วิธีการ รับมือกับโรคฝันกลางวัน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เป็นธรรมดาที่คนเรานานๆ ทีก็มีฝันกลางวันหรือเพ้ออะไรไปตามเรื่องตามราวบ้าง บางทีคุณก็พบว่าตัวเองใจลอยไปไหนต่อไหนทั้งๆ ที่ตอนนั้นต้องตั้งใจทำอะไรสักอย่าง แต่ก็มีหลายคนที่หนักข้อถึงขั้นฝันเฟื่องหรือฝันกลางวันเพื่อหนีปัญหาหรือให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แบบนี้เขาเรียกเข้าข่าย "โรคฝันกลางวัน" หรือ maladaptive daydreaming ถือเป็นอันตรายที่จะกีดกันคุณจากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ กระทั่งแทรกแซงชีวิตประจำวันของคุณ[1] ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังเป็นโรคฝันกลางวัน ก็ลองมาศึกษาอาการดูและเรียนรู้วิธีรับมือกับมัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ศึกษาอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณใจลอยจริงจังถึงขั้นเป็นโรคหรือเปล่า.
    เพราะทุกคนก็ฝันกลางวันกันเป็นปกติ คุณอาจมองว่าถึงคุณฝันกลางวันแบบจริงจังและบ่อยแค่ไหนก็ยังถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเข้าข่ายอันตรายก็คือคุณจะมีปัญหากับการควบคุมพฤติกรรมฝันกลางวันของคุณ รู้สึกแย่ที่ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ จนหนักเข้าก็กลายเป็นความละอายไป และอาจเริ่มฝันกลางวันแบบไม่ถูกที่ถูกทาง[2]
    • คำว่า "โรคฝันกลางวัน" หรือ "maladaptive daydreaming" นั้นถูกคิดค้นขึ้นในปีพ.ศ. 2545 แต่ยังไม่ถือเป็นโรคที่ถูกบรรจุไว้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตแต่อย่างใด[3]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 การถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจก็อาจเป็นสาเหตุ....
    การถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจก็อาจเป็นสาเหตุ. คนที่เป็นโรคฝันกลางวันหลายคนเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจตอนที่ยังเด็ก จากการฝันเฟื่องไปตามเรื่องตามราวเลยพัฒนาไปเป็นการฝันกลางวันเพื่อหนีความเจ็บปวด และจะเริ่มได้รับผลกระทบจากการฝันกลางวันก็ตอนเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น[4] ถ้าคุณเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ และประสบปัญหาจากโรคฝันกลางวัน ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัดจะดีกว่า
    • เช่น การฝันกลางวันธรรมดาทั่วไปตอนเด็กๆ อาจพัฒนากลายเป็นการเพ้อฝันเพื่อหนีจากความเจ็บปวดจากการทารุณกรรมหรือประสบการณ์เลวร้ายได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แยกให้ออก แบบไหนเรียกโรคฝันกลางวัน.
    นอกจากการทารุณกรรมในช่วงวัยเด็กแล้ว พฤติกรรมทางกายก็บอกให้รู้ได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ อย่างการโยนของไปมา หรือเอามือหมุนอะไรเล่นระหว่างฝันกลางวัน[5] ส่วนอาการอื่นๆ ก็เช่น[6]
    • เอาแต่จะฝันกลางวัน เรียกได้ว่าเข้าขั้นเสพติด
    • ฝันกลางวันแบบลงลึกถึงรายละเอียดจนน่าตกใจ
    • แสดงความเพ้อฝันออกมา แต่ยังแยกได้ว่าอันไหนจริงอันไหนเป็นแค่ความฝัน (ไม่เหมือนกับคนเป็นโรคจิตเภทหรือโรคจิต)
    • ฝันกลางวันจนเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำกิจวัตรประจำวัน (อย่างการกิน อาบน้ำ หรือนอน)
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หาตัวกระตุ้นให้เจอแล้วหลีกเลี่ยงซะ.
    ตัวกระตุ้นให้คุณฝันกลางวันนั้นเป็นได้ทั้งสถานการณ์ สถานที่ ความรู้สึก หรือความคิด ที่จะมาเปิดสวิทช์ให้คุณเริ่มฝันกลางวันหรือกลับไปฝันกลางวันอีก คุณต้องหาให้เจอว่าอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นบ้าง ลองจดไว้ก็ได้ ว่าคุณมักฝันกลางวันตอนไหน เกิดอะไรขึ้นคุณถึงได้เริ่มฝัน เช่น คุณอาจจับทางได้ว่าฝันกลางวันบ่อยเวลาเดินเข้าไปในห้องไหน หรือชอบฝันกลางวัน (แถมฝันดีสมจริงสุดๆ) ตอนที่คุณกำลังเซ็งๆ คุณต้องหาตัวกระตุ้นพวกนี้ให้เจอ และหลีกเลี่ยงไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม
    • เช่น ถ้าตัวกระตุ้นอยู่ในบ้านของคุณเอง คุณก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง ประมาณว่าย้ายมาทำงานในห้องครัวแทนห้องนอน ไม่ก็ออกไปนอกบ้านซะเลย จะไปเดินเล่นก็ได้ หรือหาร้านกาแฟน่านั่งใช้เป็นที่ทำงานจำเป็นแทนการทำงานอยู่กับบ้าน[7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เรียนรู้วิธีรับมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พักผ่อนให้เพียงพอ.
    คุณนอนหลับสนิทขึ้นได้ด้วยหลายวิธีด้วยกัน พยายามอย่าดื่มพวกคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน เพราะเดี๋ยวจะนอนตาค้างจนพักผ่อนไม่พอ และต้องจัดตารางเวลา เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกๆ วัน เพิ่มกิจวัตรประจำวันก่อนนอนอย่างการแปรงฟัน อาบน้ำ และอ่านหนังสือเข้าไปด้วยก็ได้ ต่อไปนี้พอคุณทำเรื่องพวกนี้เมื่อไหร่ สมองจะได้รู้ตัวว่าเกือบจะได้เวลานอนแล้ว[8]
    • มีการวิจัยกันมาแล้วว่าถ้านอนน้อยเกินไปหรือหลับไม่สนิทก็เป็นสาเหตุให้เผลอใจลอยฝันกลางวันบ่อยๆ ได้[9] หรือบางทีก็จำอะไรไม่ค่อยได้ มีปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สมาธิสั้น ที่สำคัญก็คือฝันกลางวันพร่ำเพรื่อ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่าปล่อยให้หัวว่างระหว่างวัน.
    ใช้สมองหน่อย อย่าให้หัวว่างจนเผลอไปฝันกลางวัน เลือกกิจกรรมที่ต้องใช้สติปัญญาและสมาธิเป็นพิเศษ อย่างการอ่านหนังสือหรือการเล่น crosswords และจะยิ่งดีถ้าเป็นกิจกรรมที่ใช้ทั้งสมองและร่างกายอย่างการเล่นกีฬา (เช่น บาสเกตบอล) หรือการเต้นรำ อีกตัวเลือกคือการเข้าสังคม ชวนเพื่อนไปดื่มกาแฟกัน หรือร่วมกิจกรรมการกุศลบำเพ็ญประโยชน์ก็ดี
    • มีทฤษฎีนึงที่เชื่อว่าการฝันกลางวันเป็นกลไกการป้องกันตัวเอง เป็นเหมือนการปลอบใจหรือบรรเทาความเจ็บปวดกังวลใจให้เรา[10] ถ้าเป็นแบบนี้ละก็ ลองผ่อนคลายตัวเองด้วยกิจกรรมบางอย่างแทนจะดีกว่า อย่างการทำอาหาร เล่นโยคะ หรือนัดเพื่อนสาวไปทำเล็บกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 จดไว้วันนึงฝันกลางวันกี่ครั้ง จะได้ป้องกันถูก....
    จดไว้วันนึงฝันกลางวันกี่ครั้ง จะได้ป้องกันถูก. ถ้าให้หักดิบเลิกฝันกลางวันเลยอาจจะยากอยู่สักหน่อย เพราะงั้นให้เริ่มจากการจับให้ได้ไล่ให้ทัน ว่าวันนึงเผลอฝันกลางวันไปกี่รอบ จากนั้นบังคับตัวเองให้ลดจำนวนครั้งลง เช่น ลองจับเวลาดูก่อนสัก 3 นาที ว่าระหว่างนี้เผลอเพ้อไปกี่ครั้ง จับทางตัวเองซ้ำๆ จนกว่าจะฝันกลางวันน้อยลง[11]
    • ตอนแรกคุณคงยังจับไม่ได้ไล่ไม่ทันหรอก ดีไม่ดีจะสะดุ้งตื่นจากภวังค์เพราะนาฬิกาจับเวลาของตัวเองด้วยซ้ำ แต่ไม่เป็นไร คอยฉุดตัวเองจากฝันกลางวันด้วยนาฬิกาจับเวลาแบบนั้นไปก่อน จนกว่าจะรู้ตัวได้เอง[12]
    • การตั้งนาฬิกาปลุกไว้เป็นวิธีที่ดีในการจับตาดูตัวเอง คุณจะได้เฝ้าระวังการฝันกลางวันของตัวเองได้ และเพราะวิธีนี้เป็นการใช้เทคนิคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะฉะนั้นก็จะเห็นผลในระยะยาว[13]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จดบันทึกไว้จะได้ไม่หลุด.
    ตอนนี้อาจยังไม่ค่อยมีงานวิจัยหรือวิธีรักษาโรคฝันกลางวันแบบจริงจังมากนัก แต่หลายคนในชุมชนออนไลน์ของคนเป็นโรคนี้ ก็เห็นตรงกันว่าการจดบันทึกอาการของคุณไว้น่ะมีประโยชน์เลยทีเดียว ให้คุณบันทึกชีวิตประจำวันของคุณไว้ พวกความคิดความในใจต่างๆ จะได้เป็นการเรียบเรียงความคิด และไม่ปล่อยให้ตัวเองว่างจนเผลอฝันกลางวัน[14] การจดบันทึกฝันกลางวันของคุณก็ช่วยให้คุณอยู่กับปัจจุบันมากขึ้นและฝันเฟื่องน้อยลง ถ้าจะให้ดีก็เขียนรายละเอียดไปด้วย ว่าฝันกลางวันนั้นส่งผลยังไงกับอารมณ์ของคุณ กระทั่งส่งผลยังไงกับชีวิตของคุณ
    • ถึงจะยังต้องวิเคราะห์วิจัยกันอีกเยอะ ว่าทำไมการจดบันทึกถึงช่วยให้โรคฝันกลางวันของคุณนั้นดีขึ้นได้ แต่อย่างน้อยก็เห็นผลแล้วว่าการจดบันทึกนั้นช่วยให้คุณฉุกคิดมากขึ้น ให้โอกาสคุณได้สำรวจตัวเอง แถมยังผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย[15]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ฝันกลางวันให้เป็นประโยชน์.
    พอรู้แล้วว่าตัวเองชอบฝันกลางวัน แถมรู้ด้วยว่าอะไรที่เป็นตัวกระตุ้น ก็ให้คุณเริ่มเจาะลึกว่าเวลาฝันแล้วคุณรู้สึกอย่างไร คุณอาจพบว่าบางฝันทำให้คุณเครียดหรือกลัว แต่ฝันกลางวันอื่นๆ ทำให้ตื่นเต้นมีแรงบันดาลใจ ถ้าพบว่าตัวเองชอบเผลอฝันเรื่องเดิมบ่อยๆ เหมือนกระตุ้นให้คุณทำอะไรสักอย่าง ก็ลองใช้มันเป็นแรงผลักดันทำไปตามฝันให้สำเร็จจริงๆ ซะเลย[16]
    • เช่น คุณชอบใจลอยจินตนาการอยู่บ่อยๆ ว่าคุณได้อยู่ในเมืองนอก ทำงานอะไรที่ต่างออกไป กรณีนี้คุณทำฝันกลางวันให้กลายเป็นจริงได้ แค่ลงมือทำอะไรสักอย่าง อย่างการเดินทางหรือย้ายที่อยู่และหางานใหม่
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็ดีเหมือนกัน.
    ตอนนี้โรคฝันกลางวันยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นอาการทางการแพทย์ ยังไม่มีงานวิจัยรองรับมากพอ จึงยังไม่มียาหรือลักษณะการรักษาที่ชัดเจน เอาจริงๆ ถ้าคุณไปถามหายารักษาโรคนี้ที่ไหน ใครต่อใครเขาก็คงทำหน้าเหวอกัน ทางที่ดีไปปรึกษานักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์จะตรงจุดกว่า เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์เจาะลึกอาการฝันกลางวันของคุณได้
    • เช่น ถ้าคุณเผลอฝันกลางวันทุกครั้งที่เครียดหรือรำคาญใจ คุณหมอเขาก็อาจแนะนำหาวิธีรับมือกับความเครียดหรือความโกรธให้คุณแทน
  7. How.com.vn ไท: Step 7 หาแนวร่วมในเน็ต.
    โรคฝันกลางวันยังเป็นโรคที่ใหม่มาก เลยยังไม่ค่อยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการรักษาที่ตรงจุด เรียกได้ว่าเป็นโรคที่ยังไม่ได้รู้จักกันในวงกว้างด้วยซ้ำ วิธีศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรคฝันกลางวันได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะประสบการณ์ตรงและคำแนะนำในการปฏิบัติตัว ก็คือลองพูดคุยกับคนที่ประสบปัญหาหรือมีอาการเดียวกันตามเน็ตหรือเว็บบอร์ดนั่นเอง วิธีนี้นี่แหละที่คุณจะสามารถเจาะลึกเกี่ยวกับโรคนี้ได้มากที่สุด[17]
    • ถ้าได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อรักษาโรคฝันกลางวันแล้วก็ให้ทำไปตามนั้นก่อน พออีกหน่อยมีคนรู้จัก วิเคราะห์วิจัยกันมากขึ้น ก็อาจมีวิธีรักษาหรือวิธีการรับมือใหม่ๆ ถึงตอนนั้นค่อยว่ากัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางทีพอได้เปิดอกเปิดใจกับคนที่มีอาการเหมือนๆ กันก็อาจช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ทั้งเข้าใจถึงปัญหาและรักษาให้หายขาด
  • หาคนคุยเถอะ! อย่าคิดว่าคุณอยู่ตัวคนเดียวในโลก! ยังมีอีกหลายคนเลยที่กำลังประสบปัญหาเดียวกับคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามรักษาโรคฝันกลางวันด้วยยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์เด็ดขาด พอเมาหรือเมาค้างเมื่อไหร่ ทีนี้ล่ะหลุดโลกแน่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Noel Hunter, Psy.D
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตวิทยาคลินิก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Noel Hunter, Psy.D. ดร.โนล ฮันเตอร์เป็นนักจิตวิทยาคลินิกในนิวยอร์กซิตี้ เธอเป็นผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้ง MindClear Integrative Psychotherapy เธอเชี่ยวชาญด้านการใช้แนวคิดมนุษยนิยมและการดูแลบาดแผลทางใจในการรักษาและช่วยเหลือคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางจิต เธอได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาจิตวิทยา (Psy.D) จากมหาวิทยาลัยลองไอแลนด์ เธอเคยปรากฏตัวใน National Geographic, BBC News, CNN, TalkSpace และนิตยสาร Parents นอกจากนี้เธอยังเป็นนักเขียนเจ้าของหนังสือ Trauma and Madness in Mental Health Services อีกด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 12,818 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,818 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา