วิธีการ สนับสนุนให้คนอื่นไปพบนักบำบัด

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ปัจจุบันมีการพิสูจน์แล้วว่านักบำบัดสามารถช่วยเหลือคนได้ทุกวัยที่มีปัญหาตั้งแต่โรคซึมเศร้าและกังวลไปจนถึงปัญหาความกลัวและการใช้สารเสพติด [1] หลายคนอาจลังเลหรือต่อต้านการไปพบนักบำบัดด้วยเหตุผลมากมาย ถ้าคนที่คุณรู้จักต้องการพบนักบำบัด ก็มีวิธีมากมายที่จะพูดถึงการไปพบนักบำบัดโดยไม่ทำให้เพื่อนหรือคนรักของคุณนั้นเกิดความอับอายหรืออึดอัดใจ การรู้วิธีดังกล่าวโดยที่ไม่เป็นการละลาบละล้วงคนอื่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนที่คุณรักได้รับการช่วยเหลือได้สำเร็จ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สนับสนุนคนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บอกเพื่อนหรือคนรักของคุณว่าสิ่งที่เขารู้สึกนั้นเป็นเรื่องปกติ....
    บอกเพื่อนหรือคนรักของคุณว่าสิ่งที่เขารู้สึกนั้นเป็นเรื่องปกติ. ไม่ว่าบุคคลที่คุณสนับสนุนให้ไปหานักบำบัดนั้นจะป่วยมีปัญหาทางจิตหรือปัญหาเสพติดอะไรบางอย่างหรือเพียงแค่กำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก การบอกคนที่คุณรักว่าสิ่งที่เขารู้สึกอยู่นั้นเป็นเรื่องปกตินั้นเป็นขั้นตอนแรกที่จะทำลายอคติที่เขามีต่อการบำบัด [2] บอกคนรักหรือเพื่อนของคุณว่าคนที่มีอายุ เพศ เชื้อชาติ สัญชาติเดียวกันและมีปัญหาเหมือนกันกับเขาสามารถและเข้ารับการบำบัดได้โดยปราศจากตราบาปหรือความอับอาย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ย้ำกับคนที่คุณรักว่าปัญหาที่เขาเผชิญอยู่นั้นเป็นภาวะทางการแพทย์....
    ย้ำกับคนที่คุณรักว่าปัญหาที่เขาเผชิญอยู่นั้นเป็นภาวะทางการแพทย์. อาการซึมเศร้า อาการกังวลและความกลัวล้วนเป็นปัญหาทางการแพทย์ [3] อาการเสพติดก็เช่นกันที่มีต้นตอมาจากภาวะทางการแพทย์ [4]
    • พยายามเทียบการบำบัดเหมือนการไปพบแพทย์ที่รักษาโรคต่างๆ ถามคนรักของคุณว่า “คุณคงไม่หลีกเลี่ยงการไปหาหมอ ถ้าคุณเป็นโรคหัวใจหรือโรคปอดใช่ไหม? แล้วมันต่างกับโรคที่คุณเป็นตรงไหนล่ะ?”
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ย้ำกับเขาว่าบางครั้งทุกคนก็ต้องการความช่วยเหลือนะ....
    ย้ำกับเขาว่าบางครั้งทุกคนก็ต้องการความช่วยเหลือนะ. จากผลการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา 27% ของผู้ใหญ่ในอเมริกาหาและได้รับการรักษาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต เท่ากับจำนวนคนมากกว่า 1 ใน 4 หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 80 ล้านคนทีเดียว[5]
    • ลองพูดว่า “ฉันอยู่ข้างเธอเสมอนะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เธอยังเป็นเธอคนเดิมสำหรับฉันเสมอแม้ว่าเธอจะต้องได้รับความช่วยเหลือก็ตาม”
  4. How.com.vn ไท: Step 4 บอกคนที่คุณรักว่าคุณสนับสนุนเขา.
    การที่คุณบอกเขาว่าคุณไม่ได้มองเขาเปลี่ยนไปเลยถ้าเขาจะไปบำบัดสามารถช่วยทำให้คนที่คุณรักมั่นใจได้ว่าการบำบัดไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือเป็นตราบาปอะไรในชีวิตเลย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สนับสนุนคนที่กลัวการบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ให้คนที่คุณรักระบุว่าเขากลัวอะไร.
    การให้คนที่คุณรักเปิดใจเกี่ยวกับความกลัวและความกังวลใจอาจเป็นก้าวแรกที่ดีสำหรับการไปพบนักบำบัด
    • ลองเริ่มบทสนทนาด้วยการยอมรับว่าคุณเองก็มีความกลัวและความกังวลใจเหมือนกัน การทำแบบนี้จะช่วยให้บทสนทนาฟังดูเหมือนการคุยเรื่องความกลัวและการบำบัดมากกว่าการสั่งให้เขาไปบำบัด
    • ถ้าคุณมีเพื่อนคนอื่นที่ไปบำบัดแล้วได้ผล ลองยกคนนั้นเป็นตัวอย่างว่าการบำบัดนั้นช่วยได้จริง
    • คุณสามารถขอให้เพื่อนที่เคยผ่านการบำบัดมาเล่าประสบการณ์ให้คนรักของคุณฟัง เพื่อช่วยตอบคำถามและช่วยให้ความกลัวสงบลง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อธิบายแต่ละความกลัวอย่างมีตรรกะ.
    เหตุผลและตรรกะเป็นสิ่งเดียวที่จะทำลายความกลัวและความคิดแง่ลบ [6]
    • ถ้าคนรักของคุณกังวลว่าการบำบัดนั้นจะต้องทำตลอดไม่จบสิ้น บอกให้เขาเข้าใจว่ามันไม่ใช่แบบนั้น การบำบัดความคิดและพฤติกรรมส่วนใหญ่มีการเข้าพบเพื่อบำบัดคอร์สละ 10-20 ครั้ง แม้ว่าบางคอร์สอาจมีระยะเวลานานหรือสั้นกว่านั้นก็ได้[7] การเข้ารับจิตบำบัดสามารถมีระยะเวลาถึง 1-2 ปี ขึ้นกับว่าปัญหานั้นได้รับการวินิจฉัยเป็นอย่างไร แม้ว่าคนไข้มีอาการดีขึ้นแล้วหลังการเข้าบำบัดเพียงแค่ครั้งเดียว[8] จำไว้ว่า คนรักของคุณสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าบำบัดมากน้อยแค่ไหนเพราะไม่มีเงื่อนไขบังคับ
    • ถ้าคนรักของคุณกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการบำบัด ช่วยเขาหานักบำบัดที่ประกันครอบคลุมหรือนักบำบัดที่ลดค่าธรรมเนียม
    • ไม่ว่าเพื่อนหรือคนที่คุณรักจะกลัวอะไร พยายามคลายความกังวลใจของเขาด้วยการพูดว่า “มันจะไม่มีปัญหา” และเสนอทางแก้และวิธีทำอย่างเป็นขั้นตอน
    • นักบำบัดบางคนอาจให้รับคำปรึกษาฟรีทางโทรศัพท์ก่อนนัดพบ สิ่งนี้อาจเป็นโอกาสที่คนรักของคุณจะได้ถามเกี่ยวกับความกลัวและเริ่มทำความรู้จักกับนักบำบัด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ช่วยคนที่คุณรักหานักบำบัด.
    การหานักบำบัดสำหรับคนรักของคุณอาจทำได้โดยง่ายทางอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกามีบริการระบุตำแหน่งนักบำบัดให้ผู้ป่วยด้วยที่เว็บไซต์ http://locator.apa.org/.
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อาสาไปสถานบำบัดเป็นเพื่อนคนรักของคุณในการเข้าพบครั้งแรก....
    อาสาไปสถานบำบัดเป็นเพื่อนคนรักของคุณในการเข้าพบครั้งแรก. คุณอาจจะไม่สามารถเข้าฟังระหว่างการบำบัดได้ แต่การมีคนคอยสนับสนุนอยู่ข้างๆ อาจช่วยให้การบำบัดเป็นไปได้ง่ายขึ้น นักบำบัดบางคนอาจอนุญาตให้คุณเข้าฟังการบำบัดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของคนรักของคุณ [9]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สนับสนุนคนที่กังวลเกี่ยวกับการเปิดเผยความรู้สึกในการบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 บอกคนรักของคุณเกี่ยวกับความลับระหว่างหมอกับคนไข้....
    บอกคนรักของคุณเกี่ยวกับความลับระหว่างหมอกับคนไข้. สิ่งที่คนรักของคุณพูดในการบำบัดจะได้รับการปกป้องและเก็บเป็นความลับ [10]
    • จำไว้ว่ากฎหมายแต่ละรัฐและแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันออกไป แต่นักบำบัดทุกคนต้องไม่เปิดเผยข้อมูลลับทั้งในรูปแบบการสนทนาและลายลักษณ์อักษร คุณสามารถขอสำเนาข้อตกลงยินยอมก่อนที่ทำการนัดพบได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถามคนรักของคุณเกี่ยวกับความกลัวที่จะเปิดเผยความรู้สึกอ่อนแอ....
    ถามคนรักของคุณเกี่ยวกับความกลัวที่จะเปิดเผยความรู้สึกอ่อนแอ. ย้ำกับคนรักของคุณว่าการร้องไห้ออกมาหรือการพูดคุยปัญหากับคนอื่นสามารถทำให้เราสบายใจขึ้นได้ จากผลการสำรวจ เกือบ 89% -ของคนที่รู้สึกดีขึ้นหลังได้ปลดปล่อยอารมณ์ เช่น การร้องไห้ [11] และแพทย์แนะนำอย่างกว้างขวางว่าการพูดคุยถึงปัญหาเป็นวิธีการระบายอย่างหนึ่ง[12]
    • ลองบอกเพื่อนหรือคนรักของคุณว่า “การเปิดใจคุณกับใครสักคนเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นสิ่งที่เราทำกับเพื่อนหรือคนสำคัญในชีวิต คุณต้องสร้างสัมพันธ์กับนักบำบัดนะ แล้วก็เปิดใจอย่างตรงไปตรงมาต่อเขา นั่นจะเป็นสิ่งเดียวที่จะช่วยคุณได้”
    • ย้ำกับคนที่คุณรักว่าการจัดการกับอารมณ์อาจจะน่ากลัว โดยเฉพาะถ้าเขาเก็บกดมันไว้ แต่นักบำบัดได้รับการฝึกมาให้ช่วยคนไข้ในการจัดการกับอารมณ์ที่รุนแรงอย่างปลอดภัยและป้องกันไม่ให้คนไข้รู้สึกว่าความรู้สึกถาโถมมากไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ย้ำกับคนรักถึงผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น.
    สิ่งที่แย่ที่สุดจากการพบนักบำบัดคือไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ผลที่ดีที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้คือคนรักของคุณรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลายและพบกับมุมมองใหม่ของชีวิต
    • ย้ำกับเพื่อนหรือคนรักอีกครั้งว่าคุณเป็นห่วงและจะอยู่เคียงข้างเขาเสมอไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
    • สนับสนุนให้คนรักเปิดใจและซื่อสัตย์ต่อนักบำบัดและอธิบายกับนักบำบัดว่าอะไรที่ยังมีปัญหา นักบำบัดอาจมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน เขาอาจช่วยคนรักของคุณหานักบำบัดที่เหมาะสมในการรักษามากที่สุดให้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แนะนำว่าคนรักของคุณควรคุยกับแพทย์ถึงความต้องการในการรักษาและควรหาคำแนะนำ รวมถึงแรงสนับสนุนตลอดการบำบัดนี้ กระบวนการนี้สำคัญเพราะนักบำบัดไม่สามารถแนะนำยาได้ หากไม่ได้ผ่านกระบวนการรักษาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม การดูแลของแพทย์ในตอนแรกอาจเป็นการให้ยารักษาอาการซึมเศร้าหรือการให้ยาอื่นที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษาโดยรวม
  • ช่วยคนที่คุณรักหาข้อมูลนักบำบัดทางออนไลน์ ควรเสนอให้นัดพบนักบำบัด ถ้าหากเขาไม่กล้าที่จะทำมันด้วยตัวเอง
  • ลองเข้าหาแหล่งข้อมูลทางการแพทย์ เช่น http://locator.apa.org/ เพื่อหาแพทย์ใกล้บ้าน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคนนั้นคิดฆ่าตัวตาย อย่ามัวแต่คิด ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที
  • ตรวจสอบหลักฐานรับรองของนักบำบัดเสมอ แพทย์ทุกคนจะมีใบรับรองวิชาชีพ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทางอินเทอร์เน็ตหรือทางโทรศัพท์ ถ้าสงสัยให้ติดต่อสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวิชาชีพ แพทย์ที่จะดูแลรักษาคนรักของคุณต้องสามารถช่วยเขาได้โดยมีใบรับรองอย่างถูกต้อง
  • คุณอาจจะต้องย้ำเรื่องเดิมๆ กับคนรักของคุณซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ เลยก็ได้ คุณอาจจะเหนื่อยกาย เหนื่อยใจหรือสับสนไปเลยก็ได้ เพราะมันจะเหมือนคุณพูดกับกำแพง ห้ามสิ้นหวัง พยายามเตือนตัวเองว่าเขาสำคัญกับคุณมากแค่ไหน จำไว้ว่าการแสดงความรักบางทีก็เป็นสิ่งที่ยากมากๆ คุณอาจจะตั้งคำถามกับตัวเองว่าสิ่งที่ทำอยู่มันช่วยคนรักได้จริงๆ หรือ ใช่คุณกำลังช่วยเขาอยู่นะ เข้มแข็งเข้าไว้ เขาต้องการคุณ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Noel Hunter, Psy.D
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Noel Hunter, Psy.D. ดร.โนล ฮันเตอร์เป็นนักจิตวิทยาคลินิกในนิวยอร์กซิตี้ เธอเป็นผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้ง MindClear Integrative Psychotherapy เธอเชี่ยวชาญด้านการใช้แนวคิดมนุษยนิยมและการดูแลบาดแผลทางใจในการรักษาและช่วยเหลือคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางจิต เธอได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาจิตวิทยา (Psy.D) จากมหาวิทยาลัยลองไอแลนด์ เธอเคยปรากฏตัวใน National Geographic, BBC News, CNN, TalkSpace และนิตยสาร Parents นอกจากนี้เธอยังเป็นนักเขียนเจ้าของหนังสือ Trauma and Madness in Mental Health Services อีกด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 1,235 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,235 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา