผีเสื้อในบริเวณดังกล่าว และตั้งชื่อมันตามชื่อคนที่คุณรัก หรือคนที่ห่วงใยคุณ ซึ่งคุณควรระลึกว่า หากคุณกรีดข้อมือ ผีเสื้อตัวนี้ก็จะตาย ดังนั้น คุณห้ามกรีด แต่ต้องใช้น้ำล้างออกแทน อันเปรียบดั่งการปลดปล่อยเจ้าผีเสื้อตัวนี้ให้เป็นอิสระ
    • ลองเทคนิคขีดลายเส้น ก็ไม่เลวนะ โดยหาปากกาแดงมาขีดๆ เขียนๆ บริเวณข้อมือของคุณ จะเป็นลายเส้น หรือสัญลักษณ์รูปอะไรก็ได้ ขีดให้หนำใจไปเลย เสร็จแล้วอย่าลืมนับด้วยล่ะว่า มีทั้งหมดกี่เส้น ซึ่งนั่นก็คือ จำนวนรอยแผลที่คุณ ไม่จำเป็น ต้องมี
    • หากยังไม่ได้ผลอีก ลองทำสีผมดูเล่นๆ หรือไปชงชากาแฟดื่มให้สบายใจ รวมถึงนับ 1 ถึง 500 หรือ 1000 ไปเลยยิ่งดี และหากมีวิดีโอเกมไหนที่คุณเป็นเซียนอยู่ล่ะก็ ลองหยิบจับมาเล่นดูใหม่ ไม่อย่างนั้นก็ไปเดินเล่น ดูหนัง เข้าร้านหนังสือ หรือจะเล่นกีฬาฟิตหุ่น ก็เป็นทางเลือกที่ดีทั้งนั้น ซึ่งที่จริงแล้ว กิจกรรมมีมากมายเกินกว่าจะสาธยายได้หมด ขอเพียงเป็นสิ่งที่คุณอินกับมันจริงๆ [3]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ยื้อเวลาไปก่อน.
    เมื่อใดที่อยากกรีดข้อมือตัวเอง พยายามหาเรื่องดึงเวลาไว้ โดยเริ่มจาก 10 นาทีก่อนก็ยังดี และค่อยๆ เพิ่มเวลาไปอีกเรื่อยๆ
    • ระหว่างที่ยื้อเวลาอยู่นั้น ลองคิดถึงแผลเป็นที่ไม่น่าพิสมัย รวมถึงความไม่จำเป็นในการทำร้ายตัวเอง ถึงแม้คุณจะรู้สึกอยากทำก็ตามที โดยคุณอาจลองท่องคำพูดบอกตัวเองซ้ำๆ ว่า “ฉันไม่จำเป็นต้องทำร้ายตัวเอง” จนกว่าคุณจะเริ่มคล้อยตามมัน[4]
    • จำไว้ว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคุณเอง คุณสามารถเลือกที่จะเอามีดไปเก็บได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

เรียนรู้วิธีรับมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลองเทคนิคประสาทสัมผัสทั้งห้า.
    วิธีรับมือเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการเลิกทำร้ายตัวเอง มันจะช่วยระบุสาเหตุ และยังช่วยให้คุณรู้สึกดีจากปฏิกิริยาของฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟีน ซึ่งเกิดขึ้นเช่นเดียวกับเวลาที่คุณกรีดข้อมือนั่นเอง [5] และเทคนิคการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ก็เป็นวิธีปลอบประโลมตัวเองอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้สภาพจิตใจของคุณมีความพร้อม ในการค้นหาสาเหตุของการพยายามทำร้ายตัวเองด้วย
    • เริ่มจากการนั่งในท่าสบาย หากนั่งพื้น ก็ให้ไขว้ขา หากนั่งเก้าอี้ ก็วางฝ่าเท้านาบไปกับพื้น จากนั้น พยายามจดจ่ออยู่กับลมหายใจ และค่อยๆ ไล่ไปตามประสาทสัมผัสทั้งห้า อย่างละประมาณ 1 นาที จนกว่าจะครบทุกประสาทสัมผัส
    • เสียง: จดจ่ออยู่กับเสียงภายนอกที่ได้ยิน ไม่ว่าจะเสียงรถ เสียงคนคุยกัน จากนั้น ดึงความสนใจมาที่เสียงภายใน เช่น เสียงลมหายใจ เสียงท้องร้อง เสียงกลืนน้ำลาย ฯลฯ เสร็จแล้วลองนึกดูว่า เสียงที่เพิ่งได้ยินไปนั้น คุณเคยสังเกตหรือได้ยินมาก่อนหรือไม่
    • กลิ่น: พยายามสูดกลิ่นกายตัวเอง กลิ่นเป็นอย่างไร มีกลิ่นอาหารปนมาหรือไม่ หรือคุณอาจได้รับแม้กระทั่งกลิ่นดอกไม้ใบหญ้าในบริเวณใกล้เคียง โดยคุณอาจรับรู้กลิ่นที่ไม่เคยสังเกตมาก่อนด้วย จากนั้น ลองหลับตาดูบ้าง ดูว่ากลิ่นต่างๆ จะชัดเจนขึ้นหรือไม่
    • การมองเห็น: คุณเห็นอะไรบ้าง มองผ่านออกไปนอกหน้าต่างเห็นไหม พยายามเก็บรายละเอียดสิ่งต่างๆ ที่เห็น ทั้งด้านรูปทรงและสีสัน ทั้งในระยะใกล้และไกล
    • รส: รสชาติในช่องปากของคุณเป็นอย่างไรบ้าง ลองกวาดลิ้นชิมไปเรื่อยๆ คุณอาจจะเจอรสชาติจากเศษอาหาร หรือคราบกาแฟที่ตกค้างอยู่ มีรสชาติอะไรแปลกๆ บ้างหรือไม่
    • สัมผัส: พยายามรับรู้ถึงสัมผัสทางผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นความสากของพรมที่อยู่ใต้เท้าของคุณ หรือความลื่นของเสื้อผ้าที่คุณสวมใส่อยู่ หรือลมที่พัดผ่านใบหน้าของคุณ เป็นต้น[6]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สวดมนต์หรือทำสมาธิ.
    ทั้ง 2 เรื่องนี้อาจฟังดูน่าขบขัน แต่มีผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากมายที่ยืนยันว่า การทำสมาธิจิต มีผลช่วยให้อารมณ์เป็นบวก เกิดความสุขและพึงความพอใจในชีวิต และดีต่อสุขภาพ แถมยังลดภาวะความเครียด ความกังวล รวมถึงอาการซึมเศร้าได้ด้วย[7] การทำสมาธิอาจมีหลายรูปแบบ แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การทำใจให้สงบ
    • นั่งในท่าทางสบาย จากนั้น หาจุดโฟกัสความสนใจ โดยอาจจะเป็นประสาทสัมผัสใดก็ได้ เช่น ภาพบนผนัง หรือเสียงนาฬิกาเดิน หรือทางสัมผัสจากมือที่ใช้นับลูกประคำ ซึ่งระหว่างที่พยายามจดจ่ออยู่นั้น หากจิตของคุณแล่นไปที่ใด ก็ให้พยายามดึงกลับมาที่จุดโฟกัสเดิมเสมอ
    • วิธีฝึกปฏิบัติดังกล่าวอาจดูเหมือนง่าย แต่จิตของคนส่วนใหญ่มักจะฟุ้งซ่านจนคุมไม่ค่อยอยู่ ดังนั้น หากในช่วงแรกๆ คุณสามารถโฟกัสได้เพียงไม่กี่นาที ก็อย่าท้อใจไป ฝึกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถนั่งได้นานขึ้น เพื่อให้สมองและความคิดปลอดโปร่ง[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฝึกควบคุมลมหายใจ.
    ลมหายใจเป็นสภาวะตามธรรมชาติที่เราสามารถควบคุมได้ ผลการศึกษาพบว่า การฝึกควบคุมลมหายใจ ช่วยลดปฏิกิริยาความเครียด[9] ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเดียวกับที่คุณรู้สึก ในเวลาที่รู้สึกอยากกรีดข้อมือตัวเอง ดังนั้นการฝึกทักษะควบคุมลมหายใจนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับแรงกระตุ้นดังกล่าวดียิ่งขึ้น[10]
    • คุมลมหายใจให้สม่ำเสมอ โดยใช้วิธีนับแบบที่ทำกันแพร่หลาย นั่นคือ สูดลมหายใจเข้าแล้วนับถึง 1 ถึง 5 จากนั้น ผ่อนลมหายใจออกแล้วนับ 1 ถึง 5 เช่นกัน และสังเกตตามจังหวะสมหายใจไปเรื่อยๆ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้เทคนิคช่วยผ่อนคลาย.
    มีเทคนิคมากมายที่สามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายลงได้ เช่น การฝึกจินตนาการถึงสถานที่ๆ สงบและน่ารื่นรมย์ ซึ่งเมื่อคุณอยู่ในนั้นแล้ว ความรู้สึกอยากทำร้ายตนเองจะมลายหายไป โดยคุณอาจจินตนาการโดยใช้ภาพถ่ายบางอย่างช่วยดูก่อน เพื่อให้เกิดภาพในใจได้ง่ายขึ้น ในช่วงแรกที่เริ่มฝึก [11]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลองเทคนิคคลายกล้ามเนื้อสมัยใหม่.
    Progressive Muscle Relaxation หรือ PMR สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆได้ดี และยังส่งผลให้คุณรู้สึกได้ถึงความตึงเครียดบริเวณจุดต่างๆ ของร่างกายด้วย[12]
    • หาที่ๆเงียบสงบ และแสงมืดสักนิดกำลังดี นอนหรือนั่งในท่าสบาย โฟกัสไปที่บริเวณกล้ามเนื้อแต่ละส่วน โดยอาจไล่จากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบนก็ได้
    • บริหารกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ด้วยการออกแรงขยับแบบตั้งใจ เช่น หากคุณเริ่มจากบริเวณหน้าหรือหน้าผาก ลองขยับคิ้วขึ้นให้สุด หรือเบิ่งตาให้กว้างที่สุด ประมาณ 5 วินาที และคลายลง จากนั้น ก็หลับตาปี๋อีกประมาณ 5 วินาทีเช่นกัน
    • คุณสามารถใช้เทคนิคนี้ช่วยผ่อนคลายได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
    • การแยกประสาทเพื่อบริหารกล้ามเนื้อบางส่วนอาจจะยากสักนิด แต่ฝึกไปไม่นานคุณจะเริ่มคล่องเอง
    • บริเวณที่มักใช้เป็นจุดบริหารกล้ามเนื้อ คือ ใบหน้า แขนและมือ หน้าท้อง กลางลำตัว รวมถึงขาและเท้า ทั้งนี้ อย่าให้เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไปเวลาฝึก[13]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เดินจงกรม.
    การเดินเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายและจิตใจสงบในเวลาเดียวกัน ยิ่งหากเป็นการเดินจงกรม เพื่อเจริญสติด้วยแล้ว ยิ่งดีมากขึ้นไปอีก ซึ่งทำได้ด้วยการมีสติกำหนดรู้อยู่กับท่าทางการเดิน เช่น ความรู้สึกเวลาเท้ากระทบพื้น ความคับแน่นภายในรองเท้า รวมถึงการตระหนักรู้ในอิริยาบถต่างๆ ทั่วร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว และคุณอาจกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกในบางเวลาร่วมด้วยก็ได้ แถมยังอาจพักสักนิด เพื่อชื่นชมทัศนียภาพสองข้างทางได้อีก[14]
    • ประโยชน์ของการเดินจงกรม ก็คือการฝึกมีความตระหนักรู้ และรวบรวมสมาธิจดจ่อไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนั่งวิปัสสนา และยังได้สุขภาพที่ดีเป็นของแถมด้วย [15]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 จดบันทึกช่วงเวลาที่คุณมักอยากทำร้ายตัวเอง.
    จดลงในบันทึกส่วนตัวทุกครั้งที่คุณกำลังอยากกรีดข้อมือตัวเอง พยายามลงรายละเอียดทั้งช่วงเวลาและเหตุการณ์ที่มากระตุ้นให้คุณทำ นอกจากจะช่วยให้คุณระบายความคิดและความรู้สึกแล้ว ยังช่วยให้คุณเข้าใจแบบแผนในการทำร้ายตัวเองของคุณด้วย[16]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ทำกล่องรับมือ.กล่องรับมือเปรียบเสมือนคลังอาวุธที่คุณจะเอาไว้สู้กับแนวโน้มในการทำร้ายตัวเอง คุณอาจใช้กล่องรองเท้าหรือกล่องอะไรก็ได้ และเอาตัวช่วยต่างๆ...
    ทำกล่องรับมือ.กล่องรับมือเปรียบเสมือนคลังอาวุธที่คุณจะเอาไว้สู้กับแนวโน้มในการทำร้ายตัวเอง คุณอาจใช้กล่องรองเท้าหรือกล่องอะไรก็ได้ และเอาตัวช่วยต่างๆ เช่น รูปภาพคนในครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนสนิท และสมุดบันทึกเมื่อสักครู่ รวมถึงปากกา (เอาไว้ใช้เทคนิควาดผีเสื้อ) นอกจากนี้ ยังอาจเอาซีดีเพลงหรือสื่ออะไรก็ตาม ที่ช่วยให้คุณรู้สึกสงบลงได้ ใส่ลงไปในกล่องนั้นด้วย[17]
  9. How.com.vn ไท: Step 9 หาทางออกที่สร้างสรรค์.
    หลายคนกรีดข้อมือตัวเอง เพราะมีความโกรธแค้นและความเจ็บปวดฝังอยู่ในใจ หากนี่เป็นสาเหตุที่คุณทำ ก็จงหาทางระบายออกในรูปแบบอื่นๆ แทน
    • หากคุณโมโหหรือคับข้องใจ ลองชกหมอนดู หรือออกไปในที่โล่งแล้วตะโกนดังๆ การฉีกกระดาษทิ้งอย่างสะใจ รวมถึงการบีบลูกบอลเล็กๆ ก็น่าจะพอช่วยได้ หากต้องการกิจกรรมที่เสียเหงื่อหน่อย คุณอาจไปเข้าคอร์สมวยไทย หรือศิลปะป้องกันตัวดูเอาเป็นว่า กิจกรรมอะไรที่คุณได้ระบายอารมณ์ โดยไม่ทำร้ายใคร ถือว่าใช้ได้ทั้งนั้น
    • ให้เวลากับตัวเองสักหน่อย กว่าที่คุณจะเจอกิจกรรมที่เหมาะกับตัวคุณมากที่สุด อาจต้องค้นหาสักพัก และขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ ด้วย[18]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ฝึกคุยกับตัวเองเชิงบวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ฟังแต่คำพูดเชิงบวก.
    การคุยกับตัวเองในเชิงบวก เป็นการหัดเปลี่ยนบทพูดที่เกิดขึ้นในหัวของคุณ ให้กลายเป็นเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลดีต่อระดับความมั่นใจ ความนับถือตัวเอง รวมถึงใช้สร้างแรงจูงใจให้ตัวเองได้ดีที่สุด และในเวลาไม่นานคุณก็จะมีความคิดเชิงลบน้อยลง มีวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เป็นบวกมากกว่าเดิม[19]
    • นอกจากนี้ มันยังช่วยให้อารมณ์ของคุณเป็นบวกอยู่เสมอ ซึ่งคุณควรตระหนักว่า อารมณ์ก็คืออารมณ์ มันไม่ได้สะท้อนข้อเท็จจริง อารมณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะบวกหรือลบ มันไม่จีรังยั่งยืน สักพักก็ผ่านไปเอง รวมถึงอารมณ์ที่ทำให้คุณอยากทำร้ายตัวเองด้วย[20]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จดโน้ตเตือนความจำ.
    อาจจะเป็นแผ่นโพสท์อิทหรือเศษกระดาษเล็กๆ เขียนข้อความเชิงบวก เช่น ข้อดีเกี่ยวกับตัวคุณเอง จากนั้น นำมันไปแปะไว้ตามจุดต่างๆ ที่คุณจะได้เห็นและอ่านบ่อยๆ วิธีการนี้จะช่วยสั่งสมอารมณ์บวกเข้าไปในชีวิตประจำวันของคุณ ซึ่งช่วยให้แนวโน้มทำร้ายตัวเองลดลง โดยคุณอาจเขียนข้อความดังนี้:
    • ฉันเป็นคนน่ารัก
    • ฉันเป็นคนพิเศษ
    • ฉันมีความมั่นใจ
    • ฉันสามารถบรรลุเป้าหมายได้
    • ฉันสวย/ฉันหล่อ
    • อารมณ์ความรู้สึก มันก็เป็นเพียงแค่นั้น
    • อารมณ์ทุกอย่างจะผ่านไปเอง
    • อารมณ์ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
    • การทำร้ายตัวเองไม่ได้แก้ปัญหาของฉัน
    • การทำร้ายตัวเองอาจรู้สึกดีแค่ชั่วครู่ ไม่ใช่ทางออกที่ยั่งยืน
    • ฉันมีวิธีเอาชนะความโกรธ เศร้า และวิตกกังวลได้ โดยไม่ต้องทำร้ายตัวเอง
    • ตอนนี้ฉันสามารถวางใจใครสักคนได้อย่างสุดหัวใจแล้ว
    • ฉันสามารถร้องขอความช่วยเหลือได้
    • ฉันจะทำมันสำเร็จ[21]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 บันทึกความคิด.
    การคุยกับตัวเองเชิงบวกจะช่วยให้คุณเห็นแบบแผนซ้ำๆ ของความคิดทำร้ายตัวเอง โดยคุณสามารถเริ่มจากการบันทึกความคิดที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ที่เป็นนิสัยและความเคยชิน เมื่อจดบันทึกทุกวันเป็นเวลาสักช่วงหนึ่ง คุณจะเริ่มรู้ทันความคิดตัวเองและรับมือมันต่างออกไปได้
    • เป้าหมายแรกเริ่มไม่ใช่การเปลี่ยนความคิดเหล่านั้น ขอแค่มีความตระหนักรู้ถึงมันก็พอ ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ลงมือทำตามมันเหมือนที่เคยเป็นมา [22]
    • คุณควรบันทึกรายละเอียดทั้งสภาพการณ์แวดล้อม ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงอาการทางกายต่างๆ เช่น ความรู้สึกเลือดสูบฉีดซ่านไปทั่วร่างกาย หรือความรู้สึกปวดเกร็งหน้าท้อง และบันทึกด้วยว่าคุณทำอะไรลงไปบ้าง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ประเมินความคิด.
    การประเมินความคิดตัวเอง จะช่วยให้คุณเพิ่มความคิดเชิงบวก และลดความคิดเชิงลบลง ซึ่งคุณทำได้ด้วยการตรวจสอบความเป็นจริงของความคิดตัวเอง รวมถึงคอยสังเกตดูด้วยว่า เวลาที่คุณเชื่อความคิดนั้นๆ ของตัวเองแล้ว ผลลัพธ์มันลงเอยเช่นไร นอกจากนี้ คุณควรประเมินจากบทเรียนที่คุณได้รับจากการทำตามความคิดเหล่านั้น เช่น ผลกระทบของมันมีอะไรบ้างในระยะยาว คุณสามารถทำในสิ่งที่ต่างออกไปได้ไหม หรือคุณเชื่อฟังความคิดเชิงลบบ่อยแค่ไหน เป็นต้น
    • จุดสังเกตของความคิดเชิงลบ คือ มันมักจะมีคำว่า “น่าจะ” “ควรจะ” หรือ “ต้อง” ซึ่งมักนำไปสู่ความคิดแบบสุดโต่งเป็นขาวกับดำ และส่งผลให้มีแนวโน้มทำร้ายตัวเองในที่สุด
    • ทบทวนสิ่งที่บันทึกไว้และลองไตร่ตรองดูว่า คุณสามารถคิดเป็นอย่างอื่นแทนได้ไหม หากได้ ให้เขียนลงไปเพื่อใช้แทนความเชิงลบ เมื่อเกิดสถานการณ์เดียวกันขึ้นอีกในอนาคต [23]
    • ถามคนรอบข้าง หากไม่แน่ใจว่าที่ตัวเองกำลังคิด มันถูกต้องหรือไม่
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ป้องกัน อย่าให้มันกลับมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำจัดสิ่งเร้า ไปให้พ้นสายตา.
    เพื่อป้องกันการกลับมาทำร้ายตัวเองอีก คุณควรเอาเครื่องมือต่างๆ ที่คุณเคยใช้ทำร้ายตัวเอง ไปเก็บหรือทิ้งเสียเลย ซึ่งหากคุณต้องเหนื่อยกับการหาเครื่องมือเหล่านั้น เวลาที่จะทำร้ายตัวเอง มันก็ช่วยให้หมดอารมณ์ และพอมีเวลาเรียกสติคืนมาได้
    • อย่าวางของมีคม เช่น มีดหรือมีดโกนไว้บนโต๊ะ ให้เก็บในลิ้นชักให้ลับสายตา[24]
    • หากคุณยังไม่อยากเก็บของเหล่านั้น ก็อาจเริ่มจากวางมันไว้ในที่ๆ หยิบได้ยากหน่อย หรือห่อไว้ด้วยก็ดี
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้เอาสิ่งของเหล่านั้นไปฝากไว้กับใครสักคน ซึ่งแรกๆ คุณอาจรู้สึกหงุดหงิดที่หยิบใช้ไม่ง่ายเหมือนเคย แต่ในระยะยาว คุณจะรู้สึกว่าทำถูกแล้ว
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ทันและหลีกเลี่ยงสิ่งเร้า.
    ทันทีที่คุณอยากทำร้ายตัวเอง พยายามฉุกคิดว่า อะไรกันหนอที่เป็นตัวกระตุ้นให้คุณเกิดภาวะดังกล่าว เมื่อรู้แล้วก็จดและจำมันไว้ไห้ดี จะได้รู้ทันตัวเองในคราวต่อไป
    • โดยทั่วไปแล้ว สิ่งเร้ามักเป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ถูกเพื่อนแกล้ง ถูกโจมตีหรือประจานทางอินเตอร์เน็ท ถูกกีดกันออกจากกลุ่มหรือวงสังคม ความคับข้องใจในเรื่องเพศ รวมถึงการถูกกระทำทารุณและความขัดแย้งในครอบครัว[25]
    • ส่วนใหญ่คนที่ทำร้ายตัวเอง มักมีช่วงเวลาที่อยากทำในแต่ละวันต่างออกไป ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเหล่านั้นของตัวเอง เช่น หากคุณมักอยากทำในตอนเช้า ก็พยายามระวังไว้ และหากิจกรรมอื่นทำแทน
    • หากคุณมักทำร้ายตัวเองหลังจากทะเลาะกับคนใกล้ชิด พยายามหาสาเหตุด้านความรู้สึก ซึ่งคุณอาจได้คำตอบในทำนองว่า “ฉันทะเลาะกับคนที่ฉันรักแล้วรู้สึกแย่มาก” ซึ่งนั่นก็คือสาเหตุเบื้องลึก ที่คุณควรพยายามแก้ไขอย่างถูกวิธี [26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 จดจำความสำเร็จของตัวเอง.
    เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่คุณควรฉลองให้ตัวเองในแต่ละก้าวที่คุณทำสำเร็จ โดยคุณอาจมีปฏิทินส่วนตัวที่เอาไว้จดว่า คุณเลิกทำร้ายตัวเองมาได้กี่วันหรือกี่สัปดาห์แล้ว พยายามให้รางวัลตัวเองเป็นระยะ และตั้งเป้าเพิ่มจำนวนวันให้ได้ในเดือนต่อไป
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ขุดรากเหง้าของปัญหา.
    อย่างปัญหาทางจิตต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคหวาดวิตก รวมถึงอาการอื่นๆ [27] โดยการกรีดข้อมือมักถูกใช้เพื่อบรรเทาความรู้สึกรุนแรงต่างๆ เช่น ความโกรธ ความเจ็บปวด ความโศกเศร้า ความโดดเดี่ยว และความสิ้นหวัง ซึ่งบางคนอาจกรีดข้อมือ เพื่อสื่อให้คนรอบข้างรับรู้อารมณ์เหล่านั้นด้วย
    • ในบางกรณี ผู้ที่กรีดข้อมือตัวเองอาจทำไปเพื่อให้รู้สึกว่า มีอำนาจเหนือร่างกายตนเอง เช่น บางคนที่อยู่ในภาวะด้านชา อาจกรีดข้อมือเพื่อให้ตนเองเกิดความรู้สึกบางอย่าง ในขณะที่บางคนกรีดเพื่อใช้ความเจ็บปวดในการข่มอารมณ์ตัวเอง[28]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พูดคุยกับมืออาชีพ.
    หากคุณลองเทคนิคต่างๆ ที่ได้อ่านมานี้แล้ว ยังไม่ค่อยเห็นผลคืบหน้าในการลดความอยากทำร้ายตัวเองลง คุณก็สามารถลองพึ่งพาบริการจากนักบำบัด จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาคลินิกได้ ซึ่งพวกเขาจะมีเทคนิคแตกต่างกันไปในการรับมือกับพฤติกรรมของคุณ
    • การบำบัดแบบกลุ่มก็น่าสนใจ มันช่วยให้คุณรับรู้ว่า คนอื่นก็มีปัญหาเดียวกัน
    • หากคุณยังเป็นเด็กหรือวัยรุ่น ควรจะบอกให้ญาติผู้ใหญ่ทราบ หรือขอให้พวกเขาพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • หากคุณทำประกันสุขภาพเอาไว้ ลองติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการชดเชยค่ารักษา รวมถึงรายละเอียดเรื่องสถานที่ในการรักษา หรือคุณอาจติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขในชุมชน และหน่วยงานของรัฐบาลได้ตามความสะดวก[29]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาตัวช่วยฉุกเฉิน.
    หากคุณพลั้งเผลอทำร้ายตัวเองจนบาดเจ็บไปแล้ว คุณควรรีบโทรแจ้งหน่วยพยาบาลหรือกู้ภัยทันที เพราะหากมีเลือดออกจากบาดแผลเกิน 10 นาทีขึ้นไป หรือเกิดไปตัดเส้นเลือดใหญ่เข้า ทางการแพทย์ถือว่าอาการหนักแล้วล่ะ
    • ในกณีมีความคิดฆ่าตัวตาย คุณก็ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทันทีเช่นกัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 แยกแยะความแตกต่าง.
    การทำร้ายตัวเอง ไม่เหมือนกับการฆ่าตัวตาย ถึงแม้คนส่วนใหญ่มักเหมารวมกัน การฆ่าตัวตายนั้นทำไปเพื่อจบชีวิตตัวเอง ส่วนการทำร้ายตัวเองเป็นการบ่งชี้ว่า คนที่ทำยังต้องการมีชีวิตอยู่ หรืออาจทำไปเพื่อให้ตัวเองรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยซ้ำ [30]
    • อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า คนที่ชอบทำร้ายตัวเอง อาจพัฒนาไปสู่การฆ่าตัวตายในภายหลัง ซึ่งอาจถูกกระตุ้นจากอาการซึมเศร้า สิ้นหวัง รวมถึงอาการทางจิตอื่นๆ ด้วย[31] ดังนั้น คุณควรจริงจังในการเฝ้าระวังความคิดฆ่าตัวตาย หรือขอความช่วยเหลือหากจำเป็น
    • มองหาสัญญาณของการฆ่าตัวตาย เช่น มักพูดถึงความตาย เรื่องเกี่ยวกับการตาย หรือเปรยว่าอยากฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่างๆ นานา รวมถึงมักบ่นในเชิงท้อแท้สิ้นหวังด้วย[32]
    • หากคุณหรือคนรอบข้าง มีแนวโน้มในการฆ่าตัวตาย กรุณาติดต่อหน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือหน่วยงานที่ให้บริการสายด่วน เช่น ที่หมายเลข 1667 ของกรมสุขภาพจิต รวมถึงหมายเลข 1323 ด้วย โดยทั้งสองหมายเลข ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะหมายเลข 1667 ที่สามารถโทรฟรีทั้งโทรศัพท์บ้านและมือถือ ส่วน 1323 นั้น โทรฟรีได้เฉพาะโทรศัพท์บ้าน
    โฆษณา

ข้อมูลเพิ่มเติม

บริการสายด่วนหมายเลข 1667 และ 1323 กรมสุขภาพจิต บริการตลอด 24 ชั่วโมง


  • หมายเลข 1667 สามารถโทรฟรีทั้งโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์มือถือ

เคล็ดลับ

  • การหลีกเลี่ยงในการคบหากับคนที่กระตุ้นให้คุณอยากทำร้ายตัวเอง เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อคุณมุ่งมั่นในการฟื้นฟูจิตใจตัวเอง หรือเริ่มเห็นผลในทางที่ดีขึ้นแล้ว เรื่องดังกล่าวก็ไม่ยากอีกต่อไป
  • เอามีดโกนไปทิ้งให้หมด
  • หากเพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ที่คุณวางใจสักคน คอยตักเตือนไม่ให้คุณกรีดข้อมือตัวเอง พวกเขาอาจคอยทำหน้าที่สอดส่อง หรือคอยระวังไม่ให้คุณทำด้วย


โฆษณา
  1. http://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/relaxation-techniques-breath-control-helps-quell-errant-stress-response
  2. http://www.drweil.com/drw/u/ART00521/three-breathing-exercises.html
  3. http://www.healtheducation.uci.edu/stress/muscle.aspx
  4. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/MuscleRelaxation.pdf
  5. http://www.mindful.org/mindful-magazine/walk-this-way
  6. http://eocinstitute.org/meditation/meditation-and-walking-benefits-of-mindful-walking/
  7. http://www.psychiatrictimes.com/child-adolescent-psychiatry/treating-self-harm-children-and-adolescents
  8. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/10/16/helping-your-child-reduce-self-harming-behavior/
  9. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/cutting-and-self-harm.htm
  10. https://www.psychologytoday.com/blog/imperfect-spirituality/201106/positive-self-talk-can-help-you-win-the-race-or-the-day
  11. Linehan, M.M. (1993). Skills Training Manual for Treating Borderline Personality Disorder. New York:Guilford Press
  12. http://psychcentral.com/blog/archives/2009/07/08/got-low-self-esteem-dont-ditch-the-positive-self-talk-just-yet/
  13. http://www.cognitivetherapyguide.org/thought-records.htm
  14. http://www.cognitivetherapyguide.org/thought-records.htm
  15. http://www.rcpsych.ac.uk/healthadvice/problemsdisorders/self-harm.aspx
  16. https://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201301/coping-self-harm
  17. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/10/16/helping-your-child-reduce-self-harming-behavior/
  18. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/10/16/helping-your-child-reduce-self-harming-behavior/
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201301/coping-self-harm
  20. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/cutting-and-self-harm.htm
  21. https://www.psychologytoday.com/blog/teen-angst/201210/understanding-suicide-and-self-harm
  22. http://www.suicidepreventionstudies.org/index.php?page=selfharm
  23. http://www.suicidepreventionlifeline.org/gethelp/someone.aspx

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Trudi Griffin, LPC, MS
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Trudi Griffin, LPC, MS. ทรูดี้ กริฟฟินเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตในวิสคอนซิน เธอได้รับปริญญาโทด้านการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยมาร์เกว็ตต์ในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 26,786 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,786 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา